ReadyPlanet.com
dot dot
อยุธยาศึกษา ตลาดวิชา

อยุธยาศึกษา ตลาดวิชา สำหรับครู - อาจารย์

                                                      มหา สุรารินทร์

      อยุธยาไพโรจน์ไต้             ตรีบูร
      ทวารรุจิเรียงหอ                 สรหล้าย
      อยุธยายิ่งแมนสูร              สุรโลก รังแฮ
      ถนัดดุจสวรรค์คล้ายคล้าย   แก่ตาฯ

                                                     กำสรวลสมุทร

      ผมมีโอกาสไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาบ่อย แต่คราวนี้มีโอกาสร่วมคณะไปกับผู้จัดอบรม “อยุธยาศึกษา : ตลาดวิชาสำหรับครู – อาจารย์” ซึ่งจัดโดย มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

      ซึ่งกิจกรรมนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 22 – 23 มีนาคม ที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น ๘๐ คน โดยมี อาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ,อ.ทรงยศ แววหงส์,ผศ.ธำรงศักดิ์  เพชรเลิศอนันต์,อ.สัมฤทธิ์ ลือชัย และ อ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ เป็นวิทยากรบรรยายตลอดกิจกรรมทั้ง ๒ วัน

      “อยุธยา” ในฐานะของราชาอาณาจักรแห่งแรกของสยามมีอายุนานถึง 417 ปี 5 ราชวงศ์ มีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 34 พระองค์ด้วยกัน

      ซึ่งอดีตนั้นนับเพียง 33 พระองค์ โดยมีไม่นับรวม ขุนวรวงษาธิราช กษัตริย์พระองค์ที่ 15 สายละโว้ ราชวงศ์อู่ทอง แม้จะทรงครองราชย์อยู่ 45 วัน ก็ตาม ซึ่งจริงๆ จะไม่นับไม่ได้

      การสถาปนารัฐอยุธยาเกิดขึ้นพร้อมกับรัฐสุโขทัย แต่ในแบบเรียนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาการมักจะนับแบบหนึ่งสองสามคือ เริ่มมีรัฐสุโขทัย (ลอยมาจากฟ้า) แล้วจึงมาเกิดรัฐอยุธยา (ลอยมาจากฟ้าเช่น) ก่อนจะมากู้ชาติต่อด้วยพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

      แล้วตีขลุมเอารัฐอื่นรอบข้างเป็นไทยด้วยกันหมด เพราะเอาแผนประเทศไทยในปัจจุบันเป็นที่ตั้งแล้วอนุมานอาณาจักรยาวไกล

      ตรงนี้ไม่ทราบว่าปรับหลักสูตรกันหรือยัง เป็นเหตุให้ครู และนักเรียนสื่อสารกันไม่เข้าใจว่าจะเอายังไงกับประวัติศาสตร์แห่งชาติของชาติไทย ว่ามาจาก “หุบเขาอันไต” มาจาก “น่านเจ้า”หรืออยู่อยู่ที่นี้ที่แม่น้ำจ้าพระยา

      ที่สำคัญในหลักยังไม่อธิบายว่ารัฐสุโขทัยและรัฐอยุธยามีกำเนิดมาอย่างไร? รู้แต่ว่า พ่อขุนบางกลางหาวสร้างรัฐสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ (ไม่บอกว่าเรียนหนังสือที่ไหน?) พระอู่ทองสถาปนารัฐอยุธยาที่หนองโสน เท่านั้น

      จากหนังสืออยุธยา : Discovering Ayutthaya ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ จัดพิมพ์โดยมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2546 (ขณะนี้ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษและจะวางจำหน่ายตามแผงหนังสือเร็วๆ นี้)

      อ้างอิงถึงพงศาวดารฉบับพระราชหัตถาเลขารัชกาลที่ 4 กล่าวถึงการสถาปนากรุงศรีอยุธยานั้นว่าเมื่อ “ศักราช 712 ปีขาลโทศก วันศุกร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 เพลา 3 นาฬิกา 9 บาทสถาปนากรุงศรีอยุธยา” ในหนังสือเล่มเดียวกันได้โยงถึงข้อเปรียบเทียบเรื่องวันและเดือนสถาปนากรุงศรีอยุธยาต่างกันถึง 4 ท่านคือ 1) ดร.ประเสริฐ ณ นคร คำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ 4 มีนาคม 2) หลวงวิจิตรวาทการคำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ 24 มีนาคม 3) ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ คำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ 7 เมษายน 4)หลวงวิศาลดรุณกร (ชั้น สาริกบุตร) คำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ 3 มีนาคม แต่ทุกท่านต่างเหมือนกันเมื่อคำนวณว่าคือปี พ.ศ. 1893

      อยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2534 แต่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของอยุธยานั้นไม่ได้ความว่าเมืองหรือพระราชวังโบราณเป็นปัจจัยที่ทำให้สถานที่แห่งนี้ได้รับการจดทะเบียน

      ทว่าความเจริญรุ่งเรืองของ “อยุธยาศรีรามเทพนคร” นั้นมีความเจริญรุ่งเรืองและการจัดการน้ำของเมืองอยุธยา เป็นระบบระเบียบ เหมือนเมืองเวนิสของประเทศอีตาลี

      ซึ่งเราจะเห็นได้จากรูปวาดสีน้ำมันที่ชาวฝรั่งที่เข้ามากรุงศรีอยุธยา เช่นรูปสีน้ำมันที่ชื่อว่า ludea ที่วาดโดยจิตรกรนาม โจฮานส์ วิงบูนส์ เมื่อปี พ.ศ. 2206/ค.ศ.1663 เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งภาพนี้ถูกจำลองมาไว้ที่บ้านญีปุ่น ซึ่งอยู่ทางนอกเมืองอยุธยาไม่ไกลนัก ตรงกันข้ามบ้านโปรตุเกส

       ในรูปสีน้ำมัน ludea นั้นจิตรกรวาดแบบมุมกว้างเห็นสภาพเป็นเกาะเมือล้อมรอบด้วยกำแพงอิฐ เทือกเขา แม่น้ำ รายละเอียด ซึ่งมองเห็นประตูน้ำอย่างชัดเจน รวมทั้งลักษณะอาคารบ้านเรือง พระราชวัง วัด และถนนหนทางอย่างสมบูรณ์ รูปหนึ่ง

      ด้วยความเป็นเมืองแม่น้ำนี้แหละเป็นเหตุให้อยุธยาจึงได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกในแง่ของการจัดการน้ำซึ่งมีแม่น้ำถึง 3 สายไหลมาบรรจบเกิดเป็นเกาะ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และ แม่น้ำป่าสัก แต่ในเอกสารฝรั่งก็จะเรียกแม่น้ำทุกสายรวมๆ ว่า “ริเวอร์” เหมือนกันทั้งหมด ยังไม่มีการเรียกชื่อแม่น้ำอย่างสมัยปัจจุบัน

      อยุธยาจึงเป็นเมืองน้ำอย่างไม่ต้องสงสัยเพราะภูมิศาสตร์เป็นเช่นนั้น แม่น้ำเจ้าพระเป็นคลองเมืองด้านตะวันตกและด้านใต้ แม่น้ำลพบุรีเป้นคลองเมืองด้านเหนือ และแม่น้ำป่าสักเป้นคลองเมืองด้านตะวันออก รวมทั้งเส้นเลือดฝอยที่แตกสาขาเป็นลำคลองเล็กไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา รูปร่างอยุธยาจึงคล้ายเกาะดังเพลงยาวพระราชนิพนธ์กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทพรรณนาว่า “บริเวณอื้ออลด้วยชลธี ประดุจเกาะอสุรีลงกา”

      เช่นกันถ้าจำไม่ผิดเอกสารมหาราชวงศ์พงศาวดารพม่าก็บอกไว้ว่าอยุธยาหน้าน้ำจะเจิ่งนองดังเวิ้งทะเลที่รอบเกาะ เป็นเหตุให้ทัพพม่าต้องยกทัพกลับหงสาวดีเพื่อหนีน้ำ

      อยุธยายามนี้หลายคณะจึงตั้งเป้าที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เฉพาะสถานที่เกี่ยวข้องกับมหาราชพระองค์นี้ไม่ว่าจะเป็น วัดใหญ่ชัยมงคล,วัดภูเขาทองซึ่งมีพระบรมราชนุสรณ์,วัดสุวรรณดาราม ,วัดวรเชษฐ์(ใน) และวัดวรเชษฐ์ (นอก)

      โดยเฉพาะสองวันนี้กลายเป็นสถานที่แย่งชิงวีรบุรุษอีกครั้งเมื่อต้องการรู้ว่าสถานที่ใดเป็นที่ถวายพระบรมศพ แม้ว่าวัดวรเชษฐ์ใน จะไม่มีพระภิกษุจำพรรษา แต่ที่วัดวรเชษฐ์นอกนั้นมีเจดีย์และติดป้ายอย่างเด่นชัดว่าที่บรรจุพระอิฐสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับป้ายเชิญบูชาวัตถุมงคล จตุคามรามเทพและสัการะพระองค์ดำ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต(ในยามที่มนุษย์หาที่พึ่งทางใจ)

      ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสถานที่ใดเป็นสถานที่จริง ทั้งนี้เป็นเพียงแต่ข้อสันนิษฐานเท่านั้น

      อยุธยาศึกษา จึงเป็นเรื่องของการทำความเข้าที่มาของ “อยุธยาราชธานีแห่งแรกของสยาม” ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่มักจะถูกมองข้ามจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือ วรรณคดี ที่เกี่ยวข้องกับอยุธยา ซึ่งดูเหมือนว่าความรัฐอยุธยาจะเริ่มชัดเจนในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (ครองราชย์ พ.ศ. 1991 – 2031) หรือหลังพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาราว 100 ปี

      ไม่ว่าจะเป็นด้านการปกครองและวรรณกรรมในสมัยอยุธยา

      แต่ทั้งนี้ ครูที่สอนประวัติศาสตร์และวรรณคดีมักมองวรรณคดีอยุธยานั้นอยู่ที่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีไทย เพราะเข้าใจว่า ศรีปราชญ์มีตัวตนจริง และยุคเดียวกันกับพระศรีมโหสถ ก่อนจะมาถึงเจ้าฟ้ากุ้ง เป็นยุคสุดท้าย

      อนึ่ง เหตุที่วรรณคดีถูกมองข้ามพระเป็นเรื่องร้อยกรอง และหลักฐานที่ประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นพงศวดารนั้นเป็นร้องแก้ว เลยถูกมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกันระหว่างเรื่องร้อยแก้วกับร้อยกรอง?

      แท้ที่จริงแล้ว ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในเรื่องอยุธยาศึกษาจะปฏิเสธเรื่องวรรณคดีโบราณไม่ได้ โดยเฉพาะ โองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะร่ายและโคลง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการต่อมาของรูปแบบฉันทลักษณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

      มหาชาติคำหลวง ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อ พ.ศ. 2025 พระรนิพนธ์ที่เมืองพิษณุโลก ซึ่งเชื่อว่าน่าจะแต่งก่อน กำสรวลสมุทรหรือที่รู้จักกันอีกอย่างหนึ่งว่ากำสรวลศรีปราชญ์ ราว พ.ศ. 2025-2031  รวมทั้ง ทวารทศมาศ พ.ศ. 2027-2031 และก่อนมหาชาติคำหลวง คือ ยวนพ่าย พ.ศ. 2017-2025

      ซึ่งทั้ง ยวนพ่าย,กำสรวลสมุทร และ ทวารทศมาศ เป็นโคลงทั้งหมด ที่สำคัญเป็นโคลงดั้นและอยู่ในยุคเดียวกันน่าจะเป็นคนกลุ่มเดียวกันแต่งที่สำคัญล้วนเป้นกวีในราชสำนักของพระบรมไตรโลกนาถ (อ่านรายละเอียดได้จาก กำสรวลสมุทรหรือกำสรวลศรีปราชญ์:สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ)

      ความเป็น “อยุธยาศึกษา” จึงไม่ได้อยู่แค่เพียงความเป็นราชอาณาจักรอยุธยาที่ครอบคลุมโดยแม่น้ำลำคลอง ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่อยู่ทั้งสองฝั่งฟากแม่น้ำ การเมือง เศรษฐกิจสังคม แต่ทั้งหมดอาจสรุปรวมได้จาก นิทานตำนาน เช่น ตำนานเรื่องท้าวอู่ทอง โองการแช่งน้ำ การบอกเล่าเรื่องความเชื่อศาสนาผ่าน มหาชาติคำหลวง และการใช้ศาสนาความเชื่อมาสร้างหนังสือสนเท่ห์อย่างเพลงยาวพยากรณ์

      รวมทั้งการปรับตัวของวรรณคดีของอยุธยาตอนปลาย เช่น นิราศนครสวรรค์ ของพระศรีมโหสถ ซึ่งจะเชื่อโยงมาถึงลีลากาพย์ห่อโคลงของเจ้าฟ้ากุ้งหรือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ และวรรณคดีที่ใกล้เคียงวิถีชีวิตผู้คนยุคอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่าง เสภาขุนช้าง – ขุนแผน

      แม้กระทั่งภาษพูดในสำเนียงโขนจากสำนวนรามเกียรติ์ที่มีเปรียบเทียบทั้งสำนวนสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือปัญหาที่ครู – อาจารย์ ผู้สอนบอกว่าไม่มีในห้องเรียนเป็นเหตุให้วิชาประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่น่าเบื่อเพราะขี้คร้านจะท่องจำ

        กรุงศรีอยุธยา นั้นเกิดขึ้นด้วยความเรียบง่ายบนความเป็นวัฒนธรรมร่วมของผู้คนทั้งสองฝั่งน้ำ ก่อนจะเติบโตเรืองโรจน์อย่างด้วยความเป็นเมืองท่าและเจริญถึงขีดสุดก่อนจะแตกดับอย่างเร้าร้อนเมื่อ ก่อนวันวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศ เพราะมีความเจริญด้านวัตถุแต่ล้มเหลวอยู่ภายในราชสำนักอยุธยา

      ความเป็นอยุธยาจึงลอยฟ้าบ้านแปลงเมืองมาสู่กรุงธนบุรี – รัตนโกสินทร์ อย่างนิราศนรินทร์ ของ นายนรินทร์ ว่า

      อยุธยายศล่มแล้ว          ลอยสวรรค์ ลงฤา
      สิงหาสน์ปรางค์รัตน์        บรรเจิดหล้า
      บุญเพรงพระหากสรรค์    ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
      บังอบายเบิกฟ้า             ฝึกฟื้น ใจเมืองฯ

      กิจกรรมการอบรมครู – อาจารย์ แบบตลาดวิชาเช่นนี้ น่าจะมีเรื่อยๆ เพราะสังคมยังขาดการเผยแพร่ความรู้อีกมากโขครับ มิเช่นนั้นเราก็จดแต่ว่า พม่ามาเผ่ากรุงศรีอยุธยา ส่วนไปกระทำอะไรกับล้านนา ล้านช้าง เขมร ปัตตานี นั้นลืมหมด!




กิจกรรม

รวมภาพประกวดกลอนสดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ราชภัฏมหาสารคาม
ยุวกวีศรีศิลป์ ปีที่ ๒๓
สวดพระอภิธรรมศพ ประสพโชค เย็นแข
ล่องเรือเพลง สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ภาพวันประชุมใหญ่สมาคมนักกลอนฯ 2555
ภาพข่าวประชุมใหญ่สมาคมนักกลอน และวันนักกลอน
สงกรานต์นักกลอนประจำปี ๒๕๕๔
การประกวดคำขวัญบ้านเกาะ
Asean Youth 1:เยาวชนอาเซียนครั้งที่ 1
ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ ๑๐
ร่องรอยกาลเวลา 450 ปีเวียงจัน: หนองคาย-เวียงจันท์
พบปะกับกวี ทองแถม นาถจำนง และเพื่อน
ประชุมใหญ่ประจำปีและวันนักกลอน ๒๕๕๓
สบายดีเวียงจันท์ 450 ปี กับ ครูกวีน้อยเมืองนครฯสัญจร
ภาพกิจกรรมร่องรอยกาลเวลา: นครปฐม
ภาพกิจกรรมร่องรอยกาลเวลา: พัทลุง
ประชันสักวา-กลอนสด ม.ปลาย ราชภัฏมหาสารคาม
ค่ายนักเขียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
โครงการแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะจุดประกายความคิด
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๙
ตลาดวิชา ร่องรอยกาลเวลา: โขง
ภาพกิจกรรมสัมพันธ์ไทย-จีน(จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
งานรับมอบรูปปั้นเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
รักษ์เหลืองจันท์ ครั้งที่ 9
ค่ายเยาวชน ดนตรี กวี ศิลป์ สัญจร ๒๕๕๓
ภาพการประชุมใหญ่ และงานวันนักกลอน ๒๕๕๒
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๘ ตอนที่ ๓
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๘ ตอนที่ ๒
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๘
กิจกรรมร่องรอยของเวลา
งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ ครั้ง ที่ ๘
บันทึกวันนักกลอน ๒๕๕๑
ค่ายตะพานหิน
ผลการประกวดคำขวัญรณรงค์การเลือกตั้ง
สักวากลอนสดเรื่อง กากี ตอน ถูกลอยแพ
เงาสะท้อน:ปิยะพันธุ์ จำปาสุต
ค่ายภาษาไทยรักการอ่าน เขาทับคล้อ
ค่ายเยาวชนนครปฐม
78 ฝน "ดาเรศ" ลุงประสิทธิ์ โรหิจเสถียร
90 ปี เสนีย์ เสาวพงศ์
ภาพเล่าเรื่องกิจกรรม
กิจกรรม ยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ 17 นิราศภูเขาทอง
ร่องรอยของเวลา : เครือญาติ ชาติพันธุ์ สุวรรณภูมิ
สงกรานต์นักกลอน-สงกรานต์พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง
งานเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ “พระเมรุ” แรกมียุคกรุงศรีอยุธยา
พิธีไหว้ครู-ครอบครู ช่างสิปป์หมู่,
สักวาบอกบท พระมหาชนก ตอนเรือแตก
สยามประเทศไทย ของ พล นิกร กิมหงวน
รวมภาพค่ายเมืองเลย ๑๒-๑๓ ม.ค.๒๕๕๐
รวมภาพงานวันนักกลอน ๑๐ ธ.ค. ๒๕๕๐
รายงานกิจกรรมการแข่งขันประชันกลอนสด
จัดทำหนังสือนวมินทราศิรวาท
ผลการแข่งขันแซววาทีกลอนสด ๔ ภาค
ผลแข่งขันกลอนสดภาคกรุงเทพฯและปริมณฑล
ถอดรหัสนักวาดการ์ตูนในฝัน รุ่นที่ 4
ประมวลภาพข่าวสมาคมนักกลอนฯประชุมสัญจร
ตลาดนัดวิชา เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลโต้วาทีนักเรียนมัธยมงานมหกรรมประชาธิปไตย
ค่ายบ้านหมี่
ภาพงานการอบรม ยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ 16
ภาพประชุมสัญจร 22 เม.ย.
บรรยากาศงานสงกรานต์นักกลอน
งานวันเกิด พี่เนาวรัตน์
ภาพงานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ ครั้ง ที่ ๖ article
รูปงานศพพ่อของ ผศ.ศิวากานท์ article
กิจกรรมออกค่ายตะพานหิน article
เปิดศูนย์ประสานงานสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย article



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ