ReadyPlanet.com
dot dot
คำกวี เส้น สี และแสงเงา

คำกวี เส้น สี และแสงเงา
-----------------------------------------------------------------------------------------

โชคชัย  บัณฑิต’

            ทุกครั้งที่เห็นภาพเขียนใส่กรอบวางขายตามที่ต่าง ๆ   ภาพเขียนชิ้นที่สะดุดตามักเป็นมากกว่าภาพเหมือนทั่วไป
            โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นที่น้ำหนักแสงเงาเพื่อก่ออารมณ์บางอย่างตามเจตนาของผู้วาด ยิ่งภาพเหมือนบุคคลด้วยแล้ว นอกจากอารมณ์ของผู้เป็นแบบจะปรากฏในสีหน้าและแววตา บรรยากาศของภาพที่เกิดจากองค์ประกอบความเข้มข้นอ่อนแก่ของแสงเงา ยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ภาพศิลปะกับภาพวาดดาด ๆ ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
            เพราะแม้ภาพเขียนบางภาพราวจะถ่ายมาจากต้นแบบ เหมือนจริงยิ่งกว่าเหมือน ละเอียดยิ่งกว่าภาพถ่าย  แต่ก็ไม่อาจเทียบได้แม้กับภาพถ่ายบางภาพ ที่ผู้สร้างสรรค์อาศัยการจัดวางองค์ประกอบโดยคำนึงถึงอานุภาพของแสงและเงา ตลอดจนองค์ประกอบอื่นที่จะช่วยเสริมให้ภาพถ่ายจากกล้องธรรมดากลายเป็นงานศิลปะเทียบได้กับภาพเขียนชั้นดีอีกชิ้นหนึ่ง  กระทั่งภาพเขียนที่ผู้วาดอาศัยการปาดป้ายปลายภู่กันโดยมิได้พะวงกับความเหมือนหรือไม่เหมือน แต่ยังคงสื่ออารมณ์และบรรยากาศของภาพได้ดังต้องการ ภาพนั้นก็นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะไม่แพ้กัน  การจะวัดว่าเหมือนหรือไม่จึงไม่ใช่สาระ

            เราจึงได้เห็นช่างภาพบางรายเฝ้ารออุบัติการณ์แห่งแสงเช้าหรือเงาค่ำ กระทั่งอาศัยอุปกรณ์ช่วยอย่างอื่นตามจำเป็น ลักษณะเดียวกับจิตรกรเขียนภาพกลุ่มคนในห้องสลัวตัดกับแสงจัดจ้านอกหน้าต่าง ผู้กรองเอารังสีตะวันมาโรยไว้บนกลีบบัวสล้างกลางบึงใส ฯลฯ

            ภาพเขียนที่สะดุดใจจึงอาจเป็นภาพที่เน้นแสงหรือลดแสง ชนิดละเอียดลออเกินกว่าตาปุถุชนจะสังเกตได้ตามธรรมชาติ  ทั้งนี้เพื่อก่ออารมณ์ทางศิลปะโดยไม่ต้องคำนึงถึงความเหมือนจริงหรือไม่ไปทุกครั้ง  ความสามารถในการจับอารมณ์ความรู้สึกของภาพและถ่ายทอดออกมาให้กระทบใจผู้อื่นได้จึงนับว่ามีความสำคัญมากกว่า

            ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อสังเกตและทัศนะของผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องศิลปะการวาดภาพ  อาศัยเพียงความรู้สึกที่เกิดและสังเกตได้อยู่เนือง ๆ เท่านั้น

            บทกวีก็น่าจะเป็นไปโดยวิธีเดียวกัน บางครั้งอาจพบว่าคำง่าย ๆ มิได้พราวสัมผัสแต่อย่างใด กลับจับใจผู้อ่านได้อย่างน่าฉงน  ด้วยเหตุที่ผู้เขียนสามารถจับเอาอารมณ์ความรู้สึกกระทบใจตนมาสื่อผ่านภาษาได้ตรงใจ เต็มในความรู้สึก เมื่อผู้อ่านเปิดรับคลื่นความรู้สึกได้ตรงกับผู้เขียนความประทับใจกับผลงานชิ้นนั้น วรรคนั้น จึงเกิดได้ในทันที แต่งานฉันทลักษณ์บางครั้งก็สร้างปัญหาเรื่องจำนวนคำและสัมผัสที่วางกรอบเอาไว้ตายตัว เราจึงอาจพบวิธีทำงานของกวีในลักษณะเดียวกับจิตรกรหรือตากล้องผู้ประกอบงานศิลปะ ด้วยการเพิ่มหรือลดแสง อาศัยการกล่าวเกินจริง(อติพจน์) การเปรียบเทียบ(อุปมา อุปลักษณ์) การเนรมิตแสงตะวันให้มีชีวิตเยี่ยงบุคคล(บุคลาธิษฐาน) ฯลฯ  สื่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกหรือบรรยากาศอย่างใจผู้เขียนต้องการ ทั้งที่ผิดธรรมชาติ(แต่เกิดขึ้นจริงในโลกศิลปะ และโยงไปสู่ความลึกซึ้งทางอารมณ์ได้)

            การใช้โวหารภาพพจน์ในบทกวีจึงนับว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเพ่งพิจารณาเรื่องความงามของคำ สมดังอริสโตเติลยกย่องไว้ว่า “อุปลักษณ์” (metaphor) เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับกวี

            เราจึงอาจพบว่าบทกลอนบางชิ้นช่างแพรวพราวทั้งสัมผัสและรูปคำ แต่มิอาจกระทบใจหรือให้ความรู้สึกลึกซึ้งทางอารมณ์แก่ผู้อ่าน ผิดกับบทกวีบางชิ้น(หรือแม้แต่บางวรรค)ที่ใช้คำธรรมดา แต่กินใจและจับใจ  เพราะผู้เขียนสามารถจับเอาความรู้สึกของตนมาสื่อผ่านภาษาง่าย ๆ แต่ได้ภาพได้อารมณ์สมดังตั้งใจ

            ทั้งนี้ สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ไม่อาจมองข้าม นอกเหนือไปจากฝีมือการร้อยคำแล้ว โวหารกวีก็น่าจะมีส่วนช่วยยกระดับกาพย์กลอน เช่นเดียวกับรูปทรงของเส้น สี และแสงเงาในภาพเขียน เพียงอาศัยสื่อหรือภาชนะต่างรูปทรงมาประกอบสร้าง แต่โดยวิถีทางสายเดียวกัน.
 


น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ : จุดประกายวรรณกรรม   3 พฤศจิกายน 2545.




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ