ReadyPlanet.com
dot dot
ลมปากที่ไร้มารยา

ลมปากที่ไร้มารยา    

โดย ขุน รำยอง

                  ท่านผู้อ่านที่รัก    โลกวรรณกรรมเป็นโลกมหัศจรรย์  ท่านยาขอบ (นายโชติ แพร่พันธุ์)  ท่านเขียนจดหมายถึง “วนิดา” สาวน้อยนัก(อยาก)เขียนไว้ใน “สินในหมึก” ว่า... “อาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่พระเจ้าลงโทษและประชาชนลงทัณฑ์  แต่ถึงกระนั้นก็ดี  ผู้ใดอย่าริอ่านเป็นนักเขียนเข้า  เพราะถ้าริเข้าแล้วท่านจะหยุดไม่ได้  ทั้งๆที่มีความทุกข์แต่เป็นความทุกข์ที่หอมหวานและเย้ายวน”

                 และท่านยาขอบยังเขียนจดหมายตอบสาวน้อยอีกคนหนึ่งที่ชื่อชะอุ่ม ปัญจพรรค์  อักษรศาสตรบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์จุฬาฯว่า...


“อาขอแนะนำสั้นๆว่า  ถ้าอยากจะเป็นเสือ  เธอต้องกินเนื้อเสือ”

ครับ  ในช่วงปี ๒๕๐๙-๒๕๑๐ (ประมาณนั้น)  ท่านจอห์น สไตน์เบ็ค  พญาอินทรีวรรณกรรมแห่งสหรัฐอเมริกาได้โผผินบินผ่านสมรภูมิเวียดนามมาแวะพักที่โรงแรมย่านพญาไท  (ปัจจุบันคือโรงแรมสยามซิตี   ของท่านศิลปินใหญ่กมลา สุโกศล)  คณะนักเขียนรุ่นใหญ่ของสยามจึงได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับนักเขียนโนเบลไพร้ซ์และภริยาอย่างสมเกียรติ  เหยี่ยวข่าววรรณกรรมทั่วฟ้าเมืองไทยจึงต้องโฉบเฉี่ยวเข้าไปเก็บเกี่ยว  “วรรคทอง”  ที่ร่วงออกจากปากของท่านอย่างเกาะติดทุกเม็ดทีเดียวเชียว  หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ได้จัดทำสกู๊ปรายงานไว้อย่างสมบูรณ์  (หากท่านผู้อ่านที่รักต้องการอ่านกันเต็มๆก็โปรดไปขอยืมอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี)

ครับ  นักข่าวท่านหนึ่งถามว่า  “ถ้ามีผู้ที่อยากจะเป็นนักเขียนต้องการขอคำแนะนำจากท่าน  ท่านจะมีข้อแนะนำอย่างไรบ้าง...”    ท่านบิ๊กจอห์นจึงหันไปตอบนักข่าวอย่างฉับพลันทันทีว่า   “คุณรีบไปบอกเขาว่า ขอให้เขาเลิกคิดได้แล้ว  และบอกให้เขาไปหางานอื่นทำเสียเถิด  เพราะอาชีพนักเขียนนั้นมันแสนจะทารุณ มันทุรกันดาร มันลำบากยากแค้นแสนเข็ญ”  นักข่าวได้ฟังแล้วถึงกับผงะงุนงง    ท่านบิ๊กสไตน์เบ็คจึงแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า  “แต่ถ้าเขายังยืนยันว่าอยากจะเป็นนักเขียนอยู่อีก  คุณก็บอกเขาไปเลยว่า  จงลงมือเขียนทันที เขียนทุกวัน เขียน ๆ ๆ ๆ...” 

ครับ  ฟังวาทกรรมจากปาก(กา)ของพญาอินทรีไทยกับพญาอินทรีอเมริกันเพียงสองท่านแค่นี้ผมเองก็เกิดความรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวเต็มที  ยิ่งได้มีโอกาสท่องไปในโลกวรรณกรรมอันกว้างใหญ่ไพศาลออกไปแล้วก็ยิ่งเกิดความรู้สึกว้าเหว่เหลือเกิน  ครั้นดั้นด้นไปพบวาทกรรมของท่านอินทรี “เฮมมิ่งเวย์” เข้าอีกประโยคหนึ่งว่า...  “ถนนนักเขียนเป็นถนนสายขรุขระทุรกันดาร ท่านจะต้องเดิน ๆ ๆ และเดินไปคนเดียวตามลำพัง  โดยไม่อาจรู้ได้ว่าปลายทางนั้นมันเป็นฉันใด...”  จึงตอกย้ำกระหน่ำจิตวิญญาณของคน

อยากเป็นนักเขียนบางคนต้องลังเล  และอาจจะต้องตัดสินใจชิดซ้ายเลี้ยวเข้าป่าเข้าดงไปปลูกพริกปลูกมะเขือกินเองจะเข้าท่ากว่า  เฮ้อ...คิดแล้วกลุ้ม ยิ่งกลุ้มก็ยิ่งคิด ยิ่งคิดก็ยิ่งจน – เครียด – กินเหล้า    กินแล้วกินอีก  จนกลายเป็น “นัก(อยาก)เขียนขี้เหล้า” เดินสะเปะสะปะเกลื่อนถนนสายวรรณกรรมในบ้านนี้เมืองนี้   เจอกันแต่ละทีก็มีแต่ตั้งญัติเพ่งโทษคนนั้นเพ่งโทษคนนี้ (ยกเว้นตัวเขาเอง)  ประมาณนั้น

ยิ่งในโลกวรรณกรรมบ้านเรามันมีแต่การแข่งขันชิงถ้วยชิงโล่แบบไร้ยุทธศาสตร์ ก็ยิ่งก่อประกายวิวาทะกันแบบลัทธิ “ปัจเจกนิยม” จนเลยเถิด  นักคิด-นักเขียน-กวี-ศิลปินบ้านเราจึงกลายเป็น “แมลงเม่า” กันไปเป็นทิวแถว  เพราะเหตุฉะนี้เอง  ผมและเพื่อนๆประมาณ ๕๐ คน จึงได้ดิ้นรนวางยุทธศาสตร์จัดตั้ง “สภากวีไทย” ขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๑  หากญาติน้ำหมึกท่านใดต้องการข้อมูลเพื่อสานต่อเติมเต็มกันนจริงๆล่ะก็  โปรดรออ่านในหนังสือชื่อ  “สภากวีไทย – ตำนานมีชีวิต” ในเร็วๆนี้ ครับ    ท่านผู้อ่านที่รัก  เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมนั่งพิงต้นมะพร้าวหลับไปที่สวนสาธารณะใกล้คลองทวีวัฒนากรุงเทพฯ ต้องสะดุ้งตื่นโดยพลันเมื่อได้ยินเสียงปลุกจากกริ่งโทรศัพท์  “พี่เหมอๆ จะทำเว็บหรือเปล่า  โอเคเนชั่นน่ะ...” ผมจึงตกกระไดตอบรับกลับไปว่า “โอเค...”  ตามประสา คนไร้จริตมารยา นั่นแล   จึงต้องขอขอบคุณสองกุมารสยามคู่ใหม่ – “คุณมหากับนายทิวา”  สหายหนุ่มผู้ใกล้ชิด  ครับ  ผมจึงต้องทำงานหนักอีกวาระหนึ่งนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป  มันเป็น “ภาระต้องปฏิวัติ” อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น  โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง (ฮา)ท่านผู้อ่านที่รัก  ขอขอบคุณทุกท่านที่แวะเวียนมาเยี่ยมกระท่อมน้อย “เพิงหมาแหงน” ของผม ณ  ชุมชนโอเคเนชั่น  อาทิเช่น  ไอ้ปลง  คมศร ทักษิณประเทศ  สานิตย์ สีนาค  โกศล  โฟล์คเหน่อ  แมวเหมียว  ออกหลวงไพร่  พันธกานท์  ศุภศรุต  ป้ารุ  ญิบ พันจันทร์  พีร์ระพิชญ์

ภาษาหลากสี  สีคาร  แก้วตา  ศุภวรรณ  พู่กัน  ลานเทวา  นายทิวา  ประดิษฐ์  สิกรี  อะหนึ่ง  เป็นต้น  โดยเฉพาะท่านแมวเหมียวกรุณาเอารูปถ่ายที่เนปาลมาดูกันอีกด้วย   และต้องขอขอบคุณท่านปรัชญาเมธีพีร์ระพิชญ์ที่ช่วยแปลคำบาลี “อัสมิมานะ” ออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่เฮาได้อย่างงดงาม  ส่วนวรรคสุดท้ายของบทอัสมิมานะว่า “อัสมิมานะปัจจยตา” นั้น  มีความหมายว่าไอ้ตัวอุปาทาน “ตัวกูของกู” นี่แหละเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ “คนขี่คนจนจมปฐพิน” นั่นแล     ครับ  บทกวีมันเป็นภาษาศิลปะ ท่านอาจจะต้อง “อ่านระหว่างบรรทัด”กันเอาเองแบบตัวใครตัวมันบ้างก็แล้วกัน  ดำผุดดำว่ายสนุกดี  อีทีฟังเพลงฝรั่งไม่รู้เรื่องพวกเราก็ยัง “จุ๊กจุ๋ย” มันหยดติ๋งๆมิใช่เรอะ  เฮ้อ...      ครับ   เมื่อสองวันที่แล้วผมได้รับคำเชิญให้ไปพบ “กวีข้างคลองแสนแสบ” ท่านหนึ่ง  ที่ร้านข้าวขาหมูย่านรางน้ำ  เพื่อร่วมรำลึกกความหลังฝังใจหลังแก้วเมรัย  จึงได้หอบหิ้วเอา

มะพร้าวห้าวไปแจกจ่ายท่านหลายลูก  แถมด้วยเข็มขัดหัวม้าแข่งอีกหนึ่งเส้น  เพราะคลำดูที่ขอบกางเกงยีนส์ตัวเก่งของท่านแล้วไม่มีเข็มขัด กลัวว่ากางเกงท่านจะหลุดง่ายเกินไป  และยังบอกท่านอีกว่าหากสองปีข้างหน้าได้ซีไร้ต์ขึ้นมาล่ะก็ผมจะเอา  “จักรสุริยัน” ไปมอบให้ถึงโอเรียนเต็ลทีเดียวเชียว          ต่อมาวันรุ่งขึ้นได้แวะไปเยี่ยมสำนัก “สาระบาน” ย่านบางลำภู  ก็เลยต้องบานฉ่ำกันจนแฉะไปทั้งบาง  กวีหนุ่มหน้าบานสะพรั่งนามวัฒนา ธรรมกูล  แขกขาประจำได้แจกยาหอมให้ผมเอาติดมือไปดมคนเดียวที่บ้านแท่งหนึ่ง  ท่านเรียกยาหอมยี่ห้อ “กลอนโชะ” บอกว่าได้ต้นแบบมาจาก “กวีสี่วรรค” ของเจ้าสำนัก “เรือนอินทร์”-ท่านสุจิตต์ วงษ์เทศ  ซึ่งจะท่านจะหาอ่านได้ในมติชนฉบับวันอาทิตย์หน้า ๓ ไม่เคยขาดเลย  ผมแอบตั้งยี่ห้อให้ท่านว่า “กลอนชัวะ” คือชัวะเดียวจอด อาทิเช่น “ต้องทำใจใหญ่เท่าภูเขาทอง  หมาเยี่ยวรดก็ไม่ต้องไปโกรธหมา  อยากเป็นใหญ่ขอให้จำเป็นตำรา  ใครเขาด่าอย่าเพิ่งด่วนไปแดกปูน”  ตีพิมพ์อยู่ในมติชนฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๒ นะครับ    ครับ  พวกเราลองหันมาเล่นกลอนชัวะกลอนโชะชิงโล่ชิงถ้วยกันบ้างก็น่าจะสนุกดี  จะเอาไหมท่านยุทธ์ โตอดิเทพย์ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย  ถ้าเอาผมก็อยากจะส่งเข้าประกวดล่วงหน้าซักหนึ่งชิ้น ดังนี้  

“กู คือ ครู    อย่าลบหลู่เหยียบวิญญาณ   หน้าที่และการงาน   มือกูปั้นประเทศไทย”   แล้วถ้าจับพลัดจับผลูได้โล่ได้ถ้วยขึ้นมาจริงๆ  ผมก็จะวิ่งเต้นจัดหางบประมาณมาทำป้ายทองคำจารึกกลอนโชะกลอนชัวะบทนี้เอาไปแขวนไว้หน้าประตูโรงเรียนวิทยาลัยมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ   โปรดเถิดท่านที่รัก  ประเทศนี้กำลังต้องการ “คุรุปฏิวัติ” โดยด่วน  เพื่อหงายกะลาที่ครอบ “หัว” พวกเด็กๆกันเสียที  ส่วนที่ครอบ“หัว” ของกวีอยู่ก็อย่าเพิ่งไปจับหงายกันเลย  ใครอยากเป็นหนอนกวี  เป็นดักแด้กวี  หรือเป็นผีเสื้อกวี  ก็อย่าเข้าไปแตะ โลกจะลุกเป็นไฟบรรลัยกัลป์ทีเดียวเชียวเหวย  เอวัง




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ