ReadyPlanet.com
dot dot
เมืองร้อยเอ็ดประตู

เมืองร้อยเอ็ดประตู
ไม่ใช่เมืองโหวด เป่าหวูด

     ร้อยเอ็ด เท่ากับร้อยบวกหนึ่ง หรือร้อยกับหนึ่ง  เขียนเลขว่า 101 ในพจนานุกรมมติชนอธิบายว่าโดยปริยายหมายความว่ามากตั้งร้อย มีตัวอย่างในกลอนบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง ว่า “กษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดหัวเมืองใหญ่”
     คำว่าร้อยเอ็ด  ยังมีใช้ในภาษาปากชาวบ้านเป็นคำคล้องจอง เช่น ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ และร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง หมายถึงทั่วทุกหนแห่งหรือมากแห่ง
ชื่อเมืองร้อยเอ็ด มีในตำนานว่า “เมืองร้อยเอ็ดประตู” หมายความว่าเมืองที่มีประตูมากนับร้อย แสดงว่ามีบริวารบ้านเมืองอยู่ทิศทางต่างๆที่มีประตูเชื่อมโยงนับร้อยหนร้อยแห่ง ตรงกับนามเมืองในอุดมคติศูนย์กลางจักรวาลว่า“ทวารวดี”
     ทวาร เป็นคำบาลี-สันสกฤต แปลว่า ประตู, ช่อง, ทาง เช่น ทวารบถ คือ ประตูทางเข้าออก, ทวารบาล คือนายประตู คนเฝ้าประตู
     วดี เป็นคำบาลี-สันสกฤต แปลว่า รั้ว (มาจากคำ วติ, วัติ)
     ฉะนั้น ทวารวดี จึงแปลว่าล้อมรอบด้วยประตู ตรงกับความหมายชื่อร้อยเอ็ด อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เคยเขียนไว้ว่าทวารวดีมาจากภาษาแขก  ถ้าแปลเป็นภาษาลาวจะได้ว่า เมืองร้อยเอ็ดประตู แล้วยกตัวอย่างพยานคือเมือง หงสาวดี มีประตู 20 ทิศ แต่ละประตูเป็นชื่อเมืองบริวารในมณฑล เช่น ประตูเชียงใหม่ ฯลฯ
     ในมหากาพย์มหาภารตะ ทวารวดี หรือทวารกา เป็นนามเมืองพระกฤษณะ แล้วบ้านเมืองและรัฐโบราณทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ราวหลัง พ.ศ. 2000 ขอยืมมาเรียกชื่อคือรัฐทวารวดี ในความหมายมณฑลทวารวดีของ“พระเจ้ากรุงทวารวดี”   ที่เน้นองค์พระราชามหากษัตริย์มากกว่าความเป็นเมือง
ฉะนั้น เมืองร้อยเอ็ดจึงมีความหมายมากกว่าแค่บอกว่าเป็นเมืองที่มีหลักฐานตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคทวารวดี และมากกว่าแค่บอกว่าคูเมืองกว้างยาวเท่าไร? รูปอะไร?
     ส่วนโหวด เป็นคำเดียวกับหวูด ใช้เรียกเป่าเขาควาย(เสนง)ก็ได้ แต่คนโบราณสองฝั่งโขงใช้เรียกหลอดกระบอกไม้เล็กๆขนาดสั้นยาวต่างกัน มัดรวมไว้ที่หัวบั้งไฟ เมื่อบั้งไฟขึ้นสูงสุดจนหมดแรงแล้วปักหัวลงรับลมจะมีเสียงต่างๆ       ฟังไพเราะ
โหวดที่ใช้เป่าเข้ากับวงดนตรีทุกวันนี้ ย่อส่วนมาจากหัวบั้งไฟ แล้วอาจรับแนวคิดจากเครื่องเป่าของฝรั่งอย่างเม้าธ์ออร์แกน หรืออย่างอื่นในลักษณะเดียวกันมาประสมประสานเป็นสิ่งใหม่ ชาวบ้านใช้เป่าเล่นมาก่อนนานมากแล้ว ถือเป็นสมบัติวัฒนธรรมร่วมกันทั้งสองฝั่งโขง ไม่มีใครเป็นเจ้าของผู้เดียว หรือแห่งเดียว
     ความเป็นเมืองร้อยเอ็ดที่มีพัฒนาการตั้งแต่โบราณกาลก่อนยุคทวารวดี(ราวหลัง พ.ศ. 1000) สืบเป็นจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เติบโตขึ้นมาด้วยผลของเส้นทางคมนาคม“ประตู”การค้ารอบทิศทาง หรือร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ-เจ็ดหัวเมือง เป็นศูนย์กลางของการค้าผ่านทุ่งกุลาฯมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ราว 2,500 ปีมาแล้ว ผมเห็นว่าควรทำให้หอสูงมีความหมายมากกว่าโหวดเป่าหวูด
จะฟังคำแนะนำนี้หรือไม่ฟังก็ตามใจ ไม่มีอำนาจอะไรบังคับและไม่ว่าอะไรเลย แต่ขอยกย่องนายกเทศมนตรีและสมาชิกท้องถิ่นที่เอาใจใส่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองร้อยเอ็ด ดังที่มีเนื้อความเขียนบอกเล่า(พิมพ์อยู่ในพื้นที่สุวรรณภูมิฯ)
และขอบอกว่าร้อยเอ็ดยังมีวิชาความรู้อีกมากที่ควรแบ่งปันเผยแพร่ให้คนร้อยเอ็ด, คนอีสาน, คนไทยทั้งประเทศ, และคนสุวรรณภูมิทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ เช่น แอ่งอารยธรรมทุ่งกุลา มีภาชนะใส่ศพ เป็นต้นกำเนิดโกศทุกวันนี้


หอสูง ทรง“โหวด”
จังหวัดร้อยเอ็ด

โดย นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด
สำนักเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด


     เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ขอขอบคุณคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับโครงการปรับปรุงกำแพงเมือง คลองคูเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งรายละเอียดที่ลงตีพิมพ์อาจคลาดเคลื่อน จึงขอเรียนข้อเท็จจริงมาให้ทราบดังนี้
เมืองร้อยเอ็ด เป็นเมืองโบราณ มีการวางผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบเมือง คูน้ำกว้างประมาณ 30 เมตร คันดินกว้างประมาณ 25-30 เมตร สูงประมาณ 4-5 เมตร ภายในตัวเมืองมีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาจนสมัยวัฒนธรรมทวารวดี
คูน้ำหรือคลองคูเมือง กำแพงเมือง สภาพโดยรวมยังอยู่เกือบสมบูรณ์ มีในบางจุดที่ถูกแปรสภาพ หรือถูกทับถมไปบ้างทางทิศตะวันตกของเมือง ส่วนคันดินที่เป็นกำแพงเมือง ยังมีสภาพเป็นเนินดิน รูปร่างยาวรีขนานไปกับแนวคูน้ำวัดบูรพา ในบริเวณตรงข้ามโรงเรียนสตรีศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด บริเวณใกล้บ้านพักครูโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยที่ยังปรากฏสภาพกำแพงเมืองที่ชัดเจน ในบริเวณอื่นถูกทำลายจนไม่เห็นสภาพแล้ว
ในปี 2544 เทศบาลฯได้กำหนดแผนปรับปรุงกำแพงเมือง คลองคูเมืองขึ้น เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์ไว้เป็นหลักฐานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง รวมถึงพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้สนับสนุนงบประมาณให้สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี เข้าดำเนินการศึกษาข้อมูลทางวิชาการ โดยการขุดค้น ขุดตรวจแนวกำแพงเมืองร้อยเอ็ดในบริเวณวัดบูรพาภิราม และตรงข้ามโรงเรียนสตรีศึกษา นำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางการศึกษา การอนุรักษ์ พัฒนา ปรับปรุงสภาพกำแพงเมือง คลองคูเมืองร้อยเอ็ดต่อไป
     ปี 2545 เทศบาลฯมีแผนดำเนินการปรับปรุงแนวกำแพงเมือง คลองคูเมือง รวมทั้งรื้อฟื้นองค์ประกอบของเมืองที่กล่าวถึงตามตำนานเมืองร้อยเอ็ด ได้แก่ ประตูทางเข้าเมือง 11 ประตู โดยขอความอนุเคราะห์จากนักวิชาการสาขาต่างๆของกรมศิลปากร ช่วยดำเนินการจัดทำแผนการเมืองร้อยเอ็ด ศึกษา ออกแบบการบูรณะ ปรับปรุงกำแพงเมือง คลองคูเมือง ศึกษาออกแบบทางเข้าเมือง โดยเทศบาลฯพร้อมให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ
ในปัจจุบัน เทศบาลฯยังคงดำเนินการปรับปรุงสภาพกำแพงเมือง คลองคูเมืองอย่างต่อเนื่อง ในบริเวณชุมชนพิพิธภัณฑ์ที่ถูกผู้บุกรุกเข้าไปสร้างที่พักอาศัยแบบไม่ถาวร ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ต้องปรับปรุง เทศบาลฯยึดหลักการประนีประนอม ความเข้าใจ และความจริงใจในการแก้ปัญหาที่พักอาศัย จึงได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการย้ายเข้าไปในที่พักอาศัยแห่งใหม่ที่เทศบาลฯได้จัดเตรียมไว้ให้ ณ “ชุมชนมั่นคงพัฒนา”ที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหลายหน่วยงาน อาทิ ธนารักษ์พื้นที่ร้อยเอ็ด มอบพื้นที่ในบริเวณชุมชนบ้านหนองหญ้าม้าให้เป็นสถานที่ก่อสร้างบ้าน สถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน(พอช.) ให้เงินกู้เพื่อปลูกสร้างบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนชำระได้นาน โดยพิจารณาจากความสามารถในการผ่อนชำระร่วมด้วย รวมถึงการจัดเตรียมสาธารณูปการขั้นพื้นฐาน ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง น้ำประปา ศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งในปัจจุบันได้มีผู้เข้าร่วมโครงการเข้าพักอาศัยในหมู่บ้านมั่นคงพัฒนาแล้วกว่า 74 ครัวเรือน และเทศบาลฯมีแผนงานที่จะนำ ผู้ที่สนใจเข้าพักอาศัยในระยะต่อไป
ในส่วนของการจัดสร้างหอชมวิว เทศบาลฯได้กำหนดพื้นที่ก่อสร้างในบริเวณกำแพงเมือง คลองคูเมือง เพื่อสอดรับกับโครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ที่ได้ดำเนินการอยู่ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก“โหวด” เครื่องดนตรีพื้นบ้านของจังหวัดร้อยเอ็ด อันมีต้นกำเนิดจากชาวหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด คืออาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ปราชญ์พื้นบ้านคนสำคัญ เป็นผู้คิดค้นทำโหวดจากแรงบันดาลดังกล่าว ผู้ออกแบบได้นำรูปทรงของโหวดมาเป็นแนวคิดหลัก ผสมผสานกับแนวคิดการออกแบบอาคารสมัยใหม่ ความสูงจากฐานถึงยอด 101 เมตร เน้นความกลมกลืนด้านวัฒนธรรม ความยืดหยุ่น ประโยชน์การใช้งาน ความคุ้มค่าต่อการลงทุน ชั้นบนสุดของหอชมวิวสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองร้อยเอ็ดได้อย่างกว้างสุดตา พื้นที่โดยรอบหอชมวิวเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งของชาวร้อยเอ็ด คาดการณ์ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์การพัฒนา “เมืองร้อยเอ็ดน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก ฟูมฟักตำนานเมือง ลือเลื่องประเพณีวัฒนธรรม งามล้ำแหล่งท่องเที่ยว” ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

โหวด [โหฺวด] น. ของเล่นเป็นท่องไม้ซางที่มีความยาวหลายขนาด มัดรวมกันหรือตรึงด้วยชันโรง มีหางยาวผูกเชือกแกว่งให้เกิดเสียง หรือเล่นประชันกัน โดยแกว่งแล้วเหวี่ยงให้ตกไกลๆ, เครื่องดนตรีดัดแปลงจากของเล่นข้างต้น ใช้เป่า โดยหมุนให้รูรับลม ซึ่งของเล่นและเครื่องดนตรีนี้เป็นวัฒนธรรมของชาวลาวและชาวอีสาน.
(ที่มา : พจนานุกรม ฉบับมติชน, สำนักพิมพ์มติชน 2547)

หอสูง ดูทุ่งกุลา
แล้วดูเมืองร้อยเอ็ดด้วย
 
     เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดจะปรับปรุงคลองคูเมืองและกำแพงเมืองร้อยเอ็ดที่เหลือราว 5 กิโลเมตร ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติความเป็นมาหรือ“กำพืด”ของจังหวัดร้อยเอ็ด(มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2550 หน้า 8) เป็นข่าวดี และเป็นของดีแท้ แต่จะทำดีจริงหรือไม่? ยังไม่แน่ใจ
ขณะเดียวกันมีเรื่องไม่ค่อยดีปนอยู่ด้วย คือมีโครงการสร้างหอสูงชมเมืองร้อยเอ็ด รูปทรงโหวดเครื่องดนตรีอีสานสัญลักษณ์จังหวัดร้อยเอ็ด
ร้อยเอ็ด ได้ชื่อจากประตูมิใช่หรือ? มีในตำนานอุรังคธาตุ(พระธาตุพนม) แล้วเหตุใดไม่เอาประตูเป็นสัญลักษณ์ร้อยเอ็ด? ทำไมไปเอาโหวดล่ะ? ถ้าอย่างนี้ก็ผิดฝาผิดตัว แล้วผิดประเด็นกลายเป็นเรื่องโกหกตลกตอแหลไป
หอสูงชมเมือง คนทั่วไปรู้ว่ามีต้นแบบอยู่สุพรรณบุรีชมเมืองสุพรรณเก่าและแม่น้ำสุพรรณ กับมุกดาหารชมแม่น้ำโขง ถามว่าหอสูงร้อยเอ็ดจะให้ดูชมอะไร? ชมบึงพลาญชัยแค่นั้นหรือ? หรือชมทุ่งกุลาร้องไห้-มองเห็นได้หรือ?
ถ้ามองเห็นถึงทุ่งกุลาร้องไห้จะกลายเป็นหอสูงมีค่าทั้งในแง่วิชาความรู้และแง่การท่องเที่ยวทางเลือก ควรเรียกหอสูงดูทุ่งกุลา แล้วดูเมืองร้อยเอ็ดด้วยก็ได้
จังหวัดร้อยเอ็ดอยู่ตอนบนของทุ่งกุลาร้องไห้ เหมาะจะเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องทุ่งกุลาร้องไห้ในแง่ของอารยธรรมดึกดำบรรพ์ราว 3,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นเค้ารากเหง้ากำพืด“คนไทย” และประเทศไทย แต่น่าเสียดายที่คนทุ่งกุลายังไม่เอาใจใส่กำพืดของตัวเอง เลยหาความรู้มาเล่าสู่กันอ่านไม่ได้ มีบางพวกทำวิจัยไทยบ้าน แต่ยังไม่ยอมเผยแพร่ความรู้ทุ่งกุลา พยายามติดต่อขอความรู้ เขารับปากจะให้  แต่ไม่ให้ ผมเลยจนปัญญา
(ที่มา : มติชน ฉบับวันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2550 หน้า 34)




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ