ReadyPlanet.com
dot dot
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง

แม่น้ำโขง :ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา

และวัฒนธรรมกับกระแสของความเปลี่ยนแปลง

The Mekong River: Its Diversities and Current of Changes

24-25 มกราคม 2551

โรงแรม นครพนม ริเวอร์วิว  .นครพนม

จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย  ,  บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

มหาวิทยาลัยนครพนม  , สมาคมจดหมายเหตุไทย ร่วมกับ กองทุนจิตรภูมิศักดิ์

 

ห้องสัมมนาที่ ๑ วันศุกร์ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑

“การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์”

อ.แสวง มาละแซม   (รร.พระยุพราชเชียงใหม่)

อ.สุวิทย์ ธีรศาศวัต    (ม.ขอนแก่น)

นายชินวัฒน์         ตั้งสุทธิจิต

ดร.ชาญวิทย์        เกษตรศิริ       ดำเนินรายการ

การเทครัวในอุษาคเนย์ : รัฐปัตตานี มาลัยประเทศ

ข่มและขืน บนร่องรอยร้าวราน

ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต

หัวหน้าฝ่ายแผนนโยบายและเครือข่ายสัมพันธ์

สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

 

 

สยามประเทศไทย – รัฐปัตตานี แผ่นดินเดียวกันใน สุวรรณภูมิ

 

อุษาคเนย์ส่วนที่ผืนแผ่นดินใหญ่มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุด ถือเป็นแกนของภูมิภาค ผืนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์มีพื้นที่กว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพ แต่มีผู้คนชนเผ่าเหล่ากอตั้งหลักแหล่งทำมาหากินกระจัดกระจายไม่มากนัก จึงเปิดที่ว่างจำนวนมากให้กลุ่มชนหลากหลายจากที่ต่างๆ ทั้งใกล้เคียงและห่างไกลเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตั้งแต่ราว ,๐๐๐ ปีมาแล้ว

การเคลื่อนไหวย้ายหลักแหล่งดังกล่าว เข้ามาสู่บริเวณที่เป็นประเทศไทยไม่ได้มีทางเดียว แต่มีทั้งทางบกและทางทะเลตลอดเวลา นับแต่ช่วงเวลา ,๐๐๐ ปีมาแล้ว สืบจนสมัยหลังๆ อย่างต่อเนื่องยาวนานมากและเรียกแผ่นดินแถบนี้ว่า สุวรรณภูมิ หรือ สุวรรณทวีป

สุวรรณภูมิ นั้นปะปนไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์ กรุงศรีอยุธยา ก็เป็นส่วนหนึ่งในบริเวณแผ่นสุวรรณภูมิ 

ชาวต่างชาติเรียกกรุงศรีอยุธยาว่าราชอาณาจักรสยามหรือเมืองไทย เมื่อถึงกรุงรัตนโกสินทร์เรียกชื่อประเทศว่ากรุงสยามและประเทศสยาม

แรกสถาปนากรุงเทพ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ หลักฐาเซอร์ จอห์น เบาว์ริง ที่เข้ามาถึงเมืองบางกอกในแผ่นดินรัชกาลที่ หลังสถานปนากรุงเทพ ราว ๗๓ ปี บอกว่าจำนวนประชากรทั่วทั้งพระราชอาณาจักรสยามมีไม่เกิน ล้านคน และเป็นประชากรของกรุงเทพ ไม่เกิน แสนคน แสดงว่ายุคกรุงธนบุรีกับต้นกรุงเทพเมื่อแรกสถาปนาต้องมีน่อยกว่านั้น อาจมีเพียง แสน หรือ แสนเพราะมีการกวาดต้อนเชลยศึกและเกณฑ์ไพร่พลเข้ามาคราวละมากๆ เช่น คราวสร้างกรุงเทพ เมื่อ รัชกาลที่ เกณฑ์คนจากเขมร ลาว รัชกาลที่ มีมอญเข้ามาสวามิภักดิ์จนรัชกาลที่ กวาดต้อนลาวเข้ามาเพิ่มอีก นี่ยังไม่นับจนที่ทยอยเข้ามาเรื่อยๆ จนนับไม่ได้

ในกฎมณเฑียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยา จะพบว่าคนพื้นเมืองดั้งเดิมถูกคนอยุธยานั้นเรียกชื่อว่า “แขกขอมลาวพม่าแมงมอญมสุมแสงจีนจามชวา”

มาลัยประเทศ  มาลัย มีสองความหมาย อย่างแรกหมายถึง ดอกไม้รอยเรียงรวมเป็นพวง ส่วนอย่างหลังหมายถึง มลายู มีคำโบราณในตำนานเรียก มาลัยทวีป และ มาลัยประเทศ หมายถึงดินแดนกลุ่มที่มีชาติพันธุ์พูดตระกูลภาษาชวา – มลายู ตั้งแต่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยลงไป

 

          การเดินทางมาของ ปืนพระยาตานี

 

บัณฑูรอนุราชไท้ สุรสี หะนาทนา

ประทับพัทลุงโยธี                   สพรึบพร้อม

ดำรัสว่าตานี                        ทำขัด แขงแฮ

ปวงแขกยังไป่น้อม                  นบไท้หลายเมือง        

จำจักยกพยุหจ้วง          โจมประจัญ

เอาเขตรขึ้นขอบขัณฑ์              จุ่งได้

กองน่าเร่งผาดผัน                   พลรบ เร็วแฮ

พระเสด็จทัพหลวงให้              รีบเต้าตามหนุน

เพื่อพระบารเมศเจ้า       จอมสยาม

กองน่าโรมแขกขาม                 ขยาดแกล้ว

ที่รบชีพมลายหลาม                 เหลือรอด หนีนา

ที่ออกอ่อนน้อมแล้ว                 ห่อนได้ลงทัณฑ์

ตีตานีแตกได้              ปืนทอง

สองบอกพิศพึงสยอง               ใหญ่ล้ำ

อีกพัสดุสิ่งของ                      สรรพสาส ตรานา

พระเกียรติขจรปกค้ำ                ครอบหล้ามลายู

บทกวีของ นายเสถียรรักษา หรือ พระยามนูสารสารทบัญชา ศิริ ในโคลงภาพภาพพระราชพงศาวดาร บรรยายฉากเคลื่อน  “ปืนใหญ่พญาตานี”  ภาพซึ่งเขียนโดย นายวร เมื่อครั้งราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

          ภาพลักษณะทางประวัติศาสตร์ ในหัวเมืองปักษ์ใต้ที่ราชสำนักลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาให้ความรู้จักราชอาณาจักรแห่งนี้เพียงแบบเดียว คือความเป็น “เจ้าอาณานิคม” ขณะเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่งในแง่เป็น “ผู้สูญเสีย” มาตลอดในพระราชพงศวดารสยาม

“ราชอาณาจักรปัตตานี” ทั้งนี้ รวมถึงนครรัฐทางตอนเหนือของแหลมมลายู  เช่น ไทรบุรี กลันตันและตรังกานู ที่รัฐสยามถูกกลายเป็น “ผู้สูญเสีย”

ในปี .. ๒๔๕๑ ปีที่ “รัฐปัตตานี”ถูกโดดเดี่ยวจากบ้านพี่เมืองน้อง “มาลัยประเทศ” ลุล่วงแล้วร่วม ๑๐๐ ปี พอดี

คำว่า “มลายู” ใช้เรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ได้ในสองความหมาย คือความหมายอย่างกว้างและความหมายอย่างแคบ

ความหมายในที่กว้าง นั้นอาจหมายถึง ประชากรมลายูทั้งโลกมุสลิม หรือในเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณคาบสมุทรมลายู ซึ่งมีความสัมผัสภาษาที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน รวมทั้งภาษาในตระกูลเดียวกันแม้ว่าลางทีอาจสื่อสารกันไม่รู้เรื่องก็ตาม

ความหมายในที่แคบ นั้นจำกัดความเฉพาะประชากรมลายู ปัตตานี นราธิวาส และ  ยะลา หรือ เฉพาะกลุ่มใน ราชอาณาจักรปัตตานีดารุสสะลาม หรือ ปัตตานีนครแห่งสันติภาพ ภายใต้ความเข้าใจผิดที่ถูกยัดเยียดให้เป็น คนไทย โดยเฉพาะยุครัฐบาล เสนาบดีอมาตยาธิปไตย จอมพล . พิบูลสงคราม

ประชากรส่วนใหญ่ใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็น คนมลายู และมีบางส่วนที่ “เทครัว” ในสมัยรัชกาลที่ และบางส่วนถูก “อพยพ” ในสมัยรัชกาลที่ ซึ่งเป็น “ไทยพุทธ”

ซึ่งเรื่องควรทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง ในเรื่องนางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ แต่งในสมัยรัชกาลที่ ถึง รัชกาลที่ ได้จำแนกชาติพันธุ์ต่างๆไว้ ทั้งนี้ขอคัดเฉพาะ ผู้คนที่ถูกนิยามว่าเป็นคนแขกได้แก่ แขกอาหรับภาษา แขกมห่นภาษา แขกสุหนี่ภาษา แขกมั่งกะลี้ภาษา แขกมะเลลาภาษา แขกขุร่าภาษา แขกฮุยหุยภาษา แขกมลายูภาษา แขกมุหงิดภาษา แขกชวาภาษา แขกจามภาษา แขกพฤกษภาษา

“พญาตานี” เป็นปืนใหญ่ที่สุดที่ตั้งตระหง่านอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ร่วมกับร่องรอยการเทครัวในอุษาคเนย์ โดยเฉพาะยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

 

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในประวัติศาสตร์

 

รศ.ศรีศักร วัลลิกโภดม ได้อธิบายปมปัญหาและการทำความเข้าใจเรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์แห่งชาติในคำนำเกียรติยศ ประวัติศาสตร์แห่งชาติ ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ไว้ว่า

ชุมชนทางจินตนาการ หรือชุมชนสมมติที่เกิดขึ้นในพื้นที่สองระดับ คือ พื้นที่อันเป็นแผ่นดินเกิด หรือ มาตุภูมิ กับพื้นี่อันเป็นประเทศชาติหรือชาติภูมิ

มนุษย์โดยธรรมต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

กลุ่มเล็กที่สุดคือครอบครัวและเครือญาติ ถัดมาเป็นชุมชนที่แลเห็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นรูปธรรมได้แก่ชุมชนเหนือชุมชนบ้านขึ้นไปเป็นชุมชนทางจินตนาการใช้พื้นที่หรือแผ่นดินอันนี้ คนอยู่ร่วมกันบูรณาการให้เกิดสำนึกร่วม

ชุมชนปัจจุบัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นแล้ว อัตลักษณ์ที่ตัวยึดถืออยู่กลับเป็นความแปลกแยกในสังคมและประวัติศาสตร์ หากจะพยายามหาพื้นที่ใน "ประวัติศาสตร์แห่งชาติ" ไทยเป็นของตนขึ้นก็มีแต่บทบาทของการเข้ามาพึ่ง "พระบรมโพธิสมภาร" ด้วยเหตุใดในศักราอะไร และถูกเกณฑ์เข้าสู่สงครามของพระมหากษัตริย์ไทยในครั้งใดบ้างเท่านั้น

กรณีของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูในภาคใต้เป็นกรณีที่เห็นได้ชัดเพราะอัตลักษณ์ของชาวมลายูในปัจจุบันล้วนตั้งอยู่บนฐานของอดีตที่อยู่นอก "ประวัติศาสตร์แห่งชาติ" ไทยทั้งสิ้น

คำปลุกใจชาตินิยมให้รำลึกถึงบรรพบุรุษที่ได้สละเลือดเนื้อปกป้องผืนแผ่นดินเป็นมรดกมาถึงปัจจุบัน หากประสบความสำเร็จ คงทำให้คนมลายูและคนไทยคิดถึงคำปลุกใจนี้ทำให้ฮึกเหิมก็ยิ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายกระทำความรุนแรงแก่กันและกันมากขึ้น

อยุธยาราชอาณาจักรแห่งแรกของสยาม ไม่ใช่สุโขทัยที่เข้าใจตามสูตรวิธีคิดแบบแนวตั้ง ที่เข้าใจตามรัฐบาลรู้ประวัติศาสตร์ไทยตามตำราเรียนว่า สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงเมื่อราว .. ๑๘๐๐๐ กว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ แล้วยังรวมถึงคาบสมุทรมลายู

รัฐปัตตานี มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ก่อนยุคสุโขทัย (หากนับเอาวิวัฒนาการการสร้างบ้านแปรเมืองามหลักสูตรที่เรียนในโรงเรียนเมื่อเทียบกับหลักฐานทางโบราณคดี) คือเป็นบ้านเมืองใหญ่ระดับรัฐที่มีการค้าทางทะเลกับดินแดนห่างไกลมาตั้งแต่ราว .. ๑๐๐๐ ก่อนสมัยสถาปนารัฐสุโขทัยราว ๘๐๐ ปี ซึ่งขณะนั้นนับถือ ฮินดู  พุทธ และเป็นรัฐอิสระที่เป็นรัฐโบราณพัฒนาการสืบเนื่องเป็นรัฐลังกาสุกะ ไม่ได้เป็นรัฐในอาณานิคมมีความเก่าแก่ทัดเทียมกับพระปฐมเจดีย์ เมืองนครชัยศรี ( หลั่งยะสิว ในเอกสารจีน) จังหวัดนครปฐม

แขก เป็นคำเรียกรวมๆ หมายถึงคนที่นับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู กับอิสลาม แต่ความหมายตรงรี้เป็นพวกมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาท มีทั้งพวกจาม - มาเลย์ หรือ ชวา - มลายู กับพวกอาหรับ - เปอร์เซีย จนถึง มุสลิมในอีนเดีย

ชื่อเมือง ปัตตานี เริ่มปรากฏบนหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อมาร์โคโปโลเดินทางจากจีนไปอีตาลี .. ๑๘๓๓ ปัตตานีมีตำนานความเป็นมาอันยาวนานกับตำนานเมืองยังผูกพันกับเมืองอื่นๆ ด้วย เช่น ไทรบุรีหรือรัฐเคดาห์ รวมทั้ง กรุงศรีอยุธยา

ส่วนภาษามลายูคงจะแพร่หลายในวงการค้าของภูมิภาคอยู่แล้ว เพราะประชาชน ที่พูดภาษามลายูมีบทบาทในการค้าทางทะเลมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์

 

มัสยิดกรือเซะในพงศาวดารและตำนานท้องถิ่น

 

เรื่องร่องรอยความบาดหมางระหว่างคนท้องถิ่น ไทยพุทธ กับ ไทยมุสลิม มาจากปมประวัติศาสตร์ และตำนานความเชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี เขียนลงใน มติชนรายวัน วันศุกร์ที่ ๑๑ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ คอลัมน์ สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรม หน้า ๓๔ จึงคัดมาให้อ่านดังนี้

เรื่องราวเกี่ยวกับมัสยิดกรือเซะ ปรากฏในพงศาวดารเมืองปัตตานี พ..2445 โดยลิ้มโต๊ะเคี่ยมและลิ้มกอเหนี่ยวมีชื่อปรากฏอยู่ด้วย ดังข้อความตอนหนึ่ง (คัดลอกตามอักขระเดิม) ดังนี้

"...เวลานั้นบ้านเมืองที่เรียกกันว่าเมืองปัตตานีนั้น ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านมะนา ติดต่อกับบ้านโตะโสม บ้านกะเสะ ฝ่ายตะวันออก แต่บ้านพะยาปัตตานี เดี๋ยวนี้ห่างกันทางประมาณสี่สิบเส้นริมทางที่จะไปเมืองยิริง ในระหว่างภรรยาเจ้าเมืองปัตตานีว่าการเปนเจ้าเมืองอยู่นั้น...นางพะยาปัตตานีได้จัดแจงหล่อปืนทองเหลืองใหญ่ไว้สามกระบอก ตำบลที่หล่อปืนนั้นริมบ้านกะเสะ ก่อด้วยอิฐเปนรูปโบสถขึ้นหลังหนึ่งสามห้องเฉลียงรอบ แม่ปะธานกว้างประมาณหกศอก ยาวสิ้นตัวเฉลียงสี่วาเสศ เครื่องบนและพื้นเวลานี้ชำรุดหมด ยังเหลือแต่ฝาผนัง และฝาผนังเฉลียงนั้นก่อเปนโค้งทั้งสี่ด้าน พื้นแม่ปะทานสูงประมาณสองศอกเสศ พื้นเฉลียงสูงประมาณสองศอก โรงหรือโบสถที่ก่อด้วยอิฐนี้ มลายูในแหลมปัตตานีเรียกว่า สับเฆ็ด

แลนายช่างผู้หล่อปืนสามกะบอกนั้น สืบความได้ว่าเดิมเปนจีนมาจากเมืองจีน เปนชาติหกเคี้ยมแส้หลิม ชื่อเคี่ยม เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกะเสะ จีนเคี่ยมคนนี้มาได้ภรรยามลายู จีนเคี่ยมก็เลยเข้าสุหนัดนับถือศาสนามลายูเสียด้วย พวกมลายูสมมติเรียกกันว่า หลิมโต๊ะเคี่ยม ตลอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้ แลในตำบลบ้านกะเสะซึ่งหลิมโต๊ะเคี่ยมอยู่มาก่อนหน้านั้น พลเมืองที่อยู่ต่อมาจนเดี๋ยวนี้ยังนับถือหลิมโต๊ะเคี่ยม ว่าเปนต้นตระกูลของพวกหมู่บ้านนั้น แลยังกล่าวกันอยู่เนืองๆ ว่า เดิมเปนจีน หลิมโต๊ะเคี่ยม นายช่างหล่อปืนนี้มาอยู่ในเมืองปัตตานีหลายปี น้องสาวลิ้มโต๊ะเคี่ยมชื่อเก๊าเนี่ยว ตามมาจากเมืองจีน มาปะหลิมโต๊ะเคี่ยมที่เมืองปัตตานีอยู่เฝ้าอ้อนวอนหลิมโต๊ะเคี่ยมให้ละเสียจากเพศมลายู กลับไปเมืองจีน หลิมโต๊ะเคี่ยมก็ไม่ยอมไป เก๊าเนี่ยวซึ่งเป็นน้องสาวแต่เฝ้าอ้อนวอนหลิมโต๊ะเคี่ยมมานั้นประมาณหลายปี ลิ้มโต๊ะเคี่ยมก็ไม่ยอมไปแขงอยู่ เก๊าเนี่ยวซึ่งเป็นน้องสาวมีความเสียใจลิ้มโต๊ะเคี่ยมผู้พี่ชายผูกคอตายเสีย

ครั้นเก๊าเนี่ยวน้องสาวผูกคอตายแล้ว หลิมโต๊ะเคี่ยมผู้เป็นพี่ก็จัดแจงศพเก๊าเนี่ยวน้องสาวฝังไว้ในตำบลบ้านกะเสะ ทำเป็นฮ๋องสุยปรากฏอยู่ตลอดมาจนเดี๋ยวนี้ พวกจีนก็เลยนับถือว่าเปนผู้หญิงบริสุทธิ์อย่างหนึ่ง เปนคนรักชาติตระกูลอย่างหนึ่ง ได้มีการเซ่นไหว้เสมอทุกปีมิได้ขาดที่ศพเก๊าเนี่ยวนี้..."

พงศาวดารเมืองปัตตานีฉบับนี้ ไม่มีข้อความกล่าวถึงคำสาปแช่งของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว แต่ก็ได้กล่าวถึงมัสยิดกรือเซะ ว่าอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนและพื้นชำรุดหมด โดยไม่ระบุว่าเป็นเพราะสาเหตุใด

หนังสือ Sejarah Kerajaan Melayu Patani ฉบับพิมพ์เมื่อปี ค..1985 ผู้เขียนคือ Ibrahim Syukri ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงการเสียชีวิตของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว โดยไม่ปรากฏข้อความเรื่องคำสาปแช่งเช่นกัน

หนังสือประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่พิมพ์โดยมูลนิธิเทพปูชนียสถาน ในโอกาสงานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ศาลเจ้าเล่งจูเกียง อาทิ ฉบับที่พิมพ์ปี พ..2534 2542 และ 2544 แม้ว่าจะได้กล่าวถึงบุญญาบารมีของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและความเกี่ยวข้องระหว่างพี่ชายคือ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมกับมัสยิดกรือเซะ รวมทั้งได้รวบรวมคำบอกเล่าเกี่ยวกับกิตติศัพท์อภินิหารของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจากบุคคลต่างๆ ที่นับถือ ศรัทธาองค์เจ้าแม่ แต่ในหนังสือดังกล่าวก็ไม่ปรากฏข้อความที่เขียนถึงคำสาปแช่งของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวแต่อย่างใด

ในวิทยานิพนธ์เรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวมลายูมุสลิมและชาวจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา ของ แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ..2546 อภิปรายถึงกรณีดังกล่าวว่า

"เห็นได้ว่าประวัติของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่พิมพ์เผยแพร่โดยศาลเจ้าเล่งจูเกียง ไม่มีเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวกับคำสาปแช่งต่อมัสยิดกรือเซะ เนื้อหาของประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เพียงแต่บอกว่าลิ้มเต้าเคียนผู้เป็นพี่ชายได้รับอาสาเจ้าเมืองปัตตานีสร้างมัสยิด ในตอนท้ายเรื่องราวจบลงด้วยการที่ลิ้มกอเหนี่ยว หญิงสาวชาวจีนมีบทบาทช่วยวงศ์ตระกูลของเจ้าเมืองปัตตานีต่อสู้กับกบฏโดยไม่ได้แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนาแต่อย่างใด ส่วนในพงศาวดารเมืองปัตตานี ที่พระยาวิเชียรคีรีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในประชุมพงศาวดารภาค 3 (พิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ..2471) ไม่มีข้อความที่กล่าวถึงคำสาปแช่งของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเลย

ข้อความเกี่ยวกับคำสาปแช่งของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวต่อมัสยิดปรากฏขึ้นในช่วงใด ไม่แน่ชัด"

เริ่มแรกมีคำสาปแช่ง

เมื่อผู้เขียน (หมายถึง รองศาสตราจารย์ ดร.ครองชัย หัตถา )ได้สอบถามผู้รู้ในมูลนิธิเทพปูชนียสถานและศึกษาเอกสารเพิ่มเติม พบว่าเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวสำนวนหนึ่งเขียนโดยนายสุวิทย์ คณานุรักษ์ ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงประวัติลิ้มโต๊ะเคี่ยมและเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว รวมทั้งความเกี่ยวข้องกับมัสยิดกรือเซะ ที่อ้างว่าได้รับการถ่ายทอดจากขุนพจน์สารบาญ บุตรชายคนที่สองของพระจีนคณานุรักษ์ ชาวปัตตานี เชื้อสายจีน ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้นำคนสำคัญของเมืองปัตตานีในเวลานั้น

เนื้อความตอนต้นกล่าวถึงประวัติของลิ้มโต๊ะเคี่ยมและลิ้มกอเหนี่ยว คล้ายคลึงกับฉบับของมูลนิธิเทพปูชนียสถาน แต่ต่างกันในตอนท้ายที่ระบุถึงคำสาปของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ดังที่ปรากฏในหนังสือประวัติทายาทหลวงสำเร็จกิจกรจางวางตอนหนึ่งกล่าวถึงเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและมัสยิดกรือเซะ

"การที่ลิ่มโต๊ะเคี่ยมช่วยเจ้าเมืองปัตตานีสร้างมัสยิดนี้เปรียบเสมือนหนึ่งการจุดเพลิงแห่งความแค้นให้รุ่งโรจน์ขึ้นในใจของลิ้มกอเหนี่ยวผู้น้องสาว เธอพยายามอ้อนวอนพี่ชายให้เลิกล้มการช่วยสร้างมัสยิดและเดินทางกลับเมืองจีนเสีย แต่ลิ่มโต๊ะเคี่ยมไม่ฟัง เข้าตั้งหน้าตั้งตาสร้างมัสยิดอย่างจริงจังสุดที่ลิ้มกอเหนี่ยวจะทนดูพฤติการณ์ของพี่ชายได้ เธอสาปแช่งอย่างโกรธแค้นว่า "แม้พี่จะมีความสามารถในการก่อสร้างเพียงไรก็ตามแต่ ขอให้มัสยิดนี้ไม่สำเร็จ" และคืนวันนั้นเองลิ้มกอเหนี่ยว สาวน้อยผู้ยึดถือประเพณี ก็หนีไปผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ต้นใหญ่ ซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของมัสยิดที่พี่ชายกำลังก่อสร้างนั่นเอง"

ประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวสำนวนนี้ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทั้งการบอกเล่าด้วยวาจาและการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารของทางราชการ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ คือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ประชาสัมพันธ์แนะนำแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้ข้อความดังกล่าว นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปจึงรับรู้เรื่องมัสยิดกรือเซะผ่านทางตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

มัสยิดกรือเซะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นโบราณสถาน และในขณะเดียวกันก็เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิม คำถามเกี่ยวกับสถานภาพของมัสยิดกรือเซะจึงมีขึ้นเป็นระยะๆ แต่นั่นไม่สำคัญเท่าความรู้สึกของชาวมุสลิมที่มีต่อนักท่องเที่ยวว่ากำลังมองมัสยิดกรือเซะด้วยสายตาและความรู้สึกเช่นใด

 

ตำนานท้าวอู่ทอง ตำนานอาจเป็นประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง พงศวดารก็อาจเป็นตำนานอย่างหนึ่ง

 

เราไม่อาจพูดถึงสถานะทางการค้าของอยุธยา,ปัตตานี,เชียงใหม่ โดยไม่พิจารณาถึงรูปลักษณ์ ทางการค้าของโลก ซึ่งส่วนหนึ่งรวมเอาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ด้วยได้

รัฐปัตตานี กับ พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา จากเอกสาร วัน วลิต พ่อค้าชาวฮอลันดา จดปากคำคนอยุธยาสมัยพระเจ้าปราสาททองว่าพระเจ้าอู่ทองสร้างเมืองปัตตานีขึ้นก่อน แล้วถึงขึ้นไปสร้างกรุงศรีอยุธยา

<คัดจากพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ วัน วลิต .. ๒๑๘๒ (วัน วลิต แต่ง ดร.เลียวนาร์ด แอนดายา แปลเป็นภาษาอังกฤษ จากภาษาฮอลันดา มิเรียม เจ.แวน เดน เบอร์ก คัดลอกจากต้นฉบับเดิม ศเดวิด เค.วัยอาจ บรรณาธิการ วนาศรี สามนเสน แปลเป็นภาษาไทยจากภาษาอังกฤษ .ดร.ประเสริฐ นคร ตรวจ) ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร พิมพ์เมื่อ  ๒๕๒๓ ผู้เขียนจึงคัดจาก หนังาสือ รัฐปัตตานี ใน “ศรีวิชัย” อีกทอดหนึ่ง>

“เป็นเวลานานกว่า ๓๐๐ ปีมาแล้ว มีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองแว่นแคว้นหลายแว่นแคว้นในประเทศจีน (ชาวสยามไม่ทราบพระนามพรเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้) พระองค์มีโอรสองค์หนึ่ง พระนามว่าเจ้าอู่(T’Jaeu ou-e) ซึ่งเป็นเจ้าชายตัณหาจัด ได้ข่มเหงภรรยาขุนนางจีนสำคัญๆ ไปหลายคน หญิงคนใดที่ไม่ยอมให้พระองค์ข่มเหงก็จะถูกฆ่าตายอย่างลึกลับ ขุนนางเหล่านี้ได้เข้าร้องเรียนพระเจ้าแผ่นดินถึงความประพฤติไม่ปลงพระชนม์พระราชโอรส แต่สมเด็จพระราชีนี (พระมารดาของเจ้าชายที่ถูกกล่าวหา) ทรงคัดค้านและเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดก็คือให้พระราชโอรสออกนอกประเทศ พระเจ้าแผ่นดินทรงยินยอมและได้เล่าความคิดนี้แก่พวกขุนนาง พวกขุนนางก็พออกพอใจและเห็นด้วยกับพระองค์

เมื่อพระราชโอรสได้ทราบข่าวการเนรเทศ พระองค์ไม่ทรงแปลกพระทัยมากนัก  พระองค์ตรัสว่า “พวกขุนนางพิจารณาว่าฉันประพฤติตัวเลวมากถึงขนาดจะฆ่าฉันหรือฆ่าพระราชบิดา และพระบิดาตัดสินว่าควรจะไปเสียให้พ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วฉันจะยอมรับพระบรมราชโองการทุกประการ”

พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานเรือสำเภาหลายลำพร้อมทั้งเสบียงมากมาย เช่น ข้าว อาวุธยุทธภัณฑ์ และทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเดินทางไกลให้แก่พระราชโอรส พระองค์ยังพระราชทานข้าราชบริพารให้อีก ๒๐๐,๐๐๐ คน และของมีค่าต่างๆ ดังนั้นพระราชโอรสก็ออกเดินทางจากประเทศจีนพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติดังกล่าว พระราชโอรสทรงตั้งพระทัยที่จะตั้งถิ่นฐานตามความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและตามกระแสลมที่จะพัดพาขบวนเรือของพระองค์ไป พระเชษฐา ก็ได้เสด็จตามพระอนุชามาด้วย เนื่องจากทรงรักพระอนุชาองค์นี้มาก

ขบวนเรือของเจ้าอู่มาถึงปัตตานีโดยบังเอิญ พระองค์พร้อมด้วยข้าราชบริพารก็ขึ้นบกที่นั่น แต่เมื่อพระองค์ทรงพบว่าปัตตานีเป็นเมืองที่มีประชาชนอยู่หนาแน่นแล้ว พระองค์จึงไม่ต้องการตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ปัตตานีอีก เสด็จลงเรือเดินทางเลียบชายฝั่งเข้าไปในแผ่นดินจนถึงอุลุปัตตานี (Oulou Van Ptanij) พระองค์ได้สร้างเมือง Langh seca (ลังกาสุกะ) ขึ้นที่นั่น หลังจากที่พระองค์ได้จัดการเมืองใหม่ให้เป็นปึกแผ่นประกอบด้วยประชาชน ทหาร และมีกฎหมาย และระเบียบเรียบร้อยแล้วพระองค์เสด็จลึกต่อไปในแผ่นดินจนถึงบริเวณที่เรียกว่า ลีคร (Lijgoor = Ligor = ละคร = นครศรีธรรมราช) เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นแต่เพียงป่ารกร้าง พระองค์ทรงฉวยโอกาสตั้งเมืองขึ้นที่นั่นเองเรียกว่าเมืองลีครพระองค์ได้ปกครองเมืองลีครและจัดการให้มีทุกสิ่งทุกอย่างและเสด็จต่อไปจนถึง กุย (Cuij) และถึงแม้พระองค์ทรงพบว่าเป็นแต่เพียงป่าก็ตามพระองค์ยังทรงสร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกแห่งหนึ่งและประทับอยู่ที่เมืองตลอดมา

ในเวลานั้นมีเรือสำเภา จากจักรพรรดิจีนสองลำมาปรากฏที่เมืองกุย และมีข่าวเข้าหูอู่ว่า นายเรือ (annachodas) และพ่อค้าจีนยินดีที่จะได้รับไม้ฝาง พระองค์จึงใช้วิเทโศบายให้ไม้ฝางแก่บุคคลดังกล่าวเป็นจำนวนมากเท่าที่เรือทั้งสองลำจะบรรทุกไปได้ ดังนั้นพวกพ่อค้าจึงกลับเมืองจีนไปด้วยความปิติเป็นอย่างมากที่ได้ไม้ฝางเป็นกำนัล จึงยกพระธิดาพระนามว่านางปะคำทอง (Nangh Pacham Tongh) ให้อภิเษกกับเจ้าอู่ พระองค์ได้จัดพิธีส่งพระราชธิดาอย่างเอิกเกริก นอกจากนี้พระราชทานนามเจ้าอู่ว่าท้าวอู่ทอง เพื่อเป็นรางวัลอีกด้วย

หลังจากที่เจ้าอู่ ซึ่งมีพระนามใหม่ว่าท้าวอู่ทอง ครองราชย์สมบัติอยู่ที่เมืองกุยกับพระมเหสีธิดาจักรพรรดิจีนชั่วระยะเวลาอันสั้น พระองค์ก็ตัดสินพระทัยที่จะตั้งบ้านเมืองในประเทศสยามให้ดีกว่านี้ เมื่อได้ทราบข่าวว่ามีโอกาสที่จะทำได้ พระองค์ก็ทรงเดินทางออกจากเมืองกุย (Cuij) และสร้างเมืองอื่นๆขึ้น เมืองแรกได้แก่พริบพรี (Pijprij)

ขณะที่กำลังขุดดินอยู่นั้น คนงานก็ได้พบรูปปั้นทองแดงสูงประมาณหกสิบฟุตนอนอยู่ใต้ดิน ซึ่งนำความแปลกใจมาให้พระเจ้าอู่ทองเป็นอันมาก แต่หลังจากที่พระองค์ได้สดับคำอธิบายเกี่ยวกับรูปปั้นและรากฐานของศาสนาของชาวสยาม

หลังจากนั้นพระเจ้าอู่ทองก็ได้สร้างเมืองคองขุนเทียน และบางกอก (Chongh Cout Thiam and Banckocq) ขณะนั้นพระองค์ไดทรงทราบข่าวเกี่ยวกับเกาะซึ่งจะเป็นที่ตั้งเมืองอยุธยาและองค์ทรงฉงนพระทัยเป็นอย่างมากที่สถานที่ที่สวยงามเช่นนั้น ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่หรือมีใครตั้งเมืองขึ้น แต่พระองค์ก็ได้พบพระฤาษีตนหนึ่งซึ่งได้ทูลพระองค์ว่าเมื่อก่อนนี้มีเมืองๆ หนึ่งตั้งอยู่ชื่อว่า อยุธยา แต่พระฤาษีไม่สามารถจะกราบทูลได้ว่าเมืองนั้นได้เสื่อมโทรมไปอย่างไร และยังได้เพิ่มเติมอีกว่าไม่มีใครจะสร้างเมืองนั้นได้เสื่อมโทรมไปอย่างไร และยังได้เพิ่มเติมอีกว่าไม่มีใครจะสร้างเมืองบนเกาะนั้นได้อีก เหตุผลก็คือมีสถานที่หนึ่งชื่อ Whoo Talenkengh (วัดตะเลงแกง?) ปัจจุบันอยู่ตรงใจกลางเมือง มีบ่อวึ่งเป็นที่อาศัยของมังกรดุร้ายตัวหนึ่งซึ่งชาวสยามเรียกว่านาคราช (Nack Rhaij) เมื่อไรก็ตามที่มังกรตัวนี้ถูกรบกวนก็จะพ่นน้ำลายพิษออกมาซึ่งทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่รอบๆ บริเวณนั้นเกิดโรคระบาดเสียชีวิตลงเพราะกลิ่นเหม็น ท้าวอู่ทองตรัสถามพระฤาษีว่าจะฆ่ามังกรแล้วถมสระเสียจะได้หรือไม่ พระฤาษีกราบทูลว่าไม่มีวิธีที่จะแก้ไขได้นอกจากจะต้องหาฤาษี (ที่ลักษณะเหมือนฤาษีองค์นั้นทุกอย่าง) โยนลงไปให้มังกร ดังนั้นท้าวอู่ทองจึงมีพระบรมราชโองการให้สืบหาฤาษีลักษณะดังกล่าวทั่วประเทศ

พระฤาษีได้กล่าวต่อไปว่า เมื่อฆ่ามังกรและถมสระแล้ว หากท้าวอู่ทองต้องการจะอยู่ในที่นั้นด้วยสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์จะต้องทำ ประการดังนี้ ยิงลูกธนูออกไปและต้องให้กลับมาเข้ากระบอกธนู ชโลมร่างกายทุกวันด้วยมูลโค และเป่าเขาสัตว์ทุกวัน เฉกเช่นพราหมณ์ปฎิบัติเมื่อเวลาลงโบสถ์ หรือไปยังสถานที่สักการะ

ท้าวอู่ทอง ตรัสว่าพริองค์ทรงสามารถทำตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ และพระองค์เสด็จลงเรือเล็ก มุ่งสู่ยังกึ่งกลางแม่น้ำ ยิงลูกธนูไปยังต้นน้ำ และขณะที่ลูกธนูไหลตามน้ำมา พระองค์ก็ใช้กระบอกลูกธนูดักลูกธนูไว้ได้ แทนที่พระองค์จะใช้มูลโคชโลมพระวรกาย พระองค์กลับใช้ข้าวผสมกับน้ำมันขี้ผึ้งเล็กน้อย ตรัสว่าข้าวขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ได้ใส่ปุ๋ยมูลโค ทั้งนี้พระองค์ทรงหมายความว่ามูลโคเป็นส่วนหนึ่งของข้าว ในเรื่องเป่าสัตว์นั้นพระองค์ได้มีพระราชโองการให้มวนใบพลู (Sirij = พระศรี) และเสวยเป็นหมากพลู (pijnangh) ซึ่งย่อมจะมีลักษณะเหมือนเป่าเขาสัตว์

พระฤาษีทูลว่า พระองค์ทรงสามารถทำลูกธนูให้หวนกลับมาหาพระองค์ได้ หมายความว่าประชาชนของพระองค์จะสามัคคีซึ่งกันและกันสงครามภายในอาณาจักรจะไม่ปรากฏ

‘ประการที่สอง เนื่องจากพระองค์ใช้วิเทโศบายในการใช้มูลโค ดังนั้นพระองค์และประชาชนของพระองค์จะได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไข้ทรพิษบ้างเล็กน้อย’

‘ประการที่สาม ซึ่งเป็นประการสุดท้าย เนื่องจากพระองค์ได้ใช้ใบพลูมวนให้เหมือนเขาสัตว์ เทพยดาจะรักพระองค์มากมาย และจะนำโชคชัยมาสู่พระองค์ด้วย’

ในระหว่างนั้นผู้ส่งข่าวซึ่งได้ส่งออกไปสืบหาพระฤาษีได้กลับมาทูลว่าไม่สามารถจะหาฤาษีลักษณะเช่นว่านั้นได้ ท้าวอู่ทองทรงเก็บข่าวนี้ไว้เป็นความลับ และได้เสด็จพร้อมกับพระฤาษีออกไปที่ปากสระซึ่งเป็นที่อยู่ของมังกร และโดยที่ไม่ได้ตรัสให้พระฤาษีรู้ตัว พระองค์เหวี่ยงพระฤาษีลงสระไปและถมสระเสียตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา มังกรก็ไม่ปรากฏตัวขึ้นมาอีกและแผ่นก็พ้นจากโรคระบาด

ต่อจากนั้นท้าวอู่ทองก็เริ่มบูรณะเมืองในวันขึ้นห้าค่ำเดือนสี่ (ตรงกับเดือนมีนาคมของเรา) ปีขาล และเรียกเมืองนี้ว่า อยุธยา พระองค์ยังทรงสร้างวัดขึ้นอีกสามวัดซึ่งถือว่าเป็นวัดที่สำคัญคู่พระราชอาณาจักรจนบัดนี้ วัดนพธาตุ (Nappetadt) ซึ่งเป็นวัดที่สำคัญที่สุด ราชบูรณะ (Raeijjae Boenna) มีขนาดและลักษณะเหมือนวัดนพธาตุ แต่ไม่มีพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปที่วัดนี้ เนื่องจากคำทำนายที่ว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์แรกที่เสด็จไปจะสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นาน และวัดเดือน (Waddeun) วึ่งปัจจุบันยังคงเป็นโรงเรียน (สำหรับสงฆ์?) ที่สำคัญที่สุดเมื่อท้าวอู่ทองได้สร้างเมืองอยุธยาเรียบร้อยแล้วก็เป่าประกาศเรียกประชุมราษฎรและสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พระองค์มีพระราชโองการให้ราษฎรแสดงความจงรักภักดีมิฉะนั้นจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง และได้ขยายความรุ่งโรจน์ของพระองค์ออกไปด้วยการเปลี่ยนพระนามใหม่เป็น สมเด็จพระราชารามาธิบดีศรีศรินทบรมจักรพรรดิราชราเมศวรธรรมมิกราชดิ์เจ้าศรีบรมเทพตริภูวนารถธิเบศบรมพิตรพระท้าวอู่ทอง พระราทินนามที่บ่งให้เห็นถึงความภาคภูมิใจและโอ่อ่าของพระองค์ ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีพระเจ้าแผ่นดินสยามองค์ใดใช้พระนามเช่นนี้อีก

พระเจ้าอู่ทอง พระเจ้าแผ่นดินสยามองค์แรกสืบต่อจากพระพุทธเจ้าซึ่งสละราชสมบัติไปเสวยราชย์ได้ ๑๙ ปี

หลังจากพระองค์ได้ปกครองอยุธยาแล้ว ก็ได้ประกาศองค์เป็นกษัติย์และสร้างเมืองนครชัยศรี (Lijcon-t Jei jsij) เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย และ กแพง (Caphijn กำแพงเพชร) ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเป็นเมืองสำคัญในอาณาจักรสยาม จักรพรรดิจีนทรงทราบข่าวการตั้งถิ่นฐานของพระราชบุตรเขย ก็ทรงโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงส่งราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นสลักบนแผ่นทองมายังสยาม ความสัมพันธ์อันมั่นคงระหว่างพระเจ้าแผ่นดิน และพระเจ้าแผ่นดินสยาม ก็มีตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองจนถึงปัจจุบันนี้ นี่เป็นเหตุผลที่พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงเอกสิทธิ์จะส่งเรือสำเภาและราชทูตไปเมืองกวางตุ้ง”

 แม้ว่านิทานพระเจ้าอู่ทองที่มาทางทะเลของ วัน วลิต จะเป็นเพียงแค่คำบอกเล่า อาจไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด แต่ก็มีหลักฐานน่าเชื่อถือได้ในบางาส่วน โดยเฉพาะเรื่องพัฒนาการของเมืองท่าสำคัญ เช่น ปัตตานี การเคลื่อนย้ายเหล่านี้จึงมิใช่การอพยพอย่างถอนรากถอนโคน

แม้กระทั่ง ศึกระหว่าง สยาม กับ ปัตตานี ทั้งในอยุธยาที่มีการศึกทั้งฝ่ายปัตตานียกทัพไปกรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีอยุธยายกไปปัตตานี ดังที่ปรากฏในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ กับการศึกในสมัย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างพึ่งพากันในแง่เศรษฐกิจ การค้า คาบสมุทร

บริเวณคาบสมุทรมลายูซึ่งรวมถึงดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยนี้ จะอยู่บนเส้นทางการค้าขายระหว่างตะวันตกกับตะวันออกมากว่าที่อื่นๆ เช่นบริเวณที่เป็นหมู่เกาะ ทั้งนี้เพราะเส้นทางสินค้าสำคัญ จะเห็นว่าดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยตลอดแหลมมลายู ย่อมมีความหมายที่สำคัญต่อเส้นทางการค้าขายระหว่างตะวันตกกับตะวันออก

บริเวณดังกล่าวนี้มีแม่น้ำสำคัญอยู่หลายสาย เช่น คลองเทพาหรือแม่น้ำเทพา แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี ตามลำดับ โดยที่ลำน้ำแต่ละสายไหลลงจากเทือกเขาแล้วผ่านหุบเขาแต่ละเขาลงสู่ที่ราบลุ่มและลงสู่ทะเลโดยมีปากแม่น้ำของตนเอง

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระเจ้าอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) เป็นจอมทัพเสด็จยกไปตีหัวเมืองปักษ์ใต้กวาดครอบครัวและเก็บเครื่องศัสตราวุธ คือ ปืนใหญ่พระยาตานี  

กรณี เรื่องตำนานท้าวอู่ทองอาจเป็นเพียงตำนานคำบอกเล่า ปัตตานีและอยุธยาอาจมีข้อพิพาทกันหลายครั้ง หากแต่ไม่เคยปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนนักว่า รับปัตตานี เป็นประเทศราชในอาณานิคมรัฐสยาม

 

การเทครัว และ เคลื่อนย้ายผู้คน ไป – มา บางกอก ในยุคต้นรัตนโกสินทร์        

 

เทครัวมีปรากฏในศิลาจารึก พระเจ้าอโศกมาหราช เมื่อคราวตีเมืองกลึงคราฐ กวาดครัวชาวกลึงคราฐกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน การกวาดครัวนี้ถือว่าเป็นประเพณีที่ฝ่ายชนะครัวทำในสมัยนั้น

ปัตตานีในสมัยที่รุ่งเรืองก็มีหลักฐานของตะวันตกที่ชี้ให้เห็นว่าประชากรหนาแน่นพอที่ผู้ปกครองจะสามารถเรียกเกณฑ์ขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ครั้นถึงเวลาร่วงโรยลงในศตวรรษที่ ๒๓ หลักฐานทั้งไทยและมลายูเองก็แสดงให้เห็นว่าปัตตานีมีประชากรเบาบางลงมาก นำไปสู่การสูญสิ้นอิสรภาพให้แก่ไทยในศตวรรษที่ ๒๔

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อจุลศักราช ๑๑๔๗ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จยกทัพออกไปปราบปรามศึกพม่าถึงเมืองฝ่ายตะวันตก ครั้งกองทัพออกไปถึงเมืองสงขลา มีข่าวมาว่าเมืองปัตตานีก่อการกำเริบขึ้นมาก โปรดเกล้าฯจัดให้พระยากะลาโหม พระยาเสน่หาภูธร (ทองอิน) พระยาพัทลุง (ทองขาว) หลวงสุวรรณคีรี (บุ่นฮุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เป้นทัพหน้ายกออกไปตีเมืองปัตตานี ได้สู้รบกันกับระตูปะก่าสันที่ตำบลบ้านยิริง ระตูก่าลันสู้รบทนกองทัพมิได้ ก็อพยพแตกหนีขึ้นไปทางเมืองรามันห์

พระยากะลาโหมแม่ทัพเห็นว่า ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เป็นผู้รู้จักทางก็แต่งกองรวมคนพัทลุงสงขลาให้ปลัดจะนะ  (ขวัญซ้าย) ตามระตูปะก่าไปทันที่ปลายน้ำเมืองรามันห์ริมแดนเมืองแประ ได้สู้รบกันในตำบลนั้น ระตูปะก่าลันถูกกระสุนปืนตาย

ในระหว่างนั้นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จยกทัพเรือไปตั้งอยู่ที่ปากอ่าวเมืองปัตตานี ครั้นพระยากะลาโหมกองทัพหน้าตีระตูปะก่าลันแตก แปละได้ศีรษะระตูปะก่าลันมาแล้ว พระยากะลาโหม พระยาเสน่หาภูธร (ทองอิน) พระยาพัทลุง (ทองขาว) หลวงสุวรรณคีรี (บุ่นฮุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) พร้อมกันลงไปเฝ้าในเรือพระที่นั่งหน้าเมืองปัตตา ทูลแจ้งราชการ รับสั่งให้นำปืนใหญ่สองกระบอกที่เก็บได้ลงมาเรือจะเอาเข้ามากรุงเทพฯ

กรมพระราชวังบวรสถานมงคลโปรดเกล้าฯ ให้ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เป็นผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี ยกคนไทยเลขส่วยดีบุกเมืองสงขลา เมืองพัทลุง เมืองจะนะ ซึ่งเป็นญาติพี่น้องหรือพรรคพวกปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) ให้อยู่เป็นกำลังรักษาราชการเมืองปัตตานีห้าร้อยครัวเศษ

ครั้นทรงจัดการเมืองปัตตานีเสร็จแล้วเสด็จกลับกรุงเทพฯ หลวงสุวรรณคีรี (บุ่นฮุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ก็ตามเสด็จเข้ามากรุงเทพฯ ด้วยโปรดเกล้าฯ ให้หลวงสุวรรณคีรี ผบุ่นฮุ้น) เชิญออกไปพระราชทานให้ปลัดจะนะ (ขวัญซ้าย) เป็นพระยาปัตตานี และโปรดเกล้าฯ ให้เมืองสงขลาเป็นเมืองตรีขึ้นกับกรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ ให้เมืองจะนะ เมืองเทพา เมืองปัตตานี อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลา

จะเห็นได้ว่าการกวาดต้อนเทครัวผู้คนในปัตตานีให้เหลือจำนวนที่น้อยมากหากเทียบอยู่บริเวณซึ่งเคยเป็นรัฐที่เข้มแข็ง แม้ว่าในยุคหลังจะมีการเคลื่อนย้ายผู้คนไปอยู่ยังรับปัตตานีเดิมซึ่งเป็นไทยพุทธ แต่กระนั้นก็ไม่สามารถสร้างเครือข่ายที่เป็นประชากรจำนวนมาในแผ่นดินดังกล่าวได้

บริเวณดังกล่าวนี้มีไทยมุสลิมเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเรียกว่า “สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ทั้งนี้อาจรวมจังหวัดสงขลาด้วยและบางส่วนอำเภอที่อยู่ในเขตแดนประเทศมาเลเซีย

 

ลิเกฮูลู เพลงลูกทุ่ง และ วรรณกรรม

            "ตือนัง...ตือนัง อาเอดี ลาโอ้ะ/ซำปันละห์ โกและ มูดิก คือ ตันญง..."
            "เรื่อยเรื่อย...ล่องลำทะเลหลวง/เรือกอและแล่นล่วง แหลมนั่น..."
            เหมือนแว่วไหวไวโอลินแห่งความหลัง                  หวานทำนอง "มะอินัง" มาไหวไหว
            พร้อม "ลาฆูดูวอ", ใครหนอใคร?                         ร้องรองเง็งเสียงใสแว่วไหวมา
            เล่าเป็นเรื่องเป็นตำนานแห่งกาลก่อน                  ที่ยิ่งย้อนฟังคำยิ่งล้ำค่า
            เรื่อง "ลังกาสูกะ" นครา                                       เรื่องรายาต่างต่างผู้สร้างเมือง
            สร้างเป็นเมือง "ปัตตานี" ที่ลือลั่น                      สานต่อก่อกันจนลือเลื่อง
            เป็นอู่ข้าวอู่น้ำไม่เปล่าเปลือง                                 วัฒนธรรมรุ่งเรืองเลื่องลือไกล
            ถึงลูก "ตานี" ผองเหล่าน้องพี่                            ไม่ว่าวันนี้หรือวันไหน
            ต้องเปี่ยมรักเปี่ยมหวงเปี่ยมห่วงใย             ต้องส่งใจกลับมา-เมืองตานี
            ต้องส่งใจกลับบ้านสมานฉันท์                            เพื่อสานต่อทอฝันอย่างเต็มที่
            เพื่อสานต่อก่อรักสามัคคี                                      เหมือนดั่งที่มุ่งมั่นเสมอมา
            เพื่อเมืองตานี-เมืองที่รัก                                    ได้คงศรีคงศักดิ์และคงค่า
            ลูกตานีต้องปกปักนครา                                       ให้ภัยร้ายนานา...ต้องปราชัย!

            บทกวี ถึง ลูกตานี ของ พนม นันทพฤกษ์ ลงใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๔

            การเทครัวในอุษาคเนย์ โดยเฉพาะ สยามประเทศไทย ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นั้น นำมาซึ่งศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย หลากหลายอย่างหรือก่อนหน้านั้นอย่างการละเล่น มะโย่ง เป็นการละเล่นเก่าแก่ของมลายูมุสลิมที่ส่งอิทธิพลแบบแผนให้ “ละคร” ครั้งกรุงศรีอยุธยา  โดยเฉพาะ ลิเก การละเล่นในยุครัชกาลที่ ซึ่งมี วิวัฒนาการมาจาก ลิเกฮูลู ของ ชาวมุสลิมร้องรำประกอบพิธี

วิวัฒนาการของ ลิเก ซึ่งเป็นลิเกใหม่ในสมัยรัชกาลที่มีวิกลิเกขึ้นครั้งแรก วิกพระยาเพ็ชรปรานี ที่ ป้อมมหากาฬ และลิเกเป็นเครื่องลิเกที่สื่อสารได้กับชาวบ้านและเข้าใจได้ง่ายกว่า ละครใน ละครนอก ซึ่งมีค่อนข้างจะจำกัดอยู่ในเฉพาะหมู่ ชนชั้นศักดินาและขุนนาง

ลิเกหรือยี่เกอย่างที่เราเห็นและเป็นอยู่ทุกวันนี้ มาจาก “แขก” มลายูมุสลิม มีต้นกำเนิดที่กรุงเทพฯ บริเวณชุมชนป้อมมหากาฬ วิกแรกคือ “วิกพระยาเพชรปราณี” ซึ่ง “ลิเก” เป็นการละเล่นที่มาแทนที่ “ละครนอก” โดยลิเก ร่วมตับเพลงต่างๆ ไว้อย่างหลากหลาย (ไม่ได้มีขนบนิยมอย่างเช่นทุกวันนี้ รายละเอียดมีอยู่ในหนังสือ ลิเก มหรสพกรุงเทพรัตนโกสินทร์ มีกำเนิดในกรุงเทพฯ : สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ)

ขณะที่ ลิเก นั้นเป็นวิกที่ชาวบ้านสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเป็นกันเองและลิเกนี้เองเป็นวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องทำให้เกิดเพลงลูกทุ่งภายหลังที่ลิเกเริ่มมีระบบแบบแผนมาสอดแทรกความเป็นอิสรเสรี

เพลงลูกทุ่ง เป็นการละเล่นที่เข้ามาแทน ลิเก โดยผ่าน วิทยุทรานซิลเตอร์และเครืองดนตรีฝรั่ง ตามความล้ำหน้าของเครื่องมือเทคโนโลยี

ขณะเดียวกันเพลง อีเหนาครวญ หรือที่เรียกว่าเพลง แขกปัตตานี เป้นทำนองเก่าเข้าใจว่าได้จากเมืองปัตตานี ไมปรากฎนามผู้แต่งใช้บรรเลงประกอบเล่นละคร มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ห่วงอาลัย

ลิเก เพลงลูกทุ่ง จึงมีแหล่งกำเนิดใน กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะ บริเวณถนนตานี ตรงบางลำพู (อยู่ไม่ไกลกันนักกับถนนรามบุตรี – ถนนข้าวสาร และวัดบวรนิเวศวิหาร) ซึ่งเป็นละแวกที่ชาวตานีมาอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่มาก

สาเหตุที่ชาวตานีไปอยู่บริเวณถนนตานีมากนั้น เข้าใจว่าน่าจะมาจากการเทครัวจากปัตตานีเมื่อคราวสงครามหลายครั้ง เหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนเรื่องนี้ปรากฏได้ชัเดเจนจากวรรณคดีไทยเรื่อง ระเด่นลันได ของ พระมหามนตรี (ทรัพย์) กวีร่วมสมัยกับสุนทรภู่ในรัชกาลที่ ซึ่งกล่าวถึงตัวละครเอกอย่าง นางประแดะ เมียแขกประดู่ ไว้ว่า

“น้องก็ไร้ญาติวงศ์พงษา          หมายพึ่งบาทาพระโฉมศรี

โคตรพ่อโคตรแม่ก็ไม่มี              อยู่ถึงเมืองตานีเขาตีมา”

ทั้งนี้ นางปะแดะ อาจเป็น แขก มลายู หรือ ตานี แต่ขณะที่ ระเด่นลันได อาจเป็น แขกอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ปาทาน

ความหมายของคำว่า ตานี ไม่ได้ปรากฏเฉพาะในเรื่อง ระเด่นลันได เท่านั้น ยังปรากฏใน เสภาขุนช้าง ขุนแผน ได้กล่าวถึง ผ้าเมืองตานี ตอนนางศรีประจันต์แต่งตัวไปฟังเณรแก้วที่วัดป่าเลไลย์

“ศรีประจันต์ครั้งแลเห็นลูกสาว             กูนี้หงอกขาวมันพ้นที่

จะแต่งตัวไปทำไมมี                          คว้าผ้ายยกตานีห่มดอกดำ

ลูกสาวหัวเราะว่าแม่เอ๋ย                      ช่างไม่อายเขาเลยเห็นผิดส่ำ

ศรีประจันต์ครั้นมองร้องกรรมกรรม          ผลัดผ้าตารางตำห่มขาวม้า”

การเทครัว นั้นปรากฎผู้คนทั้งในประวัติศาสตร์มีตัวตนจริง และมีปรากฎในวรรณคดี เพลง ตำนาน นิทาน ซึ่งกระจายอยู่ทั้ง ถนนราชดำเนิน บ้านครัว ทุ่งลุมพี หนอจอก มีนบุรี และจังหวัดเพชรบุรี

ทั้งนี้ อาจรวมถึง ไอ้ขวัญ - อีเรียม แห่งคลองแสนแสบ ของ ไม้ เมืองเดิม และ แม่นาคพระโขนง ก็อาจเป็นกลุ่มบุคคลที่มาจากปัตตานี ที่ไม่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ หากปรากฎเป็นเพียง ตำนานและเรื่องแต่งอาศัย ฉากและสถานที่ๆมีอยู่จริง

 

การเหมาครัวในยุครัฐนิยม ประวัติศาสตร์ที่อยากให้จำและอยากให้ลืม

 

การกวาดต้อน หรือ เทครัว ผู้คนปัตตานีไปเป็นทาสผู้ใช้แรงงานให้กับสยามในฐานะเชลยสงครามถึงสี่ระลอก ในการเทครัวครั้งสำคัญที่สี่ครั้งนี้

ครั้งแรกเมื่อ .. ๒๓๒๙ ตรงกับ สงครามรบพม่าที่ตำบลท่าดินแดง และ ปีเดียวกันกับ สุนทรภู่ มหาวกวีกระฎุมพีเกิดพอดี ในการศึกครั้งนั้นทัพหลวงมีไพร่พลดังปรากฎใน เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ ว่า

แล้วรีบเร่งพหลพลนิกร             ทั้งลาวมอญเขมรไทยเข้าโจมตี

การเทครัวรัฐปัตตานีในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งครั้งนั้นไม่ได้เฉพาะชาวปัตตานี หากมีเชลยพม่าอยู่ด้วย

ครั้งที่ .. ๒๓๓๔ เกิดจากสงครากู้เอกราช ซึ่งมี มีดีน เป็นผู้นำ ครั้งที่   .. ๒๓๕๑ เกิดเหตุจากสงครากู้เอกราชอีกครั้งโดยมีดาโตะ ปังกาลันเป็นผู้นำ และครั้งที่สี่เกิดจากสงครามกอบกู้เอกราชเมื่อ .. ๒๓๗๕ โดยมีตนกู สุหลงเป็นผู้นำ และครั้งนี้เป็นสงครามครั้งสุดท้าย

การเทครัว ทุกครั้งนั้นผู้คนที่ถูกเทครัวไปนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ไม่มีทรัพย์สินและต้องพลัดพรากจากญาติพี่น้อง สิ่งที่ยังพอหลงเหลือคือความเป็นเลือดเนื้อมลายูปัตตานีและวัฒนธรรมที่ถูกหล่อหลอมโดยศาสนาเท่านั้น

โดยเฉพาะรัฐนิยม จอมพล . พิบูลสงคราม ประกาศใช้ชื่อประเทศ ประชาชนและสัญชาติ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน .. ๒๔๘๒ และกำหนดให้เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย กำหนดให้เรียกคนสยามว่าคนไทย เพื่อเน้นความถูกต้องตามเชื้อชาติและความนิยมของประชาชนชาวไทย

นโยบายของรัฐไทยที่มีผลต่อภาวะด้านจิตใจของมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะนั้นรุนแรงอย่างมากเมื่อจอมพล . พิบูลสงครามได้จัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ขึ้นมาตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๕

นโยบายในยุคนี้ถือว่าเป็นการเทครัวหรือเหมครัวครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของสยามประเทศไทย ที่ไม่ได้จำเพาะท้องที่เท่านั้นหากเป็นทั้ง สยามประเทศ

ศาสตราจารย์  ดร.ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึง รัฐปัตตานี ใน เรื่องเล่าจากชายแดน หน้า ๒๕ หนังสือ รัฐปัตตานีใน “ศรีวิชัย”

บางคนทำให้การศึกษาท้องถิ่นเป็นการยินยันถึงเอกลัษณ์อันถาวรตายตัวของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นการมองย้อนอดีตแบบไม่เห็นว่าท้องถิ่นนั้นๆ เปลี่ยนแปลง เติบโตท่ามกลางความสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างไร ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไม่ใช่การแสวงหาเรื่องราวของสถานที่หนึ่งๆ อันโดดเดี่ยว เพราะแทบไม่มีสถานที่ชุมชนใดๆเลนบนผิวโลกที่เติบโตคงอยู่มาได้ด้วยการโดยเดี่ยวตัวเอง ความจริงมักจะเป็นตรงกันข้ามคือ ท้องถิ่น ชุมชน สังคม สถานที่หนึ่งๆ เกิดขึ้น เติบโตผันแปรมีชีวิตมาถึงปัจจุบันได้เพราะความสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างสร้างสรรค์ ภาคใต้รวมทั้งปัตตานีเป็นตัวอย่างชัดเจน

ปัตตานีมีชีวิตเติบโตมานับพันปีเพราะความสัมพันธ์กับโลกภายนอกปรับเปลี่ยนอย่างเป็นตัวของตัวเองท่ามกลางอิทธิพลต่างๆ นานาจากโลกภายนอก ทั้งการเป็นเมืองท่า เป็นประเทศราช เป็นรัฐที่มีอิทธิพลในบริเวณรอยต่อระหว่างสองเขตอารยธรรม เป็นมุสลิม เป็นจังหวัดชายแดนของประเทศไทย

ความรุนแรงในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากปมประวัติศาสตร์ที่ไม่ลงตัวของ ประวัติศาสตร์แห่งชาติและพยามจะ “ปิด” และ “บิดเบือน”  แล้ว “กลืน” ความเป็น “รัฐสยาม” ร่วมทั้ง วรรณคดี ซึ่งเป็นอิทธิพลในการชี้นำทางสังคมอย่างสูงมากของระบบวรรณคดีราชสำนักลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บวกด้วยทัศนคติในด้านลบที่มองเห็นเป็นความต่าง จนมองข้ามความเหมือนที่สามารถอยู่ร่วมกับความต่างได้ด้วยการประนีประนอม

กี่ปีที่ผ่านเหตุการณ์นั้น

และกี่ศพกันที่ถูกฆ่า

พอสะเต็นกราดเปรี้ยงสาดเสียงมา

ร่าง พี่ ป้า น้า อา ก็ร่วงพรู

โดมสุเหร่าดุซงยอ ระยับ,ยับ

จันทร์ฉายไล้ขับชวนหดหู่

ข้อหากบฏคิดคดดู

ยังประทับรอยอยู่ในแผ่นดิน

เหมือนไม้ใบบนเทือกบูโดร่วง

ปิดขั้วทิ้งช่วงอยู่ทั้งสิ้น

ลานสุเหร่ายังอาบคราบเลือดริน

สิงด้วยวิญญาณแค้นแน่นเนิ่นนาน

ดุซงยอ น้ำสายบุรี เทือกเขาบูโด ผ่านทางไปภาคใต้ ๒๕๒๓  ของ พนม นันทพฤกษ์ หรือ สถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลปะ และกวีต้นแบบแห่งเมืองใต้ ได้เล่าภาพเหตุการณ์ กบฏดุซงยอ ในรูปแบบของกวีนิพนธ์ซึ่งภาพสถานการณ์ยังเสมือนกลับมาย้อนกลับมาทั้ง กรณี ตากใบ และ กรือเซะ เมื่อ – ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ กวีท่านนี้ยังฉายภาพให้เห็นชัดยิ่งขึ้นอีกในสำนวนลักษณะเพลงยาว  เขียนเมื่อคราภาคใต้ใกล้อับปาง  ลงใน นิตยสารศิลปวัฒธรรม ฉบับเดือน พฤศจิกายน ๒๕๔๘ และ หนังสือประจำปีของ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

                                                                        ผจงจารจัดถ้อยร้อยภาษา
เป็นคำโศกซึ้งสิ้นจากวิญญาณ์                              เขียนเมื่อคราภาคใต้ใกล้อับปาง
ด้วยซื่อซื่อใสใสห่วงใยถิ่น                                  ใช่ดีดดิ้นดึงดื้อหรือกางหลาง
แต่เพราะช้าเกินคอยเกินปล่อยวาง             จึงขอคิดเห็นบ้างเป็นบางคำ
เกือบขวบปีพ้นผ่าน-ไม่มากนัก                           ภาคใต้เหมือนถูกมือยักษ์ขยี้ย้ำ
ดั่งมะโย่งและโนราต้องหยุดรำ                              และกรือโต๊ะมิอาจร่ำทำนองเพลง
ตือรีก็เพียงเสียงจะขาด                                     รองเง็งเงียบเหมือนขยาดถูกกุมเหง
สิ้นจังหวะลึกล้ำแห่งซัมเปง                                  ยินบรรเลงแต่เพียงเสียงความตาย
มีกฎก็คล้ายเหมือนไร้กฎ                                    มีหมายก็เหมือนหมดซึ่งกฎหมาย
ทั้งผู้คนงบประมาณก็มากมาย                              แต่ก็เหมือนถูกละลายไร้น้ำยา
จาก "กรือเซะ" ถึง "ตากใบ" ใครรับผิด?            กี่ร้อยพันชีวิตถูกเข่นฆ่า?
กี่เดือนกี่วันผันผ่านมา?                                       ที่ยิ่งแก้เหมือนปัญหายิ่งงอกงาม

จนวันนี้-เหมือนแผ่นดินทักษิณรัฐ                       กลายเป็นชัฏเป็นแคว้นแดนต้องห้าม
ถามว่าเพราะมือใคร? ไฟจึงลาม                           ใครบ้างหนอ? กล้าเอ่ยนามท่านผู้นำ!

การแก้ปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ คิดอย่างไรก็ไม่ออก เพราะเราหลอกเขาว่าเป็นคนไทย ซึ่งที่จริงเขาเป็นคนมลายู ตัวที่เป็นปัญหาก็คือ การหลอกว่าตัวเขาเองเป็นคนไทย ข้อความส่วนหนึ่งขอคำปราศรัยของ ... คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

อาจฉายภาพลักษณ์อย่างหนึ่งของปมปัญหาที่แก้ไขไม่ได้เพราะความเข้าใจและพยามที่ผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม เพื่อให้คนมุสลิมเหล่านั้นเป็นคนไทยตามต้องการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังปรากฏในแง่ของความรู้สึกจิตสำนึกที่ห่วงใยความเป็นไทย

การทำศึกสงครามในอดีตอาจช่วงชิงแค่พื้นที่ เศรษฐกิจสังคม และเทครัวเพื่อเพิ่มจำนวนประชากร แม้ว่าในยุคแผ่นดินรัชกาลที่ ปัตตานีถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในราชอาณาจักรสยาม แต่ราษฎรที่เป็นมุสลิมยังอยู่อย่างสันติ แม้จะไม่ราบคาบนัก เพราะทางกรุงเทพฯ ไม่เข้าไปจัดการอะไรมาก ทำให้มุสลิมจึงอยู่ในโลกของตัวเองแบบประเพณีที่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองจากภายนอกไม่เข้าไปลุกล้ำ

แต่การเทครัวยุคสมัยใหม่นี้เพื่อความช่วงอำนาจอะไรนั้นยากที่คาดเดาได้จนลางทีการหล่มสลายของความงดงามในความรู้สึกที่มีต่อกันก็แทบจะสิ้นเยื่อขาดใย

การละเลยความสัมพันธ์ของคนกับแผ่นดินหรือดินแดนที่มีที่มาทางประวัติศาสตร์อย่างสิ้นเชิง อย่างมองไม่เห็นเส้นบางๆ บนความเหมือนในต่าง และความห่างในชิดใกล้

หลังเปลี่ยนแกลงการปกครองเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ รัฐบาลสมัยหนึ่งให้เปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย ซึ่งเป็นชื่อที่เกิดขึ้นจากสำนึกชาตินิยม ผูกพันกับความเชื่อเรื่องชนชาติไทยถูกขับไล่มาจากทางเหนือของจีน แม้ความเชื่ออย่างนี้จะคลาดเคลื่อนจากความจริง แต่ยังทรงอิทธิพลมาจนถึงทุกวันนี้

ผลของการเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดกระแสความรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์ผู้คนเผ่าพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ไทย เกิดการดูถูกทางสังคมและวัฒนธรรมจนเสียหายต่อสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครองเป็นเวลายาวนาน

การเทครัว ใน สยามประเทศไทย กับ รัฐปัตตานี จึงเจือปนไปด้วยร่อยที่ร้าวราน ขมและขื่นบนเส้นๆ บางที่ดูเหมือนจะ “ใกล้ตาแต่ไกลตีน”

           

 

รายชื่ออ้างอิง

รัฐปัตตานีใน “ศรีวิชัย”: ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ มติชน กรุงเทพฯ: สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ : เมษายน ๒๕๓๗

มลายูศึกษา : สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ : .ดร.นิธิ เอียวศณีวงศ์ บรรณาธิการ: มิถุนายน ๒๕๕๐

ไฟใต้ฤาจะดับ : ศิลปวัฒนธรรม มติชน กรุงเทพฯ : รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม : ๒๕๕๐

สยาม  ปัตตานี : ศิลปวัฒนธรรม มติชน กรุงเทพฯ ปรามินทร์ เครือทอง บรรณาธิการ: กุมภาพันธ ๒๕๕๐

ประวัติศาสตร์แห่งชาติ : สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กรุงเทพฯ  :ศรีศักร วัลลิโภดม,นิธิ เอียวศรีวงศ์: สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ::ตุลาคม ๒๕๔๙

มองเส้นทางวรรณคดี มีประวัติศาสตร์ :สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล กรุงเทพฯ:ทองแถม นาถจำนง บรรณาธิการ : ธันวาคม ๒๕๔๙

ทะเล ป่าภู และเพิงพัก : มิ่งมิตร กรุงเทพฯ : พนนม นันทพฤกษ์: ปรีดา ข้าวบ่อ

บรรณสานศิลป์ประสิทธิ์แม้นมณีสวรรค์:สมาคมนักกลนอแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ:มังกร แพ่งต่าย บรรณาธิการ :ธันวาคม ๑๕๔๘




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ