ชื่อโครงการ กึ่งศตวรรษมหาสารคาม กับ Francis Cripps
หลักการและเหตุผล
Francis Cripps เป็นชาวอังกฤษ และเป็นอาสาสมัครชาวต่างชาติคนแรกที่เดินทางมาทำงานที่จังหวัดมหาสารคามในโรงเรียนฝึกหัดครูมหาสารคาม (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม) ในปี พ.ศ.2504
ระหว่างการเป็นอาสาสมัคร Francis Cripps ได้เดินทางในโอกาสและวาระต่าง ๆ
ไปตามสถานที่ต่าง ๆ และได้บันทึกสิ่งที่ประสบพบเห็นประเด็นต่าง ๆ เช่น ด้านสภาพแวดล้อม
สภาพสังคม และวิถีชีวิตของผู้คนในจังหวัดมหาสารคามและในภาคอีสาน รวมทั้งแง่มุมจากมุมมองของตนที่มีต่อสิ่งที่ได้พบเห็น และได้บันทึกไว้ในหนังสือ ชื่อ The Far Province โดย ตุลจันทร์
ได้แปลเป็นหนังสือชื่อ สภาพอีสาน อันเป็นหนังสือที่มีคุณค่าต่อผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องราวของจังหวัดมหาสารคามและภาคอีสานเมื่อประมาณห้าสิบปีที่ผ่านมา
สิ่งที่ Francis Cripps ได้ถ่ายทอดในThe Far Province ได้แสดงให้เห็นถึงความผูกพัน
อย่างลึกซึ้งของ Francis Cripps ที่มีต่ออีสานและมหาสารคาม อันเป็นที่มาของการกลับมาอีสานและประเทศไทยอีกหลายครั้ง รวมถึงการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยของ Francis Cripps ในปัจจุบัน
ในขณะเดียวกัน The Far Province และ สภาพอีสาน ก็กลายเป็นหนังสือที่มีคุณค่าต่อเมืองมหาสารคามและอีสานศึกษา ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา และวัฒนธรรมศึกษา ที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ
ในโอกาสที่ Francis Cripps และ ดร.เตช บุนนาค (บุตรของ ตุลจันทร์) มีแนวคิดให้สำนักพิมพ์แม่คำผาง บริษัทชนนิยม จำกัด จัดพิมพ์หนังสือ สภาพอีสาน อีกครั้ง เพื่อเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ และตั้งใจมอบรายได้จากลิขสิทธิ์ตั้งเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับลูกหลานชาวอีสานให้สร้างประโยชน์ต่อท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ร่วมสนับสนุนกิจกรรมนี้ จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการ กึ่งศตวรรษมหาสารคาม กับ Francis Cripps ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ The Far Province และ สภาพอีสาน ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันทรงคุณค่าต่ออีสานและมหาสารคามอีกครั้งตามเจตนารมณ์ของ Francis Cripps
วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อีสานและมหาสารคามกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เกิดจิตสำนึกในคุณค่า
และความสำคัญของท้องถิ่น
2.เพื่อระดมทรัพยากรในการตั้งกองทุน The Far Province เพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับลูกหลานชาวอีสานให้สร้างประโยชน์ต่อท้องถิ่น
3.เพื่อส่งเสริมให้หนังสือ The Far Province และ สภาพอีสาน ได้รับการเผยแพร่เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจ
ระยะเวลาและสถานที่
วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2551
ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ที่ตั้งในเมือง)
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. โปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
3. โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. สโมสรนักเขียนภาคอีสาน
5. สำนักพิมพ์แม่คำผาง บริษัทชนนิยม จำกัด
ผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 200 คน ประกอบด้วย
1. นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 45 คน
2. นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 45 คน
3. สโมสรนักเขียนภาคอีสาน จำนวน 20 คน
4. นักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิต จำนวน 20 คน
5. ศิษย์เก่า คณาจารย์ โรงเรียนฝึกหัดครูมหาสารคาม และวิทยาลัยครูมหาสารคาม จำนวน 20 คน
6. ประชาชนชาวจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 คน
7. นักวิชาการ และผู้แทนหน่วยงาน องค์การต่าง ๆ จำนวน 20 คน
8. สื่อมวลชน จำนวน 10 คน
กิจกรรม
1. เปิดตัวหนังสือ สภาพอีสาน
โดย Francis Cripps และ ดร.เตช บุนนาค (บุตรของ ตุลจันทร์) ปรีดา ข้าวบ่อ สำนักพิมพ์แม่คำผาง - บริษัทชนนิยม จำกัด ดำเนินรายการ
2. คณาจารย์ และศิษย์เก่า รำลึกอดีตกับ Francis Cripps
3. ปาฐกถา อีสาน ในมุมมองของสุจิตต์ วงษ์เทศ
โดย คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ
4. เวทีเสวนา อีสานและมหาสารคามกับความเปลี่ยนแปลง:กึ่งศตวรรษกับ Francis Cripps
ผู้ร่วมเสวนา
1. Francis Cripps
2. ดร.เตช บุนนาค (บุตร ตุลจันทร์ ผู้แปล สภาพอีสาน)
3. นางทองเลี่ยม เวียงแก้ว ผู้อาวุโสเมืองมหาสารคาม
ผู้ดำเนินการเสวนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย บุญมาธรรม
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
งบประมาณ
1. งบประมาณคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 3,000 บาท ค่าอาหารว่าง
(200 คน X 15 บาท/คน)
2. งบประมาณคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 1,000 บาท
ค่าของที่ระลึก (4 ชิ้น X 250 บาท/ชิ้น)
3. งบประมาณโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 1,000 บาท
ค่าจัดสถานที่
4. งบประมาณสำนักพิมพ์แม่คำผาง - บริษัทชนนิยม จำกัด ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อีสานและมหาสารคามกับ
ความเปลี่ยนแปลง และเกิดจิตสำนึกในคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น
2.ได้ทรัพยากรในการตั้งกองทุน The Far Province เพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับลูกหลานชาวอีสานให้สร้างประโยชน์ต่อท้องถิ่น
3.หนังสือ The Far Province และ สภาพอีสาน ได้รับการเผยแพร่เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจ
4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษา และสถาบันการศึกษากับชุมชน
กำหนดการ
โครงการ กึ่งศตวรรษมหาสารคาม กับ Francis Cripps
วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ.2551
ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ที่ตั้งในเมือง)
----------------------------------------
เวลา 13:00 13:30 น. ลงทะเบียน
เวลา 13:30 13:45 น. พิธีเปิด
โดย นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
เวลา 13:45 14:15 น. เปิดตัวหนังสือ สภาพอีสาน
โดย Francis Cripps และ ดร.เตช บุนนาค
ปรีดา ข้าวบ่อ
สำนักพิมพ์แม่คำผาง - บริษัทชนนิยม จำกัด ดำเนินรายการ
เวลา 14:15 14.30 น. คณาจารย์ และศิษย์เก่า รำลึกอดีตกับ Francis Cripps
เวลา 14:30 14.45 น. อาหารว่าง
เวลา 14:45 15.30 น. ปาฐกถา อีสาน ในมุมมองของสุจิตต์ วงษ์เทศ
โดย คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ
เวลา 15:30 16.30 น. เวทีเสวนา
อีสานและมหาสารคามกับความเปลี่ยนแปลง :
กึ่งศตวรรษกับ Francis Cripps
ผู้ร่วมเสวนา
Francis Cripps
ดร.เตช บุนนาค
นางทองเลี่ยม เวียงแก้ว
ผู้ดำเนินการเสวนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย บุญมาธรรม
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
เวลา 16:30 17.30 น. - นักเขียนอีสาน อ่านบทกวี
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
พิธีปิด
----------------------------------------------
แบบขออนุมัติจัดตั้งกองทุน
1.ชื่อกองทุน
กองทุน The Far Province
2.ที่มาของกองทุน
Francis Cripps เป็นชาวอังกฤษ และเป็นอาสาสมัครชาวต่างชาติคนแรกที่เดินทางมาทำงานที่จังหวัดมหาสารคามในโรงเรียนฝึกหัดครูมหาสารคาม (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม) ในปีพ.ศ.2504 ระหว่างการเป็นอาสาสมัคร Francis Cripps ได้เดินทางในโอกาสและวาระต่าง ๆ
ไปตามสถานที่ต่าง ๆ และได้บันทึกสิ่งที่ประสบพบเห็นประเด็นต่าง ๆ เช่น ด้านสภาพแวดล้อม
สภาพสังคม และวิถีชีวิตของผู้คนในจังหวัดมหาสารคามและในภาคอีสาน รวมทั้งแง่มุมจากมุมมองของตนที่มีต่อสิ่งที่ได้พบเห็น และได้บันทึกไว้ในหนังสือ ชื่อ The Far Province โดย ตุลจันทร์
ได้แปลเป็นหนังสือชื่อ สภาพอีสาน อันเป็นหนังสือที่มีคุณค่าต่อผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องราวของจังหวัดมหาสารคามและภาคอีสานเมื่อประมาณห้าสิบปีที่ผ่านมา
Francis Cripps และ ดร.เตช บุนนาค (บุตร ตุลจันทร์) มีแนวคิดให้สำนักพิมพ์แม่คำผาง บริษัทชนนิยม จำกัด จัดพิมพ์หนังสือ สภาพอีสาน อีกครั้ง เพื่อเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ และตั้งใจมอบรายได้จากลิขสิทธิ์ตั้งเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับลูกหลานชาวอีสานให้สร้างประโยชน์ต่อท้องถิ่น ดังนั้น มีการจัดตั้งกองทุน The Far Province ขึ้น เพื่อจัดสรรงบประมาณเป็นทุนการศึกษาและทุนกิจกรรมสำหรับการพัฒนาการศึกษาของนิสิตและนักศึกษาในภาคอีสาน
3. จำนวนเงินกองทุนเมื่อเริ่มจัดตั้ง
จำนวน 57,820 บาท
4. วัตถุประสงค์ของกองทุน
ให้นำเงินต้นและดอกผลที่ได้จากเงินกองทุนจัดสรรเป็นทุนการศึกษาและทุนกิจกรรมสำหรับการพัฒนาการศึกษาของนิสิตและนักศึกษาในภาคอีสาน ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ดังนี้
- ทุนการศึกษาสำหรับนิสิตและนักศึกษาที่ยากจน มีผลการเรียนดี ความประพฤติดี
- ทุนสำหรับนิสิตและนักศึกษาในการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น
- ทุนสำหรับนิสิตและนักศึกษาในการเผยแพร่ความรู้ด้านอีสานศึกษาต่อสาธารณะ
5. สถานภาพทางการเงินของกองทุนปัจจุบัน
รายได้จากลิขสิทธิ์หนังสือ สภาพอีสาน จำนวน 57,820.- บาท
6. ส่วนราชการที่เป็นเจ้าของทุน
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
7.คณะกรรมการบริหารกองทุน
7.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ประธานโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประธานกรรมการ
7.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย บุญมาธรรม คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
รองประธานกรรมการ
7.3 อาจารย์ยุวดี ตปนียากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กรรมการ
7.4 นายปรีดา ข้าวบ่อ สำนักพิมพ์แม่คำผาง - บริษัทชนนิยม จำกัด
กรรมการ
7.5 นายอาทิตย์ บำรุงเอื้อ กองทุนบำรุงเอื้อเยาวชน
กรรมการ
7.6 รองศาสตราจารย์สถาพร พันธ์มณี ข้าราชการบำนาญ
กรรมการ
7.7 อาจารย์ทม เกตุวงศา กรรมการและเลขานุการ
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กรรมการและเลขานุการ