ReadyPlanet.com
dot dot
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?

องค์ บรรจุน

“พม่าเหิมเกริมยึดมหาชัย”
“แรงงานพม่าฆ่าโหดนายจ้าง …”
 “ตรวจบัตรต่างด้าวลำพอง รวบจับบ่าวสาวคางานแต่ง”ฯลฯ

ข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานชาวพม่ามีแต่ภาพความโหดร้าย น่ากลัว จะมีใครค้นหาต้นตอของเหตุ ใช่ว่าแก้ต่างให้พ้นผิด แต่เหตุอันควรรับฟังมีว่า ...นายจ้างบางรายกดขี่ทำร้าย เบี้ยวค่าแรง ลูกเรือตังเกบางลำต้องทำงานทั้งวันไม่มีเวลาพัก ไม่ได้อาหารเพียงพอ ผิดใจก็ฆ่าโยนศพลงทะเล นายจ้างบางคนข่มขืนลูกจ้างสาวชาวพม่า และ เจ้าหน้าที่รัฐหลายคนรีดไถหากินกับแรงงานต่างด้าว…
 
พายุนาร์กีสที่โหมกระหน่ำบ้านเรือนและผู้คนบริเวณลุ่มน้ำอิรวดีเมื่อ ๓ พฤษภาคมที่ผ่านมา คร่าชีวิตชาวพม่าเรือนแสนแบบไม่ทันตั้งตัว ว่ากันตามจริงแล้วหากรัฐบาลพม่าเอาใจใส่ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนมาก่อนหน้า มีการเฝ้าระวังและเตือนภัยที่ดี มหันตภัยครั้งนี้คงไม่ก่อความสูญเสียอย่างที่เป็น คนพม่า (มอญ กะเหรี่ยง คะเรนนี คะฉิ่น ไทใหญ่ ทวาย) ที่ล้มตายต่างมีเลือดเนื้อและวิญญาณ มีผิวกายละม้ายเรา รักชีวิตตนและคนที่รักแฉกเช่นเดียวกัน
ยังดีที่หากใครสักคนรู้สึกสงสารคนพม่า ขณะที่หลายคนยังยึดติดเรื่องเก่า “เป็นเวรเป็นกรรม ที่เคยเผากรุงศรีอยุธยา...” (หรือเราไม่เคยเผากัมพูชาและเวียงจันท์) เป็นอคติฝังหัวที่มากับประวัติศาสตร์รัฐชาติ บอกเล่าสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่เมื่อวานนี้เองที่เขาถูกนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐกระทำ...มีใครจดจำใส่ใจบ้าง
เหตุใดต้องรอให้เขาสิ้นลมหายใจเสียก่อน พวกเขายากแค้นไร้ที่พึ่งแม้ในบ้านตัวเอง เป็นซากชีวิตที่บ่าสองข้างเอียงลู่จำนนแทบเท้ารัฐบาลทหารพม่า ที่ทารุนโหดร้ายยิ่งกว่ากระทำกับสัตว์ แม้แต่พระสงฆ์ก็ไม่ละเว้น จำกระเสือกกระสน ทนต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบเหมือนไม่ใช่คนปฏิบัติต่อกัน ฟังคำก่นด่าในฐานะผู้ร้ายเผาเมือง ทนเจ็บและอาย ยอมทิ้งศักดิ์ศรีความเป็นคนมาตายเอาดาบหน้าในเมืองไทย พวกเขาไม่ได้แบมือขอเปล่า เอาแรงกายมาแลกอย่างเจียมตน ขอเพียงเศษเงินที่ได้มาด้วยหยาดหงื่อและน้ำตา ส่งกลับไปจุนเจือญาติพี่น้องทางบ้าน ซ้ำร้ายคนไทยบางคนที่ได้ชื่อว่ามีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว กลับปฏิบัติต่อกันไม่ต่างจากที่เขาเคยได้รับ
หากแม้ประเทศไทยไม่ต้องการแรงงานก็ควรผลักดันออกไป ใช่ปากว่าตาขยิบเจ้าหน้าที่รัฐนำเข้าเสียเอง เป็นการสมประโยชน์กับผู้ประกอบการที่กดดันรัฐ เพราะต้องการแรงงานราคาถูกสำหรับงานที่คนไทยไม่ทำ ขณะที่พวกเขาต้องทนอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ กับคำประกาศห้ามของรัฐ ไม่ให้คลอดลูกในเมืองไทย ห้ามลูกหลานแรงงานเรียนหนังสือ ห้ามใช้โทรศัพท์ ห้ามแสดงออกทางวัฒนธรรม ภาษา แม้แต่การรวมกลุ่มเข้าวัดทำบุญ ทั้งที่รัฐและผู้ประกอบการต้องการประโยชน์จากเขา แต่รัฐกลับมองเขาเป็นตัวปัญหา กลัววัฒนธรรมต่างด้าวจะมีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมไทย กลัวจะเป็นภัยต่อความมั่นคง อย่างที่ได้มีผู้ประกอบการและผู้ว่าราชการบางจังหวัดประพฤติ
ในวันนี้ครอบครัวของพวกเขาที่อยู่หลัง บ้านเรือนที่เคยเนาพินาศสิ้น ญาติมิตรล้มตายแตกสานซ่านเซ็น โดยที่รัฐบาลไม่เอาธุระค้นหาศพไร้ญาติเข้าพิธีทางศาสนาให้ได้รับส่วนกุศล ระแวงแม้แต่ผู้ที่ยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือ มุ่งลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจ ขณะที่ประชาชนไร้ที่พักพิง ไม่มีแผ่นดินผืนใดให้ยืนอยู่อย่างมั่นคงได้ เพื่อนชาวพม่า (มอญ กะเหรี่ยง คะเรนนี คะฉิ่น ไทใหญ่ ทวาย) ของเราทั้งผอง ที่เคยมีหวังสุดท้ายที่เมืองไทย แต่พวกเขาเป็นได้เพียง “แรงงานต่างด้าว โหดร้าย ป่าเถื่อน แพร่เชื้อโรค...” ให้ใครต่อใครเดียจฉันท์ ไม่ตายก็เหมือนตายทั้งเป็น
หากคนไทยยังยึดติดอยู่กับประวัติศาสตร์ ที่อดีตกษัตริย์พม่าเกณฑ์ไพร่พลมาเผากรุงศรีอยุธยาครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงยุคของรัฐบาลไพร่ที่เอาแต่ประโยชน์ส่วนตน กดขี่ข่มเหงรังแกราษฎรจนต้องหนีมายังแผ่นดินไทย ผิดก็ตรงที่พวกเขาเกิดเป็นคนพม่า ถูกคนไทยจงเกลียดจงชังต่อเนื่องยาวนานกว่าสองร้อยปี ทั้งที่พวกเขาเป็นฝ่ายถูกกระทำโดยไม่อาจแข็งขืน หากคนไทยยังใช้ประวัติศาสตร์ตีราคาของคน ลองคิดเสียว่าอาจมีสักคนที่เป็นเลือดเนื้อชาวอยุธยา (โยเดีย) ที่ถูกจับไปเป็นเชลยเมื่อครั้งกรุงแตก ถึงวันนี้ญาติเรายากแค้นลำเค็ญ มาเป็นแรงงานต่างด้าวอยู่ตรงหน้า ความเมตตาในใจคนไทยจะยังมีเหลือแบ่งปันให้พวกเขาได้บ้างหรือไม่




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ