ReadyPlanet.com
dot dot
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่

รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่ ด้วยสำนวนร่วมสมัย เพื่อคนอ่านศตวรรษ 21
คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม หน้า 20 มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่  16 พฤษภาคม
ตัดทอนมาปรับปรุงจากบทนำของ ราเมศ เมนอน (แปลโดย วรวดี วงศ์สง่า)

----------------------------------------------------------------------

มหากาพย์รามายณะ มีเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเขตป่าเขาของประเทศอินเดียช่วงก่อนยุคประวัติศาสตร์ เป็นตำนานคู่กาลเวลาที่ชาวอินเดียทุกศาสนารักมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ทั้งในฐานะวรรณคดีอันยิ่งใหญ่ และในฐานะบทบัญญัติแห่งการกระทำอันพึงประสงค์

รามายณะเป็นเรื่องราวแห่งสงครามระหว่างความดีกับความชั่ว วีรบุรุษของเรื่องคือพระราม เจ้าชายแห่งอโยธยา ผู้เป็นอวตารแห่งพระวิษณุ ใจความสำคัญคือตำนานแห่งอยาณะ หรือการเดินทางของพระรามทั้งในทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ

กล่าวโดยสรุป รามายณะได้รวมไว้ซึ่งประสบการณ์ทุกชนิด คุณค่าทุกระดับแห่งจิตวิญญาณมนุษย์ ทุกสิ่งล้วนถักทอเป็นตำนานผืนเดียวกันอย่างลงตัว

วัตถุประสงค์ของมหากาพย์รามายณะเป็นการปลุกจิตวิญญาณผู้อ่าน ให้ตื่น นำพาผู้อ่านสู่การเดินทางอันยิ่งใหญ่ ที่ท้ายที่สุดจะนำพาพวกเขาไปสู่จุดหมายแห่งโมกษะ หรือนิพพาน อันเป็นสัจธรรมที่ปลดปล่อยให้มนุษย์เป็นอิสระ กลับคืนสู่ดินแดนแห่งพระเจ้า

นอกจากนี้ปราชญ์โบราณยังกล่าวว่า การฟังหรือการอ่านมหากาพย์รามายณะ เปรียบได้กับการล้างบาปของบุคคลผู้นั้นให้หมดไปจากทั้งชีวิตนี้และชีวิตในชาติภพอื่น เท่ากับเป็นการชำระล้างจิตวิญญาณบุคคลผู้นั้นให้บริสุทธิ์ถาวร

เนื้อเรื่องของรามายณะส่วนหนึ่งมาจากตำนานเก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในโลก แม้ไม่ทราบอายุชัดเจน แต่นักวิชาการสมัยใหม่เชื่อว่าอย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าสองพันปีแน่นอน ทั้งยังระบุว่าน่าจะเป็นประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล

ส่วนผู้เคร่งศาสนาชาวฮินดูเชื่อว่ารามายณะน่าจะแต่งขึ้นราวหลายร้อยสหัสวรรษมาแล้ว ซึ่งก็คือในราวไตรยุค มีชื่อว่าอธิกาพย์ (Adi Kavya) หรือกาพย์ชิ้นแรกของโลก

กล่าวกันว่า กวีผู้มีนามว่าวาลมีกิ ได้รับแรงบันดาลใจจากพระพรหมให้เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวของพระราม วาลมีกิจึงลงมือเขียนเล่าตำนานดังกล่าวในลักษณะของมหากาพย์ ซึ่งมีความยาวถึงสองหมื่นสี่พันโศลก (slokas) โดยใช้ภาษาสันสกฤตชั้นสูง ด้วยฉันทลักษณ์อันซับซ้อนที่เรียกว่าอนุศทูป (anushtup) แต่ละโศลกจัดแบ่งเป็นกลุ่มเรียกว่าสรรคะ (sarge) หรือบทซึ่งรวมกันได้เป็นเจ็ดกัณฑ์ (kandas) หรือเจ็ดตอน

มหากาพย์เรื่องนี้ได้รับการส่งผ่านสืบทอดมาจนถึงเราทางเหล่ากุรุและศิษย์ของท่านหลายชั่วรุ่น ด้วยวิธีร้องขับตามประเพณีสืบต่อเป็นทอดๆ จากผู้ทรงศีลและเหล่ากวี หรือผู้ชราถ่ายทอดสู่ผู้เยาว์ในช่วงแห่งความบันเทิงยามค่ำในฤดูร้อน ด้วยหลายภาษาและหลากประเพณี

มหากาพย์รามายณะยังมีการนำมาเขียนเล่าใหม่เป็นภาษาพื้นเมืองอื่นๆ ในประเทศอินเดียอย่างน้อยสี่ฉบับด้วยกัน และต่างเป็นรูปแบบคลาสสิคในตัวเอง ราเมศ เมนอน กล่าวว่า

"รามายณะฉบับของข้าพเจ้านี้กล่าวได้ว่าไม่ใช่ฉบับแปลของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างแน่นอน แต่เป็นการสร้างลำดับขั้นตอนของเรื่องขึ้นใหม่โดยนักเขียนนวนิยายผู้หนึ่งคือตัวข้าพเจ้า ซึ่งไม่ได้อิงตำราสันสกฤต แต่อิงฉบับภาษาอังกฤษหลายฉบับรวมกัน ข้าพเจ้าตั้งใจไว้เพียงว่าจะเขียนเล่ารามายณะเป็นภาษาอังกฤษให้อ่านแล้วสนุกสนานประทับใจซาบซึ้งใจ ในขณะที่ยึดแนวคิดทางจิตวิญญาณและเนื้อเรื่องให้เป็นไปตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด

ข้าพเจ้าต้องพยายามเขียนให้ดีและสนุกเพื่อดึงดูดผู้อ่านในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ให้หันมาอ่านรามายณะเพื่อความเพลินเพลิดให้ได้ ทั้งยังต้องรักษาความงดงามของจังหวะลีลากวีอันเรียบง่ายไว้ในการเล่าเรื่องแบบร้อยแก้ว

ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าจะเขียนให้สั้นเกินไปไม่ได้ มิฉะนั้นอาจเป็นการลดคุณค่ามหากาพย์ต้นฉบับไป ทั้งยังจะเขียนให้ยาวเกินไปไม่ได้อีก มิฉะนั้นจะไม่มีใครอยากอ่าน

แต่จุดประสงค์ทั้งข้อแรกและข้อสุดท้าย ย่อมต้องเป็นไปเพื่อการสักการบูชาแบบทันสมัยและสนุกสนานโดยไม่ทำให้รามายณะกลับกลายเป็นวรรณกรรมชั้นต่ำ หลังจากทำงานอย่างมุ่งมั่นตลอดสิบปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าจึงมองความสำเร็จของรามายณะฉบับนี้ว่าเป็นผลงานแห่งศรัทธา ที่ข้าพเจ้าขอมอบเป็นเครื่องสักการบูชาพระรามของตน"

หน้า 20


หนังสือ
รามายณะ (The Ramayana) ราเมศ เมนอน-เขียน, วรวดี วงศ์สง่า-แปล ราคา 450 บาท

รามายณะ ผลงานของ ราเมศ เมนอน เล่มนี้ ที่นักเขียนชาวอินเดียผู้นี้ได้ "เล่า" เรื่องรามายณะด้วยสำนวน ลีลาที่ร่วมสมัย สนุกสนาน เร้าใจ ชวนติดตามตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง แม้เราจะรู้กันอยู่แล้วว่าการต่อสู้ระหว่างพระรามและทศกัณฐ์ลงท้ายเป็นเช่นไร โดยผู้เขียนยังคงสารที่ต้องการสื่อถึงคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความดี ความงามในจิตใจมนุษย์อันเป็นคุณสมบัติสากลที่พึงปฏิบัติของมนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนา เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังในเรื่องที่คุณสมบัตินี้มิได้จำเพาะเป็นพฤติกรรมของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเหล่าวานรอย่างหนุมาน สุครีพ เผ่าพันธุ์รากษสอย่างพิเภก รวมทั้งนกอย่างชฎายุ เป็นต้น

ตัวละครหลากหลายเผ่าพันธุ์ที่สัมพันธ์กันทั้งโดยการเป็นมิตรและศัตรูที่ปรากฏในเรื่องรามายณะนี้ เป็นเสมือนภาพของสังคมมนุษย์บนโลกนี้ที่มีความหลากหลาย แตกต่างทางชาติพันธุ์ ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ทว่าไม่ว่าจะเป็นชนใด สิ่งที่สามารถสื่อสารกันได้ดีคือคุณธรรมและความดี

รามายณะจึงมิใช่เรื่องล้าสมัย หากแต่เป็นมหากาพย์ที่สะท้อนความเป็นมนุษย์ที่มีรัก โลภ โกรธ หลง ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่ว่ามนุษย์จะมีวิถีชีวิตเปลี่ยนไปมากเพียงใดก็ตามเมื่อครั้งมหากาพย์นี้ได้รับการรจนาขึ้น

รามายณะ ของ ราเมศ เมนอน เล่มนี้ ผู้เขียนได้แบ่งเรื่องราวเป็น 7 ภาค หรือ 7 เล่ม เช่นเดียวกับมหากาพย์ต้นฉบับดั้งเดิมในภาษาสันสกฤต และได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยโดยคุณ วรวดี วงศ์สง่า นักแปลผู้มีผลงานแปลวรรณกรรมน่าอ่านมาแล้วหลายเล่ม

ราเมศ เมนอน ผู้เขียน Blue God : A life of Krishna และ The Hunt for K. ซึ่งเป็นหนังสือขายดีแห่งชาติในประเทศอินเดีย เมนอนเคยเป็นนักหนังสือพิมพ์ในอดีต ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่โคไดคานัล ประเทศอินเดีย

วรวดี วงศ์สง่า ผู้แปล การศึกษา กศ.ม. ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ (วิทยานิพนธ์ดีเด่น) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร M.A. in British Cultural Studies (with distinction) University of Warwick , U.K. Cert. in Drama, University of Edinburg, U.K.




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ