ReadyPlanet.com
dot dot
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"

ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่" มาจาก"กลอนอ่าน"ตำนานปราสาทพิมาย (จังหวัดนครราชสีมา) สมัยกรุงธนบุรี

                ปรับปรุงและตัดตอนจากหนังสือการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องอิทธิพลกลอนอ่านในนิทานคำกลอนของสุนทรภู่ โดย ทิพวัน บุญวีระ กองวรรณกรรม และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2541

                ปาจิตกุมารกลอนอ่าน (ต้นฉบับตัวเขียน เล่ม 2 ถึง 5) เป็นวรรณกรรมตำนานปราสาทพิมาย แต่งขึ้นระหว่างสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากผู้แต่งระบุวัน เดือน ปี ที่แต่ง และวันที่เขียนลงสมุดแล้วเสร็จบริบูรณ์ว่า
"แต่งแล้ว เดือนเก้า ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาน เขียนแล้ว เดือน 5 แรม 14 ค่ำ ปีขาน ฉอศก สักราช 2316 วาษา ปริยบูนน้านิถิตา" ต่อด้วยคำอธิฐานของผู้แต่งซึ่งไม่ปรากฏนามศักราชที่ปรากฏในต้นฉบับ ยืนยันได้ว่า ต้นฉบับสมุดไทย 4 เล่มนี้มีอยู่แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2316 ในสมัยกรุงธนบุรีและมีอยู่แล้วก่อนการแต่งนิทานคำกลอนเรื่องใดๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

                กลอนอ่านเรื่องปาจิตกุมารนี้มีเค้าโครงเรื่องจากนิทานปัญญาสชาดก เป็นฉบับรวมของนิทานคำกลอน เป็นต้นว่าจันทโครบ, สุวรรณเศียร, นิทานสุภาษิต "หัวล้านนอกครู" , และเรื่องอื่นที่สันนิษฐานไม่ได้ เนื่องจากมีแต่ตอนเริ่มเรื่องแล้วต้นฉบับขาดหายไป



ชุมชนคนโคราช-พิมาย
อยู่วังหลัง ปากคลองบางกอกน้อย

                ต้นฉบับสมุดไทยกลอนอ่านชุดนี้ได้เข้ามายังกรุงธนบุรีเพราะการย้ายถิ่นฐานจากหัวเมืองเข้ามา ณ กรุง ด้วยการย้ายถิ่นฐานคือการเคลื่อนที่ของวัฒนธรรมการโยกย้ายถ่ายเทคนครั้งใหญ่จากนครราชสีมาเข้ามายังกรุงธนบุรี ตอนต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คราวประดิษฐานพระราชวงศ์ขึ้นใหม่นั้น ทรงสถาปนาพระราชวงศ์ให้มีอิสริยศักดิ์สูงขึ้น เหตุการณ์นี้น่าพิจารณาว่าเป็นการย้ายถิ่นฐานครอบครัวจากนครราชสีมาเข้ามายังกรุงธนบุรี ทำให้มีการตั้งชุมชนย่านฝั่งธนบุรีขึ้นใหม่ ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า

                "ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พระยาสุริยอภัย พระราชนัดดาผู้ใหญ่ เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ครั้นภายหลังเห็นว่ายศศักดิ์ยังไม่สมควรแก่ความชอบที่มีมาก จึงโปรดให้เลื่อนขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ฝ่ายหลัง รับพระราชบัญชาตั้งวังอยู่ที่สวนลิ้นจี่ ในเมืองฝากตะวันตก ริมคลองบางกอกน้อย ดำรัสให้ข้าหลวงไปหาพระอภัยสุริยาราชนัดดา ลงมาแต่เมืองนครราชสีมา โปรดฯตั้งเป็น สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ ให้เสด็จอยู่ ณ วังเก่าเจ้าตาก

                        ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขนี้ คนทั่วไปเรียกว่า "วังหลัง" เหตุที่ตั้งวังบริเวณสวนลิ้นจี่ จึงมีชื่อเรียกวังของท่านว่า "วังสวนลิ้นจี่" วังสวนลิ้นจี่มีความสำคัญในฐานะเป็นที่ประทับของเจ้านายคนสำคัญผู้มีบุญบารมีดังกล่าวในพงศาวดารข้างต้น จึงเป็นเรื่องแน่นอนว่าบริเวณวังของท่านต้องเป็นที่อาศัยของครอบครัวข้าราชบริพาร และคงมีบ้างที่ติดตามมาจากนครราชสีมา

                อนึ่งเจ้านายวังหลังโดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข นั้น ทรงสนพระทัยทางด้านอักษรศาสตร์อยู่มาก พระกรณียกิจด้านวรรณกรรมที่สำคัญคือ เป็นแม่กองอำนวยการแปลพงศาวดารจีนเรื่องไซ่ฮั่น ในรัชกาลที่ 1



สุนทรภู่ได้นิทานต้นแบบจาก"กลอนอ่าน"

                สุนทรภู่เติบโตในวังหลังเนื่องจากมารดาของสุนทรภู่ได้เข้าถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข และได้เป็นแม่นมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขที่ประสูติแต่พระอัครชายา ในการนี้ได้พาสุนทรภู่มาอาศัยอยู่ด้วย

                สุนทรภู่มีชีวิตอยู่ในวังหลังตั้งแต่เป็นเด็ก ในวัยเรียนได้เล่าเรียนตามสมควรแก่ฐานะที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ริมคลองบางกอกน้อย จนถึงรุ่นหนุ่มมีความปราดเปรื่องในวิชาอักษรศาสตร์ สามารถบอกดอกสร้อยสักวา แต่งกลอนสุภาษิต แต่งกลอนเพลงยาว และแต่งกลอนนิทาน         จากสภาพแวดล้อมในวังหลังที่ท่านเจ้าของวังทรงเอาพระทัยใส่ในทางหนังสือ จนถึงเป็นแม่กองแปลพงศาวดารจีนเรื่อง "ไซ่ฮั่น" อาจเป็นเหตุจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้สุนทรภู่ได้ซึมซับสิ่งดีๆ จากวรรณคดี ปลูกฝังให้รักการอ่านเป็นอุปนิสัย

                การอ่านการฟังในวัยเด็ก และความเป็นนักอ่านที่สนใจเรื่องรอบๆ ตัว ทำให้สุนทรภู่มีความรอบรู้กว้างขวาง การสั่งสมข้อมูลอันเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์นิทานคำกลอนของสุนทรภู่จึงบังเกิดจากการรับรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเมื่ออยู่ในวังหลัง

                การแต่งกลอนนิทานเรื่องพระอภัยมณีที่มีคนอ่านมากต่อมากนี้ สุนทรภู่ได้แนวคิดการสร้างตัวเอก "พระอภัยมณี" ให้มีความชำนาญเพลงปี่ เรื่องนี้สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ใน ตำนานหนังสือสามก๊ก ว่า

                "สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่ง ซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณี มีวิชาชำนาญการเป่าปี่ก็คือเอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่พระอภัยมณี ก็ยิ่งเห็นชัดว่าถ่ายมาจากกันเป็นแท้"

                จากกรณีการสร้างตัวละครพระอภัยมณี ชี้ให้เห็นว่าวิธีการสร้างงานของสุนทรภู่นั้นท่านได้อาศัยข้อมูลจากนิทานเรื่องต่างๆ เป็นแบบอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นต้นของการฝึกหัดแต่ง เป็นแน่ว่าต้องมีเรื่องนิทานต้นแบบอยู่ก่อน

                การเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องปาจิตกุมารกลอนอ่าน กับนิทานคำกลอนทุกเรื่องที่นำเสนอในบทวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยลำดับข้างต้น จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าประเด็นที่เป็นหัวข้อเรื่องได้แก่ อิทธิพลกลอนอ่านในนิทานคำกลอนของสุนทรภู่ นั้นเป็นสมมติฐานที่ชอบด้วยเหตุผล มิใช่เหตุบังเอิญเพราะการแต่งหนังสือของกวีย่อมมิใช่สิ่งที่อาจเกิดขึ้นจากความคิดฝันโดยอัตโนมัติ แต่ต้องมีการรับรู้มีการสะสมข้อมูลไว้ในใจ แล้วจึงมากลั่นกรองถ่ายทอดเป็นผลงาน

                การแต่งกลอนนิทานของสุนทรภู่ตามการศึกษาวิเคราะห์ จึงเป็นไปตามเหตุผลที่นำเสนอดังกล่าว การแต่งกลอนนิทานเรื่องจันทโครบเป็นตัวอย่างอันดีในการใช้ข้อมูลเดิมจากกลอนอ่านทั้งเรื่อง นำมาทำเป็นกลอนนิทานที่มีชีวิตชีวา จันทโครบกลอนอ่านได้นำเสนอเป็นเรื่องเล่า ซึ่งสุนทรภู่แต่งใหม่เป็นกลอนนิทานให้ตัวละครทุกตัวมีชีวิต มีอารมณ์ มีความรู้สึก รัก โกรธ สมหวัง ผิดหวัง และแสดงความรู้สึกด้วยบทเจรจา มีการพรรณนาความเปรียบ การพรรณนาธรรมชาติ มีการเดินทาง เป็นการเพิ่มเติมอรรถรส และเนื้อหาแก่วรรณกรรมที่เกิดใหม่อย่างมากมาย

                นอกจากการแปลงกลอนอ่านมาสร้างเป็นกลอนนิทานที่มีชีวิต กลอนนิทานเรื่องจันทโครบยังตีประเด็นอันเป็นเจตนารมณ์ของเรื่องอย่างชัดเจน ว่าเป็นนิทานเพื่อสั่งสอนกุลบุตรให้ระมัดระวังในการเลือกคู่ การมีคู่ก่อนเวลาอันสมควร (เปรียบจันทโครบเปิดผอบก่อนถึงเมือง) หรือการเลือกหญิงงามที่ปราศจากคุณสมบัติ ไม่ได้รับการอบรมกิริยามารยาท (เปรียบนางโมราที่เกิดอยู่กลางป่า) เป็นภรรยานั้น นางจะไม่รู้จักรักนวลสงวนตัว ไม่รู้จักควบคุมความรู้สึกการแสดงอารมณ์ใคร่ย่อมเป็นไปตามความต้องการโดยปราศจากการยับยั้งชั่งใจซึ่งไม่เหมาะสม ในขณะที่ผู้อ่านวัดคุณค่าของผู้หญิงด้วยมาตรฐานอุดมคติ นางโมราจึงมีค่าเท่ากับชะนีตัวหนึ่ง (ถูกสาปเป็นชะนี)

                นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าอิทธิพลการตั้งชื่อตัวละครเอกของสุนทรภู่ ยังอาศัยราชทินนามของบุคคลจริง เช่น ชื่อโคบุตรสุริยา และพระอภัยมณีนั้น เชื่อว่าตั้งชื่อตามบุคคลสำคัญผู้เป็นที่เคารพนับถือ คือเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง ซึ่งเดิมมีบรรดาศักดิ์ และราชทินนามว่า "พระสุริยอภัย" กับเจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ เจ้านายในพระราชวังเดิม ซึ่งเดิมมีบรรดาศักดิ์ และราชทินนามว่า "พระอภัยสุริยา" จากชื่อทั้งสองนี้สะท้อนให้เห็นวิธีคิดของสุนทรภู่ในความถนัดใช้ข้อมูลใกล้ตัวแต่งกลอนนิทาน

                สุนทรภู่คงจะได้ฟังนิทานเรื่องปาจิตกุมารเป็นกลอนอ่านสู่กันฟังมาแต่วัยเด็ก ต่อมาภายหลังจึงนำเนื้อเรื่องจากนิทานดั้งเดิมมาผูกเป็นเรื่องใหม่ที่สนุกกว่าเก่า นับเป็นกลวิธีที่ชาญฉลาดอีกประการหนึ่ง แต่ไม่อาจนำวิธีนี้ไปใช้ได้ตลอด นิทานคำกลอนของสุนทรภู่เรื่องถัดมาจึงมีเนื้อหาจากกลอนอ่านปรากฏอยู่น้อยลงตามลำดับ ตั้งแต่โคบุตร ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ จนถึงพระอภัยมณี

                สุนทรภู่สร้างเรื่องพระอภัยมณีเป็นกลอนนิทานที่ยิ่งใหญ่โดยอาศัยโครงเรื่องจากวรรณกรรมหลายฉบับ ผสมผสานกับความรอบรู้ของท่าน อิทธิพลกลอนอ่านเรื่องปาจิตกุมารที่ประจักษ์ชัดในนิทานเรื่องพระอภัยมณีจึงปรากฏเพียงบทชมดาวเท่านั้น

หน้า 20คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม มติชน 21 มีนาคม 2551




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ