ReadyPlanet.com
dot dot
ตะเกียงเจ้าพายุ

      เราจะต้องเอาปราสาทเขาพระวิหารกลับคืนมา ให้เป็นของชาติไทยให้จงได้

      อติภพ ภัทรเดชไพศาล

      คำปราศรัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่ผมยกมาตั้งเป็นหัวเรื่อง ถูกตอกย้ำรุนแรงมากขึ้นทุกทีๆ ในปัจจุบัน คำพูดนี้เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก และเผลอๆ อาจจะกลายไปเป็นวาทะอมตะอีกอันหนึ่งของท่าน เหมือนประโยคอื่นๆ อย่าง “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” ก็ได้

      จอมพลผ้าขาวม้าแดงผู้เคยสั่งแบนเพลงอย่างกลิ่นโคลนสาปควาย และเคยโมโหโกรธากับเพลงบางเพลงของคำรณ สัมบุณณานนท์ แสดงความรักชาติผ่านคำปราศรัยในค่ำวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ที่มีลักษณะไม่ผิดไปจาก drama ความโกรธเกลียด ผูกใจเจ็บไปทั้งชาตินี้และชาติหน้า ลุกลามสะเทือนไปถึงวงการเพลงไทย เกิดงานเพลงที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นจำนวนไม่น้อย

      เพลงแรกๆ น่าจะเป็นงานของชัยชนะ บุณนะโชติ ที่ชื่อว่า “ของเขาไม่เอา ของเราไม่ให้” ที่แต่งโดยพยงค์ มุกดา อยู่ในงานที่เป็นการบันทึกเสียงครั้งแรกสุดของชัยชนะ อันส่งผลให้เส้นทางความเป็นนักร้องอาชีพของเขาปรากฏเป็นจริง

      อีกเพลงหนึ่งคือ “เขาพระวิหารต้องเป็นของไทย” ของก้าน แก้วสุพรรณ ที่ร้องด้วยสำเนียงไทยแปร่งๆ ขึ้นต้นด้วยเสียงตะโกนกู่ว่าเขาพระวิหารต้องเป็นของไทย! 

      เพลงของคำรณ สัมบุณณานนท์ ที่ชื่อว่า “เขาพระวิหารแห่งความหลัง” นั้นลงท้ายด้วยลูกคู่แสบๆ ที่ยกความจริงเรื่องทางขึ้นเขาพระวิหารมาเป็นอาวุธได้อย่างแหลมคม:

      ขี้ตู่กลางนา ขี้ตาตุ๊กแก ของเราแท้ๆ แล้วจะมาแย่งเอาไป
      ขี้ตู่กลางนา ขี้ตาตุ๊กแก เป็นของขะแม แล้วไงมาขึ้นทางไทย

      นอกจากนี้แล้วยังมีเพลงคู่ ร้องโต้ตอบกันระหว่างพร ภิรมย์ กับชาย เมืองสิงห์

      ส่วนงานสมัยใหม่หน่อยก็เห็นจะเป็นวงอินโดจีน ที่ออกมาในช่วงปี พ.ศ. 2533 ใช้ชื่อเพลงว่าเขาพระวิหาร จับประเด็นว่าทางเข้าอยู่ที่ศรีสะเกษ (กรณีนี้น่าแปลกใจนิดๆ ที่อยู่ดีๆ ก็เกิดการปลุกกระแสขึ้นมาเองโดยนักดนตรี โดยไม่มีเงื่อนปมทางการเมืองมาเกี่ยวข้องในระยะนั้น)

      ที่จริงการเคยได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนนั้นของไทยก็เป็นไปในระยะเวลาเพียงสั้นๆ ไม่ใช่หรือ? รัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ทำการปักเขตแดนเอาก็เมื่อ พ.ศ. 2483 เข้าไปแล้ว โดยอาศัยการไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่นที่เป็นผู้ทรงอิทธิพลอยู่ในขณะนั้น

      แล้วก่อนหน้านั้น เขาพระวิหารเป็นของใครหรือ? มีหลักฐานที่บันทึกถึงการเดินทางไปตรวจราชการมณฑลนครราชสีมาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพใน พ.ศ. 2472 ซึ่งพระองค์ได้เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรปราสาทเขาพระวิหารด้วย โดยได้ทรงทำเรื่องขออนุญาตจากสถานกงสุลฝรั่งเศสก่อน ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นชัดๆ แล้วไม่ใช่หรือ ว่าในขณะนั้น เจ้านายชาวสยามยอมรับว่าดินแดนส่วนนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส

      แต่เอาเถิด ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เส้นพรมแดนมันไม่เคยเป็นเรื่องจริง ในบรรพกาลดินแดนต่างๆ ก็ไม่เคยมีเส้นแบ่ง และมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติชาติวงศ์อย่างซับซ้อน

      ปราสาทพระวิหารมีชื่อเก่าเรียกว่า ศรีศิขเรศวร มีลักษณะชัยภูมิที่โดดเด่นซึ่งอาจแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสถานที่แห่งนี้มาแต่แรก มีจารึกที่เล่าประวัติความเป็นมาของสายตระกูลพระเจ้าชัยวรมันที่สอง ที่ขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนแถบนี้ และมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้ครองดินแดนรุ่นก่อนอย่างใกล้ชิด แสดงให้เห็นว่าพื้นที่แถบนี้เป็นดินแดนร่วมที่ผนวกแผ่นดินหลายๆ ผืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างกว้างขวางมากในสมัยหนึ่ง

      ก็พื้นที่ทับซ้อนแบบปราสาทพระวิหารนี่แหละ ที่แสดงให้เราเห็นว่าเราทั้งสองประเทศนั้นเป็นหนึ่งเดียวกัน มันควรเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความร่วมมือ มากกว่าจะนำไปสู่ความแตกแยก มากกว่าที่จะถูกใช้เป็นเพียงเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของใครบางคน พื้นที่นี้ควรเป็นดินแดนที่เชื่อมโยงเราเข้าหากัน อย่างเป็นอิสระ ไม่มีขอบ ไม่มีเขตต่างหาก!

      จะมีประโยชน์อะไรกับการมากำหนดเส้นเขตแดนปลอมๆ เพียงเพื่อที่จะสร้างความแตกแยกให้ร้าวลึกลงไปในใจของผู้คนทั้งสองประเทศ?

 

คำรณ สัมบุณณานนท์ ศิลปินอันตรายผู้ร้องเพลงเขาพระวิหารแห่งความหลัง

 




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ