ReadyPlanet.com
dot dot
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น

สุนทรภู่ แต่งพระอภัยมณี ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม
บทบรรยายพิเศษในโครงการศิลปะไร้กำแพง No Wall : Art and Friendship

พระอภัยมณีเป็นวรรณคดีการเมืองต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น แต่ใช้กลวิธีแต่งเป็นนิทานกลอนเคลือบไว้อย่างสนิทจนคนอ่านไม่ทันคิดหรือคิดไม่ทัน

สุนทรภู่ไม่ได้เขียนบอกว่าลงมือแต่งพระอภัยมณีเมื่อไร แต่นักเลงวรรณคดีรุ่นก่อนๆ เห็นพ้องต้องกันว่าน่าจะเริ่มแต่งตอนบวชเป็นพระอยู่วัดเทพธิดาราม ราว พ.ศ.2376 (ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3) ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุราว 47 ปี (บวชเมื่ออายุ 38 ปี)

ก่อนหน้านั้นอังกฤษสั่งกองทัพยึดเมืองหงสาวดี เมื่อ พ.ศ.2368 (รุ่งขึ้น พ.ศ.2369 กองทัพจากกรุงเทพฯไปเผาเวียงจัน) พม่ายอมสงบศึก เสียดินแดนด้านยะไข่ลงมาถึงดินแดนตอนล่างด้านตะนาวศรีทั้งหมด ปัจจุบันตั้งแต่ราวจังหวัดตากถึงจังหวัดระนอง

อังกฤษยึดครองอินเดียตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา แล้วยึดครองลังกาเป็นอาณานิคม ตั้งแต่ พ.ศ.2338 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 ขณะนั้นสุนทรภู่อายุ 9 ขวบ (เกิด พ.ศ.2329)

พฤติกรรมล่าเมืองขึ้นของอังกฤษด้วยการสงครามล้างผลาญอย่างรุนแรง ย่อมเป็นที่รับรู้ในหมู่คนชั้นนำของกรุงสยามตั้งแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ซึ่งเป็นปราชญ์ราชสำนักในรัชกาลที่ 2 มาก่อนก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจ เลยจินตนาการสร้างเป็นนิทานกลอนขึ้นมาชื่อพระอภัยมณี ใช้ปี่เป็นสัญลักษณ์ของวิชาความรู้ให้แก้ปัญหาด้วยปัญญา ด้วยสันติภาพ ในลักษณะเดียวกับคำขวัญของคนรุ่นต่อต้านสงครามเวียดนามว่า make love, not war

 

ผู้ร้ายในพระอภัยมณีคือโจรสุหรั่ง สุนทรภู่ระบุให้เป็นอังกฤษ มีรายละเอียดเคยเขียนไว้ในหนังสือ สุนทรภู่เกิดวังหลัง ผู้ดีบางกอก มหากวีกระฎุมพี มีวิชาความรู้เท่าทันโลก ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ (มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2547) จะสรุปยกมาดังต่อไปนี้



เมืองลังกาก็คือศรีลังกาของอังกฤษ

นอกจากพระอภัยมณีกับศรีสุวรรณแล้ว กลุ่มตัวละครสำคัญในเรื่องพระอภัยมณีก็คืออุศเรนกับนางละเวงวันฬาแห่งเมืองลังกา

เมืองลังกาในเรื่องพระอภัยมณีคือเกาะลังกาหรือประเทศศรีลังกาทุกวันนี้ และตรงกับกรุงลงกาของทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์ ฉะนั้น ชาวลังกาจึงนับถือยักษ์เป็นบรรพบุรุษ ทุกวันนี้ยังมีศาลทศกัณฐ์กับศาลพิเภก

ต่อมาลังกาตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้สุนทรภู่วางตัวละครในลังกาเป็น "ฝรั่ง" ชาวยุโรป มีกษัตริย์เป็นผู้หญิงเหมือนพระราชินีวิคตอเรียของอังกฤษ

เมืองผลึกคือถลาง-ภูเก็ต

เมืองผลึกเป็นเมืองสำคัญ "คู่รัก-คู่แค้น-คู่สงคราม" กับเมืองลังกาตลอดเรื่องพระอภัยมณี หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า เรื่องพระอภัยมณีก็คือกรณีพิพาทระหว่างเมืองผลึกกับเมืองลังกา ซึ่งอยู่ตรงข้ามกันทางทะเล ดังมีบอกไว้ตอนฝ่ายลังกาจะยกกองทัพข้ามฟากไปตีเมืองผลึก

ในทางกลับกันเมื่อนางสุวรรณมาลีมีใบบอกเมืองรมจักรกับเมืองการะเวกซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกัน ให้ยกกองทัพไปลังกาก็ระบุว่า "ให้รีบตามข้ามฝั่งไปลังกา" แล้วใช้เวลา "นับสิบห้าราตรีไม่มีหยุด ก็ถึงฟากฝั่งลังกาท่าสงคราม" ตรงกับที่ฝ่ายลังกาบอกไว้

ฝั่งตรงข้ามลังกาโดยประมาณก็คือ บริเวณที่ทุกวันนี้เป็นเกาะภูเก็ต แต่ในสมัยสุนทรภู่ยังเรียก "เมืองถลาง"

สุนทรภู่ ต่อต้านอังกฤษ

อังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาในแหลมมลายูแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เริ่มด้วยการเช่าเกาะหมาก (ปีนัง) แล้วพยายามขยายไปที่อื่นๆ อีก ล้วนเป็นอันตรายต่อกรุงสยามทั้งนั้น

จากรายงานของครอว์ฟอร์ดที่เข้ามาถึงกรุงเทพฯในสมัยรัชกาลที่ 2 ระบุว่า "ดีบุกในกรุงสยามอุดมสมบูรณ์และมีกระจายอยู่ทั่วไปมากกว่าที่อื่นใดในโลก" แล้วย้ำว่าการผลิตดีบุกที่ "จึ๊งค์ซีลอน" (หมายถึงเมืองถลางหรือเกาะภูเก็ต) มีปริมาณมากทีเดียว แต่ยังไม่ได้ทำเป็นล่ำเป็นสันเท่านั้น สะท้อนให้เห็นความต้องการบางอย่างของอังกฤษด้วย

ฝ่ายกรุงเทพฯเองก็พยายามที่จะเข้าไปควบคุมหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกมาตั้งแต่สมัยต้นๆ แล้ว ยิ่งเมื่อรู้ว่าตลาดดีบุกเปิดกว้างขึ้น ประกอบกับมีความขัดแย้งภายในเกิดขึ้นที่หัวเมืองปักษ์ใต้ ทำให้รัชกาลที่ 2 ทรงตั้งเมืองถลางขึ้นใหม่อยู่ที่เมืองพังงาก่อน แล้วภายหลังจึงย้ายไปอยู่เมืองถลาง นับแต่นั้นมาเมืองถลางก็ทวีความสำคัญจนกระทั่งเป็นเมืองภูเก็ต

บรรยากาศด้านการค้ากับการเมืองเหล่านี้คงมิได้รอดพ้นความรับรู้ของสุนทรภู่ไปได้ ท่านจึงสร้าง "นิยาย" นานาชาติขึ้นมา โดยใช้ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียเป็นฉากในเรื่องพระอภัยมณี และเป็นที่รู้อยู่ทั่วกันว่าทะเลแถบนี้มีโจรสลัดชุกชุม สุนทรภู่ก็ไม่ละทิ้งความจริงข้อนี้ จึงให้สลัดกลุ่มหนึ่งเป็นพวกยุโรปมีชาติอังกฤษเป็นหัวหน้า เมื่อเรือสุวรรณมาลีแตกก็พบเรือสลัดโจรสุหรั่งอังกฤษดังนี้

จะกล่าวฝ่ายนายโจรใจฉกาจ             เป็นเชื้อชาติอังกฤษริษยา

คุมสลัดอัศตันวิลันดา                         เป็นโจราห้าหมื่นพื้นทมิฬ

มีกำปั่นนั้นยาวยี่สิบเส้น                    กระทำเป็นตึกกว้านสถานถิ่น

หมากมะพร้าวส้มสูกปลูกไว้กิน      ไม่รู้สิ้นเอมโอชโภชนา

การที่สุนทรภู่ให้หัวหน้าโจรสลัดเป็นชาติอังกฤษ น่าจะเกี่ยวข้องกับสำนึกของคนกลุ่มหนึ่งในยุคนั้นที่รู้ว่าอังกฤษเป็น "โจร" ล่าอาณานิคม

ความ "ทันสมัย" ของสุนทรภู่ที่แต่งเรื่องพระอภัยมณี โดยเอาความเคลื่อนไหวทาง "เศรษฐกิจ-การเมือง" ร่วมสมัยมาสอดแทรกใส่เป็นสัญลักษณ์ไว้ จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างยิ่งของ "ปัญญาชน" คนอ่านสมัยนั้น

 

กลวิธี make love, not war ในพระอภัยมณีของสุนทรภู่

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

เมื่อพบนางละเวงครั้งแรกในสนามรบนอกกรุงลงกา พระอภัยมณีก็หลงนางละเวง แล้วมีวาจาดังสุนทรภู่แต่งว่า

พระน้องหรือชื่อละเวงวัณฬาราช                   อย่าหวั่นหวาดวิญญาณ์มารศรี

จงหยุดยั้งรั้งราจะพาที                                        ไม่ฆ่าตีศรีสวัสดิ์เป็นสัจจา
พี่จงจิตติดตามข้ามสมุทร                                   มาด้วยสุดแสนสวาทปรารถนา
จะถมชลจนกระทั่งถึงลังกา                              เป็นสุธาแผ่นเดียวเจียวจริงจริง
จงแจ้งความตามในน้ำใจพี่                                ไม่ราคีเคืองข้องแม่น้องหญิง
อย่าเคลือบแคลงแหนงจิตคิดประวิง               สมรมิ่งแม่วัณฬาจงปรานี

รักแรกของพระอภัยมณี ทำให้ต้องเป่าปี่ชี้ชวน make love, not war ดังนี้

ต้อยตะริดติดตี๋เจ้าพี่เอ๋ย                      จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน

แอ้อีอ่อยสร้อยฟ้าสุมาลัย                   แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย

ฉุยฉายชื่นรื่นรวยระทวยทอด           จะกล่อมกอดกว่าจะหลับกับเขนย

หนาวน้ำค้างพร่างพรมลมรำเพย     ใครจะเชยโฉมน้องประคองนวล

เสนาะดังวังเวงเป็นเพลงพลอด       เสียงฉอดฉอดชดช้อยละห้อยหวน

วิเวกแว่วแจ้วในใจรัญจวน                 เป็นความชวนประโลมโฉมวัณฬา

ต่อจากนี้เป็นเหตุให้พระอภัยมณีออดอ้อนขอความรักจากนางละเวงวัณฬา ดังกลอนสุนทรภู่ตอนที่รู้กันกว้างขวางว่า

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร              ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน

แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร                     ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรณพ            พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา

แม่เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา                   เชยผกาโกสุมปทุมทอง

เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่                     เป็นราชสีห์สิงสู่เป็นคู่สอง

จะติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

ท้ายที่สุดบรรลุวัตถุประสงค์ make love, not war เมื่อพระอภัยมณีลวงนางละเวงวัณฬาสำเร็จ จนมีเพศสัมพันธ์เสพสมเป็นบทอัศจรรย์ว่า

พลางโอบอุ้มจุมพิตสนิทถนอม       งามละม่อมละมุนจิตพิสมัย

ร่วมภิรมย์สมสองทำนองใน             แผ่นดินไหวจนกระทั่งหลังอานนต์

ในนทีตีคลื่นเสียงครื้นคึก ลั่นพิลึกโลกาโกลาหล

หีบดนตรีปี่พาทย์ระนาดกล              ไม่มีคนไขดังเสียงวังเวง

อัศจรรย์ลั่นดังระฆังฆ้อง                   เสียงกึกก้องเก่งก่างโหง่งหง่างเหง่ง

ปืนประจำกำปั่นก็ลั่นเอง                   เสียงครื้นเครงครึกโครมโพยมบน

สุนีบาตฟาดเสียงเปรี้ยงเปรี้ยงเปรื่อง กระดอนกระเดื่องดินฟ้าเป็นห่าฝน

ทุกธารถ้ำน้ำพุทะลุล้น                       ท่วมถนนแนวฝั่งเกาะลังกา

สองสนิทชิดชมอารมณ์ชื่น               ระเริงรื่นเริ่มแรกแปลกภาษา

พระลืมองค์พงศ์พันธุ์สวรรยา          นางลืมวังลังกาไม่อาลัย

พระหลงรื่นชื่นกลิ่นดินถนัน           นางหลงชั้นเชิงชิดพิสมัย

แต่คลึงเคล้าเย้ายวนรัญจวนใจ          จนระงับหลับไปในไสยา ฯ


นสพ.มติชนรายวัน หน้า 20 ฉบับวันที่ 22 สิงหาคม 2551




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ