ReadyPlanet.com
dot dot
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"

เปิดศักราชใหม่ พุทธศักราช 2552 ปีนี้ตรงกับปีฉลู

บรรดาโหราจารย์ทั้งหลายให้ฉายาว่าปี "วัวบ้า" เพราะเป็นปีแห่งความหฤโหด-วิปริตอย่างแท้จริง

เป็นธรรมเนียมนิยมของไทย ที่เมื่อขึ้นปีใหม่ ขึ้นศักราชใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ต้องไหว้พระเพื่อแสดงการน้อมสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้านประจำเมือง นำเอาความเป็นสิริมงคลมาสู่ตน ถือเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยก่อนจะเริ่มทำงานทำการกันต่อไป

"มติชน" จึงถือเอาวาระผลัดปีเก่าสู่ปีใหม่ ชวนเที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ ที่ไม่เหมือนใคร

ประกอบด้วย 1.วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร 2.วัดเขาดีสลัก จังหวัดสุพรรณบุรี 3.วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 4.วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย 5.วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน 6.วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม 7.วัดพระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี 8.วัดชลธาราสิงเห จังหวัดนราธิวาส 9.วัดพระนางสร้าง จังหวัดภูเก็ต

เป็นวัดที่ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์-โบราณคดี นามว่า สุจิตต์ วงษ์เทศ แนะนำ ด้วยเห็นว่ามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ทั้งยังงดงามในฝีมือเชิงช่างหลายๆ แขนง

อย่างไร...ต้องตามไปรู้จักโดยพลัน


1.วัดสุทัศน์

กรุงเทพมหานคร

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่มุมถนนตีทองและถนนบำรุงเมือง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ไหว้พระศรีศากยมุนี ทองสัมฤทธิ์แบบสุโขทัย พระพุทธรูปประจำเมืองกรุงเทพฯ แล้วต้องดูศิลปกรรมในวัด เพราะเป็นแหล่งรวมฝีมือช่างหลายรัชกาล

วัดสุทัศน์ใช้เวลาก่อสร้างถึง 3 รัชกาล คือตั้งแต่รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จนถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในรัชกาลที่ 1 มีพระราชดำริจะสร้างปูชนียสถานที่สำคัญใจกลางพระนคร จึงให้อัญเชิญพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 3 วา 4 นิ้ว สูง 4 วา จากวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัยที่รกร้างอยู่ในเวลานั้นให้มาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองกรุงเทพฯ (ส่วนพระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปประจำราชอาณาจักร) นับเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ มีขนาดใหญ่โตที่สุดที่เหลืออยู่ในประเทศไทย และในภูมิภาคอุษาคเนย์

เมื่อก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามว่า"วัดสุทัศนเทพวราราม" และในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัยว่า "พระศรีศากยมุนี"


2.วัดเขาดีสลัก

จังหวัดสุพรรณบุรี

วัดเขาดีสลัก ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ไหว้รอยพระพุทธบาทเก่าแก่ราวพันปีมาแล้วอยู่บนเขาเตี้ยๆที่มองเห็นภูมิประเทศโดยรอบของดินแดนเมืองอู่ทอง ที่เป็นศูนย์กลางของสุวรรณภูมิ ราว 2,000 ปีแล้ว

รอยพระพุทธบาท สมัยทวารวดี อยู่บนเขาเตี้ยๆในวัด มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 (พ.ศ. 1301-1600) ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นพระพุทธบาท ด้านขวาแบบ"ลายลักษณ์" สลักนูนเป็นฝ่าพระพุทธบาท ไม่เป็นรอยเหยียบจมเหมือนพระพุทธบาททั่วๆไป สร้างจากหินทรายแดงนวล มีรูปสลักมงคล 108 ประการอยู่ในวงกลม แล้วยังมีลายดอกไม้สี่กลีบ, มีรูปพระพรหม, หงส์, ฯลฯ ล้วนมีรูปแบบทวารวดี

นอกจากพระพุทธบาทแล้ว ยังพบพระเครื่องดินเผาจำนวนนับพันในถ้ำบนเจดีย์ยอดภูเขาที่หักพังลงมา เรียกว่า "พระถ้ำเสือ"
 
1.พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม จ.กรุงเทพฯ 2.วัดเขาดีสลัก จ.สุพรรณบุรี 3.วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี 4.วัดพระแก้ว จ.เชียงราย 5.วัดพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน


3.วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ

จังหวัดปราจีนบุรี

วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ตั้งอยู่ที่บ้านต้นโพธิ์ ที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี

ไหว้ต้นโพธิ์เก่าแก่สุด และมีขนาดใหญ่สุดต้นหนึ่งในประเทศไทย แล้วแวะเที่ยวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์โดยรอบ เช่น เมืองศรีมโหสถ มีอายุราว 1,500 ปีมาแล้ว กับไหว้รอยพระพุทธบาทคู่เก่าสุดในประทเทศไทย

ต้นโพธิ์ที่วัดนี้แตกหน่อแผ่กิ่งก้านโดยรอบประมาณ 50 เมตร ขนาดรอบลำต้นวัดได้ประมาณ 25 เมตร สูงประมาณ 30 เมตร

ต้นศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นสัญลักษณ์พระพุทธศาสนาที่สำคัญในบริเวณพื้นที่แถบนี้ จนเป็นที่มาของชื่อพื้นที่ป่าขนาดใหญ่บริเวณนี้ว่า"ดงศรีมหาโพธิ์" ซึ่งเป็นป่าดงขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ

ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 พระเจ้าตากพาไพร่พลจำนวนหนึ่งหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาผ่านมาทางชายดงศรีมหาโพธิ์มุ่งไปหัวเมืองชายทะเลเพื่อตั้งมั่นอยู่เมืองจันทบุรี ซึ่งชาวบ้านแต่ก่อนบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าพระเจ้าตากได้ยั้งทัพพักเหนื่อยไพร่พลที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงดงศรีมหาโพธิ์และงานนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรี พ.ศ. 2451

ความเป็นมาของโพธิ์ต้นนี้เกี่ยวข้องกับอินเดียและลังกา นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับเมืองมโหสถ ซึ่งเป็นเมืองโบราณอยู่ในเขตอำเภอนี้ มีอายุเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว และพบรอยพระพุทธบาทคู่ สระมรกต สลักบนหินธรรมชาติ ราว 1,500 ปีมาแล้ว อยู่ไม่ไกลจากวัดต้นโพธิ์


4.วัดพระแก้ว

จังหวัดเชียงราย

วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย แต่เดิมมีชื่อว่า วัดป่าเยี๊ยะ หรือวัดป่าญะ (ไม้เยี๊ยะ เป็นไม้ไผ่พันธุ์พื้นเมืองชนิด หนึ่ง ชาวบ้านนิยมนำไม้ชนิดนี้ไปทำหน้าไม้หรือขาธนู)

ไหว้พระธาตุเจดีย์ที่ซ่อนพระแก้วมรกตไว้เป็นที่แรก ก่อนจะอัญเชิญไปประดิษฐานบ้านเมืองต่างๆ จนถึงประเทศไทย

เมื่อ พ.ศ. 1977 ได้พบพระแก้วมรกต ในเจดีย์ที่วัดแห่งนี้ ชาวบ้านจึงขนานนามใหม่ว่า "วัดพระแก้ว"

เจดีย์วัดพระแก้ว เมืองเชียงราย ถูกอสนิบาต (ฟ้าผ่า) เมื่อ พ.ศ. 1977 เมื่อพระเจดีย์พังทลายลงได้ค้นพบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระเจดีย์องค์นี้มีฐานเป็นรูปแปดเหลี่ยม แต่ละเหลี่ยมกว้าง 5.20 เมตร องค์เจดีย์วัดผ่าศูนย์กลางได้ 9.50 เมตร


5.วัดพระธาตุหริภุญชัย

จังหวัดลำพูน

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ถนนอินทยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ชาวบ้านเรียกวัดหลวงลำพูน

ไหว้พระธาตุที่มีความเป็นมาเก่าแก่กว่าเมืองเชียงใหม่เกือบพันปี แล้วเดินชมศิลปกรรมศักดิ์สิทธิ์ในวัดที่มีมากมายหลายแห่ง รวมทั้งพิพิธภัณฑ์เก็บพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่แบบลำพูนด้วย

ตำนานเล่าว่าพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์เมืองหริภุญชัยสร้างขึ้นราว พ.ศ. 1440 แต่จากพยานหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีพบว่าบริเวณที่เป็นวัดหลวงลำพูนนี้มีร่องรอยผู้คนอยู่อาศัยมาก่อนตั้งแต่ราว 2,000 ปีมาแล้ว หรือราว พ.ศ. 500 นับเป็นส่วนหนึ่งของยุคสุวรรณภูมิ

ต่อมาพระพุทธศาสนาจากละโว้ (ลพบุรี) แพร่หลายเข้ามาเมื่อราวหลัง พ.ศ.1000 อันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในตำนานพระนางจามเทวี ยุคทวารวดี บริเวณที่เป็นวัดได้รับยกย่องเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นอีกนานก็สถาปนาพระธาตุแล้วยกขึ้นเป็นวัดศูนย์กลางของรัฐหริภุญชัย ที่ภายหลังได้ชื่อลำพูน
 
6.วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม 7.พระพุทธบาทบัวบก จ.อุดรธานี 8.วัดชลธาราสิงเห จ.นราธิวาส 9.วัดพระนางสร้ง จ.ภูเก็ต


เพราะเป็นวัดสำคัญของรัฐใหญ่สุดของที่ราบลุ่มน้ำปิง จึงมีสิ่งก่อสร้างสำคัญๆอยู่ในวัดมาแต่แรก ครั้นหลัง พ.ศ. 1800 ชาวโยนกยกทัพมายึดครองรัฐหริภุญชัย แล้วสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1839 เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ แต่วัดพระธาตุหริภุญชัย ยังคงความศักดิ์สิทธิ์สืบมา ดังมีพยานเอกสารอยู่ในโคลงนิราศหริภุญชัย แต่งโดยกวีเชียงใหม่ เมื่อราว พ.ศ. 2060


6.วัดพระธาตุพนม

จังหวัดนครพนม

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อยู่ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 500 เมตร

ไหว้พระธาตุพนมเป็นสำคัญที่สุด เพราะเก่าแก่และยิ่งใหญ่สุดในบริเวณสองฝั่งโขง แล้วนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดที่มีมากมายหลายแห่ง

พระธาตุพนม เป็นสถูปประธานของวัดพระธาตุพนม มีอายุราวหลัง พ.ศ.1200 นับเป็นสถูปเก่าแก่ที่สุดในลุ่มน้ำโขงทางอีสาน มีตำนานละเอียดอยู่ในหนังสืออุรังคธาตุ หรือตำนานว่าด้วยพระธาตุพนม เกี่ยวข้องกับบ้านเมืองโบราณสองฝั่งโขง คือ ลาว, ไทย, กัมพูชา, ไปถึงเวียดนาม แสดงว่าพระธาตุพนมเป็นที่สักการะเลื่อมใสของประชาชนสองฝั่งโขงทุกชาติทุกพันธุ์มาแต่โบราณกาล

บริเวณที่ตั้งพระธาตุพนมเป็นเนินสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ ชาวบ้านเรียกตรงนี้ว่า ภูกำพร้า มีร่องรอยและหลักฐานแสดงว่าเคยเป็นชุมชนยุคดึกดำบรรพ์มาก่อน ราว 3,000 ปีมาแล้ว ครั้นแรกรับพุทธศาสนาที่เผยแผ่จากลุ่มน้ำเจ้าพระยาภาคกลางผ่านมาทางลุ่มน้ำมูล-ชี ก็เริ่มมีสถูปฐานสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ สลักลวดลายคล้ายงานช่างจามจากรัฐจามในเวียดนามโบราณ หลักฐานต่างๆ มีจัดไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุพนม

เนื่องจากมีอายุเก่าแก่ยาวนานมาก พระธาตุพนมจึงถูกบูรณปฏิสังขรณ์หลายยุคหลายสมัยสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน แต่ครั้งใหญ่สุด พระธาตุพนมล้มเมื่อ พ.ศ. 2518 แล้วรัฐบาลไทยให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดดังเห็นอยู่ทุกวันนี้


7.วัดพระพุทธบาทบัวบก

จังหวัดอุดรธานี

วัดพระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูพาน (ภูพระบาท) บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ไหว้พระพุทธบาท 3 รอย ที่มีอายุเก่าแก่มากในอีสาน แล้วนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติบนภูเขาเตี้ยๆที่เหมาะสมแก่การทำสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน

เขาภูพาน เป็นเขาเตี้ยๆทอดยาว แล้วมีร่องรอยที่อยู่อาศัยของคนยุคสุวรรณภูมิและยุคหลังๆ บางทีก็เรียกภูพระบาทบัวบกบัวบาน เพราะมีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ใกล้เคียงกัน 3 รอย เป็นที่รู้จักในชื่อ พระพุทธบาทบัวบก, พระพุทธบาทบัวบาน, และพระพุทธบาทหลังเต่า

พระพุทธบาทบัวบกบัวบาน มีตำนานแทรกอยู่ในหนังสือเรื่องอุรังคธาตุ (ตำนานว่าด้วยพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม) แสดงว่าบริเวณนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาสืบเนื่องกับพระธาตุพนมมาแต่โบราณกาล แล้วเป็นที่ยอมรับนับถือกว้างขวางทั้งในประเทศไทยและในลาว ตั้งแต่ยุคก่อนๆ สืบเนื่องจนปัจจุบัน จึงเคยเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ "วัดป่า"ในอดีตหลายยุคหลายสมัย

บริเวณภูพระบาทบัวบกบัวบาน มีแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตามโขดหินและเพิงผาตามธรรมชาติ แล้วยังมี "หินตั้ง" อายุมากกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ตั้งล้อมรอบแหล่งสำคัญๆหลายแห่ง "หินตั้ง" เหล่านี้มีมาก่อนรับพุทธศาสนา เมื่อรับพุทธศาสนาแล้วได้ดัดแปลงเป็นเสมาหินอันเป็นต้นแบบเสมารอบโบสถ์ทุกวันนี้ แล้วยังมีเขตอุทยานประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่บนเขาภูพานนี้อีกมาก


8.วัดชลธาราสิงเห

จังหวัดนราธิวาส

วัดชลธาราสิงเห ตั้งอยู่บนเนินสันทรายระหว่างแม่น้ำตากใบกับพรุบางน้อย ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

ไหว้พระประธานในวัด และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ แล้วศึกษาศิลปกรรม เช่น ลายฉลุและจิตรกรรมผนังโบสถ์ แล้วเก็บเกี่ยวความงามจากแม่น้ำตากใบที่อยู่หน้าวัด

วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2403 แผ่นดินสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดท่าพรุบ้าง วัดเจ๊ะเหบ้าง

ครั้น พ.ศ. 2416 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เจ้าอาวาสขณะนั้นสร้างพระอุโบสถ สร้างพระประธานแล้วใช้ช่างเขียนรูปบนฝาผนังโบสถ์เรื่องพุทธประวัติ แต่เอาวิถีชีวิตของชาวบ้านมาสอดแทรกไว้เป็นองค์ประกอบภาพแต่ละภาพ ทำให้มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษกว่าที่อื่นๆ

สิ่งก่อสร้างของวัดชลธาราสิงเห มีลวดลายฉลุไม้ประดับประดาเต็มพื้นที่จนดูละลานตา เช่น หอพระนารายณ์, กุฏิสงฆ์, กุฏิเจ้าอาวาส, ศาลาริมน้ำและศาลาอื่นๆ รวมทั้งธรรมาสน์ลงรักปิดทองที่รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างอุทิศพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 5

มีบันทึกว่าสมัยรัชกาลที่ 5 อังกฤษกำลังยึดครองมลายู และได้ตกลงปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับมลายู (ของอังกฤษ) ทางอังกฤษขอดินแดนเข้าไปถึงบ้านปลักเล็ก(อยู่ระหว่างอำเภอเมืองนราธิวาสกับอำเภอตากใบ) อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนราธิวาสประมาณ 25 กิโลเมตร รัชกาลที่ 5 ทรงแย้งว่าดินแดนแถบนี้ไม่ใช่ของมลายู แต่เป็นดินแดนไทย หลักฐานที่ทรงยกขึ้นอ้างคืออุโบสถวัดชลธาราสิงเห ซึ่งเป็นอุโบสถที่ก่อสร้างตามแบบศิลปะไทย ดังนั้นดินแดนแถบนี้ก็ต้องเป็นของไทยด้วย อังกฤษจึงยินยอม ทำให้ดินแดนแถบนี้คงเป็นของไทยมาตราบเท่าทุกวันนี้


9.วัดพระนางสร้าง

จังหวัดภูเก็ต

วัดพระนางสร้าง ตั้งอยู่ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ไหว้พระประธานในโบสถ์ แล้วนมัสการศิลปกรรมศักดิ์สิทธิ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตำนานประวัติศาสตร์ เช่น ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร และพระนางเลือดขาว ที่มีความสำคัญยิ่งต่อท้องถิ่นภาคใต้

ใครสร้าง? สร้างเมื่อไหร่? สร้างทำไม? ไม่มีหลักฐาน แต่คนทั่วไปเชื่อว่า ชื่อวัด"พระนางสร้าง" หมายถึงพระนางเลือดขาวในตำนานเป็นผู้สร้างไว้ด้วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา

เอกสารเกี่ยวข้องกับเมืองถลางยุครัตนโกสินทร์ กล่าวถึงวัดนาส้าง แล้วเชื่อกันว่าหลังจากนั้นคนเรียกเพี้ยนเป็น นางสร้าง และพระนางสร้าง เพื่อให้เกี่ยวข้องกับตำนานพระนางเลือดขาวที่เป็นตำนานแพร่หลายทั่วไปในภาคใต้

หลักฐานเก่าสุดของวัดพระนางสร้าง ที่ทางวัดเก็บรักษาไว้เป็นปูนปั้นเศียรพระพุทธรูป ล้วนมีอายุราวยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น แล้วเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์กรณี ท้าวเทพกษัตรี กับท้าวศรีสุนทร ทางวัดจึงให้เขียนรูปฝาผนังไว้ในโบสถ์หลังใหม่ ขณะเดียวกันก็ให้ปั้นรูปเล่าเรื่องพระนางเลือดขาวไว้หน้าโบสถ์หลังใหม่ด้วย

มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 31 ธันวาคม 2551 หน้า 21




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ