ReadyPlanet.com
dot dot
ร่องรอยกาลเวลา

ร่องรอยกาลเวลา : ศรีโคตรบอง อำนาจแห่งวิถีชีวิตไร้พรมแดน

เรื่อง : นายทิวา , ภาพ : ศาลาไทย

ตีพิมพ์ครั้งแรก : นสพ.บ้านเมือง หน้าการศึกษา-วัฒนธรรม วันพุธ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒

http://www.banmuang.co.th/education.asp?id=166589

.....................................................

 

ลำน้ำของ (แม่น้ำโขง) ยามสายจากฝั่งไทยมองเห็นภูเขาหินปูนฝั่งลาวอยู่ลิบ ๆ

 

                                                                “ตลิ่งของสองข้างทางน้ำของ

แม้ยืนมองดูยังคอตั้งบ่า

เขาหาบน้ำตามขั้นบันไดมา

แต่ตีนท่าลื่นลู่ดังถูเทียน

เหงื่อที่กายไหลโทรมลงโลมร่าง

แต่ละย่างตีนยันสั่นถึงเศียร

อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียน

ก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย”

 

นี่คือบทกวี “ตลิ่งของ” อันเป็นผลงานชั้นครู ของ “นายผี” หรือ “อัศนี พลจันทร์” ที่ให้ภาพชัดเจน ของ “แม่น้ำของ” หรือ “แม่น้ำโขง” อย่างไม่ต้องมีคำอธิบายใด ๆ

แจ่มชัดชนิดที่ “เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์” กวีซีไรต์ และศิลปินแห่งชาติ ยังนิยามว่า “มหากาพย์แห่งลำน้ำโขง”

นี่เป็นแม่น้ำ ที่สองฟากฝั่ง สะท้อนภาพแห่งวิถีชีวิต ผ่านสายน้ำที่มีชีวิต

และก็เป็นแม่น้ำสายเดียวกัน ที่แบ่งแยก 2 ฝั่ง ให้แยกจากกัน โดยหลักดินแดนอธิปไตย ตามนัยแห่งความเป็น “รัฐชาติ”

ฟากหนึ่งของแม่น้ำ คือ “ฝั่งลาว”

อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ คือ “ฝั่งไทย”

ทั้งที่เดิม แผ่นดินสองข้างทางน้ำของ เป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน ที่ไม่เคยถูกแบ่งแยกวิถีชีวิตโดยสายน้ำ

และไม่เว้นแม้กระทั่งในเวลาปัจจุบัน ที่คนของทั้งสองแผ่นดิน ในสองข้างทางน้ำของ ยังเชื่อมโยงถึงกัน ด้วยวิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่เชื่อมถึงกัน

อดีตคือผืนแผ่นดินเดียวกัน

และปัจจุบันก็ยังเชื่อมโยง โดยวิถีแห่งจิตวิญญาณเดียวกันเช่นกัน

 

พระธาตุศรีโคตรบอง เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

จากข้อมูลในหนังสือ “แผนที่ประวัติศาสตร์(สยาม)ประเทศไทย” โดย “สุจิตต์ วงษ์เทศ” ที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดพิมพ์ขึ้น บ่งชี้รายละเอียดบางประการ สำหรับอาณาจักรในดินแดนอีสาน

มีการจำแนก 5 กลุ่มคร่าว ๆ เป็น “แคว้นอิสระ” หรือ “รัฐเอกเทศ” หากแต่มีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติ

-กลุ่มลุ่มน้ำโขง-ชี-มูล หรือ เจนละ

-กลุ่มกลางลุ่มน้ำมูล หรือ พนมวัน-พิมาย-พนมรุ้ง

-กลุ่มต้นลุ่มน้ำมูล หรือ ศรีจนาศะ

-กลุ่มลุ่มน้ำชี

-กลุ่มสองฝั่งโขง หรือ เวียงจัน ที่มีชื่อในตำนานว่า “ศรีโคตรบูร”

 

พระธาตุศรีโคตรบองมองลอดจากประตูพระอุโบสถ

 

ที่เราพูดถึง คือ “อาณาจักรศรีโคตรบูร” ที่เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ผ่าน “ร่องรอยกาลเวลา” ของ “ดินแดนสองฝั่งโข ง” และ “วรรณกรรมสองฝั่งโขง” ที่สะท้อนความเป็น “พหุลักษณ์ทางสังคม”

ไม่ว่าจะเป็น “ประวัติศาสตร์บันทึก” หรือ “ประวัติศาสตร์บอกเล่า” ก็ตาม

 

ภาพปูนปั้นนูนต่ำรอบพระอุโบสถบอกเล่าตำนานพระยาโคตรบอง

 

ระหว่างรายทาง จาก จ.นครพนม เพื่อข้ามฟากแม่น้ำโขง ไปยังเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว ซ้อนภาพจากอดีต ให้เห็นไม่ขาดสาย

ทิวทัศน์ “เขาหินปูน” บอกเล่านัยที่ซ้อนเรื่องของอดีตกาล เช่นเดียวกับพื้นที่ดั้งเดิม ที่ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ “ถ้ำนางแอ่น” และ “ถ้ำพระ(ทอง)”

ทว่า ! ที่แจ่มชัดเมื่อยืนนิ่ง ๆ ตรงหน้า ก็คือ “พระธาติศรีโคตรบอง”

นอกเหนือจาก “ประวัติศาสตร์บันทึก” ว่าด้วย “ตำนานอุรังคธาตุ” หรือ “ตำนานพระธาตุพนม” และตำนานอื่น ๆ แล้ว ก็ยังมี “ประวัติศาสตร์บอกเล่า” ที่เติมเต็มสีสันของกาลเวลาอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะ “ตำนานพระยาศรีโคตร” ที่ทรงฤทธานุภาพฆ่าไม่ตาย และสามารถลากท่อนซุงขนาดใหญ่มาทำกระบอง เพื่อปราบช้างป่านับล้านตัว ให้กับ “อาณาจักรเวียงจันทน์” จนเป็นที่มาของ “อาณาจักรล้านช้าง”

                แล้วก็ต้องตกตายในที่สุด เพราะ “ภัยการเมือง” จากเจ้าเมืองเวียงจันทน์ ที่ส่งธิดามาเป็นชายาล้วงความลับ จนพบว่า จุดอ่อนอยู่ที่ทวารหนัก

ทว่า ! ที่น่าสนใจกว่า ก็คือ ปริศนาว่าด้วย “คำสาป” ก่อนตาย ของ “พระยาศรีโคตร” ที่ทำให้ดินแดน “สองฝั่งโขง” ไม่ได้เจริญอย่างถึงที่สุด และถึงจะเจริญ ก็เพียงแค่ช่วง “ช้างพับหู-งูแลบลิ้น” เท่านั้น

 

พระธาตุเมืองเก่า ที่บ้านเมืองเก่า ต.ท่าค้อ อ.เมือง จ.นครพนม

 

กระนั้น “คำสาป” นี้ ก็มีจุดสิ้นสุด ถ้ามี...

”หินฟูน้ำ-พญางูใหญ่เข้ามา-ช้างเผือกเข้ามา”

บางที “ตำนาน” ก็อาจเป็นเพียงตำนาน หรือเป็นเพียง “ความเชื่อ” ที่เล่าสืบต่อกันมา

แต่อาจบางที “ตำนาน” ก็มีบางแง่มุม ที่ในห้วงเวลาปัจจุบัน อาจปรากฏซ้อนทับ บน “ร่องรอยกาลเวลา”

เพราะความจริง ณ เวลาปัจจุบัน เราได้พบว่า มีสะพานมิตรภาพอยู่เหนือน้ำ เชื่อมข้ามสองฝั่งโขง พร้อม ๆ กับ “เส้นทางรถไฟ” ที่เลื้อยเรื่อยไป เพื่อเชื่อมการเดินทางและการขนส่ง

เช่นเดียวกับ “คนต่างประเทศผิวขาว” ที่เข้ามาเต็มพื้นที่ ในรูปของการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

จากนั้นก็คือขุมทรัพย์หลากหลายที่ได้ถูกค้นพบ เช่นว่า แหล่งน้ำมัน และแหล่งสายแร่ทองคำ

นี่ย่อมน่าคิดมิใช่น้อย สำหรับตำนาน และปรากฏการณ์ความเป็นไป ในห้วงเวลาปัจจุบัน

 

ใบเสมา พบที่ บ้านนาป่ง อ.เมือง จ.นครพนม

 

ที่เราได้เห็นคือ “แม่น้ำโขง” และวิถีชีวิตที่เป็นไปใน “สองฝั่งของ”

“แม่น้ำของ” ที่กั้นกลางแผ่นดินสองฝั่ง มีนิทานและตำนาน บอกเล่ากำเนิดแม่น้ำ ในลักษณะของ “มุขปาฐะ”

ว่าด้วย “ยักษ์สลึคึ” ที่มีอวัยวะเพศทั้งใหญ่และยาวเกินตัว เวลาเดินไปไหน ก็จะลากไปรายทางตามเส้นทางเดิม จนกลายเป็นแม่น้ำใหญ่ เพราะการลาก “ของ” ที่หมายถึง “อวัยวะเพศ” จนได้ชื่อว่า “น้ำของ”

นี่ยังไม่รวมถึงกำเนิดสถานที่อีกมากมาย ที่ผูกเรื่องเข้ากับตำนานของ “ยักษ์สลึคึ” กับคู่รักอย่าง “ยักษ์นางแก้ว(โยนี)หลวง”

ความจริงก็คือ นี่เป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ในวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่มองเรื่องเพศเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต

ทว่า ! ก็น่าคิด เพราะร่องรอยที่ปรากฏอยู่ คล้ายกับแนบสนิทกับเรื่องเล่า

และแน่นอนว่า ในบางแง่มุมของประวัติศาสตร์บอกเล่า ยังนำมาซึ่งการค้นพบ จากการค้นหาร่องรอยกาลเวลา

เช่น “อาณาจักรศรีโคตรบูร” ที่น่าเชื่อว่า ทั้งสองฟากฝั่งคือเมืองเดียวกัน ที่มิได้แยกออกจากกันเพราะน้ำโขง

 

พระเนื้อทรายละเอียดอายุราว ๑,๐๐๐ ปี ที่วัดร้างศรีจันทร์ ต.ท่าค้อ อ.เมือง จ.นครพนม

 

มีร่องรอยประวัติศาสตร์สะท้อนผ่านสองฟากฝั่ง เช่นว่า “บ้านหนองจันทน์-เมืองเก่า” ที่อยู่ฟากหนึ่งของน้ำโขงในพื้นที่ฝั่งไทย และอยู่ตรงกันข้ามอย่างน่าคิด กับ “พระธาตุศรีโคตรบอง” อีกฟากของน้ำโขง ในพื้นที่ฝั่งลาว

ซากปรักของวัตถุหลายชนิด ใต้ผืนดินจากอดีต ปรากฏเป็นหลักฐาน บนผืนดินหลังการพลิกฟื้น

กล้องยาสูบโบราณเป็นหลักฐานหนึ่ง ทว่า ! ที่ชัดกว่า กลับเป็นสิ่งปลูกสร้าง ทั้งสถูป พระธาตุ เจดีย์ ใบเสมา และ ฯลฯ ที่น่าเชื่อว่า คือวัดและเมือง อันเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันในอดีต

จาก 4 จุดที่มีการค้นพบ ถูกขยายมาถึง 16 จุด และอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อประมวลองค์ความรู้ทั้งหมด โดยความคาดหวังว่า จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ และอาจนำไปสู่การขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกโลก” ได้

 

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ , ณรงค์ ชินสาร ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ร่วมถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายสถานีวิทยุท้องถิ่น การสัมมนาวิชาการ “ร่องรอยกาลเวลา : ศรีโคตรบูร วรรณกรรมสองฝั่งโขง พหุลักษณ์ทางสังคม”

 

ทว่า ! นี่ยังเป็นประวัติศาสตร์บอกเล่า ที่ยังเชื่อมโยงถึงจินตนาการ ในวิถีชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอิทธิฤทธิ์-ปาฏิหาริย์ หรือความยืนนานของสิ่งที่คงอยู่ เช่นว่า ต้นตาลแปดร้อยปี และมะม่วงหลายร้อยปี

และทั้งหมดนี้ ยังรอคอยอย่างท้าทาย ต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริง จากร่องรอยกาลเวลา เพื่อดำรงอยู่สืบไป

 

ตลาดคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

บางทีนี่จึงเป็นวิถีที่เป็นไป เป็นวิถีของความหลากหลาย “สองฝั่งของ” ซึ่งมิได้จำแนกด้วยสายน้ำ หรือการทึกทักเอาเอง อันว่าด้วยความเป็น “รัฐชาติ” ที่มีมาหลังจากนั้น

นี่อาจเป็นไปเช่นเดียวกับที่ “ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” อดีตอธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นต่อการอธิบายความเป็น “สยาม” ที่อยู่ร่วมกันโดยความเป็น “ชาติพันธุ์” ที่หลากหลาย และอย่างเป็น “พหุลักษณ์”

และอาจสะท้อนให้เห็นเด่นชัด ผ่าน “อำนาจของภาษา-อำนาจของวรรณกรรม” ดังที่ “ชัชวาลย์ โคตรสงคราม” จากสโมสรนักเขียนภาคอีสาน ย้ำว่า “ไร้พรมแดน”

เป็น “สัมพันธภาพ บนความหลากหลาย ของชาติพันธุ์”

และก็เป็นเรื่องราว ที่ ”ณรงค์ ชินสาร” ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 สรุปความถึงการ “ร่วมวัฒนธรรม” ซึ่งมิได้แบ่งแยก เป็น “คนใน” กับ “คนนอก”

ความจริงก็คือ ไม่มีอะไรหรือสิ่งใด จะแบ่งแยก “รากแห่งชีวิต-รากแห่งวัฒนธรรม” ออกจากกันได้

ไม่มีอำนาจใด ๆ จะทำเช่นนั้นได้ และไม่เว้นแม้กระทั่ง อำนาจในทางการเมือง

เพราะนั่นคือวิถีชีวิตที่เป็นมาและเป็นไป โดยรากของตัวเอง ในสังคมของตัวเอง

นี่อาจเป็นภาระและพันธะกิจ ที่มนุษยชาติจำต้องมีร่วมกัน โดยมิได้จำกัดเพียงบุคคลใด กลุ่มใด และไม่เฉพาะเอกชนหรือภาครัฐใด

เหมือนเช่นการตามร่องรอยกาลเวลา “ศรีโคตรบูร วรรณกรรมสองฝั่งโขง พหุลักษณ์ทางสังคม” ที่ถูกจุดประกาย และต่อยอดความรู้ โดยหลายองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และบุคลากรด้านต่าง ๆ อย่างหลากหลาย

นี่ก็เพื่อบ่งชี้วิถีที่เป็นมา สู่วิถีที่จะดำเนินไป เพื่อดำรงอยู่โดยองค์ความรู้แห่งสำนึก ในรากทางวัฒนธรรมของตัวเองอย่างแท้จริงเท่านั้น !.

 

//..................๛

หมายเหตุ :          

กิจกรรมสัมมนาแบ่งปันความรู้ “ร่องรอยของเวลา : ศรีโคตรบูรณ์ วรรณกรรมสองฝั่งของ พหุลักษณ์ทางสังคม” ณ โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระหว่างวันที่ 21 – 22 กุมภาพันธ์ 2552

จัดโดย สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล  , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ร่วมกับ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม , สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม , โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม, สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย , สโมสรนักเขียนภาคอีสาน , มูลนิธิซีเมนต์ไทย , มูลนิธิอมตะ

//..................๛




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ