ReadyPlanet.com
dot dot
ความเชื่อ

ความเชื่อ

ในสวัสดิรักษาคำกลอน ของ " สุนทรภู่ " 

วรรณกรรมวิเคราะห์ 

โดย นายสงัด  ศรีสุขโข

ชมรมศิลปินจังหวัดระยอง

กรรมการภาษาไทยและวรรณกรรมจังหวัดระยอง

คำนำ

            สวัสดิรักษาคำกลอนของสุนทรภู่  เป็นหนังสือที่มีคำสอนที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ ถ้าใครปฏิบัติได้จะเกิดความสวัสดี  สุนทรภู่ รอบรู้ศาสตร์แขนงต่าง ๆ  จึงได้นำตำราคำสอนที่มีบันทึกไว้บ้าง  เป็นมุขปาฐะบ้าง  แต่งเป็นคำกลอน  เรียกว่า  " สวัสดิรักษาคำกลอน "  เพื่อถวายพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอาภรณ์  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ทรงมอบให้เป็นศิษย์ศึกษา                                                                           

อักขรสมัยในสำนักของสุนทรภู่  ประมาณ พ.ศ.  ๒๓๖๔ - ๒๓๖๗.ข้าพเจ้า ได้ศึกษาชีวประวัติและผลงานของท่านสุนทรภู่มาบ้าง  แม้ไม่ถึงขั้นผู้เชี่ยวชาญวรรณกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะนิราศ ๙ เรื่อง ของสุนทรภู่  มีผู้ได้ศึกษาค้นคว้าไว้มาก  แต่สวัสดิรักษาคำกลอน  เป็นวรรณกรรมที่จัดอยู่ในกลุ่มสุภาษิตคำกลอน เช่นเดียวกับสุภาษิตสอนหญิง  เป็นเรื่องที่สุนทรภู่แต่งถวายเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน  ชาวบ้านทั่วไปจึงเข้าใจว่า  เกินวิสัยที่ควรศึกษา  ทั้งเป็นเรื่องสั้นไม่มีสารบันเทิงเช่นนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี  ด้วยเหตุนี้  จึงเป็นแรงบันดาลใจ  ให้ข้าพเจ้าอ่านพิจารณา เขียนเป็นลักษณะถอดความเป็นความเรียงร้อยแก้ว แยกแยะเฉพาะที่เป็น " ความเชื่อ " ให้เข้าใจง่าย ๆ ไม่วิเคราะห์วิจารณ์เป็นหลักวิชาการ  จะมีบ้างเล็กน้อยเป็นเชิงอรรถเท่านั้น.                                              

การศึกษาเรื่องสวัสดิรักษาคำกลอนนี้  อาจมีข้อบกพล่องผิดพลาดเกิดขึ้นด้วยความเขลาหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี  ขอท่านผู้รู้  ได้โปรดอาศัยความกรุณาแนะนำตักเตือนด้วย  หากความดีมีอยู่ขอนำความดีนั้นบูชาคุณท่านสุนทรภู่  ครูอาจารย์และผู้มีพระคุณทั้งหลายของข้าพเจ้า ด้วย .                                              

 ( นายสงัด  ศรีสุขโข )                                                                  

๑๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๔๖.                                                               

ความเชื่อ                                                                                   

ในสวัสดิรักษาคำกลอนของสุนทรภู่                                                                          

 

ว่าเช้าตรู่สุริโยอโณทัย        ตื่นนอนให้ห้ามโมโหอย่าโกรธา                               

          ตื่นนอนแต่เช้าตรู่  ห้ามโมโห                                                                                              

            ผินพักตร์สู่บูรพ์ทิศแลทักษิณ           เสกวารินด้วยพระธรรมคาถา

            ที่นับถือคือไตรสรณา(1)                 ถ้วนสามคราจึงชำระสระพระพักตร์   

          ตื่นเช้าล้างหน้า  ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  หรือทิศใต้                                                      

            แล้วเสกน้ำล้างหน้าด้วยพระไตรสรณาคม ๓ จบ  ใช้ล้างหน้า                                                      

            แล้วเอื้อนอรรถตรัสความที่ดีก่อน      จะถาวรพูนเกิดประเสริฐศักดิ์                                   

          ให้พูดแต่สิ่งที่ดีก่อน  จะเกิดความสวัสดีในวันนั้น                                                                                  

                                                                                                           

            ด้วยราศีที่ชะลอนรลักษณ์(2)           อยู่พระพักตร์แต่ทิวาเวลากาล                                 

          เวลาเช้า    ราศีอยู่ที่หน้า    ให้ล้างหน้า                                                                                 

            ยามกลางวันนั้นว่าพระราศี               สถิตที่วรองค์ให้สรงสนาน              

            พระอุระประสุคนธ์วิมลมาลย์            จะสำราญโรคาไม่ราคี       

          เวลาเที่ยงวัน  ราศีอยู่ที่ร่างกายหมายถึงอก  ให้อาบน้ำ  แล้วประเครื่องหอม                                   

(1)  ไตรสรณาคม                                                                                                

" พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ  ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ  สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ครั้งที่๒ ทุติยมฺปิ ครั้งที่ ๓ ตติยมฺปิ "                    

(2)  ประวัติสงกรานต์  " ธรรมบาลกุมาร ตอบปัญหา มหากบิลพรหม "                                                                                                      

ครั้นพลบค่ำคล้ำฟ้าสุธาวาส ฝ่ายเบื้องบาทซ้ายขวาเป็นราศี

            จงรดน้ำชำระซึ่งราคี                       ห้ามสตรีอย่าให้พาดบาทยุคล(1)                             

          เวลาค่ำ    ราศีอยู่ที่เท้า    ให้ล้างเท้าก่อน  และห้ามสตรีข้าม ( พาด )                                           

            เสวยนั้นผันพระพักตร์ไปบูรพ์ทิศ                   เจริญฤทธิ์ชันษาสถาผล                 

            แม้นผินพักตร์ทักษิณถิ่นมลฑล                    ไม่ขาดคนรักใคร่เวียนไปมา

            ทิศประจิมอิ่มเอมเกษมสุข                           บรรเทาทุกข์ปรากฎด้วยยศถา         

            แต่ทิศเหนือเหลือร้ายวายชีวา                      ทั้งชันษาทรุดน้อยถอยทุกปี                                   

          นั่งรับประทานอาหาร                                                                     

            หันหน้าไปทาง  ทิศตะวันออก                      ดี  อายุยืน                                  

            หันหน้าไปทาง  ทิศใต้                               ดี  มีคนรักใคร่                             

            หันหน้าไปทาง  ทิศตะวันตก                        ดี  หมดทุกข์  มียศ                                   

            หันหน้าไปทาง  ทิศเหนือ                            มิดี                               

            อนึ่งนั่งบังคน(2)อย่ายลต่ำ                          อย่าบ้วนน้ำลายพาเสียราศี                         

            ผินพักตร์สู่อุดรประจิมดี                              ไม่ต้องผีคุณไสยพ้นภัยพาล                                   

          นั่งถ่ายอุจาระ  ปัสสาวะ                                                                 

            ห้ามบ้วนน้ำลายลงบนอุจจาระ ปัสสาวะ           จะเสียราศี                                  

            หันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิสตะวันตก         ดี  ไม่ถูกผี ไม่ถูกคุณไสย ไม่มีภัย                           

 (1)  ห้ามสตรีอย่าให้พาดบาทยุคล                                                                                                  

            ห้ามสตรีข้าม  แม้แต่เท้าก็ห้ามเดินข้าม เอื้อมมือข้าม  ส่งของข้าม                                               

(2)  บังคน                                                                                                         

            บังคนหนัก  =  อุจจาระ ,    บังคนเบา  =  ปัสสาวะ                                                                  

            .....แล้วสรงน้ำชำระพระนลาฏ          จึงผุดผาดผิวพรรณในสัณฐาน

            เสด็จไหนให้สรงชลธาร                  เป็นฤกษ์พารลูบไล้แล้วไคลคลา                              

          อาบน้ำชำระร่างกาย                                                                      

            ๑.  อาบน้ำ  หลังถ่ายอจจาระปัสสาวะแล้ว  จะมีผิวพรรณผ่องใส                                      

            ๒.  อาบน้ำ  ลูบไล้เครื่องหอม  ก่อนออกเดินทาง                                                                     

            อนึ่งพระองค์ทรงเจริญเพลินถนอม                อย่าให้หม่อมห้ามหลับทับหัตถา                              

๑๐        ( แทรก ) ห้ามภรรยา ( หม่อมห้าม ) นอนหลับทับแขน  ( หัตถา = มือ )                                      

            ภิรมย์รส อตส่าห์สรงพระคงคา         เจริญราศีสวัสดิ์ขจัดภัย                              

            ๓.  อาบน้ำ  หลังมีเพศสัมพันธ์                                                                                            

            อนึ่งวันชำระสระพระเกล้า                อังคาร เสาร์ สิ้นวิบัติ ปัดไถม                                  

๑๑        สระผม                                                  

            สระผม  วันอังคาร  วันเสาร์  ดี                                                                                             

            ตัดเล็บวันพุธ จันทร์ กันจังไร เรียน ..........                

            ตัดเล็บ                                                  

๑๒        ตัดเล็บ  วันพุธ  วันจันทร์  ดี    ( พุธ  ห้ามตัดผม )                                                                   

            .......... เรียนสิ่งใดวันพฤหัส สวัสดี                          

๑๓        เรียน                                                     

            วันเริ่มเรียน  วันมอบตัวเป็นศิษย์  วันไหว้ครู                                                                            

            วันพฤหัสบดี                    วันครู  เริ่มเรียน  มอบตัวเป็นศิษย์  ไหว้ครู                                         

(1)  ปัดไถม  ( - ถะ - ไหม )  น.  ฝ้าบาง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เป็นมลทิน  หรือคล้ำมัว                                                                                                  

๑๔        แต่งเสื้อผ้าตามวัน                                                            

            ( ๗ วัน ๗ สี  เพื่อออกรบ )                                                            

            อนึ่งภูษา ผ้าทรง ณรงค์รบ               ให้มีครบ เครื่องเสร็จ ทั้งเจ็ดสี                                 

            วันอาทิตย์ สิทธิโชค โฉลกดี            เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล                                 

            เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว        จะยืนยาวชันษาสถาผล                             

            อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน            เป็นมงคลขัติยาเข้าราวี                              

            เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด             กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี                               

            วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี       วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม                              

            วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ                  แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม                              

            หนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม                 ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย                           

            วันอาทิตย์           สีแดง     ถูกโฉลกมีโชคชัย            

            วันจันทร์             สีขาว  สีนวล        อายุยืน              

            วันอังคาร            สีม่วง  สีคราม      เป็นมงคล                       

            วันพุธ                 สีแสด  มีสีเหลือบปน         ดี                     

            วันพฤหัสบดี        สีเขียว  สีเหลือง   ดี                     

            วันศุกร์               สีเมฆหมอก         มีชัย                 

            วันเสาร์               สีดำ       มีชัย                 

( ม้าศึก  ให้แต่งสีตามวันด้วย )

                        อนึ่งว่าถ้าจะลงสรงสนาน                 ทุกห้วยธารเถื่อนถ้ำแลน้ำไหล        

            พระพักตร์นั้นหันล่องตามคลองไป                 ห้ามมิให้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ

            อย่าผินหน้าฝ่าฝืนขึ้นเหนือน้ำ                       จะต้อง รำเพรำพัด(1) ซัดมาปะ

            เมื่อสรงน้ำสำเร็จเสร็จธุระ                            คำนับพระคงคาเป็นอาจิณ                          

*          ตำราพิชัยสงคราม                                                                                    

(1)        รำเพรำพัด หมายถึงสิ่งอัปมงคลที่ล่องลอยมา                                                             

            ( ไม่พบศัพท์ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ๒๕๒๕ )                                                                                           

๑๕        อาบน้ำในแม่น้ำลำคลองน้ำไหล        ให้หันหน้าไปตามน้ำ                                 

            หันหน้าขึ้นเหนือน้ำ                       จะพบกับสิ่งอัปมงคลที่ล่องลอยมา                           

๑๖        ห้ามถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงในน้ำ                                                                                         

๑๗        ให้ไหว้แม่คงคา  ก่อนอาบน้ำและหลังอาบน้ำ  หรือวันลอยกระทง                                    

            ( โบราณว่า  คงคาวารี คงคาเทวา คงคารักษา คงคาสขมามิหัง )                                      

                                                                                                           

                        อนึ่งวิชาอาคมถนมถนำ       เวลาค่ำควรคิดเป็นนิจศิล                

            จึงศักดิ์สิทธิ์ฤทธิรณพ้นไพริน           ให้เพิ่มภิญโญยศปรากฏไป                        

๑๘        ท่องวิทยาคมเวลาค่ำ  เพิ่มความขลังศักดิ์สิทธิ์                                                             

                        อนึ่งสุนัขมักเฝ้าแต่เห่าหอน             อย่าขู่ค่อนด่าว่าอัชฌาสัย               

            เสียสง่าราศีมักมีภัย                                   คนมิได้ยำเยงเกรงวาจา                 

๑๙        ห้ามด่าสุนัข  ( คำหยาบ )                           เสียสง่าราศีไม่มีคนยำเกรง                         

            อนึ่งเขฬะอย่าถ่มเมื่อลมพัด                         ไปถูกสัตว์เสื่อมมนต์ดลคาถา                                  

๒๐        อย่าถ่มน้ำลายไปถูกสัตว์ ( เดรัจฉาน )  มนต์คาถาเสื่อม                                                

            อนึ่งพบปะพระสงฆ์ทรงศีลา ไม่วันทาถอยถดทั้งยศทรัพย์                                  

๒๑        พบพระสงฆ์ทรงศีลไม่ไหว้              เสื่อมลาบเสื่อมยศ                                                            

            อนึ่งอย่าว่าแดดแลลมฝน                อย่ากังวลเร่งวันให้พลันดับ                         

๒๒        ห้ามด่าว่าแดด ลม ฝน  มิดี                                                                                     

            เมื่อเช้าตรู่ สุริยงจะลงลับ                จงคำนับสุริยันพระจันทร                            

๒๓        ให้ไหว้  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ทั้งเวลาขึ้น และเวลาตก                                                                                              

                        อนึ่งเล่าเข้าที่ศรีไสยาสน์     อย่าประมาทหมั่นคำนับลงกับหมอน 

            เป็นนิรันดร์สรรเสริญเจริญพร           คุณบิดร มารดา คุณอาจารย์

๒๔       ให้ไหว้พระก่อนนอน  สวดมนต์  ไหว้คุณพ่อแม่ ครูอาจารย์                                                        

            อนึ่งผ้าทรงจงนุ่งเหน็บข้างขวา          กันเขี้ยวงาจระเข้เดรัจฉาน                          

๒๕       ให้นุ่งผ้าขมวดพกเหน็บด้านขวามือ  กันเขี้ยวงาจากสัตว์ร้ายต่าง ๆ                                    

            อนึ่งอย่าไปใต้ช่องคลองตะพาน        อย่าลอดร้านฟักแฟงแรงราศี                                   

                        ทั้งไม้ลำค้ำเรือนแลเขื่อนคอก          ใครลอดออกอัปลักษณ์เสียศักดิ์ศรี                          

            ถึงฤทธิ์เดชเวทย์มนต์ดลจะดี                        ตัวอัปรีแปรกลับให้อัปรา                            

๒๖        ห้ามลอดใต้สะพาน คอสะพาน  ห้ามลอดใต้ร้านฟักร้านแฟง  ห้ามลอดไม้ค้ำอื่น ๆ                           

            ห้ามลอดรั้วคอกสัตว์                                                                                             

                        อนึ่งไปได้พบอสภซาก       อย่าออกปากทักทายร้ายนักหนา                             

            ให้สรงน้ำชำระพระพักตรา               ตามตำราแก้กันอันตราย                            

๒๗       ห้ามทัก  เมื่อพบซากศพ  ( มนุษย์หรือสัตว์ )  กลับมาให้ล้างหน้าแก้อัปมงคล                                

            ( โบราณ  เวลากลับจากรดน้ำศพหรือปลงศพ ถึงบ้านเอาน้ำล้างหน้าหรืออาบน้ำ )                            

            อนึ่งผูกลูกสะกดตะกรุดคาด เข้าไสยาสน์ยามหลับทับฉลาย(1)                            

๒๘       ห้ามนอนทับลูกสะกด หรือตะกรุดที่ใช้คาดเอว เป็นของขลัง                                                       

            เครื่องอาวุธสุดห้ามอย่าข้ามกราย      อย่านอนซ้ายสตรีมักมีภัย                          

๒๙        ห้ามเดินข้ามอาวุธต่าง ๆ จะมีภัย                                                                                          

๓๐        ห้ามนอนข้างซ้ายมือภรรยา   ( โบราณ ให้หญิงซ้าย ชายขวา )                                                   

(1)        ฉลาย ( ฉะ - หฺลาย )  ก. แตก พัง ทะลาย สลายก็ว่า  ( พจนานุกรม ฯ ๒๕๒๕ )                            

            อนึ่งวันจันทรคราส ตรุษ สารท สูรย์               วันเพ็ญบูรณ์พรรษาอัชฌาสัย

            ทั้งวันเกิดเริดร้างให้ห่างไกล                        ห้ามมิให้เสน่หาถอยอายุ   

            แม้นสตรีมีฤดูอย่าอยู่ด้วย                            ถ้ามิม้วยก็เสียจักษุ                       

            มักเกิดมีฝีพองเป็นหนองพุ                          ควรทำนุบำรุงองค์ให้จงดี                           

๓๑        วัน ( กาล ) ที่ห้ามมีเพศสัมพันธ์  ( เสพเมถุน )                                                            

            วันจันทรคราส  วันตรุษ  วันสารท  วันสุริยคราส  วันพระ  วันเกิด  สตรีกำลังมีฤดู                             

            อนึ่งนั้นวันกำเนิดเกิดสวัสดิ์              อย่าฆ่าสัตว์เสียสง่าทั้งราศี                          

            อายุน้อยถอยเลื่อนทุกเดือนปี          แล้วมักมีทุกข์โศกโรคโรคา                        

๓๒        วันเกิด  ห้ามฆ่าสัตว์  อายุจะสั้น  เกิดทุกข์โศกโรคภัย                                                               

            อนึ่งบรรทมถ้าลมคล่องทั้งสองฝ่าย    พระบาทซ้ายอย่าพาดพระบาทขวา                           

            ข้างขวาคล่องต้องกลับทับซ้ายมา      เป็นมหามงคลเลิศประเสริฐนัก                                 

๓๓        ให้นอนเท้าขวาทับเท้าซ้าย  ( นอนแบบกามโภคี  มหากษัตริย์ พ่อค้า )                                         

*          การนอน ๔ แบบ ( ซ้ายหรือขวา ให้นอนหงายแล้วหันไปทาง ...หันขวาเรียกขวา )                          

            ๑. สีหไสยาสน์     นอนตัวทับด้านขวา  เท้าซ้ายทับขวา ( พุทธไสยาสน์ )                                      

            ๒. กามโภคี         นอนตัวทับซ้าย เก็บหัวใจไว้ด้านล่าง  กษัตริย์ พ่อค้า                                        

            ๓. ติรัจฉานไสยาสน์          นอนคว่ำ  คุดคู้  แบบสัตว์เดรัจฉาน                           

            ๔. เปตไสยาสน์   นอนหงายน้ำลายไหล                                                       

หมายเหตุ

            การเดินปทักษิณ  หรือเวียนขวา มักเป็นที่ถกเถียงกันโดยไม่ทราบหลักการ ( สุตตันตปิฎก )              

            ให้กำหนดจุดที่จะเวียน  ขวาหรือซ้าย  ดังนี้                                                                            

                        ให้เอามือจับหลัก  หรือชี้ไปที่จุดเวียนแล้วเดิน  ถ้าขวาจับเรียกเวียนขวา                            

            ถ้าซ้ายจับ เรียกเวียนซ้าย  เวียนขวาเป็นการเคารพ  เวียนซ้ายเช่นศพเวียนเมรุ                                                                                            

                        อนึ่งว่าถ้าจะจรแลนอนนั่ง                สำเนียงดังโผงเผาะเกาะกุกกัก         

            คือคุณผีปีศาจอุบาทว์ยักษ์                          ใครทายทักถูกฤทธิ์วิทยา                           

๓๔       เสียงทัก  จะออกจากบ้าน  จะนอน  จะนั่ง  ถ้าได้ยินเสียงกุกกักแปลกประหลาด                              

            ให้หยุดรอ  พิจารณาก่อน                                                                                      

            โบราณ  จะก้าวออกจากบ้าน  ได้ยินเสียงจิ้งจกทัก  จะหยุดไว้ก่อน  หรือจำเป็น  แก้เคล็ด                  

            โดยเอาน้ำราดศีรษะ  หรือก้าวแรกที่เหยียบดินให้หยิบดินโรยศีรษะหน่อยหนึ่ง  เป็นการขอ               

            ให้แม่คงคา  แม่ธรณี  คุ้มครอง.                                                                                          

 ( นายสงัด  ศรีสุขโข )

๑๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๔๖.

      ปีมะเมีย  ๒๕๔๖.

" มาฆบูชา "

บทความนี้อาจไม่ถูกต้องตามการจัดเรียงตามต้นฉบับเนื่องจากข้อจำกัดทางเว็บ

ดาวน์โลหดต้นฉบับได้ คลิกที่นี่




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ