ReadyPlanet.com
dot dot
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย

รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย

พิเชฐ แสงทอง

 

                ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า รากฐานของกวีนิพนธ์ไทย โดยเฉพาะโคลง ร่าย และกลอนนั้นคือบทสวด เรื่องเล่ามุขปาฐะ ตลอดจนกลอนเพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีความเก่าแก่ก่อนเกิดวรรณกรรมลายลักษณ์  อย่างไรก็ตาม เราปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ซึ่งกวีไทยกระแสหลักสืบทอดต่อกันมานั้นเป็นอิทธิพลจากวรรณคดีหลวง หรือวรรณคดีราชสำนักเป็นสำคัญ มายาคติเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ที่ว่ากันว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กวีนิพนธ์ปัจจุบันถอยห่างจากชีวิตประจำวันก็น่าจะเป็นผลมาจากการประกอบสร้างของวัฒนธรรมวรรณคดีหลวง ทั้งนี้ในเบื้องต้น อาจอนุมานได้ว่า ความศักดิ์สิทธิ์นี้ประกอบสร้างขึ้นมาจากองค์ประกอบ 3 ประการด้วยกันคือ 1) ตัวกวี/ผู้ประพันธ์  2) ตัวหนังสือ  และ 3) ฉันทลักษณ์

 

                1) ตัวกวี/ผู้ประพันธ์

                กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส.ทรงกล่าวถึงคุณสมบัติกวีไว้ว่า ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความรู้นี้จะช่วยให้กวีนึกคิดได้กว้างไกล สามารถนฤมิตภาพขึ้นในความคิดคำนึกของตน สิ่งที่ไม่มีและไม่ได้เกิดก็ทำให้มีและทำให้เกิดได้ ผู้เป็นกวีต้องสามารถทอดน้ำใจลงไปเป็นจริงเป็นจังจนล้มเรื่องอื่นหมด และที่สำคัญ คือต้องสามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกออกมาเป็นกาพย์กลอนได้ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นเพียง “กวีใบ้” เท่านั้น

                กวีนิพนธ์ในจารึกวัดพระเชตุพนฯ ภาควรรณคดีตอนหนึ่งชี้ให้เห็นการวางคุณสมบัติของกวีให้เหนือกว่าคนทั่วๆ ไป ว่า

 

                                กระวีชาติฉลาดอรรถ          ขจัดผธุสวจีปอง

                                สุภาพพากฤแยกครอง        กุศลกรรมบถแสดง

                                จะนำสู่สุราโลกย์ วิโยคทุกข์วิบากแถลง

                                ประเสริฐคุณวิบุลแรง         ดิเรกผลอนนต์ประมาณ

 

                กวีตามลักษณะที่กวีนิพนธ์บทนี้กำหนดจะต้องเป็นผู้เฉลียวฉลาด สร้างสรรค์แต่ถ้อยคำไพเราะ แสดงแต่ถ้อยคำซึ่งชักนำให้เกิดกุศล ขจัดทุกข์วิโยค และด้วยมายาคตินี้นี่เองที่ทำให้ภายหลังเกิดการแบ่งแยกกันอย่างค่อนข้างจะเด็ดขาดระหว่าง “กวี” กับ “นักกลอน” โดยที่กวีถูกคาดหวังให้เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยคุณสมบัติกวีดังกล่าว ขณะที่นักกลอนเป็นเพียงผู้สันทัดในการใช้ถ้อยคำ เพ่งเอาสำเนียงไพเราะเป็นสำคัญ หรือมิฉะนั้นก็เพ่งเอาแต่ใจความเป็นใหญ่

                มายาคตินี้ถ่ายทอดสู่กวียุคหลังๆ และมีอิทธิพลต่อการสร้างงานกวีนิพนธ์ของกวีร่วมสมัยไม่น้อย กวีถูกยกย่องเป็นนักธรรมหรือนักปราชญ์ การวิจารณ์กวีนิพนธ์ ผลจากวาทกรรมนี้ ไม่เพียงทำให้กวีนิพนธ์มีสภาพเหมือนถ้อยธรรมคำสอนเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดวรรณคดีศึกษาในแนวประวัติกวีและอัจฉริยภาพของกวีในการสะท้อนเชิงปรัชญาอีกด้วย ซึ่งตัวกวีเอง ในยุคหลังๆ ก็ดูพึงพอใจกับมายาคตินี้โดยทั่วกัน ถึงขนาดที่มีการแบ่งแยกถึง “พฤติการณ์” หรือ “วิถีแบบกวี” เพื่อแยกออกจากคนทั่วไป และผู้ประพันธ์ร้อยแก้ว วาทะ “เป็นกวีมาแต่ชาติปางก่อน” ของอังคาร กัลยาณพงศ์ คือรูปธรรมของวาทกรรมกวีนิพนธ์วาทกรรมนี้ และมันก็เป็นวาทะที่ถูกกวีร่วมสมัยอ้างถึงกันอยู่บ่อยครั้ง ผลงานของอังคารเล่ม “ปณิธานกวี” ดูจะเป็นอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่ของวาทกรรมความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ที่ขึ้นอยู่กับตัวกวี

                สถานภาพที่สูงส่ง เป็นอัจฉริยะ ของกวี เรายังอาจพิจารณาได้จากมโนทัศน์เรื่อง “กวีตานุมัติ” ได้อีกด้วย โดยมโนทัศน์นี้ให้อำนาจกวี “แหวกกรอบ” ภาษาออกไปได้โดยชอบธรรม ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับคุณสมบัติประการแรกที่ได้กล่าวข้างต้นคือความเป็นผู้เฉลียวฉลาด และมีดวงตาที่สาม การอนุญาตให้กวีใช้ภาษาที่แหวกออกไปจากกรอบภาษาปกติ ก็เพื่อให้กวีสามารถอธิบายโลกอันไม่ปกติที่เขา “มองเห็น” นั่นเอง สิ่งนี้ในที่สุดจึงได้กลายมาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยแยกแยะความเป็นกวีหรือนักกลอน ดังเราจะได้ยินว่า นักกลอนนั้นคือผู้ที่ใช้ภาษาที่เคร่งครัดอยู่ในกรอบภาษาปกติ ทำให้จินตภาพเชิงกวีในผลงานของนักกลอนไม่แปลกใหม่ ความไม่แปลกใหม่นั้นสะท้อนการมองโลกในกรอบของคนทั่วไปนั่นเอง

 

                2.ตัวหนังสือและหนังสือ

                สำหรับสังคมไทยสมัยโบราณ หนังสือและตัวหนังสือคือแสงสว่างแห่งปัญญาความรู้ ธรรมเนียมโบราณจึงไม่ให้แสดงพฤติกรรมลบหลู่หนังสือ พฤติกรรมใดๆ ที่ทำให้หนังสือตกอยู่ในที่ต่ำถือเป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง มายาคตินี้แสดงออกในรูปของข้อห้ามต่างๆ เช่น ห้ามข้ามหนังสือ ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้อ่านหนังสือไม่ออก เป็นต้น เมื่อประกอบเข้ากับวิถีการผลิตหนังสือในอดีต ซึ่งไม่มีเทคโนโลยีผลิตซ้ำเป็นสินค้าอุตสาหกรรมได้ หนังสือในยุคนั้นจึงถูกเก็บไว้ในฐานะของสูง เช่น ใส่ตู้ล็อกกุญแจ หรือวางไว้บนขื่อ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกนำมาใช้หรือเล่น อันจะทำให้กลายเป็นของต่ำนั่นเอง

                เมื่อกวีนิพนธ์เป็นเรื่องของภาษาหรือการสลักเสลาตัวหนังสือโดยตรง มายาคติเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของภาษาก็ย่อมจะติดตามมาเป็นความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับหนังสือโบราณโดยมากมีเนื้อหาเป็นวรรณกรรมคำสอน หรือเป็นเรื่องราวในทางพุทธศาสนา ตัวหนังสือซึ่งเป็นตัวแสดงออกหรือสื่อของคำสั่งสอนจึงกลายเป็นสิ่งอันมีฐานะควรนับถือไปด้วย วรรณคดีบางเล่มผู้อ่านต้องกราบเสียก่อน อ่านจบแล้วก็ต้องกราบอีกครั้งหนึ่ง จะถือเป็นสิริมงคลแก่ตัว ทำให้สติปัญญาเฉียบแหลม สมองแจ่มใส

                ความสามารถในการผลิตซ้ำหนังสือของเทคโนโลยีการพิมพ์ที่เข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 และพัฒนาเรื่อยมากระทั่งปัจจุบันทำให้หนังสือเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่เข้าถึงคนทุกชนชั้น ความเข้าถึงนี้ถูกรองรับด้วยการศึกษาแบบมวลชนสมัยใหม่ การยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของตัวหนังสือลดน้อยลงตามลำดับ ตัวหนังสือ หรือหนังสือสามารถให้สาระความรู้แก่ผู้คนได้เท่าๆ กับความไร้สาระ มายาคติของยุคใหม่ที่เทิดทูนกวีในฐานะศูนย์กลางของกวีนิพนธ์และความหมายของมันจึงค่อยๆ เปลี่ยนแปลงมายาคติเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของหนังสือและตัวหนังสือให้กลายมาเป็นมายาคติเกี่ยวกับ “อำนาจของความหมาย” ของกวีนิพนธ์อันมีกวีเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังแทน ขณะที่พฤติกรรมการ “สะสมหนังสือ” ก็กลายเป็นกิจกรรมพิเศษที่เป็นสนามผสมผสานที่ซับซ้อนของมายาคติความเป็นนักอ่าน นักเขียน กวี และผู้เข้าถึงต้นแบบของความหมายในหนังสือแทน

                เราจะเห็นได้ว่า แม้มายาคติเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของหนังสือและตัวหนังสือจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังมีมายาคติเรื่อง “อำนาจของความหมาย” ของกวีนิพนธ์หรือของหนังสือเข้ามารองรับความศักดิ์สิทธิ์แทน มายาคตินี้ยังคงประคองฐานะให้กวีนิพนธ์เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมดาสามัญอยู่นั่นเอง ปรากฏการณ์นี้เป็นปฏิกิริยาของสังคมสมัยใหม่ที่เทิดทูนความรู้แบบสมัยใหม่ที่มีประโยชน์ต่อวิถีชีวิตประจำวัน ไม่ใช่ความรู้ทางศาสนาที่ศักดิ์สิทธิ์และมีประโยชน์ในชาติหน้าเหมือนสมัยโบราณอีกต่อไป กวีในกระแสวาทกรรมว่าด้วยความรู้จึงเป็นดังที่นักวิชาการคนหนึ่งกล่าวไว้ คือเป็นคน 3 คนในตัวคนๆ คนเดียว คือเป็นนักประพันธ์ เป็นหน่วยหนึ่งของคนรุ่นนั้น และเป็นพลเมืองของสังคม กวีจึงต้องเป็นผู้บันทึกความรู้ และอารมณ์ความรู้สึกของสังคมไปพร้อมๆ กัน ราวกับเป็นนักประวัติศาสตร์สังคมก็ไม่ปาน

 

                3.ฉันทลักษณ์

                การทดลองฉันทลักษณ์กันอย่างเป็นกิจลักษณะในประวัติศาสตร์กวีนิพนธ์ไทยนั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งเห็นได้จากชนิดฉันทลักษณ์ในมหาชาติคำหลวงที่มีถึง 5 ชนิด แต่ละชนิดก็แยกย่อยออกไปอีกมากมาย วิวัฒนาการทางฉันทลักษณ์ดังกล่าวนี้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว หลากหลาย นัยหนึ่งก็เป็นความเคลื่อนไหวในลักษณะของพัฒนาการ แต่อีกนัยหนึ่งก็สะท้อนว่าเป็นวิวัฒนาการที่มีลักษณะแสวงหา ประจักษ์พยานในการแสวงหาอันยิ่งใหญ่ หนักแน่น และงดงามสมบูรณ์ที่สุดก็ได้ปรากฏใน “ลิลิตยวนพ่าย” นั่นเอง ทั้งนี้ก็เห็นได้จากร่ายซึ่งเป็นฉันทลักษณ์ดั้งเดิมที่ดำรงอยู่แล้วในวัฒนธรรมมุขปาฐะและวัฒนธรรมการสื่อสารของไทย เมื่อมาถึงยุคนี้ได้กลายเป็นส่วนประกอบเล็กๆ ในงานเชิงกวีนิพนธ์ลายลักษณ์

                ล่วงถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย “กลอน” ซึ่งเคยปรากฏเป็นส่วนประกอบเล็กๆ ในรูปของกลอน 4 ในมหาชาติคำหลวงก็พัฒนาสูงสุดเป็นกลอนกลบท 86 ชนิด ใน “ศิริวิบุลกิต” ของหลวงศรีปรีชา (เซ่ง)

                ความศักดิ์สิทธิ์ของฉันทลักษณ์นั้นอาจแฝงมาอย่างเงียบๆ กับการแสวงหาดังกล่าว ฉันทลักษณ์บางชนิด เช่น ฉัน และกาพย์นั้น ว่ากันว่าเราได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมวรรณศิลป์อินเดีย โดยเฉพาะฉันท์ ซึ่งถือเป็นรูปการประพันธ์ที่พัฒนาขึ้นมาจนมีข้อบังคับมากมายที่สุด ผู้แต่งต้องเป็นเมธี หรือผู้รอบรู้ ปราดเปรื่อง (ทั้งเรื่องภาษาและอื่นๆ)  ทั้งนี้อาจเห็นได้จากประเพณีปฏิบัติที่ว่าก่อนที่กวีจะลงมือแต่งฉันท์นั้น จะต้องชำระร่างกายและจิตใจให้สะอาดเสียก่อน โดยการนำดอกไม้ธูปเทียนจุดถวายพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ใจมีสมาธิ แล้วจึงจรดปากกาเขียนคำนมัสการเอาฤกษ์เป็นบรรทัดแรก ทั้งนี้ก็เพราะเชื่อกันว่า การแต่งฉันท์เป็นการเข้าสู่พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะทำให้จิตใจของตนเองบริสุทธิ์ ส่วนผู้อ่านคำฉันท์ก็เป็น “หมู่เมธา” ไม่ใช่สามัญชนคนธรรมดาทั่วไป เป้าหมายของการอ่านคำฉันท์คือความรอบรู้ทางหนังสือ (ความรู้) และเพื่อสติปัญญาอันจะทำให้จิตใจบริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่เพียงแค่การอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน หรือความบันเทิงเหมือนการเสพวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ

                บ่อเกิดความศักดิ์สิทธิ์ของฉันทลักษณ์ชนิดนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า เพราะกระบวนการสร้างและเสพ พิธีกรรม และ “บังคับ” ที่พัฒนาจนยุ่งยากและตายตัวในที่สุด ในระยะแรกๆ ของการพัฒนานี้ อิทธิพลภาษาบาลีและสันสกฤตซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวางในฐานะภาษาทางศาสนา และภาษาต่างประเทศของชนชั้นสูงและปัญญาชนก็ยังผลให้ภาษาฉันท์เต็มไปด้วยความขรึมขลัง เป็นภาษาของพิธีกรรม

                อาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ในสมัยอยุธยาตอนต้นนั้นมีลักษณะสำคัญอยู่ 3 ประการ คือผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิม วัฒนธรรมพราหมณ์ และวัฒนธรรมพุทธ ทั้งด้านภาษา เนื้อหา รูปการประพันธ์ โดยเริ่มจากภาษาเรียบง่ายไปสู่ภาษาที่อลังการ วัฒนธรรมพราหมณ์เสริมสร้างให้วัฒนธรรมวรรณศิลป์มีลักษณะขรึมขลัง ตกแต่งให้กวีนิพนธ์ของยุคนี้เป็นกวีนิพนธ์คลาสสิคจนยากที่จะมีกวีนิพนธ์ยุคใดขรึมขลังเท่า ส่วนวัฒนธรรมวรรณศิลป์แบบพุทธเป็นกระแส แต่ก็เติบโตรวดเร็วและแผ่ไปได้กว้างขวาง

                ทั้งกรณีของฉันท์และวัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ของวรรณกรรมยุคอยุธยาตอนต้น เราจะเห็นได้ว่าลักษณะ “บังคับ” หรือ “แบบฉบับ” เป็นที่มาของความศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่น่าสังเกตคือ ฉันท์นั้น ต่อมาได้กลายเป็นฉันทลักษณ์สูงส่งที่มีไว้สำหรับผู้สร้างและผู้เสพที่รอบรู้เป็นเมธาเท่านั้น ขณะที่แบบฉบับของวัฒนธรรมวรรณศิลป์ในสมัยอยุธยาขรึมขลังสูงสุดจนไม่อาจมียุคสมัยใดทัดเทียม

                เราจึงพบว่า ความศักดิ์สิทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรูปแบบ หรือฉันทลักษณ์หนึ่งๆ ได้พัฒนาการไปสูงที่สุดแล้วเท่านั้น

                ข้อสังเกตข้างต้น เราอาจนำมาพิจารณาการพัฒนาของ “กลอน” ได้ กล่าวคือ กลอนนั้นได้พัฒนาเป็นกลบท 86 ชนิดในช่วงอยุธยาตอนปลาย และได้ถือเป็นความสูงสุดที่ไม่อาจมีมือกลอนคนใดทำได้อีก สำหรับปัจจุบัน “ศิริวิบุลกิติ” กลายเป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์กวีนิพนธ์ไทยที่ทุกตำราจะต้องกล่าวถึง แต่ความยุ่งยากอย่างสูงก็ทำให้กลบทชื่อดังนี้กลายเป็นเพียงคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์กวีนิพนธ์เท่านั้น ทำนองเดียวกับกลอนตลาดของสุนทรภู่ แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการประพันธ์ที่เป็นชาวบ้านมากที่สุด แต่ทว่าเมื่อมันได้พัฒนามาจนเป็นฉันทลักษณ์ที่ตายตัว มีระเบียบวิธี และแผนผังกำหนดที่ชัดเจน (จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของกวีนิพนธ์แบบสุนทรภู่) สามารถสถาปนาเป็นความรู้เชิงวิชาการได้  “แบบแผน” ของสุนทรภู่จึงกลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์ของรูปการประพันธ์ของกวีนิพนธ์ร่วมสมัยไปในที่สุด

               

                จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้ ต่างก็เป็นส่วนประกอบที่สร้างมายาคติเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่กวีนิพนธ์ไทย แน่นอนว่า สาเหตุแห่งความเสื่อมความนิยมของคนทั่วไปที่มีต่อกวีนิพนธ์จะไม่ใช่เพราะมายาคติเรื่องความศักดิ์สิทธิ์นี้โดยสิ้นเชิง แต่ความศักดิ์สิทธิ์ก็ควรจะเป็นสาเหตุสำคัญที่บรรดาผู้สนใจวิกฤติกวีนิพนธ์จะมองข้ามเสียไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ทางสังคมบางอย่างที่เกี่ยวกับกวีนิพนธ์ เช่น การใช้กวีนิพนธ์เป็นส่วนหนึ่งของบัตรอวยพรวัดเกิด วันปีใหม่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องหมายบอกเราว่า กวีนิพนธ์ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้เหมาะสำหรับวาระพิเศษเท่านั้น เพราะสังคมยังคงมองเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ในฐานะรูปแบบและภาษาของพิธีกรรมนั่นเอง  แม้จะไม่ถึงกับขนาดที่เราต้องกราบไหว้ แต่สังคมก็มองกวีนิพนธ์ว่าไม่ใช่จะขีดจะเขียนกันอย่างง่ายๆ การเป็นกวีก็ไม่ใช่เรื่องของชาวบ้านร้านช่อง แต่เป็น “คนชนิดพิเศษ”  ที่สังคมต้องยอมรับบางอย่าง

                การที่เรารู้สึกว่าสังคมเรามีความแตกต่างระหว่าง “กวี” กับ “นักกลอน” และ “กวีนิพนธ์” กับ “บทกลอน” ก็เพราะเราตกอยู่ในครอบงำของมายาคติเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์นี่เอง ขณะเดียวกัน การที่เราตกเป็นทาสฉันทลักษณ์แบบสุนทรภู่ ก็เพราะความศักดิ์สิทธิ์นี้เช่นกัน




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ