ReadyPlanet.com
dot dot
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง

สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

"สิงห์สนามหลวง" ยกจดหมายกับเนื้อความสัมภาษณ์"ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" นักประวัติศาสตร์"รางวัลศรีบูรพา" พิมพ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์(ฉบับวันศุกร์ ที่ 8 พฤษภาคม 2552 หน้า 47) มีข้อความสำคัญมากที่ต้องคัดมาสู่กันอ่านให้สนั่นเมือง ดังต่อไปนี้

"สังคมไทยของเราดูเผินๆ ทันสมัยมาก แต่ในความเป็นจริงอนุรักษนิยมสูง มีความโบราณคร่ำครึสูงถ้าเราเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแถวๆสนามหลวง เราจะเห็นว่าการนำเสนอประวัติศาสตร์และบุคคลสำคัญนั้น ก็มีแต่ “กษัตริย์” หรือ “วีรบุรุษ” (ไม่ค่อยจะมีสตรี) เราจะไม่เห็นบุคคลสำคัญอื่นๆเลย ไม่ว่าจะเป็นนักคิด นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน หรือสามัญชนเข้าใจว่าถ้าจะมี “ชาวบ้าน” ก็มีแต่เพียง “บางระจัน” เท่านั้น แต่นั่นก็เพราะ “รัฐ” ให้การยอมรับเพื่อเอามาสนับสนุน หรือเอาไว้ด่า “ชนชั้นสูง” ของพวกตัวเอง

ประเทศไทย "ทันสมัยมาก แต่ในความเป็นจริงอนุรักษนิยมสูง มีความโบราณคร่ำครึสูง" (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ)

นี่ยังไม่ต้องกล่าวถึงชาวไร่ ชาวนา กรรมกร หรือแม้แต่ “ชาวต่างด้าว” ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการ “สร้าง” ประเทศนี้ขึ้นมา อย่างแรงงานลาว แรงงานเขมรที่สร้างกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ หรืออย่างแรงงานจีนในการสร้างทางรถไฟไปอีสาน ไปเหนือ ไปใต้ หรืออย่างแรงงานจากพม่า จากอินโดจีน (พม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ ลาว เขมร เวียด ฯลฯ) ที่ราคาแสนถูก น่าสงสาร แต่ทำให้เศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูอยู่ได้"

สังคมไทยที่อาจารย์ชาญวิทย์มองเห็นอย่างล่อนจ้อนอุจาดนักหนาว่า "ดูเผินๆ ทันสมัยมาก แต่ในความเป็นจริงอนุรักษนิยมสูง มีความโบราณคร่ำครึสูง"

ลักษณะข้างนอกทันสมัย ข้างในอนุรักษนิยมคร่ำครึ หมายถึงสติปัญญา ของสังคมไทย มีข้อความเก่าบอกว่า"ทันสมัย แต่ไม่พัฒนา" แต่ขณะนี้มีคนพวกหนึ่งผูกคำใหม่ว่า"ทันสมัย แต่ไร้สมอง"

ความ"ทันสมัย" เห็นได้จากจำนวนรถยนต์ส่วนตัวมีทุกยี่ห้อในโลก กับถนนหนทางกว้างขวางใหญ่โตสร้างด้วยเทคโนโลยีสูงส่งที่ล้วนนำเข้าจากต่างประเทศ

แต่ "ไร้สมอง" และ "ไม่พัฒนา" เพราะล้าหลังทางขนส่งมวลชน พวกมีรถยนต์ส่วนตัวก็เลวทรามต่ำช้าไม่รักษากฎจราจร ไม่มีกฎ กติกา มารยาท ต่อคนอื่น จึงไม่จอดให้คนเดินข้ามถนนตรงทางม้าลาย แล้วแย่งกันไปตายยิ่งกว่าสงครามโลกในทุกเทศกาลปีใหม่, และสงกรานต์

ลักษณะ "ทันสมัย แต่ไม่พัฒนา" กับ "ทันสมัย แต่ไร้สมอง" ยังเห็นได้จากแหล่งเรียนรู้สำคัญที่อาจารย์ชาญวิทย์เรียก"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" อันเต็มไปด้วยเรื่องราวล้าหลังคลั่งชาติ ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ล้วนเป็นผลผลิตของยุคล่าอาณานิคม เพื่อความเป็น"ชาติ"ในจินตนาการ เพราะไม่มีจริงในโลก ตามหนังสือสุดยอดของอาจารย์เบน แอนเดอร์สัน

เหตุที่พิพิธภัณฑ์ฯเป็นอย่างที่อาจารย์ชาญวิทย์บอก เพราะผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ล้วนเป็นผลผลิตมาจาก"แม่พิมพ์" หรือ"เบ้าหลอม"เดียวกัน ที่มีครูบาอาจารย์ผู้สอน"ทันสมัย แต่ไร้สมอง"

ผลคือ"คนไทยเข้าห้าง ฝรั่งเข้ามิวเซียม" ไม่มีใครอยากเข้า "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" ที่"ทันสมัย"ในเฟอร์นิเจอร์เครื่องตกแต่งห้องจัดแสดงลงทุนสูง "แต่ไร้สมอง" ไม่มีเนื้อหาสาระแสดงความเป็นมาของสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ และความเป็นคนไทยกับประเทศไทยที่มีคนหลายระดับทั้งคนชั้นสูง และคนชั้นต่ำ

แต่ครูบาอาจารย์และภัณฑารักษ์ที่อยู่ในโลกของความ"ทันสมัย แต่ไร้สมอง" นานมากไม่น้อยกว่า 50 ปีมาแล้ว ไม่เคยสำรวจตรวจสอบตนเองว่าบกพร่องตรงไหนถึงไม่มีคนเข้าพิพิธภัณฑ์ฯ

คนพวกนี้เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่ประชาชนคนอื่นอย่างไร้สมอง เลยพากันโทษประชาชนคนในสังคมไทยที่ไม่เข้าพิพิธภัณฑ์ฯ ว่าไม่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ