ReadyPlanet.com
dot dot
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)

ประชาภิวัฒน์  /  ทองแถม   นาถจำนง

ซีตี้เจอนัล

ไทยกับอาเซียน

            เมื่อมองเป้าหมายของอาเซียนที่มุ่งจะสร้าง ประชาคมให้สำเร็จในอนาคตอันใกล้   เทียบเคียงกับปัญหาภายในของประเทศสมาชิกแต่ละชาติแล้ว   ยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายถ้ำว่า  เป้าหมายของอาเซียนจะบรรลุได้อย่างไร

            ไม่ต้องไปมองปัญหาภายในประเทศพม่าก็ได้  

            เอาแค่ปัญหาของประเทศไทยเราเอง   ยังรู้สึกกระอักกระอ่วนที่จะอธิบายให้ชาวต่างประเทศรับรู้ว่า  เราจะแก้ปัญหาการเมืองของเราเองได้สำเร็จอย่างไร

            โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว  ผมสนับสนุนอุดมคติของอาเซียน  ที่จะสร้างประชาคมอาเซียนขึ้น   และผมพร้อมจะสละประโยชน์บางประการเพื่ออยู่ในกฎเกณฑ์ร่วมกันของทั้งประชาคม   

            การเป็นประชาคมระดับภูมิภาคนั้น    ประเทศสมาชิกต้องยอมสละประโยชน์ชาติบางจุดนะครับ    อย่างเช่น  ต้องยอมลดหรือเลิกภาษีขาเข้าบางอย่าง   ต้องเปิดให้การเคลื่อนไหวของแรงงานเสรีขึ้น     

            ถ้ายกระดับได้สำเร็จ   อาเซียน  ก็จะมีคุณสมบัติ  องค์การเหนือรัฐมากขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง   เรื่องนี้รัฐบาลไทย (ไม่ว่ารัฐบาลไหน)  ต้องประชาพิจารณ์ให้พลเมืองไทยเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง    

            ทุกวันนี้คนไทยรู้เรื่องของ อาเซียน น้อยเหลือเกิน    จึงประเมินอาเซียนต่ำ  และไม่เห็นความจำเป็นของยกระดับอาเซียน

            คือคนไทยเรายังคิดว่าเราอยู่ของเราชาติเดียว  โดยพึ่งสหรัฐกับจีนเท่านั้นก็เพียงพอจะอยู่อย่างสบายได้แล้ว

            ซึ่งเรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์เลยนะครับ  จึงมีความจำเป็นจะต้อง ประชาภิวัฒน์ ในเรื่องบทบาทของอาเซียนและบทบาทของไทยในอาเซียนกันด้วย

             ประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งคือ  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

            เป้าหมายสำคัญที่สมาคมอาเซียนกำหนดไว้คือสร้าง ประชาคมอาเซียน ขึ้นภายในปี พ.ศ. 2558  

            สามเสาหลักในการสร้างประชาคมอาเซียนคือ 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคง  2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน   ในระยะเฉพาะหน้านี้ปัญหาการเมืองและความมั่นคงเป็นประเด็นร้อนในประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ    ผมจึงขอยกเรื่องนี้มาวิจารณ์กันก่อน

             การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงนั้น  มีวัตถุประสงค์หลักดังนี้

1.   สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่าง ๆ  เช่น  ค่านิยมว่าด้วยการไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหา  และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ 

2.   เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของการมีความมั่นคงของมนุษย์

3.   ให้ประชาคมอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก  โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค        

             ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน นั้นไม่เพียงต้องเคารพสนธิสัญญาในระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเท่านั้น   หากแต่ยังต้องเคารพผลลัพธ์ที่เกิดจากการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค  ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมกว่า 25 ประเทศ  ซ้ำยังรวมไปถึง สหรัฐอเมริกา  รัสเซีย  จีน และสหภาพยุโรปด้วย      

            พูดตรง ๆ ก็คือ   อาเซียนไปตกลงอะไรไว้ในการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค    ประเทศสมาชิกก็ต้องปฏิบัติตาม  

            จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะต้องให้ความใส่ใจต่อการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนรอบนี้เป็นอย่างยิ่ง

            จุดที่ประเทศไทยและอาเซียนควรคำนึงคือ อะไรคือปัญหาความมั่นคงของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ ?  อะไรคือปัญหาความมั่นคงของอาเซียนโดยรวม ?   และอะไรเป็นปัญหาความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ ? 

            เรื่องที่ควรพิจารณาทบทวนกันมาก ๆ  คือ ทัศนะ , แนวทางการปฏิบัติ เกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงของโลกและของภูมิภาคนี้ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

            ที่ผ่านมา   รัฐบาลสหรัฐอเมริกา มอง ปัญหาความมั่นคงของโลกและภูมิภาคนี้  อย่างที่ตนเป็นผู้พิพากษาตัดสิน  แล้วแก้ไขตามวิธีการของตนเอง

            แนวทางอย่างนี้  ถูกขนานนามมานานแล้วว่า  ทำตัวเป็น ตำรวจโลก     สหรัฐอเมริกาออกหน้าในทุก ๆ เรื่อง    และพยายามจะเป็นผู้กำหนดแนวทางการแก้ไขในทุก ๆ ปัญหา              

        ประวัติศาสตร์ยุคใกล้พิสูจน์แล้วว่า   แนวทางรูปธรรมที่รัฐบาลสหรัฐเลือกใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งในโลก   มักจะยิ่งทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น   นับตั้งแต่ยุคสงครามเย็นต่อต้านค่ายสังคมนิยม   มาจนถึงการทำสงครามกับ ลัทธิก่อการร้าย  ซึ่งทั้งสองยุค  สหรัฐอเมริกาเข้าไปติดกับในสงครามยืดเยื้อ  สิ่งที่โลกได้รับคือ  ผลได้ไม่คุ้มผลเสีย 

            ยังจำบทเรียนในอดีตกันได้หรือไม่ ?

            หลังสงครามโลกครั้งที่สอง    ไทยถูกอังกฤษกับฝรั่งเศสบีบคั้นรุนแรง   ส่วนสหรัฐอเมริกามีท่าทีกรุณาปรานีไทย    คนไทยจึงเอียงไปนิยมอเมริกาอย่างเต็มที่   

            แต่หลังจากนั้นไม่นาน   ไทยก็ต้องเข้าร่วมทำสงครามในคาบสมุทรเกาหลี  ชาติไทยได้หรือเสียไปเท่าไหร่  ลองทบทวนกันบ้าง

            หลังจากนั้นอีก  สหรัฐกระโดดเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์ในอินโดจีนเพื่อปิดล้อมจีนแดง     สหรัฐให้ความช่วยเหลือไทยมากมาย  เช่นสร้างถนนมิตรภาพ  มาส่งเสริมการวิจัยข้าว ฯลฯ   แต่การพัฒนาเส้นทางคมนาคมนั้น  กลับเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสงครามในอินโดจีน   ไทยกลายเป็นฐานทัพให้อเมริกา     ส่วนการวิจัยข้าวก็ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่รายใหม่ของโลกขึ้นมาได้   ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นแทบจะไม่รู้จักต้นข้าวกันเลย

            ในด้านองค์การทางสากล    ก็เกิดองค์การ สปอ.  เป็นตัวแทนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

            สงครามเย็นปิดฉาก   สงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยุติลง

            สันติสุขกันไม่นาน   สหรัฐก็ไปทะเลาะกับกลุ่มประเทศอาหรับ  แล้วทำไปทำมา   เกิดกลุ่มก่อการร้ายที่อิงศาสนาอิสลามขึ้นมาก่อการอย่างร้ายแรง    สหรัฐตอบโต้ด้วยสงครามในระดับกว้างและรุนแรงมากกว่า   ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังติดหล่มอยู่ในอัฟกานิสถาน อิรัก  และทำท่าจะขยายหล่มนี้ไปถึงปากีสถานอีกด้วย   

            แน่นอนว่าสหรัฐอเมริกาต้องการลากดึงไทย มิตรเก่าแก่ผู้ซื่อสัตย์  และ  อาเซียน เข้าไปอยู่ในแนวรบร่วมกับเขา   

            แต่เราอยู่ของเราดี ๆ แล้ว   จะไปเป็นมิตรร่วมสงครามกับเขาเอา กระดุกมาแขวนคอ  ทำไม

            หลักการสามข้อข้างต้น  วางไว้กว้าง ๆ   ไม่เอนเอียงกลุ่มมหาอำนาจใดนะครับ

            หลักการกว้าง ๆ สามข้อของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนที่แสดงไว้ข้างต้น   เป็นหลักการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนปฏิบัติได้    แม้บางประเทศจะยังมีปัญหาเฉพาะอยู่บ้างก็ตาม    อาเซียน พึงรักษากรอบนี้ไว้    อย่ารีบร้อนยกระดับข้อเรียกร้องต่อกัน   และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง   จะต้องรักษาประโยชน์ของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ    อย่าถูกแทรกแซงเปลี่ยนแปลงหลักการไป ตามก้น อเมริกาทุกอย่าง




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ