ReadyPlanet.com
dot dot
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์

ชื่อเรื่อง : บททดลองนำเสนอ : มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์

ผู้เขียน : นายทิวา

เผยแพร่ครั้งแรก : อาศรมชาวโคลง ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๕

.........................................................

 

**** บททดลองนำเสนอ : มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒)ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ ****

 

กลอน ๑ บท มี ๔ วรรค คือ ๑.สลับ(สดับ) ๒.รับ ๓.รอง ๔.ส่ง ในที่นี้ จะกล่าวเฉพาะ

วรรค ๒ (วรรครับ) ซึ่งมีเกณท์กำหนดว่า ไม่ควรใช้ เสียงตรี เพราะจะทำให้เสียงเพี้ยน

แลบางท่านก็ว่ากันถึงขนาดว่า บทกวีของกวีชื่อดัง(แลไม่ดัง) ไม่มีใครใช้เสียงตรี ใน วรรค ๒

ซึ่งเท่าที่ตรวจดู(อย่างไม่ละเอียดนัก) ก็เห็นจริง เช่นที่ว่า

 

กระนั้น ก็น่าคิดเพื่อสืบค้นในรายละเอียด ซึ่ง ณ ที่นี้ อาจต้องข้ามประเด็นว่าด้วยกฎ-เกณท์-ข้อยกเว้น

อันปรากฏเป็นตำราจนถึงยุคปัจจุบัน เพื่อมิให้เป็นประเด็นโต้แย้ง ทั้งนี้ อาจสันนิฐานในเบื้องต้นว่า สิ่ง

เหล่านั้น เกิดขึ้นเพราะให้ง่ายต่อการถ่ายทอด สำหรับผู้ศึกษา แลพัฒนา ให้เคร่งครัดเป็นอย่างมาก

เมื่อมีการเห็นพ้องในยุคสมัยหนึ่ง แลตกทอดสืบต่อกันมา แลยิ่งเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการ

ประกวด เพื่อเป็น แบบ ในแต่ละยุคสมัย

 

(โดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ ที่มีการสังคายนา รวบรวมของเก่า แลทำการจัดระเบียบใหม่

เหตุเพราะของตกทอด โดยเฉพาะสมัยอยุธยา ถูกทำลายค่อนข้างมาก ที่สำคัญ งาน

หลาย ๆ ชิ้น อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวบ้าน ไม่ใคร่เหลือสืบทอดมาถึง หรือถึงเหลือ

สืบทอดมา ก็ไม่มีการให้ความสำคัญมากนัก นั่นเพราะเหตุทางสังคมการเมือง ในระดับของชน

ชั้นปกครอง กับชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง )

 

กล่าวเฉพาะเสียงในวรรค ๒ ของกลอน โดยมองผ่านงานของ อังคาร กัลยณพงศ์  

ซึ่งเดิมถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากว่า นอกแบบนอกเกณท์ ทว่า เมื่อผ่านการพิสูจน์

จากยุคสมัย ณ เวลานี้ ก็ยอมรับกันว่า มิได้นอกแบบ ตรงกันข้าม กลับอยู่ในแบบแทบจะ

เรียกว่า เคร่งครัด เสียด้วยซ้ำ เพียงแต่ การอยู่ในแบบของ อังคาร เป็นการใช้

แบบ มารับกับเนื้อหาแลวิธีการของตัวเอง อย่างเป็นนายของ แบบ

 

ขอคัดลอกบางถ้อยคำ จากเวที เสวนา ๖๐ ปี อังคาร กัลยาณพงศ์ กับร้อยกรองไทย

ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘ ม.ค.๒๕๓๐ โดย ปาจารยสาร เพื่ออธิบายความข้อนี้

 

ดวงมน จิตรจำนงค์  อาจารย์ภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ระบุว่า

 

อังคาร แทบจะเรียกได้ว่า ปฏิเสธ สุนทรภู่ อันนี้ เป็นทั้งจุดที่ถูกโจมตี ในเวลาเดียวกัน ก็เป็น

จุดที่ทำให้ อังคาร โดดเด่นขึ้นมา

 

ในแง่ฉันทลักษณ์ คืออาจจะเป็นเพราะลักษณะกลอนของสุนทรภู่ เป็นลักษณะที่ครอบงำ

วงการกวีไทย หรือนักกลอนมานาน เป็นเวลาร่วม ๑๐๐ กว่าปี พูดถึงตอนนี้ ก็ครบ ๒๐๐ ปี

ไปแล้ว ลักษณะกลอนของสุนทรภู่ เป็นลักษณะที่สม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา ลักษณะอย่างนี้

อาจจะเรียกว่า กลไก เราจะคาดหมายไว้เลยว่า มันควรจะลงสัมผัสตรงนี้ มันควรจะมีกี่คำ

 

สิ่งที่ อังคาร แตกต่างจาก สุนทรภู่ ก็คือ อังคาร ไม่ได้ใช้จังหวะ  กรอบของฉันทลักษณ์ที่ตายตัว

ทีนี้อะไรล่ะ ที่เป็นเครื่องกำหนดของอังคาร ว่า วรรคนี้ จะใช้ ๘ คำ วรรคนี้จะใช้ ๑๐ คำ อังคาร

ปล่อยให้ความหมายของคำพาไป แล้วก็สมมุติว่าเราจะอ่าน เราก็จะรู้สึกว่า  ต้องคำนึงถึง

ความหมายมาก วิธีที่จะเว้นวรรค เราจะเว้นวรรคตลอดไป ๓-๒-๓ อะไรไม่ได้เราจะเว้นก็ต้อง

เว้นตามความหมาย แล้วเราสามารถที่จะย้ำ หรือให้น้ำหนักของความหมายได้

 

อังคาร เคยพูดว่า เขาเรียนจากครู แต่แล้วเขากลืนครูหมด แล้วเอาออกมาเป็นของเขา

 

เจตนา นาควัชระ  อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบุว่า  ตอนที่

อังคารให้สัมภาษณ์มีเทป กรมศิลปากรทำไว้ วันที่ ๑ต.ค.๒๕๒๙ ที่หอสมุดแห่งชาติ เขาบอก

ชัดเจนว่า เขาไม่ตามสุนทรภู่ แล้วก็กวีที่เขาสนใจมากที่สุดคือ กวีอยุธยา เขาจะย้อนหลัง

ไปหากวีอยุธยา ก่อนที่ว่า จะมาลงแบบแผนตายตัว

 

ข้อมูลประการนี้ สอดรับกับวิธีคิดในการสืบค้น เพื่อหา ต้นแบบ ในการกำหนดกฎแลเกณท์

ประการหนึ่งอาจเห็นโดยรูปแบบว่า ค่อนข้างเดินในวิถีของสุนทรภู่ แลการกำหนดเช่นนี้ ก็เป็น

ไปในยุคสมัยหนึ่ง ๆ แลสืบทอดผ่านยุคสมัยเรื่อยมา

 

น่าสังเกตว่า ตำราโดยส่วนใหญ่ที่อธิบายเกณท์ต่าง ๆ ก็เลือกที่จะอธิบายงานในช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์

เป็นประการหลัก แลน่าสังเกตอีกว่า อังคาร เลือกสืบค้นไปก่อนยุคสมัยของสุนทรภู่ นั่นคือ ในยุคสมัย

ของอยุธยา เพื่ออธิบาย แบบ ในส่วนที่ได้สืบค้น ผ่านรูปของร้อยกรอง ที่ปรากฏ (ข้อสังเกตนี้ ยังอาจ

หมายรวมถึง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่เดินในวิถีทางของ สุนทรภู่ )

 

กล่าวถึงเรื่อง แบบ อาจกล่าวครอบคลุมได้กว้างขวางถึงประเภทต่าง ๆ ของร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็น

กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ มีทัศนะบางประการ ของ อังคาร กัลยาณพงศ์ ซึ่งให้สัมภาษณ์

เมื่อวันที่ ๓ ก.ย. ๒๕๒๙ เป็นข้อสังเกตประกอบ

 

บางที ที่ผมเขียนกลอน นั่นมันฉันท์ ผมซ่อนไว้ไม่ให้รู้ มันมีครุ ลหุ ฉันท์ที่เขาเขียนนี่ผิดหมด

ฉันท์มีคำหนักคำเบา นี่ ฉันท์บาลีมาลงที่หนักก็ได้ หรือ พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง

มีลหุ ท่านไม่ได้คิดเหมือน นายชิต(บุรทัต) ท่านยังเข้าใจเสียงดนตรี เราเข้าใจว่า ครุ ลหุ นี่

เราดูด้วยตา แต่ที่แท้ เป็นภาษาหู เป็นเดี๋ยวนี้ นักกลอนด่าตาย เช่น

 

ไพรินทรนาศเพี้ยง……………พลมาร

พระดั่งองค์อวตาร……………..แต่กี้

แสนเศิกห่อนหาญราญ……….รอฤทธิ์ พระฤๅ

ดาลดระดกเดชลี้……………….ประลาตหล้าแหล่งสถาน

 

บาทที่ ๔ น่ะ คำว่า ประลาต ท่านไม่แยกเป็น ๒ คำ โคลง เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เขาก็บอกแล้ว

ถ้า แต่งอ่านตรงเทิ่งไปเลย ทำให้โคลงทั้งนี้ ชั่วช้าเสียไป โคลงเขามีลูกเก็บ อย่าง

อยุธยายศล่มแล้ว……..ลอยสวรรค์ ลงฤๅ บางคนเคร่ง สะ คำหนึ่ง หวัน คำหนึ่ง ก็เชิญ

เชิญตรัสรู้ ผมก็เคยแต่งแบบ เสียงลือเลียงเล่าอ้าง มันแบบเขาหัดเด็ก ม.๖ นี่แต่งทีหลัง มัน

ทำให้ภาษาคับแคบ ภาษาไทยมันมี จีเนียส มีอัจฉริยลักษณ์ในภาษา ควรจะให้มันเติบโต

และกวีมันไม่จำเป็น ต้องอยู่ที่แต่งถูกเอกเจ็ดโทสี่ ใช้คำตายก็ไม่ได้ กวีมันอยู่ที่อื่น

 

ห้วงน้ำนั้นชื่อห้วง……………เสน่หา

วนว่ายสายน้ำตา……………..เชี่ยวกล้า

วนวังแห่งอวิชชา………………เวียนว่าย

ไร้ฝั่งหวังชาติหน้า……………..กี่ฟ้าสลายฝัน

 

อย่างนี้ มันมีโวหารกวี  บางทีถูกเอกเจ็ดโทสี่ แล้วมันไม่ได้เรื่อง กวีมันต้องอยู่ในหัวใจ

ถ้าไม่มีในหัวใจ แต่งให้ตายมันก็เป็นแค่ความขยัน เป็นอะไรไม่จับใจคน

 

ดูเผิน ๆ จะเห็นว่า อังคาร ปฏิเสธ แบบ ตายตัว โดยเน้นให้ความสำคัญกับ ความ

ทว่า แท้แล้ว นั่นเพราะ อังคาร ศึกษา กรอบ แล แบบ อย่างชัดแจ้ง (ย้อนไปถึงสมัย

อยุธยา ที่ อังคาร ยกเป็นครู แลจากถ้อยของ อังคาร ที่บอกว่า เคยเขียนแบบ

เสียงลือเสียงเล่าอ้าง ซึ่งถูกแบบ ในยุคสมัยนั้น ) จากนั้น จึงย่อยสลายออกมา

เป็นตัวเขา

 

ดังนั้น จึงไม่ควรสรุปโดยตายตัว โดยไม่พินิจให้ถ่องแท้ โดยเฉพาะผู้ที่มักอ้างถึง

การ นอกกรอบ แล นอกแบบ ทั้งที่ยังมิได้ศึกษาเรียนรู้อย่างถ่องแท้

 

ความบางส่วน เช่นที่ว่านี้ มีข้อชวนให้ฉุกคิดได้หลายประการ อาทิ การยึด แบบ ใน

ยุคสมัย(หรือร่วมสมัยในห้วงเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจหมายรวมถึงการสืบทอดต่อกันมา)

มักเป็นไปโดยความเห็นแบบ ตายตัว-ตึงตัว ซึ่งมักปรากฏในยุคสมัยหลัง ๆ ดังจะเห็น

ได้จากการวิวาทะในหลายครั้ง ซึ่งมักลงเอยที่การยึดขั้วตายตัวเพื่อปะทะแตกหัก โดย

ไม่มีข้อสรุป

 

ที่สำคัญ ชนยุคหลัง ยังถึงขั้นการวิพากษ์ไปถึงชิ้นงาน โบราณ หลายต่อหลายชิ้น ว่า

ผิด กรอบ ผิด แบบ ผิด เกณท์ ดังตัวอย่างเรื่อง ฉันท์ ที่ อังคาร อธิบาย ฤาแม้แต่

โคลง แล กลอน (ท่านจันทร์ อธิบายเรื่องนี้ ใน ตำรับประมวญมารค บางส่วน) ทั้งที่จริงแล้ว

งาน โบราณ เหล่านี้ มีขึ้น ก่อนที่จะมีบรรดา ผู้กำหนดกฎ-เกณท์-ข้อยกเว้น เสียอีก

 

ย้อนกลับมาที่เรื่องเสียง ตรี ในวรรค ๒ ของกลอน ที่ปัจจุบัน ระบุเป็นข้อห้าม มิให้ใช้เสียง

ตรี (หมายรวมถึง แบบ ที่ยุคสมัยของการชำระแลจัดระเบียบได้กำหนดไว้) มีตัวอย่าง

จาก กลอน ของ อังคาร โดยอ้างถึง ลำนำภูกระดึง ฉบับพิมพ์ ปี ๒๕๑๒ แลฉบับ

แก้ไข ปรับปรุงพิมพ์ใหม่ เมื่อ ปี ๒๕๑๖ จะพบว่า มีการใช้เสียงตรี ในวรรค ๓ ในหลายที่ เช่น

 

ลำนำภูกระดึง ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ปี ๒๕๑๒

 

งูงูปลาปลามาสอนซ้ำ……………….เจ็บช้ำจิตร์วิปริตแห้งแล้ง

กำนัลบทเรียนราคาแพง……………..แจ้งแง่โง่เขลาเบาปัญญา

 

นิ่งอยู่คู่กะกรวดทรายดิน…………….แล้งสิ้นความรู้สึกลึกล้ำ

กระจายปนเลนตมน้ำครำ…………….คือเงาคำของเถ้าธุลีเอย

 

ถึงวารสิ้นหล้าอย่าสูญสิ้น……………วรรณศิลป์อมตะอย่ารู้ร้าง

บันลือทิพย์ไหวในใจกลาง…………….โลกกว้างขวางนั้นนิรัดร์เทอญ

                                                                        (หน้า ๑๔)

 

เหยียบย่ำทำไมดอกหญ้านั้น………..สวรรค์ประดับหล้าค่าเลิศล้ำ

สรรเสริญเยินยอแต่ทองคำ……………ตะกั่วดำและเหล็กน้อยใจ

                                                                        (หน้า ๑๔)

 

เวลาช้ากว่าร้อยโกฏิปี……………….ล้างธุลีทรายขาวนวลสะอาดล้ำ

ทุกเม็ดกรวดทรายดินเก็บงำ…………ลำนำปรัชญาค่าควรเมือง

                                                                        (หน้า ๕๔)

 

แจ้วแจ้วสกุณาฟากฟ้าเลี้ยง………..บรรเลงเสียงกล่อมโลกนี้

ภพหน้าน่าเกิดเป็นกวี………………..มีพรทิพย์สุนทรีย์ร้อยกรอง

                                                                        (หน้า๕๘)

 

มิงกละโมบโลภแสวงกำไร…………ถ้ามีใจก็ใหญ่หลวงลึกล้ำ

ถือสันโดษเป็นประจำ………………รักแต่ศานติธรรมทุกเวลา

                                                                        (หน้า ๘๒)

 

แกมเกษรชะอ้อนโอยทานหอม……..ยอมบำเรอมนุษย์เสียด้วยซ้ำ

มิเคยตอบร้ายยอมรับกรรม………….เลวระยำทั้งหมดด้วยรสสุนทรีย์

แต่น้อยนักมนุษย์อันบาปหนา……….ไร้แววตาเห็นแง่ทิพย์นี้

ส่วนใหญ่ใจต่ำทำผู้ดี…………………ไม่มีการศึกษาอาธรรม์

                                                                        (หน้า ๘๓)

 

มรคานั้นลี้ลับซับซ้อน…………..ซ่อนเร้นอยู่ในแหล่งหล้านี้

ถ้าแววตารุ่งรุ้งสุนทรีย์……………จักแจ้งวิถีทิพย์วิมานทอง

                                                                        (หน้า ๑๔๗)

 

ลำนำภูกระดึง ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๑๖ (หมายเหตุ : มีเวลาจำกัดค้นจากเอกสารทุติยภูมิ)

 

ปิติสุขสอนโศกให้หฤหรรษ์……….พลังฝันสอนความจริงแก่นฟ้า

แปรคุณค่าประโยชน์มหึมา………..เจิมแหล่งหล้ามุ่งมงคลชัย

 

รื่นรื่นชื่นหอมมธุรโศก……………หวานปรโลกลอยมาลับลี้

หยุดอยู่คู่คุณธรรมความดี…………ที่อมตะอยู่คู่แดนดิน

 

หรืองานชิ้นอื่น ๆ เช่น งานชื่อ ดูถูกศิลปะ (ตีพิมพ์ ปี ๒๕๐๑)

 

ใครดูถูกดูหมิ่นศิลปะ……………….อนารยะไร้สกุลสถุลสัตว์

ราวลิงค่างเสือสางกลางป่าชัฎ……..ใจมืดจัดกว่าน้ำหมึกดำ

เพียงกินนอนสืบพันธ์นั้นฤๅ………….ชื่อว่าสิ่งประเสริฐเลิศล้ำ

หยามยโสกักขะอธรรม……………….เหยียบย่ำทุกหย่อมหญ้าสาธารณ์

ภาพหน้าอย่ามีรูปมนุษย์……………..จงผุดเกิดในร่างดิรัจฉาน

หน้าติดดินกินขี้เลื้อยคลาน…………….ทรมาณทุกข์ร้อนร้ายนิรันดร์เอย

 

……………………..และ ฯลฯ …………………….

 

ตัวอย่างเช่นที่ว่านี้ ในทัศนะของ แบบ ถือได้หรือไม่ว่า อังคาร ผิดแบบ ฤๅอาจเลยเถิด

ไปถึงขั้นว่า อังคาร หูเพี้ยน ซึ่งว่ากันแล้ว จะเห็นได้ว่า แบบ ที่ อังคาร ยึดเป็นครู ตาม

ที่เจ้าตัวได้บอกไว้ว่า ย้อนไปถึงสมัยอยุธยา แลประกอบกับคำอธิบายของ อังคาร ในเรื่อง

ฉันท์ ที่ว่า ฉันท์บาลีมาลงที่หนักก็ได้ หรือ พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง

มีลหุ ท่านไม่ได้คิดเหมือน นายชิต(บุรทัต) ท่านยังเข้าใจเสียงดนตรี เราเข้าใจว่า ครุ ลหุ นี่

เราดูด้วยตา แต่ที่แท้ เป็นภาษาหู นี่ก็ย่อมอธิบายความบางประการได้

 

หมายความว่า เมื่อ อังคาร อธิบายถึง ภาษาหู ใน ฉันท์ ก็ตอบคำถาม ว่าด้วยข้อกังขา

ถึงเรื่อง หูเพี้ยน ไปได้ ว่า ไม่ใช่แน่ นั่นก็เท่ากับว่า เป็นความ จงใจ ที่จะใช้ ซึ่งกรณีนี้

น่าศึกษาอย่างเป็นระบบ ต่อไปถึง กลอนในยุคสมัยอยุธยา

 

ทั้งนี้ หากพิเคราะห์เบื้องต้น จากการเติบโตของ กลอน (เทียบลักษณะกลอนตลาด-กลอนคละ)

หรือรูปแบบของกลอนพื้นบ้าน หรือ กลอนหัวเดียว จะเห็นความพ้องกันประการหนึ่ง ถึงการไม่

บังคับสัมผัสเคร่งครัดตายตัว เช่นเดียวกับเสียง ที่เน้นการสื่อ (รับ-ส่งสัมผัสเข้าหู) โดยการฟัง

(เช่นว่า ไว้ - ใกล้ - ให้ -ว้าย - ไหง ฯลฯ )

 

เมื่อพิเคราะห์ต่อ จะพบว่า เสียงในภาษาไทย ในกลอน โดยเฉพาะเมื่อเป็น รูปแบบพื้นบ้าน

(ซึ่งมิได้ถูกจัดระเบียบ โดยชนชั้นปกครอง) ผู้เล่น-ผู้ร้อง (ปัจจุบัน เป็นผู้เขียน) มักสามารถ

เอื้อน-โหน-ลาก และ/หรือ ฯลฯ กับคำ ให้มีรูปของเสียงได้หลายแบบ

 

อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตเหล่านี้ ย่อมไม่สามารถใช้ได้ กับ มาตรฐาน แล รสนิยม ที่ถูก

กำหนดในยุดสมัยหนึ่ง แลได้สืบทอดต่อกันมา ทว่า หากเปิดกว้างเพื่อสืบค้นไปไกลกว่า

จุดที่ยึดถือตามกันมา (เช่น ย้อนไปสมัยอยุธยาหรือกว่านั้น ) ก็น่าจะเห็นข้อมูลบางประการ

ที่มากขึ้น แลอาจได้ข้อสรุปใหม่ ๆ อันอาจเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวางขึ้นอีกโสตหนึ่ง และ/หรือ

อาจเป็นอีกกระแสธารของการเรียนรู้ เพื่อสืบต่อความรู้ให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไปได้

 

กล่าวเฉพาะเรื่อง เสียง และ แบบ มีรูปธรรม จากงานยุดต้น ๆ ของ อังคาร ชิ้นหนึ่ง

ที่เป็นที่แพร่หลาย ทั้งที่คล้ายกับไม่ต้องโดยแนบเนื้อ กับมาตรวัดของ เกณท์ แห่งยุคสมัย

แต่ก็ได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวาง คือ

 

เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง…………….หมายมุ่งอะไรในหล้า

มิหวังแม้กระทั่งฟากฟ้า……………ซบหน้าติดดินกินทราย

จะเจ็บจำไปถึงปรโลก………………ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย

จะเกิดอีกกี่ครั้งจวบวางวาย………..อย่าหมายจะได้หัวใจ

 

นี่อาจเป็นอีกรูปธรรมหนึ่ง ของวิถีคิด ที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง

 

ในท้ายสุด มีข้อใคร่ชวนกันพิจารณาว่า แท้แล้ว ศัตรู ที่แท้ ของผู้เขียนแลศึกษา

งานร้อยกรอง แท้แล้ว ใช่เป็น แบบ หรือ เกณท์ หรือ วิธีการ จริง ๆ หรือไม่

หรือที่แท้แล้ว ศัตรู ที่แท้จริง ของผู้เขียนแลศึกษา งานร้อยกรอง เป็น อคติ ซึ่ง

มีทั้งเฉพาะตัวแลรวมหมู่ โดยมิได้เปิดกว้างต่อการสืบค้น เพื่อทำความเข้าใจ แล

แจกแจงด้วยเหตุผล ให้เกิดความหลากหลายทางปัญญาอย่างเปิดกว้าง

 

และ/หรือ อาจบางที ศัตรู ที่แท้เช่นว่านี้ ก็อาจเป็น ศัตรูที่ลื่นไหล ซึ่งหากเรา

รู้ไม่เท่าทันก็ยากแก่การรับมือ  แลทำความเข้าใจ เพื่อยกระดับของการเรียนรู้

นี่อาจไม่ต่างอะไรกับการปิดโลก ให้อยู่ในวงแคบ ๆ แลรับรู้เฉพาะเพียงเท่าที่รู้

หากเป็นเช่นนั้น ก็น่าเสียดายยิ่ง ต่อการเรียนรู้ ที่จักคล้ายกับหยุดนิ่งยาวนาน

 

ด้วยจิตคารวะ

………………………

………………………

หมายเหตุท้ายเรื่อง :  บททดลองนำเสนอความเห็นนี้ เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนพูดคุย

ใน อาศรมชาวโคลง หลายครั้งครา โดยเฉพาะ ประเด็นว่าด้วย เสียงตรี ของ กลอน ใน วรรค ๒

ซึ่งว่ากันว่า เป็นข้อห้าม แต่ผู้เขียนได้แย้งว่า อาจเป็นเรื่องของรสนิยมใน

การรับเสียง หรือเรียกว่า แล้วแต่หูของยุคสมัย

 

แลผู้เขียนได้เสนอความเห็นว่า เกณท์ที่กำหนดไว้เป็นกรอบ ก็เพื่อเป็นแนวทาง

สำหรับผู้ศึกษา แลจักเคร่งครัดขึ้นเมื่อมีการจัดประกวด เพื่อเป็น แบบ แห่งยุค

สมัย แลการสืบต่อ

 

เช่นนี้เอง ผู้เขียนจึงได้ค้น แลนำเสนอ เป็นบททดลองเพื่อการศึกษา

แลกเปลี่ยน แต่ทั้งนี้ บททดลองนำเสนอดังกล่าว มิได้มีเจตนายั่วยุให้เลือกข้าง

แต่อย่างใด เพราะเจตนาของการนำเสนอ เป็นไปเพื่อการเปิดกว้างทางการ

ศึกษา แลเรียนรู้ร่วมกัน สำหรับผู้สนใจใฝ่รู้ ซึ่งควรเปิดกว้าง เพื่อรับรู้โดย

กว้างขวาง อันจักเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

 

อนึ่ง บททดลองนี้ เป็นเพียงข้อเสนอของความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยน คงมิสามารถนำไปอ้างอิงได้ เพราะเหตุข้อจำกัดของการค้น ที่เป็นไปอย่างหยาบ ขาดความละเอียดรอบด้าน ผู้รู้ เพื่อนพ้องน้องพี่ช่วยเพิ่มเติมข้อมูล แลแลกเปลี่ยน ก็จะเป็นประโยชน์ มากมาย

 

ผิดพลาดประการใด ขออภัย ณ ที่นี้




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ