ReadyPlanet.com
dot dot
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article

ชื่อเรื่อง : บททดลองนำเสนอ มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) (๒)

ผู้เขียน : นายทิวา
เผยแพร่ครั้งแรก : อาศรมชาวโคลง พฤหัสบดี ๑๕ ธันวาคม - ศุกร์ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
.......................................................
 
โฮ่ ๆ ๆ สวัสดี ขอรับ ทุก ๆ ท่าน
แหะ แหะ ขอรับ
บรรยากาศคึกคัก ครึกครื้น เหมือนเดิม
 
หลายคืนก่อน เพื่อนพ้องน้องพี่หน้าเดิม ๆ วัยละอ่อน ประกอบด้วย หมอโมโน , จอมยุทธเมรัย , ศาลาไทย , หิ่งห้อยน้องใจ และชายหนุ่มวันสิบเจ็ดอย่าง นายทิวา ได้มาล้อมวง “สุราสาระ” แลกเปลี่ยนกันในหลายประเด็น มีทั้งเห็นด้วยและเห็นต่าง และเห็นอื่น ๆ อีกมากมาย
 
แต่ก็เป็นไปแบบ “แตกต่าง” แต่ไม่ “แตกแยก”
ด้วยบรรยากาศ “สมานฉันท์” แบบ “อาศรมชาวโคลง” อันเป็นวัฒนธรรมอันดีที่เราทำกันมา ขอรับ
 
หนึ่งในประเด็นที่แลกเปลี่ยนกัน ก็คือเรื่อง “เสียง” ของ “โคลง”
ก็อย่างที่ จอมยุทธเมรัย ทำ “เปลเปล้อ” มาให้อ่านกันนี่ล่ะ ขอรับ
(ถ้าเปรียบ จอมยุทธเมรัย ก็ประมาณสำนักมาตรฐาน อย่าง เส้าหลิน บู้ตึ้ง คุนลุ้น ง่อไบ้ ใช้กระบี่ ดาบ หมัดมวย แบบมาตรฐาน ก็ว่ากันไปตาม “กฎ” ส่วนอีตาทิวา เป็นพวกสำนักไม่มาตรฐาน แบบถ้าใช้ดาบ ก็ต้องเป็นดาบโค้งวงพระจันทร์ ก็ว่ากันไปตาม “ข้อยกเว้น” ขอรับ อิอิ)
 
วง “สุราสาระ” แลกเปลี่ยนกันแบบสนุกสนาน
แล้วชายหนุ่มวัยสิบเจ็ด ก็ขยายผล จาก “เสียงโคลง” ไปที่ “เสียงกลอน”
เรื่องของเรื่องก็มาจากประเด็นว่าด้วย “เสียงตรี” ในวรรคสอง ของ “กลอน” นี่แหละ ขอรับ
 
ก่อนหน้านั้น อีตาทิวา เคยทำ “ปะเร-ปะเร่อ” ว่าด้วย “เสียงตรี” ในวรรครับ(วรรค๒) ของกลอน โดยหยิบยกเอา “อังคาร กัลยาณพงศ์” เป็น “แม่แบบ” ในการอ้างอิง เพื่อ “พูดถึง” เรื่อง “รูป” และ “เสียง” ของกลอนในวรรครับ
 
เหตุก็มาแต่การ “จัดระเบียบ” เสียงกลอน โดย “ถือสา” เป็น “ข้อห้าม” ว่า ไม่ควรใช้ “เสียงตรี” ใน “วรรครับ” เพราะทำให้ “เสียงเพี้ยน” และลางทีลางเจ้า ก็อ้างกันไปไกลถึงขนาดว่า กวีชื่อดัง(แลไม่ดัง) ไม่มีใครใช้กัน
 
กระป๋ม ก็เลยทำ “ปะเร-ปะเร่อ” ว่าด้วย “เสียงตรี” ใน “วรรครับ(วรรค๒)” ในชื่อ “ปะเร-ปะเร่อ” ว่า
 
“บททดลองนำเสนอ : มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน “อังคาร กัลยาณพงศ์”
 
นำเสนอไปเรียบร้อยนานมาแล้ว ในพื้นที่อาศรมแห่งนี้ แต่จำบ่ได้ว่า ภาคไหน-ตอนที่เท่าไร (ใครว่างช่วยค้นให้ทีเน้อ เพราะจะดูย้อนหลังว่า เขียนไว้ ตั้งแต่วันเดือนปีอะไร)
 
“ปะเร-ปะเร่อ” ชิ้นนี้ พูดถึงเสียงตรี ในวรรครับ ของกลอน โดยอธิบายถึงเรื่องเสียง ซึ่งถ้าเป็นไปตาม “กฎ” ตาม “มาตรฐานการจัดระเบียบใหม่” (ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ โดยยึดเอา “สุนทรภู่” เป็น “ต้นแบบ”) ก็ต้องถือว่า กรณีนี้ เป็น “ข้อยกเว้น” สำหรับยุคสมัยนี้
 
แต่ที่มากกว่านั้น ก็คือ การนำเสนอประเด็น เพื่อให้ “ล้อมวง” แลกเปลี่ยน โดยการ “พูดถึง” ย้อนหลังไปยังยุคสมัยก่อนหน้าการ “จัดระเบียบ”
 
ด้านหนึ่งเพื่ออธิบายว่า “กวีรัตนโกสินทร์” ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ถึงความ “นอกแบบ” อย่าง “อังคาร กัลยาณพงศ์” (ตามมาตรฐานการจัดระเบียบใหม่) แท้แล้ว “มิได้นอกแบบ” หากแต่เป็นไปตามแบบ เพียงแต่ “แบบ” ที่ว่านั้น มิได้จำกัดตัดตอนเพียงแค่ยุค “รัตนโกสินทร์ตอนต้น”
 
อีกด้านหนึ่ง ยังอธิบายถึง “แบบ” ที่ย้อนหลังไปกว่านั้น ที่สามารถทำได้ (รวมถึงทำได้ดี) โดยเดินไปในแนวทางของการใช้ “หู” เขียน แทนที่จะใช้ “ตา” เขียน โดย “กฎตายตัว” ที่ถูกจัดระเบียบใหม่
 
แน่นอนนี่ว่ากันด้วยเรื่องของ “เสียง”ONLY และ ONLY เพียงประการเดียว (ใช้ภาษา “มะมั่น”  (ฝรั่ง-ในภาษาเหนือ อิอิ) ซะหน่อย เพื่อความเป็นอินเตอร์ อิอิ)
 
คนในยุคนั้น “หู” ไม่เพี้ยน และ “กวีรัตนโกสินทร์” ที่ชื่อ “อังคาร กัลยาณพงศ์” ก็มิได้ “นอกแบบ” และ “หู” ก็ไม่เพี้ยนเช่นกัน (รายละเอียดอ่านได้ ตาม “ปะเร-ปะเร่อ” ชิ้นที่อ้างถึง) ซึ่งตรงกันข้ามกับคนยุคปัจจุบัน ที่อาจจะเพี้ยน กระทั่งต้อง “จัดระเบียบ” เพื่อเอาให้ชัด จะได้ไม่เพี้ยนมาก (อิอิ แซวซะหน่อย)
 
หลังจากเขียนชิ้นนั้นไปแล้ว กระป๋ม ก็รับปากต่อที่สาธารณะ(วงสุรา  อิอิ) ว่า จะเขียนชิ้นที่ ๒ ว่าด้วย “เสียงตรี วรรครับ” ต่อ เพราะเหตุชิ้นแรก อ้างถึง “ลำนำภูกระดึง” ทั้งฉบับแรก และฉบับปรับปรุง รวมถึงงานชิ้นอื่น ที่เป็นงานยุคแรก จึงรับปากว่า จะค้นต่อไปถึง “ปณิธานกวี” ที่เป็นงานอันได้รับ “รางวัลซีไรต์” ประเภท “กวีนิพนธ์” (นัยว่า จะได้อ้างถึง “มาตรฐาน” และ “รสนิยม” ของ เวทีซีไรต์ ที่อิงอยู่กับ “มาตรฐานการจัดระเบียบใหม่” และ “รสนิยมแห่งยุคสมัย” )
 
แต่จนถึงบัดนี้ ก็ยังมิได้ปรากฏโฉมออกมาเลย ขอรับ แหะ แหะ
 
นั่นสิ แล้วกระป๋ม จะมา “พูดถึง” ทำไมเนี่ย ?
“พูดถึง” เสียเยอะแยะ ไหงมีแต่ “น้ำ” ไม่ยักกะเข้า “เนื้อ” เสียที
แหะ แหะ ขอรับ
 
เรื่องของเรื่อง ก็เพราะวง “สุราสาระ” ที่ว่านี้แหละ ขอรับ
พอกระป๋ม โยงถึงเรื่อง “เสียงตรี” ใน “วรรครับ” ของ “กลอน” เพื่อนพ้องน้องพี่ก็เลยแลกเปลี่ยนเสียหนุกหนาน
แล้ว “หมอโมโน” ก็ถาม เพราะเหตุอีตาทิวา อ้างถึง “เสียง” ในยุคสมัยก่อน “จัดระเบียบ” ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
อีตาทิวา ก็เลยอ้างเอา “ขุนช้างขุนแผน” เรื่องราวดั้งเดิมแบบชาวบ้าน ที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แล้วมาถูกชำระจัดระเบียบต่อเติมแต่งเติมบางส่วน ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
“หมอโมโน” สงกะสัย เตรียมจะใช้มีดหมอของถนัด ชำแหละอีตาทิวา เพราะไม่ใคร่เชื่อ แต่ก็บอกว่า ถ้ามีจริงใน “ขุนช้างขุนแผน” ก็พร้อมจะยอมรับได้
 
แหะ แหะ ขอรับ
ชายหนุ่มอายุ ๑๗ เลยต้อง “หนีงาน” ไม่ยอมหลับยอมนอน เพราะนอนไม่หลับ ไปนั่งค้นแบบ “คร่าวคร่าว” เพื่อเอา “มะพร้าว” คั้นน้ำมาล้างหน้ากระป๋ม เอ๊ยยยม่ายช่าย เอา “มะพร้าว” มาขายสวน ขอรับ อิอิ
 
ผลการค้น ทำให้อีตาทิวา รอดตัวพ้นสภาพหน้าแหกแบบหวุดหวิด ขอรับ
แหะ แหะ ขอรับ
ขออนุญาต “คัด” บางส่วน จาก “เสภาขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๑ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม ปี ๒๕๑๐ ที่ กรมศิลปากร อนุญาตให้ศิลปาบรรณาคารพิมพ์จำหน่าย มายืนยัน ขอรับ
 
ตอนที่ ๑ กำเนิดขุนช้างขุนแผน หน้าที่ ๘ (กำเนิดขุนแผน)
 
“ถึงฤกษ์งามยามปลอดคลอดง่ายง่าย
ลูกนั้นเป็นชายร้องแว้ แว้
พี่ป้าน้าอามาดูแล
ล้างแช่แล้วก็ส่งให้แม่นม”
 
“แว้” อันนี้ชัดเจน คำนี้เป็นเสียงร้อง และเป็นเสียงตรี ขอรับ
 
ตอนที่ ๒ พ่อขุนช้างขุนแผน หน้า ๑๖
 
“ฝ่ายว่านายเวรมหาดไทย
เขาหมายไปเรียนท่านผู้ใหญ่นั้น
บดนี้จะเสด็จเมืองสุพรรณ
ในห้าวันตามที่มีหมายมา”
 
“นั้น” นี่ก็เสียงตรี ขอรับ
 
ตอนที่ ๒ พ่อขุนช้างขุนแผน หน้า ๓๔
 
“ทองประศรีฟังว่าน้ำตาไหล
จะเอาแกงที่ไหนพ่อพลายแล้ว
วิ่งหนีเขามาตาบ้องแบว
แว่วแว่วเหมือนจะเหลือแต่เนื้อปลา”
 
“แล้ว” เป็นเสียงตรี แต่บทนี้ มีข้อสังเกตว่า อาจจะพิมพ์ผิด สลับกันกับ “แก้ว” เพราะบทก่อนหน้านี้คือ “พลายแก้วบิแล้วเอาข้าวเคี้ยว แห้งเหนียวพ้นใจร้องไห้ดิ้น แกงอยู่ไหนแม่ขาของคุ้นลิ้น ข้าวติดคอตราปลิ้นไม่กินแก้ว” (เพื่อนพ้องน้องพี่ ที่มีฉบับอื่น ช่วยเทียบเคียงเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง ขอรับ)
 
ตอนที่ ๒ พ่อขุนช้างขุนแผน หน้า ๔๑
 
“ดูสมเพชเวทนาหนักหนานัก
ช่วยกันชักหลาวผุดหลุดออกไค้
ขุนช้างกอดศพซบร่ำไร
กลิ้งเกลือกเสือกไปให้โศกา”
 
“ไค้” ก็เป็นเสียงตรี แต่มีข้อสังเกตว่า น่าจะพิมพ์ผิด ที่ถูกควรเป็น “ได้” มากกว่า (ควรตรวจสอบกับฉบับอื่น ขอรับ)
 
ตอน ๗ พลายแก้วแต่งงานกับนางพิม หน้า ๑๖๐
 
“ให้ขุดหลุมระดับชักปักเสาหอ
เอาเครื่องเรือนมารอไว้ที่นั้น
ตีสิบเอ็ดใกล้รุ่งฤกษ์สำคัญ
ก็ทำขวัญเสาเสร็จเจ็ดนาที”
 
“นั้น” ก็เป็นเสียงตรี ขอรับ
 
แหะ แหะ ขอรับ
กระป๋ม ค้นแบบ “คร่าวคร่าว” พลิกผ่าน ๆ มาได้ถึงแค่หน้านี้ หมดแรงเลยบ่ได้พลิกต่อ เพื่อนพ้องน้องพี่ที่มีเวลาว่าง ๆ ลองช่วยกันค้นดู เพื่อการศึกษา แลแลกเปลี่ยนกันนะ ขอรับ
 
ปุจฉา: ที่ยกตัวอย่างพอ “คร่าวคร่าว” อย่างที่ว่ามานี้ เพื่อบอกอะไรหรือ ขอรับ
วิสัชนา: ไม่ได้บอกอะไรเลย นอกจากเรื่องเสียง ONLY ขอรับ
 
ปุจฉา: บอกเรื่องเสียงอะไร
วิสัชนา: บอกว่า “เสียง” มิได้ “ตายตัว” และ “ตึงตัว” จนขยับเขยื้อนเลื่อนเสียงไม่ได้เลย
 
ปุจฉา: อ้าว ถ้าไม่ “ตายตัว” แล้วเวลาขับทำนองเสนาะ มันจะไม่เพี้ยนหรือ
วิสัชนา: ไม่เพี้ยน เพราะเวลาขับทำนองเสนาะ เล่นกับ “เสียง” และ “เสียง” ในพยัญชนะไทย เป็นเสียงดนตรี ที่สามารถ “ลาก-เอื้อน-หลบ-โหน” และ ฯลฯ ได้มากมาย ถ้าขับทำนองเสนาะไม่ได้ “เสภา” ก็ควรจะขับไม่ได้เช่นกัน
 
ปุจฉา: แล้วทำไมถึงต้อง “จัดระเบียบ” เป็น “กฎ” ห้ามไว้ ไม่พึงทำล่ะ
วิสัชนา: เพราะปัจจุบัน หูอาจเพี้ยนมากกว่าอดีตกระมัง อิอิ หรือว่าไปแล้วก็คือ ปัญหาอยู่ที่ “ผู้ร้อง-ผู้อ่าน” ที่จะมีทักษะและลีลาอย่างไรนั่นเอง
(คำเตือนกฎที่ได้รับการยอมรับ เพราะทำให้ส่วนใหญ่ “ทำได้” ในแบบแผนเดียวกัน ซึ่งได้ผ่านการพิสูจน์ด้วย “รสนิยมของยุคสมัย” แล้ว ผู้ใช้พึงระวัง ถ้าจะอ้างอิงโดยไม่ทำความเข้าใจให้ชัดเจนเสียก่อน เพราะเรากำลังพูด “ข้อยกเว้น” ในมาตรวัดของปัจจุบัน)
 
นี่เป็นเรื่องของ “เสียง” ขอรับ
และเมื่อมองผ่านจาก “กลอน” ย้อนกลับไปที่ “โคลง” ก็อาจเทียบเคียงบางประการได้
คำโท(คู่โท) ในบาทสอง ของโคลง เสียงที่สมูธ(อิอิ) และไพเราะอันหนึ่ง ก็คือ เสียง “ตรี-โท”
นี่เป็นความคล้ายกันในแง่ “เสียง” ระหว่าง เสียงตรีท้ายบาทสองของโคลง และเสียงตรีท้ายวรรคสองของกลอน
(จำได้ว่า เคยเสวนากับ ตาหมีเซอะ เรื่อง “เสียงโคลง” บาทสอง ที่คู่โท เป็นเสียง “ตรี” ในบาทสอง แล้วทิ้งประเด็นเพื่อขบคิดกันต่อ ถึงการเลือกใช้ “เสียงตรี” ทั้งใน บาทสองของโคลง และวรรคสองของกลอน มิตรสหายที่สนใจ โปรดขยายความแตกประเด็น เพื่อแลกเปลี่ยนด้วยสมานฉันท์ตามชอบใจเน้อ)
 
เสียงดนตรีไทย มี 7 ตัวโน้ต โด เร มี ฟา ซอล ลา ซี
ขลุ่ย มี 8 รู รูสุดท้าย เพิ่มเสียง โด อีกหนึ่ง ไว้เป็น โด เสียงสูง
7 ตัวโน้ตที่ว่านี้ ไม่มีครึ่งเสียง (อนุโลมยกเว้น เสียงฟา ที่จัดว่า เป็นครึ่งเสียงโดยธรรมชาติ)
ทว่า 7 ตัวโน้ตที่ว่านี้ ทำหน้าที่คุมและคลอกับ “เสียงร้อง” ได้อย่างดี
ทั้งที่มี 7 ตัวโน้ต แต่ “เสียงร้อง” สามารถพาไปได้ทั้ง “เต็มเสียง” และ “ครึ่งเสียง” รวมไปถึงการลงเสียง “หนัก” และเสียง “เบา”
ด้วยอะไร ก็ด้วยการ “ลาก--เอื้อน-หลบ-โหน” นี่แหละ ขอรับ
 
ว่าไปแล้ว “เพลงพื้นบ้าน” ที่ยังไม่ถูก “จัดระเบียบ” และไม่ถูกยึดครองเอามาเป็นของตัว โดย “ชนชั้นสูง” จะเป็นตัวอย่างได้ดี ขอรับ
เพลงฉ่อย ที่เป็น กลอนหัวเดียว
ลำตัด-อีแซว-ลิเก-เพลงเกี่ยวข้าว-เพลงเรือ
กลอนชาวบ้านเหล่านี้ เราจะเห็นการ “ลื่นไหล” ของ “เสียง” และ “คำ”
“เสียง” ไม่ถูกจัดระเบียบ แต่กลับเป็นระเบียบ โดยการ “เอื้อนร้อง”
คำและสัมผัสของคำ ที่ไม่ “จัดระเบียบ” ตายตัว ก็ไม่เป็นผลเสีย ต่อ “แบบ” ที่วางมาแต่เดิม
อาย-ไอ , อาม-อำ และ ฯลฯ เช่น ร้าย-ได้ , งาม-จำ และ ฯลฯ เป็นคู่รับสัมผัสกันได้ และไม่เสียอรรถรสของเสียงที่เปล่งออกมา
 
พยัญชนะไทย มีเสน่ห์ของเสียงดนตรี ขอรับ
เสียงของพื้นถิ่นในแต่ละภาคของไทย ก็สะท้อนถึงสิ่งเหล่านี้ได้ดี
ไม่ว่าจะ แหลงใต้ , แอ่วเหนือ หรือ เว่าอีสาน
กระทั่งสำเนียงต่างชาติ อย่างมอญ , ญวน และ ฯลฯ
 
“แม่เหมย นะ แม่เหมย” แม่ เป็นเสียงโท นะเป็นเสียงโท และ เหมยเป็นเสียงจัตวา
แต่เวลาออกเสียง อ่านว่า “แหม่ เม้ย น่ะ แหม่ เม้ย” แหม่ กลายเป็น เสียงเอก น่ะกลายเป็นเสียงเอก และ เม้ย กลายเป็นเสียงตรี
 
อย่างนี้ เป็นต้น ขอรับ
 
“เสียง” เป็นเรื่องของ “หู” ที่ใช้รับฟัง และเสียงก็สามารถ “เลื่อนไหล” ได้ โดยตัวของมันเอง ที่เป็นเสียงดนตรีตามธรรมชาติ
คำของ “เสียง” หนึ่ง ๆ สามารถทำให้สูงได้ ต่ำได้ สั้นได้ ยาวได้ หนักได้ และเบาได้
 
ลองดูคำ ๆ นี้ ขอรับ
 
“ก็”
 
ก = เสียงสามัญ
ก่ = เสียงเอก
ก้ = เสียงโท
ก๊ = เสียงตรี
ก๋ = เสียงจัตวา
 
“ก” เป็น “อักษรกลาง” ผันเสียงได้ครบ
“ก็” เป็นคำตาย ถ้าอ่านออกเสียงสั้น ๆ เบา ๆ เป็นเสียงเอก แต่ถ้าอ่านออกเสียงยาว ๆ หนัก ๆ เป็นเสียงโท
 
คำตาย แทนตำแหน่งเอก ใน “โคลง” ได้ และ “ก็" ก็เป็น “คำตาย” ที่จะให้เป็นเสียงเอก หรือเสียงโทก็ได้ เช่นเดียวกับใน “ฉันท์” ที่เป็น “ลหุ” ก็ได้ หรือเป็น “ครุ” ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า คำที่ “ก็” วางไว้ก่อนหรือวางต่อหลัง เป็นคำเสียงหนัก หรือคำเสียงเบา
 
นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ขอรับ
 
ไหน ๆ ก็พูดถึงเรื่อง “เสียง” แล้ว ก็ต่อไปอีกหน่อยถึงเรื่อง “จังหวะ” ก็แล้วกัน ขอรับ แหะ แหะ
ก็อย่างที่แซวกันเหล้น ๆ ว่า “หู” ในในยุคปัจจุบัน อาจจะเพี้ยนกว่าในอดีตแหละ ขอรับ
 
ว่าไปแล้ว ที่ยกตัวอย่าง “แบบ” ที่ไม่ตายตัวมาอธิบาย และ “เสียง” ที่ “เลื่อนไหล” มาอธิบาย ก็เพื่อจะชี้ถึงความ “ไม่เพี้ยน” ของ “เสียง” ถ้าใช้เป็น
(อันนี้ ไว้อธิบายกันในโอกาสหน้า ว่า จะใช้ “เสียง” ที่มันไม่ตรงกับ “มาตรฐาน” จะต้องมีเสียงใดส่งมา และเสียงไหนรับอีกที เพื่อให้มัน สมูธ แลนดิ้ง ก็รออีกหน่อย ถ้าอีตาทิวา ยังไม่ร่ำสุรา จนเสียชีวิตไป ก็จะมา “เลาเหล่าเล่าเล้าเหลา” ให้ฟังอีกที อิอิ)
 
แต่ถ้า “ใช้เป็น” แต่ยังไม่ดี หรือ “ใช้ไม่เป็น” ในอดีต เขาก็มีอีกตัว ที่มากำกับเสียง
นั่นก็คือ “จังหวะ” ขอรับ
 
ดนตรีไทย มีเครื่องดนตรีกำกับจังหวะคือ “ฉิ่ง” (ไม่ใช่กลอง เพราะจังหวะของกลอง จะไม่คงที่เหมือนฉิ่ง)
จะกี่ชั้นก็ว่าไป แต่เสียงของ “ฉิ่ง” จะเดินเป็น “ฐาน” เพื่อกำกับเสียงอื่น ๆ ไม่ให้แกว่ง ไม่ให้เพี้ยน ไม่ให้เร็วไป ช้าไป และ ฯลฯ
มาถึงดนตรีสมัยใหม่ จะให้ใช้ฉิ่ง ก็คงไม่ได้ เขาก็เลยต้องใช้ “กลอง” ขอรับ
แม้ว่า ในอดีต จะเห็นว่า เสียง “กลอง” ไม่คงที่ เลยไม่เอามากำกับ แต่ในยุคสมัยใหม่ มันจำเป็น ขอรับ
โอ....ก็สมัยใหม่นี่ “หู” มันเพี้ยนเหลือเกิน สังเกตดูก็ได้ อย่างเพลงเก่า ๆ ที่ไพเราะเพราะพริ้ง จะมีช่องว่าง ความกว้างของ “เสียง” สูง-ต่ำ ห่างกันหลากหลาย แต่ในยุคสมัยใหม่ จะเหลือแต่เสียงที่เกือบ ๆ จะเป็นเสียงเดียวกัน ประมาณ “ท่องจำ” นั่นแหละ ขอรับ
“กลอง” ก็เลยต้องมีบทบาทมาก พร้อม ๆ กับเสียงดนตรีอื่น ๆ ที่เข้ามากลบ “เสียงร้อง” ให้เสียงร้องถูกบังไปหมด จนแทบไม่ได้ยินเสียงร้องที่“รู้เรื่อง” นั่นแหละ ขอรับ
นี่ก็อีกตัวอย่างหนึ่งของ “เสียง” ที่ใช้ “จังหวะ” เข้ามากำกับ ขอรับ
 
“ร้อยกรอง” ก็คือ ตัวหนังสือที่มีเสียงดนตรี ซึ่งนำมาเรียงร้อยกัน
นอกจาก “เสียง” ก็ยังมี “จังหวะ” ที่เป็น “ตัวช่วย” ที่แข็งแรงอย่างยิ่ง
 
นึกถึง “แพทเทริน” แบบ “สามช่า” เราก็นึกถึง “ชึ่ง ชึ่ง โป๊ง โป๊ง ชึ่ง” หรือถ้าเป็น “แพทเทริน” แบบ “รำวง” เราก็นึกรู้จังหวะของมัน
แล้วไม่ว่า จะเป็น บีกิน , วอทซ์ , สวิง , กัวลาช่า , แทงโก้ มันก็มี “จังหวะ” ให้เรานึกถึงใช่ไหม ขอรับ
 
ร้อยกรอง จะเป็น โคลง-ฉันท์-กลอน-กาพย์ และ ฯลฯ ก็เหมือนกัน ขอรับ
อยู่ที่ว่า เราจะเล่นกับ “จังหวะ” แบบใด และใน “ลีลา” แบบไหน
ไม่รู้จะยกตัวอย่างจากอะไร เอาตัวอย่างของกระป๋มเอง ก็แล้วกัน ขอรับ
 
โคลง
๏เพียง.......สัมผัสสวาทเร้น................ระเริงขณะ
ฟ้า...........ขยับจับเคล้าคละ...............ระครั่นครื้น
จด...........จำร่องรอยระยะ.................ปะทะตื่น
ดิน..........ชุ่มน้ำสะอึกสะอื้น..............ฤ ชื้นมิคลายฯ
 
กลอน
๏เพียง......สัมผัส สวาทเร้น ระเริงขณะ
ฟ้า..........ขยับ จับเคล้าคละ ระครั่นครื้น
จด...........จำร่อง-รอยระยะ ปะทะตื่น
ดิน...........ชุ่มน้ำ สะอึกสะอื้น ฤ ชื้นมิคลายฯ
 
(หมายเหตุ : ร้อยกรองบทนี้ที่ยกมา เพื่อเป็นตัวอย่าง “พูดถึง” โดยมิได้บอกว่า ร้อยกรองบทนี้ ดี , งาม และ ฯลฯ แต่อย่างใด แหะ แหะ )
 
ร้อยกรองบทนี้ เขียนโดยวางอยู่ในรูป โคลง และ กลอน โดยไม่ได้ยึดตามแบบ “กลบทโคลงกลอน” ของ ครูเนาว์ “เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์” ที่นำเสนอใน “ชักม้าชมเมือง” (ผู้สนใจ โปรดหาอ่านเปรียบเทียบ หรือค้นของเก่า ที่จอมยุทธฯ เคยวางไว้ในอาศรมฯ หรือท่านอื่น ๆ เพื่อศึกษาได้)
 
ที่ทำเช่นนี้ ก็เพราะเหตุของการทดลองเรื่อง “เสียง” และ “จังหวะ”
จะเห็นว่า คำโท ในบาทสองของโคลง เป็นเสียงตรี และเมื่อวางในรูปของกลอน ก็เป็นเสียงตรีในวรรคสอง
จะเห็นว่า ร้อยกรองบทนี้ เลือกใช้คำหนัก-เบา(ลหุ-ครุ) หรือ “ลูกเก็บ” ที่มีเสียงต่างกัน เพื่อวางจำนวนคำในโคลง ให้ลงตัวกับจำนวนคำในกลอน
คำหนัก-เบา นอกจากเพื่อวางจำนวนคำแล้ว ยังเล่นกับ “เสียง” โดยใช้ “จังหวะ” เข้ามาคุมอีกชั้น
นี่ก็เป็นการทดลองว่าด้วยการอธิบายถึงเรื่อง “เสียง” และ “จังหวะ” ขอรับ
 
ไหน ๆ ก็มาถึงบรรทัดนี้แล้ว เพื่อไม่ให้เสียเที่ยว ก็ขออนุญาต คัดบางส่วนจาก “ปณิธานกวี” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖ ของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” เพื่อ “พูดถึง” เสียงตรีในวรรครับ อีกหน่อย ขอรับ
 
“ปณิธานกวี” นอกจากจะได้รับรางวัล “ซีไรต์ ปี ๒๕๒๙” แล้ว ก็ยังเป็นหนังสืออ่านประกอบของสถานศึกษาหลายแห่งด้วย
นี่ก็ควรจะเป็นไป โดย “มาตรวัด” ว่าด้วย “มาตรฐาน”
แต่ “ปณิธานกวี” ก็มี “เสียงตรีในวรรครับ” ที่มีข้อตำหนิจากการ “จัดระเบียบ” ว่า ไม่พึงใช้ เช่นกัน

โปรดพิจารณาโดยพลัน ขอรับ
 
ตื่นเถิดโลกมนุษย์ หน้า ๒๒
 
“เร็วเร่ง ปฏิวัติอัตตาอานุภาพ
ซาบซึ้งซึ่งชัยประเสริฐเลิศ ล้ำ
สันติสุข รุกรบภพนรกมืดงำ
นำสมัยสู่ทิพย์สิบทิศเทอญ”
 
สุนทรีย์แห่งชีวิตมนุษย์ หน้า ๒๘
 
“งามมโนคติริเริ่มเหินหาว
ไปเยี่ยมดาวไถไกลลิบ ลี้
งามแสงร่อนเร่เห่สองพันปี
พื้นที่เกษตรไหนไถหว่านกรรม
 
รวงข้าวทิพย์แห่งชีวิตมนุษย์
งามวิสุทธิ์ที่งานประเสริฐเลิศ ล้ำ
งามประโยชน์มิหยุดมนุษย์ธรรม
ค้ำจุนโลกลบทุกข์โศกละลาย”
 
ดวงใจนักปราชญ์ หน้า ๓๓
 
“สองแสวงข้อมูลเอกอเนกอนันต์
หมั่นวิจัยวิจารณ์มิติลึก ล้ำ
เสาะหากัลยาณมิตรแนะนำ
หรือเพ่งทำปัญญาปฏิภาณ”
 
หลักอารยชน หน้า ๓๘
 
“สาวงามรสนิยมคมเฉียบสุนทรีย์
มีมโนคติประเสริฐเลิศ ล้ำ
วิจารณ์แก่นสารยุคบุกเบิกนำ
นฤมิตกรรมกำนัลจักรวาล”
 
บันทึก(น้ำตาของสองชีวา) หน้า ๕๑
 
“เว้นแต่พระผู้ประเสริฐสูงสุด
แล้วยากนักมนุษย์สุดหยั่ง รู้
น้ำตาของสองชีวาร่วงพรู
ระเหยอยู่เป็นเมฆวิเวกวังเวง”
 
ปริศนารมณีย์ หน้า ๕๕
 
“สุริยาบ่ารุ้งทองเนื้อสิบ
ระยิบระยับโตรกชะโงกเงื้อม ง้ำ
โปรยประเสริฐสุนทรีย์ชี้นำ
เลิศล้ำรมณีย์พลีเป็นทาน”
 
พญาครุฑกับกากี หน้า ๖๗
 
“พญาครุฑยุคกากี
สู่ฉิมพลีบาร์ป่า งิ้ว
กากีถูกครุฑหิ้ว
ลิ่วลอยฟ้าฝ่าชั่วดี”
 
พระธาตุพนม หน้า ๗๓
 
“พระธาตุพนมล้มจมดินหาย
สายกว่าสายแสบสยามลึก ล้ำ
สิบเอ็ดสิงหาฯ อกฟ้าระกำ
ต่ำใต้หล้าบ่าน้ำตานอง”
 
ปัญญาที่เหนือกว่าเวไนยสัตว์ หน้า ๗๖
 
“ธรรมะอันไร้สาระแก่นทิพย์
หยิบยกว่าวิเศษสุกลึก ซึ้ง
สรรเสริญอเวจีขยี้ดาวดึงส์
ซึ่งมิจฉาทิฏฐินั้นอันตราย”
 
เปลือยป่าช้าร่าระบำรำ หน้า ๘๔
 
“กิ้งก่าผวาหาหลักฟ้า
ซ่าสอพลอสิ่งซึ่ง ล้ม
อึ่งอ่างหมอบปลอบตม
อมเหรียญตราบ้ายศจัด”
 
บริภาษสัตว์วิทยาศาสตร์คลั่งนิวเคลียร์ หน้า ๙๒
 
“แจ่มจันทร์เจ้าหนาวสกาวแสงทิพย์
ระยิบระยับวับวาวดาวระ ย้า
สำนำอนันตกาลผ่านหน้ามา
สนธยาย้อยหยาดบาดดวงใจ”
 
นี่เป็นตัวอย่าง ที่นำมาแสดงให้ดู และพร้อมกันนั้น ก็เป็นตัวอย่างเพื่อให้สังเกต “ชุดคำ” และการใช้เสียง
ซึ่งต่างจาก “มาตรวัด” และ “มาตรฐาน” ตามการ “จัดระเบียบใหม่”
 
แหะ แหะ ขอรับ
ทั้งหมดนี้ เป็นความเห็นส่วนตัว และจัดเป็น “รสนิยม” ประการหนึ่ง เพื่อการแตกประเด็นในการแลกเปลี่ยน เพื่อประโยชน์ของการศึกษา
กระนั้น ที่ต้องย้ำกันอีกครั้งครา ก็คือ นี่เป็น “ข้อยกเว้น” ตาม “บรรทัดฐานของยุคสมัย”
อย่าลืมว่า “ข้อยกเว้น” จะมีได้ ก็ต่อเมื่อมี “กฎ” ที่เป็น “กรอบ” ให้เห็นเป็นหลัก
เพราะถ้าไม่มี “กรอบ” เราก็คงไม่มี “ข้อยกเว้น”
และถ้าเราไม่รู้ “กรอบ” โดยชัดแจ้ง ก็คงพูดไม่ได้ว่า เราคือ “ข้อยกเว้น” เพื่อ “นอกกรอบ”
นี่เป็น หัวใจ ที่เป็น “ฐานราก” อันสำคัญ ขอรับ
 
หวังใจว่า “ปะเร-ปะเร่อ” ชิ้นนี้ จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะการ “ต่อยอด” เพื่อผลของการศึกษาและแลกเปลี่ยนให้เกิด “องค์ความรู้” ใหม่ ๆ
และหวังใจว่า “ปะเร-ปะเร่อ” ชิ้นนี้ คงไม่ถูกนำไปอ้างอิง โดยมิได้ศึกษาบริบทของ “กฎเกณท์” และ “ข้อยกเว้น” ให้ครบถ้วน
 
๏ศิลป์สร้างศิลป์สื่อสร้าง........................อันใด เล่าเอย
ศิลป์ย่อมรับใช้ใคร.......................................ใคร่รู้
ศิลป์สร้างสื่อศิลป์ใด.....................................ให้ประจักษ์
ศิลป์สื่อสื่อศิลป์สู้...........................................รับใช้มวลประชาฯ
 
ด้วยจิตคารวะ ขอรับ
นายทิวา
พฤหัสบดี ๑๕ – ศุกร์ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
 
//......................๛
 
ปล. ๑ แถมอีกนิด ถึงการใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ในการ “ขึ้น-ลง” ใน “โคลง-กลอน” จะใช้ก็ใช้ และถ้าไม่ใช่ ก็ไม่มีใครว่า รวมถึงจะใช้เป็นอย่างอื่น ก็มิได้เสียหายมากมายแต่อย่างใด (กระป๋ม นิยมใช้ ฯ จบบท เพราะโบราณ หนังสือที่พิมพ์บางเล่ม เช่น ลิลิตเตลงพ่าย เครื่องพิมพ์ไม่มีเครื่องหมายให้ใช้ หรือบางทีมีแต่ไม่ใช้ เช่น “ปณิธานกวี” ก็เช่นกัน ก็ต้องถือว่าใช้ได้ ไม่เสียหายอะไร)
ปล.๒ การร้อยโคลง ไม่มี “กฎ” บังคับว่า ต้องร้อยโคลง เมื่อเขียนโคลงชุด แต่หากสมัครใจร้อยโคลง ก็ไม่เสียหายใด ๆ ตรงกันข้าม อาจช่วยเรื่องเสียง ความเนียน สมูธ และช่วยเรื่องการ “จดจำ” ได้ง่ายขึ้น การร้อยโคลง ที่ใช้กัน มักใช้ในกรณีเข้าลิลิต (ใครจะช่วยขยายความเพิ่มเติม ก็เชื้อเชิญโดยพลัน ขอรับ)
 
//……………….๛



บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ