ReadyPlanet.com
dot dot
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์

The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 

อัคร พงษ์ ค่ำคูณ
วิทยาลัย นานาชาติปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 เมื่อ ได้รับ “จดหมายไฟฟ้า – email” จากเครือข่ายสื่อสารไร้พรมแดนของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เรื่อง Beware the Ides of March ทำให้ผมซึ่งเป็น “กบบ้านนอกในกะลากรุงเทพฯ” เกิดความงงงวยอย่างยิ่งว่า มันคืออะไร ผมจึงต้องไปทำการบ้านเพื่อออกจาก “กะลากรุงเทพฯ” ว่า Beware the Ides of March หมายถึงอะไร แล้วผมก็ได้คำตอบดังนี้

The Ides of March เป็นชื่อเรียกวันที่ 15 ของเดือน มีนาคม ตามปฏิทินของชาวโรมัน แต่เฉพาะคำว่า Ides นั้น เป็นคำใช้เรียกทุกวันที่ 15 ของเดือน มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม และ ตุลาคม แต่ สำหรับเดือนอื่นกำหนดให้ Ides เป็นวันที่ 13

The Ides of March ถือ ว่าเป็นวันไม่ดี เป็นอาถรรพ์ ไม่เหมาะสำหรับการตัดสินใจ หรือ การประชุมใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังถือว่า 15 มีนาคม เป็นวันที่อุทิศให้ ดาวพระอังคารเทพเจ้าแห่งการสงคราม โดยจะมีการเดินขบวนสวนสนามของ บรรดาทหารทุกเหล่าทัพ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวด้วย

สาเหตุ ที่วันที่ 15 มีนาคม กลายเป็นวันอาถรรพ์ของชาวตะวันตก ก็เนื่องมาจาก เป็นวันที่ชาวโรมันเรียกว่า วันมรณะของจูเลียต ซีซ่าร์ - The Ides of March เรื่องมีอยู่ว่า สมัยที่อาณาจักรโรมัน อยู่ภายใต้การปกครองของ จูเลียส์ ซีซาร์ ในช่วงปลายรัชกาล เป็นยุคที่ สภาพบ้านเมืองมีแต่ความแตกแยก ผู้คนถูกแบ่งออกเป็นค่ายต่างๆ หลายสีหลากกลุ่ม เช่น กลุ่มเสนาอำมาตย์ที่มีความมั่งคั่งจากการฉ้อ ราษฎร์บังหลวง กลุ่มผู้นิยมระบบสาธารณรัฐ และ กลุ่มสมาชิกรัฐสภาที่ถูกซีซาร์ลดอำนาจลง ฯลฯ

ต่อมาในวันที่ 15 มีนาคม ปีที่ 44 ก่อนคริสตศักราช เหตุเกิดเมื่อ บรรดาเพื่อนสนิท และภรรยา กล่าวถึงคำทำนายของโหราจารย์ ที่เตือนซีซาร์ว่า อย่าออกจากบ้านไปประชุมรัฐสภาในวันนี้ แต่ ซี ซ่าร์ ไม่เชื่อเพราะเป็นคนมีความมั่นใจในตนเองสูง

แต่เมื่อ ซีซ่าร์ เดินทางมาถึงหน้ารัฐสภา ก็กลับถูกบรูตัส (Brutus) ร่วมกับ คัสสิอุส (Cassius) เข้ารุมแทงซีซ่าร์ จนสิ้นใจตายที่ตรงบันไดหน้ารัฐสภา ก่อนจะได้เดินเข้าไปในที่ประชุมเสียอีก ซี ซาร์ถูกรุมแทงทั้งหมด 23 แผล นอนตายจมกองเลือดโดยไม่มีโอกาสป้องกันตัวเอง เพราะตามกฎของโรมันนั้น ห้ามพกพาอาวุธเข้ารัฐสภา

และต่อมาคำว่า The Ides of March ก็กลายเป็นคำยอด นิยมในบทละครเรื่อง “จูเลียส ซีซาร์” ของ เช็กสเปียร์ ที่ว่า "beware the Ides of March" โดยในบททละครดังกล่าว มีการเขียนคำพูดสุดท้ายของซีซาร์ไว้ว่า Et tu Brute แปลว่า “บรูตุส เจ้าก็เอากับเขาด้วยหรือ” เพราะ บรูตุส เป็นบุตรบุญธรรมที่ซีซาร์ชุบเลี้ยงและอุ้มชูมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก สนับสนุนให้ได้ดำรงตำแหน่งใหญ่โตในบ้านเมือง แต่สุดท้ายซีซาร์ก็ไม่เคยคิดเลยว่า บรูตุส จะหันกลับมาฆ่าผู้มีพระคุณได้ลงคอ

ตั้งแต่นั้นมา คติความเชื่อเรื่อง The Ides of March จึงคงอยู่กับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ทั่วโลก มากระทั่งปัจจุบัน

อีก เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในวันเดียวกันนี้ คือ การสละราชสมบัติในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2460/ค.ศ.1917 ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย พระสหายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งคนในสยามประเทศไทยมักจะเห็นฉายพระรูปคู่ กันอยู่บ่อยๆ โดยหลังจากที่ทรงสละราชสมบัติแล้ว ก็ถูกจับและถูกปลงพระชนม์อย่างทารุณพร้อมด้วยพระราชวงศ์หลาย พระองค์

ปัจจุบัน ชาวตะวันตกยังคงมีความเชื่อกันว่า หากมีการนัดชุมชุม จัดการประชุม หรือรวมตัวกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบ้านการเมืองในวันที่ 15 มีนาคมนี้ ประวัติศาสตร์อาจจะซ้ำ รอยได้

ใน ห้วงเวลาที่สังคมสยามประเทศไทย กำลังวิตกกังวลอย่างมากกับเหตุการณ์ ทางการเมืองเช่นนี้ ขอนำข้อความจาก “จดหมายไฟฟ้า” ที่ผมได้รับจากนักวิชาการ 2+1 ท่าน เพื่อเป็น “โภชนสติ – Food for Thought” สองฉบับ ได้แก่

ฉบับ ที่ 1 จาก กัลยาณมิตรนักวิชาการ ท่านหนึ่งแห่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า

“ต้อง ขอสารภาพว่าอ่านข้อความที่ส่งต่อแล้วไม่สบายใจอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะน้ำเสียงของข้อความที่พยายามสร้างภาพให้การชุมนุมคน เสื้อแดงเป็นเสมือนอสูรร้าย โดยเฉพาะข้อความในย่อหน้าก่อนสุดท้ายที่ ว่า

“ก็ ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ที่ตระเตรียมแผน ซ้อมกันก็หลายยกแล้ว จะจัดการอย่างไร จะปล่อยให้คนเหล่านี้ใช้กำลังปิดล้อม จนชาวบ้านเดือดร้อนกันหรือไม่ แล้วเมื่อปิดล้อมแล้วก็ไม่รู้ว่าจะก่อ เหตุอะไรขึ้นมากกว่านั้น”

ข้อ ความที่คัดมานี้ดูเหมือนจะทำหน้าที่กระพือความกลัวในหมู่ผู้อ่าน และเรียกร้องอยู่กลายๆให้รัฐใช้อำนาจจัดการกับผู้ชุมนุมโดเด็ดขาด ผมคิดว่าคนเสื้อแดงย่อมมีสิทธิที่จะชุมนุมทางการเมืองได้พอๆกับสมัย ที่คนเสื้อเหลืองชุมนุมทางการเมือง

ก็ น่าแปลกที่ในสมัยนั้นถึงขนาด พธม. ยึดทำเนียบ ปิดสนามบิน บุกสถานีโทรทัศน์ แต่เราก็ยังได้ยินเสียงเรียกร้องให้รัฐไม่ใช่ความรุนแรง

 แต่ในครั้งนี้เพียงคนเสื้อแดงประกาศจะชุมนุมโดยยังไม่ได้ทำ อะไรเลย แต่กลับมีกระแสเรียกร้องให้จัดการกับพวกเขาโดยเด็ดขาด  สงสัยว่าพวกคนเสื้อแดงไม่ใช่คนเหมือนคนเสื้อเหลือง หรืออย่างไรครับ

ผม คิดว่าหากเรายังมีมโนสำนึกในความเป็นธรรมและขันติธรรมที่จะยอมรับ ความเห็นที่แตกต่าง

เรา ไม่ควรนิ่งเฉยและปล่อยให้การโหมกระพือเพื่อปูทางไปสู่การใช้ความ รุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมือง

หา ไม่แล้วเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ยินยอมพร้อมใจให้มีการใช้ความ รุนแรงเข่นฆ่าผู้ชุมนุมทางการเมือง”

ขอ จบด้วย ฉบับที่ 2 จาก ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่ว่า “ป๋วย อึ๊งภากรณ์-สันติประชาธรรม:  วิธีที่จะนำไปสู่เป้าหมายหรือประชาธรรม กล่าวคือ จะต้องมีเสรีภาพ จะต้องมีภราดรภารพ จะต้องมีสมรรถภาพและจะต้องมีธรรมะ นั้น วิธีการที่ดีที่สุด คือ สันติวิธี อย่าใช้วิธีรุนแรง ต้องพยายามที่จะใช้สติปัญญาของเราเป็นประโยชน์ แทนที่จะใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย ทำให้เกิดสิ่งที่เราต้องการ หวังว่า....จะคู่กันไปด้วยสันติประชา ธรรม ขอบคุณ (ปาฐกถาในฐานะอธิการบดีฯ 13 มิถุนายน 2518)”




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ