ReadyPlanet.com
dot dot
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ

 

                แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
ความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียนก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย
มหาสุรารินทร์
 
กระแสเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนซึ่งสงผลกระทบไปทั่วไปโลก จึงมีการรณรงค์ลดร้อนโกลหรือเรียกอีกอย่างแบบสบัดสำนวนว่า “ซับเหงื่อให้โลก” ตลอดระยะเวลา 2 -3 ปีที่ผ่านมา
วิกฤต“โลกร้อน”กับปรากฏการณ์“เอลนิโญ” ช่วงเดียวกันยามนี้ ย่อมส่งผลกระทบถึงผู้คนและดินแดนประเทศไทยแน่ๆ
ปริมาณน้ำท่าในลำน้ำต่างๆลดลง และความชุ่มชื้นของดินหมดเร็วกว่าปกติ เพราะช่วงฤดูฝนปีที่ผ่านมามีฝนน้อย หรือฝนหยุดตกเร็วกว่าที่เคยตก เมื่อวิกฤตกับปรากฏการณ์ซ้ำเติมเข้าอีก ก็ยิ่งคับขันมากขึ้น
แม่น้ำโขง มหานทีแห่งชีวิตสายนี้ ได้ถูกกระแสเรื่องโลกร้อนกระทบด้วย ข่าวการลดลงของระดับอย่างรวดเร็วจนเป็นกระแสข่าวที่ตื่นตระหนักไปทั่วทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ เหตุหนึ่งมาจากโลกร้อนและอีกสาเหคุหนึ่งมาการการปิดเขื่อนในจีนซึ่งเป็นประเทศต้นน้ำ การปิดเขื่อนในประเทศจีนย่อส่งกระทบกับประเทศท้ายน้ำอย่างปฎิเสธไม่ได้
ขณะเดียวกันทางการ จีน มหาอำนาจแห่งเอเชียหรืพญามังกรผู้ตื่นหลับใหลหลังสงครามเย็นปฎิเสธว่าระดับน้ำลกไม่ไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนในจีนแต่อย่างใด
จากเอกสารการรายงานของ กองทุนเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ ในสุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรมหนังสือพิมพ์มติชนฉบับ 18 กุมภาพันธ์ 2553 รายงานว่า
สงคราม(โลก)แย่งชิงน้ำ 
“น้ำจืดกำลังขาดแคลนทั้งโลก” อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนบอกไว้ในข้อเขียนชุด“แบ่งปันความรู้ เชิดชูศาสนา พัฒนาแหล่งน้ำลำคลอง”  พิมพ์ในมติชน ฉบับวันเกิด (วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2553)
แล้วย้ำต่อไปอีกว่า  “สงคราม” แย่งชิงน้ำได้เกิดขึ้นจริงในบางท้องที่ และเชื่อกันว่าหากไม่แก้ไขปัญหานี้ให้ลุล่วงได้แล้ว “สงคราม” ประเภทนี้จะขยายวงกว้างต่อไป แม้แต่ในประเทศเขตมรสุมก็ตาม 
ในจำนวนประชากรที่มีอยู่ และในเศรษฐกิจแบบนี้ อาจารย์นิธิบอกว่า การจัดการน้ำที่เหมาะสมสำหรับโลกที่กำลังขาดแคลนน้ำ จึงเป็นปัญหาใหญ่ของเราทุกคน        
ไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการน้ำ แต่การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ต้องมองภาพให้กว้างกว่าการเพิ่มการผลิตสินค้าส่งออก  แล้วอาจารย์นิธิชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของไทยว่า
“ในประเทศไทย การจัดการน้ำมักจะเพ่งเล็งประโยชน์ของภาคกลางเป็นหลัก เพราะถือว่าภาคกลางสามารถผลิตข้าวได้ปีละ 2-3 ครั้ง จึงพร้อมจะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กักน้ำไว้ในภาคเหนือ เพื่อเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงที่นาในภาคกลาง โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศของลุ่มน้ำทั้งสาย อันมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือการสร้างเขื่อนพลังงานบนทางน้ำในภาคอิสาน เพราะถือว่าพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนมีราคาต้นทุนในการผลิตถูกสุด”
“เมื่อพูดถึงระบบนิเวศ เราควรคิดถึงทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะแต่การดำรงชีวิตของคนเท่านั้น แต่ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ย่อมหล่อเลี้ยงทั้งสัตว์และพืชได้ด้วย การดำรงอยู่ของสัตว์และพืชตลอดจนระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ทั้งระบบย่อมมีผลดีต่อการดำรงชีวิตของคนอย่างแน่นอน”
สถานการณ์น้ำในประเทศไทยขณะนี้ แม้ไม่ถึงขั้น “น้ำแล้งไข้ ขอดหาย” แต่ก็ต้องเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ทั้งๆมีแม่น้ำลำคลองหนองบึงบุ่งทามเต็มไปหมด แต่ถูกเบียดเบียนบ่อนทำลายเกือบหมดเช่นกัน ทำให้ไม่เหลือ“ที่ซึ่งจะพึ่งพา”
ผลกระทบของการลดระดับในแม่น้ำโขง สว.ประสาร มฤคพิทักษ์ สว.สรรค์หาในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาคุณค่าการพัฒนาและผลกระทบในลุ่มน้ำโขงของวุฒิสภา ได้พาคณะสื่อมวลชนไปลงพื้นที่อำเภอเชียงแสน,เชียงของ และเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 6- 7 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนกับประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง และได้ล่องเรือในลำน้ำโขงบริเวณคอนผีหลง-เชียงของ-ปากอิง-ผาได โดยมีวิทยากรและผู้ทำงานเกี่ยวกับแม่น้ำโขง ไม่ว่าจะเป็น ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ปลาน้ำจืด และ อดีต สว.เตือนใจ ดีเทศน์ ร่วมทั้งครูตี๋ – นิวัฒน์ ร้อยแก้ว กลุ่มรักษ์เชียงของและโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต โดยการประสานงานของ คุณเพียรพร ดีเทศน์
จากการล่องเรือ 2 วัน และการพบปะชาวบ้าน และพบว่าในรอบ 10 วันที่ผ่านมาระดับน้ำซึ่งพบว่าระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีการขึ้นลงเร็วอย่างผิดปกติ ภาษาบ้านผมแถบอีสานเรียกว่า “เป็นตางึด”   
ตลิ่งของสองข้างทางน้ำของ - น้ำโขง มาจากไหน?
แม่น้ำโขง เป็นคำไทย แต่คำลาวเรียกว่า น้ำแม่ของ โขง กับ ของ เป็นคำเดียวกัน มีรากจากคำมอญว่าคลอง มีคำอธิบายของ สุจิตต์ วงษ์เทศ อยู่ในหนังสือท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง วีรบุรุษสองฝั่งโขง (มติชน พิมพ์ครั้งแรก 2548 หน้า 484) ดังนี้ พจนานุกรมมอญ-ไทย (ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน, 2531) ให้ศัพท์มอญไว้ 2 คำคือ โคฺลงฺ กับ คฺลงฺ อ่านว่า โคฺล้งฺ เหมือนกัน แล้วให้ความหมายว่า ทาง
คำมอญว่า โคฺลงฺ กับ คฺลงฺ นี่แหละ กลายเป็นคำไทยว่าคลอง แม้คำว่ากลองในชื่อแม่น้ำแม่กลองก็เพี้ยนมาจากคำมอญนี้เอง ทำให้น่าคิดว่าชื่อแม่น้ำโขงหรือของ น่าจะมาจากคำมอญว่า โคฺลงฺ กับ คฺลงฺ [ชาวขะมุ (ข่ามุ) ในลาวเหนือเรียกแม่น้ำนี้ว่าอมครอง]
แต่ลิ้นตระกูลไทย-ลาวออกเสียงอย่างมอญไม่ได้ จึงเรียกเป็นกาหลงก่อน นานเข้าก็กลายเสียงเป็นโขงหรือของตามถนัดลิ้นแต่ละท้องถิ่น แม้ชื่อแม่น้ำคง (สาละวิน) ในพม่าก็ได้ชื่อจากโคฺลงฺ กับ คฺลงฺ ของมอญเช่นกันนอกจากนี้ใน ธิเบต เรียก ต้าจู จีน เรียก ล้านช้าง กัมพูชา เรียก ตนเลธม และเวียดนาม เรียก กิ๋วล่อง
ชาตากรรมเกี่ยวกับมหานทีแห่งนี้ - ก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย
คำประกาศกรุงเทพฯ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ได้กล่าวไว้ว่า “ทรัพยากรธรรมชาติในภูมิภาคแม่น้ำโขงเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่ประชาชนทั้งหมดในภูมิภาคเป็นเจ้าของร่วมกัน ดังนั้น ไม่มีรัฐใดรัฐหนึ่งจะมีสิทธิในการตัดสินใจเพียงลำพังในการใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อันจะส่งผลกระทบข้ามพรมแดนต่อระบบนิเวศ”
ในยุคล่าอาณานิคม ราว ค.ศ. 1866 หรือ พ.ศ. 2409 คณะสำรวจแม่น้ำโขงโดยชาวฝรั่งเศส เดินทางสำรวจแม่น้ำโขงจากเวียดนามไปยูนนานหรือจะเรียกอีกอย่างว่า ฝรั่งเศสได้ใช้ แม่น้ำโขง เป็น ‘ประตูหน้า’ เข้าสู่จีน ถัดมาเมื่อสิ้นสุดสงครามเย็น จีน - มังกรแห่งเอเชียตื่นจากการหลับใหลพร้อมที่กลืนกินสรรพสิ่งและเริ่มสร้างเขื่อน ม่านว่าน โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1984 หรือ พ.ศ. 2527 พร้อมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงหรือที่รู้จักกันในนามการระเบิดแก่งหินต่างๆในลุ่มน้ำโขงกับการเป็น ‘ประตูหลัง’ ของจีนสู่อุษาคเนย์ ฉะนั้น แม่น้ำโขง จึงถูกใช้เป็นทั้งประตูหน้าและประตูหลังในต่างกรรมต่างวาระ
สองฝั่งสองฟากบ่เคยขวาง - ความหลากหลายทางชาติพันธุ์
กว่า 6 ประเทศที่ แม่น้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่มีความยาว 4,909 กม. ยาวเป็นอันดับ 10 ของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำทั้ง 804,381 ตกม.มากลำดับ 24 ของโลก ปริมาณน้ำมากเป็นลำดับที่ 10 ของโลก มีพันธุ์ปลากว่า 450 ชนิด มากเป็นอันดับ 3 ของโลก
ความหลากหลายเชิงนิเวศวิทยาของแม่น้ำสายนี้ได้ก่อเกิดเป็นชุมชนอันร่ำรวยด้วยวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆประวัติศาสตร์อันยาวนานก็ได้หล่อหลอมให้ดินแดนแห่งนี้ให้กลายเป็นอู่อารยธรรมข้ามพรมแดนรัฐชาติที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) เผยถึงการค้นพบสัตว์และพืชสายพันธุ์ใหม่ครั้งสำคัญ กว่า 1,000 ชนิดพันธุ์ในประเทศแถบลุ่มน้ำโขงในรอบทศวรรษที่ผ่านมา
ปัญหาความแห้งแล้งของแม่น้ำโขง คิดอะไรไม่ออกบอกว่าต้องสร้างเขื่อน?
ครูตี๋ – นิวัฒน์ ร้อยแก้ว แห่งกลุ่มรักษ์เชียงของ ตั้งประเด็นให้เป็นข้อสังเกต 6 ประเด็น คือ 1. เขื่อน 2. การระเบิดเกาะแก่งในลุ่มน้ำโขงตอนบน 3. การเดินเรืองพาณิชย์ 4.สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรริมโขง 5. การประมงที่ผิดวิธี เช่นการใช้ไฟฟ้าหรือการใช้ระเบิด และ 6. การรุกพื้นที่ชุ่มน้ำตามลำน้ำโขงและแม่น้ำสาขา
น้ำในแม่น้ำโขงเริ่มแห้งขอดลงจนน่าใจหาย ขณะที่ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาระดับน้ำลดลงผิดปกติ โดยในวันที่ 27 ก.พ.2553 ระดับน้ำอยู่ที่ 36 ซม.แต่ในวันที่ 28 ก.พ. 2553 ระดับน้ำอยู่ที่ 56 ซม.ซึ่งสูงกว่าวันที่ 27 ก.พ.ถึง 20 ซม. และวันที่ 7 มี.ค.2553 ระดับน้ำอยู่ที่ 65 ซม.จะเห็นได้ว่าน้ำเพิ่มขึ้นถึง 20 ซม.ภายในวันเดียวทั้งที่ฝนไม่ตก และไม่มีน้ำในแม่น้ำสาขาอื่นมาเติม เพราะแม่น้ำสาขาล้วนแห้งขอดทั้งหมด อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบในปี 2551 ซึ่งน้ำท่วมหนักในอำเภอเชียงของ เชียงแสน และเวียงแก่น วัดระดับน้ำได้ดังนี้ คือวันที่ 11 ส.ค. 2551 มีระดับน้ำอยู่ที่ 11.18 ซม. วันที่ 12 ส.ค. 2551 ระดับน้ำอยู่ที่ 12.50 ซม.และวันที่ 13 ส.ค. 2551 ระดับน้ำอยู่ที่ 13.60 ซม. 
เขื่อนที่สร้างมาในโลกมีประโยชน์และมีความสำคัญต่อการพัฒนาของมนุษย์ แต่ว่าอย่างไรก็ตามผลประโยชน์ที่ได้จากเขื่อน ไม่ว่าจะเป็น น้ำ ไฟฟ้า หรือระบบชลประทาน ถูกจ่ายด้วยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและชาวบ้านที่เดือดร้อนจากเขื่อน โดยที่ผลประโยชน์ไม่ได้มาถึงชาวบ้านเหล่านี้เลย
ระดับน้ำที่ขึ้น – ลงผิดปกติ ส่งผลโดยตรงต่อการอพยพของปลาในแม่น้ำโขงตนหาปลาให้ข้อมูลตรงกันว่า ปลาที่อพยพขึ้น – ลงในแม่น้ำโขงเกิดอาการหลงน้ำ คือ ทั้งที่เป็นช่วงน้ำขึ้น แต่ระดับน้ำกลับไม่ขึ้นตามฤดูกาล ทำให้ปลาไม่ว่ายขึ้นมาสวางไข่ตามวงจรธรรมชาติ
รวมทั้ง การทับถมของตะกอนทราย การพังทลายของตลิ่ง การลดลงของไกหรือสาหร่ายแม่น้ำโขง ผลกระทบต่อพันธุ์ปลา และการหาปลา แม้กระทั่ง ผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมของคนหาปลาและเกษตรริมโขง ซึ่งเป็นผลกระทบที่คนท้ายน้ำได้รับไปเต็มๆ อย่างหลีเลี่ยงไม่ได้
ครูตี๋ – นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ทิ้ววรคทองไว้วรรคหนึ่งในนักวิชาการใคร่ครวญคิดว่า
“ถ้าคนสร้างเขื่อนไม่สามารถห้ามฝนตกเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนได้จะเชื่อว่า แม่น้ำโขงลดลงไม่เกี่ยวกับเขื่อนจีน”
โลกร้อนที่ใครๆต้องฟัง – เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว
แม่น้ำลำคลองเหล่านี้ นอกจากจะเป็นเส้นทางคมนาคมธรรมชาติแล้ว ยังเป็น “แหล่งน้ำ”สำคัญมากต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน
แต่เรารู้จักแหล่งน้ำเหล่านี้น้อยไป ทั้งๆมีประวัติศาสตร์สองฝั่งนับหลายร้อยหลายพันปี
นักประวัติศาสตร์โบราณคดีของไทยไม่ให้ความสำคัญเรื่องเส้นทางน้ำและแหล่งน้ำ ฉะนั้นในแผนที่อยุธยาจะไม่มีสิ่งเหล่านี้ หรือจะมีก็มีอย่างเสียมิได้
“การจัดการน้ำที่เหมาะสม ต้องถือประชาชนผู้ใช้น้ำในพื้นที่เป็นเป้าหมายหลัก” อาจารย์นิธิเน้น “แต่จะสามารถทำให้ประชาชนใช้น้ำเพื่อดำรงชีวิตและพัฒนาตนเองต่อไปได้อย่างไร ไม่ควรถือจีดีพีซึ่งไม่สัมพันธ์กับชีวิตของคนส่วนใหญ่เป็นเป้าหมายหลัก” 
ในขณะเดียวกันต้องเข้าใจด้วยว่า ประชาชนไทยในทุกท้องถิ่น ไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือย หากมีภูมิรู้ที่ได้สั่งสมมานาน รวมทั้งได้ประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง จึงต้องคิดถึงการจัดการน้ำที่ให้อำนาจแก่ประชาชนในท้องถิ่นจัดการด้วยตัวเองด้วย
“แหล่งน้ำสำคัญต่างๆต้องพยายามรักษาไว้ แม้ต้องลงทุนมากก็ควรกระทำ” อาจารย์นิธิบอกเพิ่มเติมว่า แต่การรักษาแหล่งน้ำนั้นไม่ได้หมายถึงการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำแต่เพียงอย่างเดียว หากควรคิดถึงการทำงานของธรรมชาติให้มาก ฉะนั้นนอกจากการรักษาป่าและฟื้นฟูป่าขึ้นมาในเขตต้นน้ำให้มากแล้ว ยังรวมถึงการรักษาระบบนิเวศของลุ่มน้ำไว้ด้วย
สว.ประสาร กล่าวว่า สาเหตุที่น้ำโขงแห้ง หากเกิดจากภาวะโลกร้อน จะต้องมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ แต่การที่ระดับน้ำโขงขึ้นเร็วในเดือนส.ค. 2551 และลงเร็วในเดือนม.ค. - ก.พ. 2553 แล้วกลับมาขึ้นเร็วเมื่อ 28 ก.พ. 2553 เนื่องมาจากการเก็บกักและการปล่อยน้ำจากเขื่อนเป็นด้านหลัก นอกจากนี้นางเตา หลินอิว ผู้ว่าเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ได้แจ้งทางโทรศัพท์กับนายสุเมธ แสงนิ่มนวล ผวจ.เชียงราย เมื่อปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมานี้ว่า มณฑลยูนนานแห้งแล้งมาก จึงต้องเก็บกักน้ำในเขื่อนไว้ อย่างไรก็ตามชะตากรรมของ 5 ประเทศท้ายน้ำจึงต้องขึ้นอยู่กับเมตตาธรรมของจีนว่าจะเปิดหรือปิดเขื่อนอย่างไร เพราะขณะนี้เสมือนว่าจีนจะถือเอาแม่น้ำโขงเป็นสมบัติของตนเอง
สอดคล้องกับ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ที่บอกว่า ปัญหาแม่น้ำโขงนั้นมาจากภาวะโลกร้อน แต่เขื่อนเป็นตัวเร่งที่ทำให้แม่น้ำโขงตามเร็วขึ้น รวมทั้งการปลูกต้นยางและการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาขาที่เริ่มกลายเป็นลำธาร การลดลงของแม่น้ำโขงส่งผลให้ลำน้ำสาขาที่ให้น้ำแก่ลำน้ำโขงก็แห้งขอดด้วยเช่นกัน
อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียน
ตลิ่งของสองข้างทางน้ำของ                
แม้ยืนมองอยู่ยังคอตั้งบ่า
เขาหาบน้ำตามขั้นบันไดมา                                 
แต่ตีนท่าลื่นลู่ดั่งทูเทียน
เหงื่อที่กายไหลโลมลงโทรมร่าง                        
แต่ละย่างก้าวยันสั่นถึงเศียร
อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียน                               
ก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย
คงไม่มีใครบอกเล่าเความรู้สึกเกี่ยวกับแม่น้ำโขงผ่านบทกวีได้ดีเท่าบทกวีสำนวนนี้ของ นายผี ซึ่ง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ยกให้เป็น มหิทธาแห่งบทกวี เลยทีเดียว
แม่น้ำสายประวัติศาสตร์สายหนึ่งที่ครั้งอดีตถูกขีดเส้นให้แบ่งความสัมพันธ์ของคนทั้งสองฝั่งออกจากกันบทกวีชิ้นให้คนที่ไม่เคยได้รับรู้ความเป็นไปของแม่น้ำสายนี้ได้รับรู้เขาหาบน้ำตามขั้นบันไดมา แสดงให้เห็นว่าคนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำของได้อาศัยแม่น้ำสายนี้เป็นที่เลี้ยงชีวิตมาชั่วหลายอายุคนแล้ว
“แหล่งน้ำ”ของชุมชนปัจจุบัน จะได้บำเพ็ญตนร่วมทุกข์ร่วมสุขเป็นประโยชน์ต่อสังคมบ้างซึ่ง ปัจจุบันได้ถูกรุกรานจากตึกรามบ้านช่องและเศรษฐกิจที่หวังผลตอบแทนทางมูลค่าที่ให้ความสำคัญมากคุณค่าเพราะนอกจากแม่น้ำลำคลองหนองบึงบุ่งทามแล้ว ยังมีคูเมือง, สระ, ตระพัง, บาราย, ฯลฯ อีกมากในอีสานและจังหวัดอื่นๆที่“พัฒนาแหล่งน้ำลำคลอง”ให้สอดคล้องวิถีชีวิตทุกวันนี้ได้ดียิ่ง
แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นในภูมิภาคลำน้ำโขงมีแม่น้ำสาขาหลายสายที่ให้น้ำแก่แม่น้ำโขง แม้ว่าจะไม่มาก เช่น ลาว แต่ทว่าลำน้ำสาขาหลายสายก็แห้งขอดไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำอิง หรือแม่น้ำกก ดั่งที่พบเห็นในช่วยที่สำรวจผลกระทบอันเกิดขึ้นกับแม่น้ำโขง ทั้งนี้อาจรวมไปถึงลำน้ำสาขาในภาคอีสานไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำเหือง แม่น้ำเลย แม่น้ำสงคราม แม่น้ำมูน ที่ร่วมบ่มเพาะให้มหานทีแห่งเป็นสายน้ำแห่งชีวิตและมรดกโลกของอุษาคเนย์                      
อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียนก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย

  

ระดับน้ำที่ลดลงจนเห็นได้ชัด

  

ระดับน้ำที่แห้งตรงหน้าผาพระฝั่งลาว / แสงใหม่ของรุ่งวันที่ริมน้ำโขง

  

หาดทรางที่แห้งกรังทอดตัวยาว

  

ปากน้ำอิงที่แห้งขอด / น้ำที่แห้งขอดของปากน้ำแม่อิง

  

บริเวณผาได / การตักทรายซึ่งส่งผลกระทบกับแม่น้ำโขง




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ