ReadyPlanet.com
dot dot
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา

 

สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
กับ 50 ปี สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต :รายงาน/ ผู้สื่อข่าวบ้านไพร : ภาพ
 
จาก ‘สุวรรณภูมิ’ มา ‘กว่างโจว’ ถึง ‘หนานหนิง’
 
“จ้วง”เป็นชื่อสมมุติเรียกเครือญาติพี่น้องที่พูดตระกูลภาษาไทย-ลาว มีประชากรมากกว่า 13 ล้านคน มณฑลกวางสี ติดกับมณฑลกว่างตุ้ง ตอนใต้ลุ่มน้ำแยงซี ในจีนแผ่นดินใหญ่
ระหว่างวันที่ 14 – 20 พฤษภาคมที่ผ่านมาได้มีโอกาสติดตามคณะเดินทาง สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย  อ.ยุทธ โตอดิเทพย์ นายกสมาคมฯ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปสัมพันธ์วรรณกรรมและทัศนศึกษายังเขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงมณฑลกว่างสี สาธารณะรัฐประชาชนจีน โดยมี วิทยาลัยวัฒนธรรมจีน สาขา มณฑลกว่างสี ผอ.เฉิ่นจื่อลี่ และรอง ผอ.หลุ่ยฉื่อ กับเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยฯให้การต้อนรับไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ฉวุ่ยลี่คูน ,อาจารย์ปานจิ้งฌศีย ,อาจารย์จางซูอิง, อาจารย์หนงจู่หรง 7 วัน  และ อาจารย์หนงเศี่ยเฟิน ดูแลคณะเราอย่างดีตลอด
เรานั่งเครื่องบินสองต่อ คือ ออกจากสุวรรณภูมิมายังสนามบินกว่างโจว มณฑลกว่างตง เห็นความโอ่อ่าของสนามบินแห่งนี้ไม่แปลกเลยที่เมืองที่จะเป็นเจ้าภาพเอเซี่ยนเกมส์ครั้งที่ 16 ในปลายปีนี้และเมืองกว่างโจวแห่งนี้เป็นหน้าด้านสำคัญทางภาคใต้ของจีนทั้งศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ กาพาณิชย์ การคมนาคม และวัฒนธรรมทางภาคใต้ของจีน
โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับกับคนสยามในปัจจุบัน คนจีนโพ้นทะเลที่มาจากเมืองซัวโถวหรือซัวเถา อดีตเมืองท่าเล็กๆที่ค่อนข้างจะยากจนทางภาคเหนือด้านตะวันออก ริมทะเลใต้ มณฑลกว่างตง หลังจากเปิดประเทศ เมืองซัวเถาพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเป็นเมืองทันสมัยในปัจจุบัน
คนชัวเถามีญาติพี่น้องอยู่ต่างประเทศเป็นชาวจีนโพ้นทะเล และส่วนมากอยู่ในประเทศไทย ร้อยละ 95% จีนไทยเชื้อสายจีนเป็นคนซัวเถา (เต้จิ๋ว)
บ่ายคล้อยที่จีนเวลาเร็วกว่าบ้านเรา 1 ชั่วโมง เวลาท้องถิ่น 14.00 น.เราถึงสนามบินหนานหนิงซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองหนานหนิงราว 10 กิโลเมตรเห็นจะได้ อาจารย์ฉวุ่ยลี่คูนผู้ประสานที่ติดต่อระหว่าง ทองแถม นาถจำนง ฝ่ายไทยในการเดินทางมา มณฑลกว่างสี ของคระเราครั้งนี้มารอเราอยู่สนามบินก่อนที่เราจะเดินทางไปยัง วิทยาลัยวัฒนธรรมจีน สาขามณฑลกว่างสี ซึ่งเป็นเจ้าภาพรับรองคระเราตลอดการเดินทาง
เมื่อเข้าห้องพักรับรองซึ่งหนึ่งห้องต่อหนึ่งคน เราได้พบกับ อ.หลุ่ยฉื่อ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยวัฒนธรรมจีน สาขามณฑลกว่างสี มาให้การต้อนรับ พร้อมมมอบถุงย่ามที่ระลึกซึ่งเป็นลายพื้นเมืองชาวจ้วงให้กับคณะพวกเราพร้อมกับพูดคุยแลกเปลี่ยน ซึ่งท่านรองฯ หลุ่ยฉื่อ เกรงว่าคณะเราจะมาไม่ได้เนื่องจากความสงบเรื่องการเมืองภายในกรุงเทพฯ ที่กำลังเดือดปะทุ
วิทยาลัยแห่งนี้ตั้งขึ้นไม่นานนี่เอง เมื่อ ตุลาคม ปี 2552 ที่ผ่านมมา ซึ่งทำหน้าที่สองด้านในบทบาทของ วิทยาลัย ฯและสถาบัน
คือ ในส่วนของ วิทยาลัยฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ฝึกอบรมเตรียมนายอำเภอและรองนายอำเภอ ด้านวัฒนธรรม เรายังทราบมาอีกว่า รัฐบาลจีนนั้นไม่ได้เพียงแค่พรรคฯ เดียวอย่างที่เข้าใจมาตลอด แต่มีพรรคเล็ก พรรคน้อย รวมบริหารประเทศอยู่ด้วย และ รองนายอำเภอ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 90% มาจากสัดส่วนของพรรคเล็ก พรรคน้อย นั่นเอง
ส่วน สถาบันฯ นั้นทำหน้าที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนโดยรัฐบาลจีนใช้เมืองหนานหนิงเป็นศูนย์กลางโดยเฉพาะให้ความสำคัญกับประเทศไทยในฐานะสะดึออุษาคเนย์ อนึ่ง เป็นเป็นเพราะ ประเทศไทย มีพรหมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและเคยเป็นศูนย์กลางการค้าแลกเปลี่ยนสินค้ามาแต่อดีตในยุคสุวรรรภูมิที่เรียกว่า “ยุคเรือใบถึงเรือบิน” ตามสำนวนของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ให้น้ำหนักเรื่อความรู้เกี่ยวกับ สุวรรณภูมิ ที่เป็นจุดนัดพบนานาชาติเส้นทางการค้าตะวันออก – ตะวันตก
ที่ผู้คนและพ่อค้าจากฮั่น (จีน) มาค้าขาย กับชมพูทวีป และ เปอร์เซีย โดยมี สุวรรณภูมิเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้า ภาษาอาจเดินทางมากับพ่อค้าพร้อมกับผู้คน
จากเอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง ชาวจ้วง พี่น้องของชาวไทยและลาวแต่ครั้งบรรพกาล เรียบเรียงโดย ทองแถม นาถจำนง ได้กล่าวถึงเส้นทางโบราณไป่เยวี่ย : การอพยพของชนชาติและการติดต่อซึ่งกันและกัน ไว้ว่า
“ไป่เยวี่ย” เป็นคำที่จดหมายเหตุโบราณของจีนใช้เรียกบรรพชนของชาติจ้วง
“เส้นทางป่เยวี่ยโบราณ” เป็นชื่อเส้นทางคมนาคมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อยู่ททางภาคคตะวันตกเฉียงใต้ของกวางสี ในระยะเริ่มแรก “เส้นทางโบราณไป่เยวี่ย” เป็นเส้นทางอพยพของชนเผ่าต่างๆ ต่อมาพัฒนาจนกลายเป็นเส้นทางในการติดต่อการค้าที่สำคัญ จากภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกว่างสีไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการนุรักษ์เขต ปัจจุบันยังมีโบราณสถานที่สำคัญที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งคือ “ไปเยวี่ยปอ – เนินเขาไป่เยวี่ย” ที่นอกอำเภอเต๋อเป่า ทางทิศตะวันออก “ไป่เยวี่ย” แห่งนี้มีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ต่อการวิจัย การอพยพในช่วงต้นต้นๆ ของจ้วงและชาวไท
คณะของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย จึงถือเป็นคณะชุดแรกที่ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเครือญาติชาติภาษากับวิทยาลัยวัฒนธรรมจีน สาขา มณฑลกวางสี
 
ผาลาย - ฮวาซาน ภาพเขียนสี ยุคชุนชิว : สำริด วัฒนธรรมสุวรรณภูมิ
 
นอกจากนี้ยังมีกวีซีไรต์ โชคชัย บัณฑิต’ บัญชา เฉลิมชัยกิจ แห่งสำนักพิมพ์สุขภาพใจ ,นิพัทธ์พร แพ่งแก้ว .สฤษดิ์ ผาอาจ มาไกลจากยะลา และคณะทั้งหมดรวม 11 คน โดยมี ทิมทอง นาถจำนง เป็นล่ามแปลทางฝ่ายไทย และฝ่ายจีนน้องลิลลี่ - เฝิงเชี่ยวลี่เคยมาเรียนอยู่ ม.ราชภัฎพระนครศรีอยุธยา เป็นล่ามทางจีนชื่อของเธอแปลความหมายว่าดอกไม้ที่สวยเหมือนอย่างหญิงงามและชาญฉลาด ผมว่าจะตั้งชื่อภาษาไทยให้เธอว่า สุมาลี (ช่างคล้ายกับชื่อประธานสโมสรนักเขียนฯ ยังไงๆ) ซึ่งมีความหมายใกล้เคียง
เมื่อพูดถึง กว่างสี หลายคนมักจะนึกถึงหรือถามว่าได้ไป กุ้ยหลิน แหล่งท่องเที่ยวที่ได้ชื่อว่า เมืองสวรรค์ แต่ทว่า กว่างสีมีอะไรที่น่าศึกษาและค้นคว้ามากมายหลายเรื่องทั้ง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์วรรณา และภาษาศาสตร์
ตลอดระยะเวลา 7 วันเราค้างแรมที่วิทยาลัยอยู่ 5 คืน อีกคืนนั้นเราเดินทางไปค้างที่ โรงแรมฮวาซานฟงฉิ่งเหลา ที่อำเภอหนิงหมิง เมื่อถึงที่พัก คณะเจ้าหน้าที่อำเภอหนิงหมิง นำคณะโดย เจ้าลู่กุ้ยรองนายอำเภอหนิงหมิง และคณะเจ้าหน้าที่มาให้การต้อนรับในภาคค่ำมีแสดงพื้นบ้านของทางโรงแรมจัดไว้ให้ชมพร้อมกับร่วมสนุกท้ายภาษาความคล้องจองในวิถีของเครือญาติชาติภาษาตระกูลเดียวกันอย่างสนุกสนาน
รวมทั้ง การเต้นกระทบไม้ เหมือนกับ ลาวกระทบไม้ และการแสดงเลียนแบบภาพผู้คนบนหน้าผาฮวาซาน หรือ ภูเขาดอกไม้ และ การละเล่น ชิ่วเฉียง หรือ ลูกบอลถักที่ใช้สำหรับหนุ่มสาวบอกรักกัน ที่ปัจจุบันกลายเป็นของที่ระลึก
ชิ่วเฉียง หรือ ลูกบอลถักก็เหมือนกับการละเล่นลูกช่วง ชาวจ้วงมีประเพณีหนึ่งที่เรียกว่า เทศกาลเยวี่ยซาน ในเดือนสาม ประเพณีการละเล่นลูกช่วงระหว่างหนุ่มสาว เป็นสิ่งแสดงถึงความเชื่อใจ ซื่อวัตย์ในความรักระหว่างหนุ่มสาวชาวจ้วง แม้ปัจจุบันได้เป็นสัญลักษณ์ของการนำโชค ทางโรงแรมเตรียมไว้ 12 ลูก เพื่อโยนมาตรงที่คณะเราอยู่ด้านหน้า เรามา 11 คน กลายเป้นว่ามีผมคนเดียวที่ได้สองลูกแต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะสองใจนะครับ
อำเภอแห่งนี้แหละมี คณะของเราได้ล่องแม่น้ำหมิงเจียงชมทิวทัศน์ที่เป็นเทือกเขาหินปูนที่ชื่อ ฮวาซาน หรือ ผาลาย ที่มีภาพเขียนสีผนังหน้าผาอยู่ 3 จุดใหญ่ที่เป็นเวิ้งน้ำขนาดกว้างอยู่ฝั่งเดียวกัน ซึ่งนักประวัติศาสตร์จีนให้ความสำคัญเรื่องนี้มากไม่ด้อยไปกว่า เรื่อง กลองมะโหระถึก และเพลงพื้นบ้านของชาวจ้วง
ผาลาย ใครเขียน? เขียนทำไม? และเขียนได้ยังไงเมื่ออยู่หน้าผาสูงชั่น อยู่ของภาพทางจีนได้ให้คำตอบว่าน่าจะอยู่สมัยชุนชิว อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึงเรื่อง ศิลปะถ้ำและชาวสุวรรณภูมิ ไว้ตอนหนึ่งว่า
                แม้ภาพที่ปรากฎในศิลปะถ้ำอาจบอกเราไม่ได้มากนักถึงสังคมและเศรษฐกิจของยุคหินใหม่ การขุดค้นด้านโบราณคดีในที่ต่าง ก็ให้ภาพของสังคมเกษตรกรรมที่กำลังพัฒนาไปสู่ความลดหลั่นกัน,มีความชำนาญเฉพาะด้านที่สืบทอดกันในชุมชน เช่น การถลุงโลหะ,การประมง,การหล่อสำริด,การทำเครื่องปั้นดินเผา,น่าจะมีความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย ฯลฯ เป็นต้น
                จริงๆ กลองสำริดและผาลาย คือ สัญลักษณ์สำคัญอันยิ่งใหญ่ที่น่าภคภูมิใจมาที่สุดสองอย่างทางประวัติศาสตร์ของชาวจ้วง ขณะเดียวกันวัฒนธรรมของผู้คนในแถบแผ่นดินสุวรรณภูมินั้นถือว่าเป็นวัฒนธรรมสำริดที่มีอายุมากกว่าสองพันกว่าปีแล้ว ฉะนั้น กลองสำริดเป็นโบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่ง ของประวัติศาสตร์จีนภาคใต้และอุษาคเนย์
ในกว่างสีนั้นค้นพบกลองสำริดมากที่สุด และน่าจะมีมากกว่า ดองซอน ในเวียดนามเสียอีก ในปัจจุบันได้จัดแสดงนิทรรศการไว้ที่พิพิธภัณฑ์ชนชาติ เมืองหนานหนิง เก็บรักษา กลองสำริด 500 กลอง นับเป็นสถานรักษากลองสำริดไว้มากที่สุดในโลก ทั้งนี้ยังไม่นับที่ชาวบ้านเก็บไว้เองอีกมากมาย
นอกจากนี้ มีพิธีขอให้การเกษตรสมบูรณ์ ช่วยการบูชากลองมโหระทึก มีรูปตะวัน กบ หอย ก่อนทำนา เมื่อเกิดภัยน้ำท่วม ก็มีพิธีกรรมกลองมโหระทึกเช่นกัน การค้นคว้าเกี่ยวกับ มโหระทึกทำอะไรได้บ้าง ยังเป็นจุดอ่อนที่ต้องศึกษาซึ่งกลุ่มถูเหล่า(ผู้ไต่) ใต้มณฑลยูนาน มณฑลกวางสี ต่อชายแดนเวียดนาม จุดนี้แหละจะเป็นกุญแจไขคำตอบ ต่อชนชาติไท โดยศึกษาอย่างละเอียดจาก ภาษา เครื่องแต่งกาย พิธีกรรม โดยเฉพาะจะโยงถึงสามเหลี่ยมวัฒนธรรมสำริดได้
จากบ้านเชียงของไทย เตียน(อำเภอฉู่ฉง คุนหมิง) กับดองซอนเวียดนาม เมื่อสองพันสามพันปีก่อน รูปคนสวมขนนก ตีกลองมโหระทึก แสดงลวดลายกิจกรรมวัฒนธรรมที่ตัวกลอง และสะท้อนกับการตีทำฆ้อง ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย นี่ก็เป็นวัฒนธรรมมโหระทึก ไปถึง เกาะดาร์มากัสกา
ดังนั้น ยุคสำริด จึงยิ่งใหญ่มาก และถ้าศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้ง ก็จะพบรากเหง้าเดียวกันได้ และนี่คือการสมานฉันท์ทางประวัติศาสตร์ด้วย
โดยเฉพาะ พิพิธภัณฑ์ชนชาติกว่างสี ที่เปิดให้เข้าชมในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความรู้เรื่องวัฒนธรรมกลองมะโหระถึก และยังอนุญาตให้บันทึกภาพได้ด้วย โดยเฉพาะกลองมะโหระถึกที่มีหลายขนาดและรูปแบบรวมทั้งใบใหญ่ที่เป็นลายก้นหอยขม นอกจะพบที่กว่างสีแล้วในประเทศไทยยังพบที่จังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย
หอยขม เป็นเมนูหนึ่งที่มากว่างสีแล้วต้องกิน และเท่าที่รู้ จีนฮั่นไม่กินหอยขมครับ กินแต่จีนจ้วงเท่านั้น ผมมาคราวนี้ก็ได้กินมีอยู่มื้อหนึ่งที่ทางวิทยาลัยเลี้ยงรับรองที่พบกับท่านผอ.เฉิ่นจื่ลี่ ซึ่งถือเป็นการเลี้ยงมื้อใหญ่ของทริบนี้ ฉะนั้น แกงหอยขม จึงเมนูแนะนำเลยก็ว่าได้
 
ภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาจ้วง เครือญาติชาติภาษา
 
ตั้งแต่ ค.ศ.1830 นักวิชาการจีนเริ่มวิจัยเรื่อง จ้วง-ไท คนแรก คือ สาธุคุณสฺวี ซง สือ(Princeston.Shu) พ่อเป็นฝรั่งเศส แม่เป็นชาวจ้วง คณะเราจะได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับชาวบ้านที่เป็นชนเผ่าจ้วงซึ่งชนกลุ่มน้อยของประเทศจีนที่มีประชากรมาที่สุดกลุ่มหนึ่ง ลักษณะภาษาคล้ายกับภาษาไทยลาวและไทยใหญ่
ต่อมา ศาสตราจารย์ฟาน หง กุ้ย มหาวิทยาลัยกวางสี พิมพ์เผยแพร่หนังสือชื่อ “เกิดจากบ้านเดียวกัน” และสรุปว่า จ้วงกวางสีกับไท เป็นพี่น้องกัน รวมถึงกวางตุ้งด้วย
จากงานของ ศาสตราจารย์ฟาน หง กุ้ย สันนิษฐานว่า ก่อนคริสตศักราช 800 ปี จ้วงกับไท อยู่ด้วยกัน และเริ่มกระจายย้ายแยก เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ แตกกิ่งต่างกันไป ต่อมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมณฑลกวางสี ทำวิจัยในเมืองไทยครั้งแรก โดยสรุป จ้วงเป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชน ลั่ว, เยวี่ย, ซีโอว ที่มณฑลกวางสี เพิ่งแยกกันระหว่างศตวรรษที่ 3 ถึงศตวรรษที่ 6 และไปผสมกับเผ่าอื่น ๆ กระทั่งแยกออกจากกันชัดเจน 
ต่อมา หวง ฉิน สง ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ลาว” และให้ข้อสันนิษฐานใหม่ใกล้เข้ามาอีกว่า จ้วง กับ ไท แยกกันประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 600 ถึง 900 กลุ่มชนที่ใช้ภาษาคล้ายๆ จ้วงเหล่านี้ รวมเรียกกลุ่มภาษาไท-กะ-ได เมื่อก่อน นักภาษาศาสตร์จัดให้ปนกับกลุ่มภาษาชิโนธิเนตัน หรือภาษาฮั่น-ธิเบต ความเชื่อนี้นานนับร้อยปี จนประมาณ 10กว่าปีมานี่ เกิดทฤษฎีใหม่มาล้มทฤษฎีเก่า ความจริงภาษาไทกับจีน ไม่ควรอยู่ตระกูลเดียวกัน มีคำโดดน้อยคำเท่านั้นคล้าย แต่การเรียงคำ ไวยากรณ์ตรงกันข้าม เช่น กงจี แปลว่า ผู้ไก่ แต่ไทเรียก ไก่ผู้ ภาษาฮกเกี้ยน(กวางตุ้ง)ยังมีร่องรอยโบราณตรงกับไทมากกว่า คือเรียก ไก่ผู้ เหมือนกัน   
จากบทความของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ในหนังสือ สุวรรณภูมิ ต้นกระแสประวัติศาสตร์ ได้พูดถึงตระกูลภาษาจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 5 ตระกูล
1.ตระกูล มอญ – เขมร หรือ ออสโตรเอเซียติก (Austroasiatic Languge Family) เช่น พวกมอญ เขมร ลั่ว ละว้า และบรรดากลุ่มที่คนอื่นๆ เรียกอย่างดูถูกว่า ข่า ส่วย ม้อย ฯลฯ แยกเป็นภาหลักและภาษาถิ่นย่อยๆ อีกมาก ล้วนมีหลักแหล่งดั่งเดิมบนผืนแผ่นดินใหญ่ของอาคเนย์
2.ตระกูลชวา – มลายู หรือ ออสโตรเซียน หรือมาลาโยโพลินีเซียน (Austronesian or Malayo-Polynesian Language Family) เช่น พวกชวาและหมู่เกาะอินโดนีเซีย มลายู จาม ฯลฯ มีหลักแหล่งตามชายฝั่งและหมู่เกาะทางตอนใต้ของอาคเนย์ รวมทั้งมอเก็นหรือ “ชาวเล” และ “เงาะ”
3.ตระกูลไทย –ลาว (Tai-LaoTai-Lao Language Fanily) เช่นพวกไทย ลาว จ้วง หลี อาหม ฯลฯ มีหลักแหล่งทั้งหุบเขาและทุ่วราบบนผืนแผ่นดินใหย่ของอาคเนย์ บริเวณตะวันออก – ตะวันตกสองฝั่งโขง
4.ตระกูลจีน – ทิเบต (Sino Tibetan Languae Family) เช่น กะเหรี่ยง อะข่า (อีก้อ) ปะดอง ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีพวกพม่า –ทิเบตด้วย
5.ตระกูลม้ง – เมี่ยนหรือแม้ว –เย้า (Hmong-Mien or Miao-Yao Language Family) เช่น ม้ง (แม้ว) เมี่ยม (เย้า) มีกลักแหล่งอยู่บนดอยสูงททางตอนเหนือของผืนแผ่นดินใหย่อาคเนย์
คนทั้ง 5 พวกนี้ล้วนเป็น “เครือญาติ” กันหมดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เครือญาติชาติพันธุ์ เครือญาติชาติทางภาษา เป็นต้น ดั่งนิทานกำเนิดมนุษย์จากน้ำเต้าปุงมีคน  5 จำพวกด้วย
ชนเผ่าจ้วงซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองหนานหนิง มณฑลกว่างสี ก้าวหน้าไปมากแล้ว มีเอกสารจำนวนมาก ชัดเจน แต่ควรจะศึกษาที่ช่วงไหนจึงจะได้ประโยชน์? อาจมีก่อนช่วง ฮินดู พุทธ เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตในสุวรรณภูมิ ดูได้จากตำนานอุรังคธาตุ พระพุทธเจ้ามาเทศน์โปรด ทำให้คนป่าเปลี่ยนใจ คนพื้นเมืองที่บ้านเชียง ตัวอย่างไทดำ ติดลาว ติดไทย ก็รับพุทธไว้ แต่ไทดำที่เวียดนาม ยังนับถือผีอยู่
นั่นแหละ ภูมิปัญญาร่วมคือ เรื่องขวัญ ที่เข้าหรือออกจากคนได้ จึงมีพิธีเรียกขวัญ มีแม่มด  นอกจากนี้ยังพิธีกรรมที่นับถือบูชากบหรือผู้หญิง แม้กระทั่งเรื่องราวนิทานหมาเก้าหาง
ระหว่างการสนทนามีประโยคหนึ่งที่ทางกว่างสีได้แลกเปลี่ยนกับคณะเราว่าการมาของเราเป็นเรื่องด้านวัฒนธรรม จึงเป็นมิตรภาพวัฒนธรรมที่ยั่งยืนกว่ามิตรภาพทางเศรษฐกิจ
 
ลงใต้ไปชายแดนเวียดนามดูประตูโบราณยุคราชวงศ์ฮั่น
 
หากกางแผนทียุคสามก๊ก คงมีคำถามแน่นอนว่า กว่างสี ของจีนในปัจจุบันเป้นส่วนก๊กใดในยุคสามก๊ก ตอนปลายราชวงศ์ฮั่น คงตอบได้ไม่ยากว่ามณฑลกว่างสีปัจจุบันอยู่ในแดน ง่อก๊ก ของ ซุนกวน ที่มีอาณาเขตติดชายทะเลและยังได้ชื่อว่าดินแดนแห่งแพรไหม
ชาวจ้วงก็มีผ้าไหมลายเป็นอัตตะลักษณ์ของตัวเองเช่นกัน หาอ่านเรื่องนี้ได้จาก  “คนไท” ไม่ใช่ “คนไทย” เป็นเครือญาติชาติภาษา ของ ศ.เจีย แยนจอง แห่งมหาวิทยาลัยยูนนาน ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ
ง่อก๊กเป็นก๊กสุดท้ายที่ล่มสลายก่อนที่ พระเจ้าสุมาเอี๋ยน ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จิ้น จะรวบรวมแผ่นดินเป็นเอกภาพอีกครั้ง
นอกจากเที่ยวชมหน้าผาริมน้ำหมิงเจียงแล้วคณะเรายังได้เดินทางไปชมประตูเมืองจีนทางตอนใต้ติดชายแดนเวียดนามประตูแห่งนี้ชื่อว่า “ประตูมิตรภาพ” ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นชื่อเดิมว่า มู่หนานกวาน แปลว่า สงบสุขทางแดนใต้ ประตูแห่งนี้มีการบูรณะอยู่หลายจนปัจจุบันทั้งยังเป็นยุทธภูมิสำคัญเมื่อ พ.ศ. 1885 กับยุทธภูมิของวีระกรรม แม่ทัพ ท่งจื้อทาย ในสงครามจีนกับฝรั่งเศสอีกด้วย ระหว่างมีดดาบกับกระบอกปืน โดยพาทหารแสร้งเป็นตายเอาเลือดไก่มาทาตัว ให้ทหารฝรั่งเศสตายใจนึกว่าตายหมดแล้วก่อนที่จะตะหลบหลังชิงชัยได้ป้อนกันขอบขันฑสีมาสำเร็จ 
เมื่อถ่ายรูปหน้าประตูพอเป็นพิธีเสร็จเราเดินทางไปตลาดชายแดนคือผู่จ้ายที่เมืองผิงเสียง ชายแดนเวียดนามกับจีนตรงนี้เรียกว่าหลัก 1090 ซึ่งเป็นจุดผ่อนเปรนสินค้าซึ่ง่สวนใหญ่เป็นจำพวกไม้แปรรูปแต่ราคาแพง เลยได้แต่ตะเกี๊ยบมาเป็นที่ระลึก มีไกด์ท่องถิ่นเป็นชาวจ้วงชื่อ เศี่ยวหวาง
 
สัมมนาวรรณกรรมไทย – จีน  
 
ในส่วนวันอื่นเราทัศนศึกษาสถานที่ต่างๆ ทั้ง พิพิธภัณฑ์เงินตรา ร้านหนังสือ เดินชมจัตุรัสพฤกษชาติบึงหนานหูทะเลสาบกลางเมือง,ดอยชิงซิ่วซาน,อุทยานไทย และแม่น้ำยงเจียงที่ไหลผ่านกลางเมืองหนานหนิง ,ศูนย์ประชุมอาเซียนหนานหนิง และไปซื้อสินค้าที่ห้างหางหยางโกว๋จี้ในเมืองหนานหนิง
พร้อมกันนี้คณะของเรายังได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราววรรณกรรมร่วมสมัยกับสมาคมนักเขียนมณฑลกวางสีกับ นักเขียนและกวี ณ กรมวัฒนธรรมสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเขียนวรรณกรรมร่วมสมัยของคนจ้วง บรรยากาศของการอ่านและเขียนของคนจีนยุคใหม่กับเรื่องราวของกวีไทย  
ก่อนหน้านี้ไม่นาน สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้เดินทางมาลงนามสัญญา MOU เพื่อแลกเปลี่ยนแปลวรรณกรรมร่วมสมัยไทยกับจีน กับ สมาคมนักเขียนมณฑลกว่างสี สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างสี เป็นธุระเรื่องแปลเป็นภาษาจีน
ทาง สมาคมนักเขียนมณฑลกว่างสี ได้กล่าวต้อนรับเราด้วยบรรยากาศที่งดงามว่า ดอกไม้กำลังสวยงามในเดือนพฤษภาคมบอกดินแดนแถบนนี้เป็นดั่งทะเลเพลงพื้นบ้านของชนเผ่าซึ่งได้แสดงถึงลักษณะความหลากหลายของจีน
พูดถึงแง่ของกวี ปัจจุบันวงการกวีแห่งกว่างสีมีชีวิตชีวาหรือคึกคักเป็นอย่างมากแม้ว่ายอดขายจะไม่ได้ดิบดีหรือติดอันดับหนังสือขายดี (ช่างเหมือนบ้านเราจิงๆ) แต่ยังมีคนทำงานด้านวรรณกรรมแขนงนี้อยู่ รวมทั้งยังมี กวีแนวอนุรักษ์นิยมและกวีรูปใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย
การเขียนวรรณกรรมของจีนหลังศตวรรษที่ 1980 เป้นต้นมา ประเภทการเขียนเริ่มแตกแขนง นักเขียนมีผลงานสมัยใหม่ขายได้และมีชื่อเสียง
ขณะที่นักเขียนที่ยืนอยู่แนวเดิมหรืออนุรักษ์นิยมนั้นค่นข้างจะขายได้ยาก โดยเฉพาะ กวีนิพนธ์ กวีของกว่างสี แม้จะขายได้ยาก มีรายได้น้อย แต่ก็ยืนอยู่ด้วยความรักและศรัทธาในบทกวีและยังทำงานอย่างต่อเนื่อง
นั่นเป็นทัศนะที่ได้แลกเปลี่ยนระหว่าง กวี จากมณฑลกว่างสี เครือญาติชาตภาษาและมิตรน้ำหมึกแห่งแผ่นดินใหญ่
ก่อนวันสุดท้ายของการเดินทางที่ขาดไม่ได้คือไปเยี่ยมชม มหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี ที่นี้ อาจารย์หยาวฮุยฉ่าย  หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย รอคณะพวกเราอยู่พูดไทยแจ๋วเลยเคยมาเรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้เราได้พูดคุยกับนักศึกษาภาควิชาภาษาไทยหลายคนเคยมาเรียนที่มหาวิทยาลัยหอการค้าและมอบหนังสือให้กับศูนย์ข้อมูลภาษาไทยสิรินธรโดย อาจารย์หยางเสี่ยวเฉียง รองคณะบดีภาษาต่างประเทศ เป็นผู้รับมอบก่อนจะมีร่วมกับนักศึกษาห่อเกี้ยวและดูบรรยากาศการอ่านหนังสือที่นักศึกษาตั้งใจอ่านค้นคว้ากองหนังสือกองโตบนโต๊ะ
ในช่วงค่ำหลังมื้อเย็นที่อิ่มท้องจากเกี้ยวฝีมือเราๆ และน้องนักศึกษาที่พูดคุยถึงความหลังครั้งมาเรียนไทยคณะของเราได้พบปะพูดคุยกับ ศาสตราจารย์ฟาน หง กุ้ย มหาวิทยาลัยกวางสี ผู้เขียนหนังสือชื่อ “เกิดจากบ้านเดียวกัน” หนังสือเล่มดังกล่าวสรุปว่า จ้วงกวางสีกับไท เป็นพี่น้องกัน รวมถึงกวางตุ้งด้วย
สำหรับผมเป็นการพบกันครั้งที่สองของศาสตราจารย์ท่านนี้ หลังจากที่เคยพบที่ ขอนแก่นมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อต้นปี
การมาจีนของคณะเราครั้งนี้ ผ่านการประสานของ ทองแถม นาถจำนง ซึ่งรั้งตำแหน่ง อุปนายกสมาคมฯ ในวาระครบรอบการก่อตั้ง สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ครบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2553 จึงจัดกิจกรรมความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านโดยได้รับความร่วมมือจาก สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล จัดในนามโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย – จีน ขึ้นระหว่าง 14 -20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยร่วมกับ วิทยาลัยวัฒนธรรมจีน สาขามณฑลกว่างสี สาธารณะรัฐประชาชนจีน เพื่อสมานฉันท์แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความเข้าใจในเพื่อนบ้าน
ในคืนเลี้ยงรับรองทางวิทยาลัยฯ นอกจากจะเลี้ยงดูอาหารการกินอย่างเต็มที่ตามทำเนียมจีนที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องกินแล้วยังมีการแสดงไม่ว่าจะเป็นรำมวยไทเก๊ก ขับร้องเพลง ท้องถิ่น เพลงร่วมสมัย เพลงขอบคุณ รวมทั้งมอบของที่ระลึกไม่ว่าจะเป็น ภาพพู่กันจีน บทโศลกนิพนธ์คำสอนภาษาจีน ฟากฝั่งไทยก็ชวนรำโทนในเพลงสาวตางาม โดยเฉพาะ หมอแม่น - สฤษดิ์ ผาอาจ ดีดกีต้าร้องเพลง จูบฟ้าฝากดิน ของ น้าหมู – พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ได้ตรึงใจคนยิ่งแม้ต่างสำเนียงเสียงภาษาก็ตามทีเพราะกลิ่นอายเพลงน้าหมูนั้นน่ะมีความเป็นท้องถิ่นและภาษากวีอยู่ในตัวบทเพลง
เราโบกมือลาหนานหนิง ในสายของวันที่ 20 พฤษภาคม ไฟในกรุงเทพยังปะทุอยู่ ขณะที่มิตรภาพกำลังงดงามเหมือนดอกไม้ในเดือนพฤษภาคมที่หนานหนิง  อนาคตอันใกล้เราคงได้ต้อนรับเครือญาติชาติภาษาจากกว่างสีเร็วๆนี้ และหวังว่าคงมีโอกาสได้มาเยือนแผ่นดินแห่งนี้อีกในวาระต่อไป
ดอกไม้เดือนพฤษภาคมที่หนานหนิงช่างเบ่งบานด้วยมิตรภาพวัฒนธรรมที่ยั่งยืนกว่ามิตรภาพทางเศรษฐกิจ



บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ