ReadyPlanet.com
dot dot
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม

มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม

รายงานวรรณกรรม / นิตยา  เพ็งแก้ว

 

             ในแวดวงวรรณกรรมคงไม่มีใครปฏิเสธความยิ่งใหญ่ของสุนทรภู่ได้ ท่านได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นกวีเอกของโลก กวีรุ่นหลังต่างได้รับอิทธิพลจากการศึกษางานเขียนของท่าน และยึดถือท่านเป็นครูต้นแบบในการประพันธ์ทั้งสิ้น ดังนั้นทางราชการจึงถือเอาวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี อันเป็นวันเกิดของท่าน ประกาศให้เป็น “วันสุนทรภู่” และสถาบันการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแวดวงวรรณกรรม ก็ถือเอาวันนี้จัดกิจกรรมเพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อคุณูปการที่ท่านมีให้กับวงการวรรณกรรมไทย
             มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยสาขาวิชาภาษาไทยทั้งสองคณะ คือคณะครุศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมวันสุนทรภู่ขึ้นในวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2553 ณ  โรงยิมเนเซียม อาคารพลศึกษา แม้บรรยากาศจะอบอ้าวไปหน่อยก็ไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมแต่อย่างใด บางคนก็ปลอบใจตัวเองว่า ถือเป็นการปรับให้เข้ากับเทศกาลฟุตบอลโลกก็แล้วกัน
             การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยทุกชั้นปีเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกัน โดยมีชมรมวรรณศิลป์ทีมีเกรียงศักดิ์ ฤทธิยงค์เป็นประธาน รับหน้าที่หัวหอก วางแผนดำเนินงานทั้งหมด

             เมื่อนักศึกษาร่วมห้าร้อยคนพร้อมกันแล้ว  ประธานชมรมวรรณศิลป์ได้กล่าวรายงานต่อท่านประธานคือ ดร.ไพศาล วรคำ รองคณบดีคณะครุศาสตร์ เมื่อท่านประธานกล่าวเปิดงานเรียบร้อยแล้ว ครูอาจารย์ นักศึกษาและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนก็ทำพิธีบูชาท่านสุนทรภู่ โดยทำพิธีแบบโบราณพื้นบ้านคือทั้งเหล้าขาว ไก่ต้ม ดอกไม้ธูปเทียนครบสูตร ซึ่งผู้นำกล่าวคำบูชาได้แกนายอนุสรณ์ ก้อนคำ นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 2 ซึ่งมีความสามารถพิเศษมากมายเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เสร็จจากไหว้ครูสุนทรภู่แล้ว นักศึกษาทั้งหมดก็ทำพิธีไหว้ครูภาษาไทย คลอด้วยเสียงเพลงพระคุณที่สาม จากนั้นก็รับโอวาทจาก ผศ.กัลยา กุลสุวรรณ ประธานสาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ฯ 
             เมื่อเสร็จพิธีการเบื้องต้นก็เข้าสู่ภาควิชาการ โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรสองท่านคือ อาจารย์สุขุม คำภูอ่อน (สุขุมพจน์ คำสุขุม) และ ด.ต. ผดุง  ป้องจันลา (ท้าวแพงคำ) โดยผู้ดำเนินรายการได้แก่ ผศ.สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร (ทัศนาวดี) ประธานสาขาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ ในหัวข้อ “แรงบันดาลใจจากงานวรรณกรรมสุนทรภู่” และ “ศิลปะการใช้ภาษาไทยในงานประพันธ์” โดยใช้เวลาบรรยายร่วมสามชั่วโมง สรุปสั้นๆได้ว่า วิทยากรทั้งสองท่านซึ่งเป็นคนสร้างงานเขียนทั้งบทกวี และบทเพลง ต่างก็ยอมรับว่างานเขียนของสุนทรภู่มีอิทธิพลอย่างมากในการสร้างแรงบันดาลใจ และทำให้เกิดรักการอ่านการเขียน ชอบที่จะศึกษาค้นคว้า ฝึกฝนและมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จตามความวาดหวัง และทุกวันนี้ก็ยังคงไม่ละเลยที่จะพัฒนาตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยวิทยากรได้ยกตัวอย่างคำประพันธ์ของท่านสุนทรภู่ และของวิทยากรเองเพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังการอภิปรายได้จดจำเป็นกรณีศึกษา
             เมื่อการบรรยายเสร็จสิ้นลง คณาจารย์ วิทยากร และนักศึกษาได้ร่วมรับประทานอาหารด้วยกันอย่างเป็นกันเอง ต่อด้วยกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญน้องใหม่ การแสดงของชั้นปีต่างๆ ปิดท้ายด้วยกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ โดยได้ร่วมทำความสะอาดอาคาร 2 ที่มีอายุร่วม 50 ปี เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อสถานที่เรียน โดยความควบคุมดูแลอย่างดียิ่ง ของ ผศ.กฤษฎา ศรีธรรมา  อาจารย์เชษฐา จักรชัย  อาจารย์วินัย แสงกล้า  อาจารย์อริยานุวัฒน์ สมาธยกุล อาจารย์ศิวพร ไชยเดช และอาจารย์ทิพย์วารี สงนอก 
             งานในวันนี้ประสบความสำเร็จลุล่วงด้วยดี ทุกคนหอบรอยยิ้มและความเหน็ดเหนื่อยกลับไป แม้จะอัดแน่นไปด้วยกิจกรรมทั้งวันแต่ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับในวันนี้ นับเป็นความทรงจำที่ดีแก่นักศึกษา คณาจารย์ และผู้ร่วมงานโดยทั่วกัน




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ