ReadyPlanet.com
dot dot
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"

ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน เกี่ยวข้องกับ “กำเนิดแม่น้ำโขง” (แม่น้ำของ)

 โดย เด่นชัย ไตรยะถา
ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1
 
                ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มียักษ์เพศผู้ตนหนึ่งหากินอยู่บริเวณที่เป็นอาณาเขตของประเทศจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ในปัจจุบัน ยุคนั้นบ้านเมืองต่าง ๆ ยังไม่มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ จะมีเพียงผู้คนอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามป่าเขา ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักยักษ์เพศผู้ตนนี้ดี เพราะเวลามันเดินทางไปหาอาหาร จะเกิดเสียงดังสนั่นเหมือนกับเกิดแผ่นดินเลื่อนหรือแยกออกเป็นร่อง พอชาวบ้านได้ยินเสียงดังกล่าวจะพากันอพยพหลบหนีไปซ่อนตัวตามหุบเขาให้พ้นเส้นทางที่ยักษ์ตนนี้เดินผ่านจะได้ปลอดภัย ชาวบ้านทั่วไปเรียกยักษ์ตนนี้ว่า “ยักษ์สะลึคึ” และเล่าขานถึงลักษณะกิริยาอาการที่ยักษ์ตนนี้แสดงพฤติกรรมให้เห็นว่า “ยักษ์สะลึคึดั๋งแด๋ง นอนตะแคงคุงฟ้า เด็กน้อยเข้าไปหลิ่นหมากบ้าในฮูดั๋งมัน ได้เป็นพันเป็นหมื่น ยามมันพลิกคิงตื่น เด็กน้อยเป็นหมื่นแตกตื่นออกมา” เล่ามาถึงตอนนี้ก็พอทราบได้ว่า “ยักษ์สะลึคึ” ตัวใหญ่ขนาดไหน?
                อีกบุคลิกหนึ่งที่ยักษ์สะลึคึมีก็คือ มันมีอวัยวะเพศใหญ่ยาวมากจนไม่สามารถจะหากางเกงหรือเสื้อผ้าใส่เหมือนยักษ์ตนอื่น ๆ มันจึงเปลือยกาย เดินลากอวัยวะเพศไปหาอาหารกินเรื่อยไป ร่องรอยเส้นทางที่มันลากอวัยวะเพศไปนั้น กัดเซาะผืนดินผืนป่า เป็นร่องลึกเข้าไปเรื่อย ๆ เพราะมันจะลากไปมาตามเส้นทางเดิมอยู่เสมอ เมื่อถึงฤดูฝนน้ำที่ไหลจากเทือกเขาต่าง ๆ ในบริเวณประเทศจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ก็จะไหลลงไปรวมกันที่ร่องอันเป็นเส้นทางที่ยักษ์สะลึคึ เดินลากอวัยวะเพศไปมานั่นเอง ทำให้ร่องน้ำนั้นขยายตัวเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาต่าง ๆ ก็มากขึ้นจนกลายเป็นแม่น้ำที่กว้างใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้าน ชาวป่า ชาวเขาที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ริมน้ำ จะพากันเรียกชื่อ หรือขนานนามให้แม่น้ำสายนี้ว่า “แม่น้ำของ” บ้าง “แม่น้ำโขง” บ้าง แล้วแต่สำเนียงของผู้คนแต่ละท้องถิ่น ประชาชนชาวลาวซึ่งอาศัยอยู่บริเวณอาณาจักรล้านช้าง จะพากันเรียกว่า “แม่น้ำของ” โดยมีเหตุผลว่า เป็นแม่น้ำที่เกิดจาก “ของ” หรือ “อวัยวะเพศ” ของยักษ์สะลึคึ ลากไปมาจนเป็นร่องน้ำนั่นเอง ชาวลาวที่อาศัยอยู่บริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และชาวไทยอีสานที่อาศัยอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำโขงต่างก็เรียกว่า “แม่น้ำของ” เหมือนกัน แต่ที่พากันเรียกชื่อแม่น้ำโขง อาจเป็นเพราะฝรั่งที่สำรวจแม่น้ำโขงยุคแรก ๆ ฟังสำเนียงชาวบ้านพื้นถิ่นที่เขาบอก “แม่น้ำของ” ฝรั่งก็เขียน “Mekong” จึงออกเสียงเป็น “แม่โขง” ก็เป็นได้
                เมื่อเรื่องราวของยักษ์สะลึคึ ผู้เป็นต้นกำเนิด “แม่น้ำของ” หรือ “แม่น้ำโขง” ได้ถูกกล่าวขานแพร่ขยายไป ก็เป็นที่โจษขานกันมาก บางคนวิเคราะห์เจาะลึกถึงผลกระทบต่าง ๆ ว่า ตอนที่ยักษ์สะลึคึลาก “ของ” ไปนั้น ต้นไม้ที่หักโค่นลงนั้น จะไม่เป็นเสี้ยนหนามปักเสียบเข้าไปในเนื้อหนังของยักษ์สะลึคึบ้างหรือ?  เรื่องนี้มีคำตอบจากผู้เฒ่าเล่าสืบต่อกันว่า เสี้ยนหนามที่ปักเสียบเข้าไปในเนื้อหนังอวัยวะเพศของยักษ์สะลึคึนั้นมีจริง แต่ก็ไม่ระคายเคืองแก่ยักษ์สะลึคึมากนัก เพราะยักษ์สะลึคึถือว่า เป็นเศษไม้เล็ก ๆ เท่านั้น มันก็ถอดเศษหนาม หรือเสี้ยนทิ้งไปตามที่ต่าง ๆ แต่เมื่อผู้คนไปเห็นเสี้ยนหนามดังกล่าว เป็นท่อนซุงไม้ตะเคียนเป็นส่วนใหญ่ แต่ละท่อนใหญ่และยาวมาก จึงพากันนำเสียนหนามดังกล่าวมาขุดเป็นเรือยาว แต่ละลำได้ความยาวถึง 20 เมตร แล้วนำมาพายแข่งขันกันในลำน้ำของนั่นแหละ ดังนั้น ในช่วงเทศกาลออกพรรษาจะมีการ “ส่วงเฮือ” ซึ่งหมายถึง การแข่งขันเรือยาว ก็เริ่มต้นมาจากชาวบ้านเอาเสี้ยนหนามที่ยักษ์สะลึคึถอดทิ้ง มาทำเป็นเรือยาว แข่งขันสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้แล 
                ร่องรอยเส้นทางที่ยักษ์สะลึคึลาก “ของ” ไปหากินสัตว์แต่ละวันนั้น ในปัจจุบันยังมีสถานที่หลายแห่ง ที่ปรากฏให้เห็น เช่น “ภูคันนา” หรือ “กำแพงหินยักษ์” ซึ่งทอดยาวจากเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไปตามเส้นทางหมายเลข 13 มีลักษณะเป็นคันหินที่วางทับซ้อนกันมีความหนาของคันหิน ประมาณ 1 เมตร บางช่วงสูง 10 – 20 เมตร   เป็นแนวยาวจากตัวเมืองท่าแขกไปทาง ทิศเหนือ ถึงบริเวณบ้านกกไฮ ยาวประมาณ 14 – 16 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวไปชมกันมาก ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า กำแพงหินเกิดจากยักษ์สะลึคึลาก “ของ” ไปจะทำให้ หินภูเขาแยกไปเป็นแถบ ๆ พอขากลับเกิดลากของกลับมาผิดร่องเดิม หินจึงมีลักษณะเป็นคัน เหมือนคูนาแต่สูงมากชาวบ้านจึงเรียก “ภูคันนา” เลียบไปตามริมฝั่ง “แม่น้ำของ” จริง ๆ ก็ลองไปพิสูจน์ไปดูกันด้วยตาจะพบกับสิ่งที่น่าอัศจรรย์
                อยู่มาวันหนึ่ง ยักษ์สะลึคึ ออกเดินทางไปหาอาหารกินตามปกติ มันเดินทางจากท่าแขกขึ้นไปทางทิศเหนือ พอไปใกล้จะถึงบริเวณที่เป็นอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยในปัจจุบัน ยุคนั้น “แม่น้ำของ” บริเวณนั้นน้ำกัดเซาะตลิ่งทำให้ “แม่น้ำของ” กว้างและลึกมากกว่าที่อื่น ยักษ์สะลึคึเห็นควายป่าตัวหนึ่ง ตัวใหญ่มาก มีเขาสวยงามยามแสงแดดกระทบที่เขาจะมีแสงวับวาวราวกับสีเงินยวง มันจึงจับก้อนหินใหญ่ทุบไปที่ตัวควายป่า ทำให้ควายป่าที่มีเขาเป็นสีเงินตัวนั้น ตกลงไปในลำแม่น้ำของ และจมหายไป ยักษ์สะลึคึงมหาเท่าไรก็ไม่พบ จึงหาไม้ซุงมาทำเป็นไม้คานหาบเอาหินภูเขาฝั่งซ้ายแม่น้ำของ มาทดน้ำด้านเหนือไว้ เพื่อจะได้มองเห็นควายป่าที่จมอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำได้ มันพยายามทำเป็นคันคูหิน โดยหาบหินมาหลายเที่ยว คันคูหินใกล้จะจรดฝั่งขวาเข้าทุกที แต่แล้วไม้ซุงที่ทำเป็นคานหาบหินนั้น เกิดหักกะทันหัน ทำให้ไม้คานแตกเป็นเสี่ยงเสี่ยง ของไม้คานบางส่วนกระเด็นไปตกยังฝั่งของแม่น้ำโขงบริเวณนั้น ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า “เสี่ยงคาน” ภายหลังเรียกเพี้ยนกันมา กลายเป็น “เชียงคาน” ซึ่งเป็นชื่ออำเภอเชียงคาน มาจนถึงปัจจุบัน และคันคูหินที่ยักษ์สะลึคึ สร้างเพื่อทดน้ำนั้น ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า “แก่งคุดคู้” ส่วนภูเขาที่อยู่ทางด้านทิศใต้ของแก่งคุดคู้นั้น จะมีลักษณะเป็นชะง่อนผาแหลมยื่นออกมาเหมือนเขาควาย เชื่อกันว่าควายป่าตัวที่จมในน้ำนั้นแหละ! กลายเป็นภูเขา ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ภูควายเงิน” ด้วยเหตุที่เขาควายตัวนั้น เมื่อกระทบกับแสงแดดจะเป็นสีเงินยวง ยังมีผู้สงสัย อยากถามเกี่ยวกับยักษ์ในยุคนั้นว่า มีแต่ยักษ์เพศผู้ชื่อสะลึคึ เท่านั้นหรือ? ยักษ์เพศเมียล่ะมีบ้างหรือไม่? เรื่องนี้ผู้เฒ่าผู้แก่ก็เล่าให้ฟังว่า “มี” ยักษ์เพศเมียอีกตนหนึ่งชื่อว่า “อีแก้วโยนีหลวง” ฟังชื่อแล้วก็ไม่ต้องอธิบายขยายความเกี่ยวกับอวัยวะเพศของเธอ เพราะชื่อก็บอกอยู่ว่า “ใหญ่หลวง” หรือจะเทียบกับคำว่า “มหึมา” ก็น่าจะได้ “อีนางแก้ว...หลวง” เธอจะหากินอาหารประเภทปลา ตั้งแต่บริเวณจังหวัดมุกดาหารในปัจจุบัน ลงไปทางใต้ผ่านอุบลราชธานี จำปาสัก บริเวณน้ำตก “คอนพระเพ็ง” ที่จำปาสักนั้นแหละ เป็นแหล่งหาปลาของเธอและเลยลงไปจนถึงดินแดนกัมพูชา ถึงเวียดนามติดกับทะเล การหาปลาของ  “อีนางแก้ว...หลวง”  ก็ไม่ต้องมีเครื่องมือจับปลาเหมือนชาวประมงทั่วไปเนื่องจาก เธอไม่มีแม้กระทั่งเสื้อผ้า วิธีหาปลาจะใช้วิธีนอนถ่างขา เอาอวัยวะเพศรองรับน้ำตก “คอนพระเพ็ง” บ้าง “น้ำตกหลี่ผี” ที่มีปลาชุกชุมบ้าง ฝูงปลาก็จะเข้าไปรวมตัวกันในช่องคลอด พอเธอเห็นว่าปลาเข้าไปอยู่ภายในมากพอประมาณแล้ว เธอก็หุบขาเข้า ลุกขึ้นยืน ก้าวย่างลงไปทางทิศใต้ถึงบริเวณเมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน แล้วเธอก็จะถ่างขาเทน้ำและปลาออกมา ทั้งน้ำ ทั้งปลา จำนวนมากก็หลั่งลงพื้น เจิ่งนอง กลายเป็นทะเลสาบ ปัจจุบันเรียก  “โตนเลสาบ”   ซึ่งเป็นแหล่งปลาชุกชุมมากที่สุดในกัมพูชา ก็เป็นผลงานของ                          “อีนางแก้ว...หลวง” นั่นแหละ!  บางคนพอได้ทราบเรื่องที่มาของปลากรอบเขมรแล้ว บางครั้งปลากรอบมีกลิ่นไม่ดี ก็คงเป็นพราะผลพวงจากวีรกรรมของ “อีนางแก้ว” ก็เป็นไปได้...
                ถ้ากล่าวถึงความรักของยักษ์จะมีเหมือนมนุษย์เราหรือไม่? ก็ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ผู้สันทันกรณี ท่านเล่าให้ฟังว่า ยักษ์สะลึคึก็มีความต้องการทางเพศสูง มีความใฝ่ฝันหาเพศตรงข้ามเหมือนมนุษย์ทั่วไปและในทำนองเดียวกัน ยักษ์ “อีนางแก้ว...หลวง” ก็มีความต้องการทางเพศเหมือนกัน ต้องการความรักจากเพศตรงข้ามด้วย เล่ากันว่า เวลาที่ยักษ์สะลึคึเกิดความต้องการทางเพศขึ้นมา ไม่มีอะไรจะทัดทานได้ บางทีตัวมันเองต้องไปดึงเอาหวาย จากป่าดงมาจำนวนมาก เพื่อทำเป็นเชนาะหรือเชือกมัดดึงอวัยวะเพศไว้ แต่หวายที่ขันชะเนาะนั้นทนแรงดันไม่ได้ก็ขาดสบั้น จนหวายจะไม่เหลือให้เราได้ใช้จักสานกันเลย ส่วนยักษ์ “อีนางแก้ว...หลวง” ก็ใช่ย่อยความคันที่เกิดกับเธอ ผู้เฒ่าเล่าว่าความคันของ “บอน” ที่มีอยู่ในบึงนับพันแห่งรวมกันเข้า ก็ยังไม่คันเท่า “อีนางแก้ว...หลวง” มันคัน!  ผู้เฒ่าที่เล่าให้ฟังท่านยืนยันหนักแน่น จนน่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง!
                บุพเพสันนิวาส...มีจริง...ณ บริเวณจังหวัดมุกดาหารในปัจจุบัน แต่ก่อนเทือกเขาภูพานจะทอดเป็นแนวยาว พาดผ่านจากจังหวัดสกลนครไปถึงจังหวัดมุกดาหาร นับว่าเป็นภูเขาที่สูงมาก บริเวณเทือกเขานี้ ต่อไปจะเป็นที่ที่มีความรักของยักษ์ทั้งสองตนจะเกิดขึ้น!  เหมือนลานสาวกอดเชียวละ...
                ยักษ์สะลึคึเที่ยวหากินสัตว์ป่า จากดินแดนประเทศจีนลงมาทางทิศใต้ผ่านพม่า ลาว ไทย จนถึงบริเวณเมืองท่าแขกและนครพนม มุ่งหน้าไปสู่จังหวัดมุกดาหารในปัจจุบัน ซึ่งมีเทือกเขาภูพานกั้นอยู่ ในขณะเดียวกัน ยักษ์อีนางแก้ว...หลวง ก็หาปลากินตามปกติ โดยหาปลาขึ้นมาเรื่อย ๆ มุ่งหน้าจากดินแดนเวียดนามผ่านกัมพูชา เข้าสู่ดินแดนไทยใกล้เข้ามาถึงมุกดาหารที่มีเทือกเขาภูพานขวางกั้นอยู่...แม้จะมีภูเขาสูงกั้น แต่ยักษ์ทั้งสองตนก็สูงใหญ่เกินภูเขาสูงเสียอีก ยักษ์ทั้งสองพบกันเป็นครั้งแรก...รักแรกพบเกิดขึ้นแล้ว!...ทั้งสองโผเข้าหากัน! แม้ภูเขาจะกั้นขวางหน้า...ก็หาได้เป็นอุปสรรคไม่ ทั้งสองกอดรัดฟัดเหวี่ยง กลิ้งไปมาทำให้เทือกเขาภูพานส่วนหนึ่งแตกถล่มทลายกลายเป็นภูเขา ลูกเล็ก ลูกน้อย บางแห่งราบเป็นหน้ากอง แตกพังทลายลง ในปัจจุบัน บริเวณดังกล่าว กลายเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น บริเวณที่ยักษ์บักสะลึคึ กับยักษ์อีนางแก้วนอนด้วยกัน เรียกว่า “ดงบักอี่” ภูเขาที่แตกออกเป็นภูเล็กภูน้อยก็มีชื่อว่า ภูมโน ภูหมู     ภูจ้อก้อ และภูผาเทิบ และยังมีลำห้วยธรรมชาติแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศใต้ของหอแก้วมุกดาหาร ลงไปประมาณ 5 กิโลเมตร กรมทางหลวงได้ทำป้ายชื่อของลำห้วยที่หัวสะพานว่า “ห้วยลึคึ” ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นสายน้ำที่เกิดจากการถึงจุดสุดยอดของยักษ์สะลึคึ จนเป็นสายธารหลั่งไหลลงสู่แม่น้ำของนั่นเอง... ผู้เฒ่าที่รู้เรื่องราวเหตุการณ์แห่งความรักอันเป็นมหาอมตะนิรันดร์กาลนี้ยังเล่าให้ฟังอีกว่า ขณะที่ยักษ์อีนางแก้วยังนอนหลับไหลอยู่นั้น เจ้ายักษ์สะลึคึลุกขึ้นจะเดินไปดูบริเวณที่เป็นรังรักว่าพังทลายพินาศขนาดไหน แต่พอมันได้ก้าวเดินไปทางทิศใต้เลยอำเภอดอนตาลไปไม่ไกลนัก เกิดเข่าอ่อน ทรุดฮวบลง หัวเข่าทั้งสองข้างกระทุ้งลงพื้นดิน อวัยวะเพศที่มหึมาก็กระแทกลงพื้นดินเช่นกัน ทำให้พื้นบริเวณนั้นทรุดลง เป็นแอ่งกว้างลึก ภายหลังกลายเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ บริเวณที่ยักษ์สะลึคึล้มเข่ากระแทกพื้นนี้ ภายหลังมีผู้คนไปอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ดังกล่าว จนกลายเป็นชุมชนมีความเจริญเป็นบ้านเป็นเมือง เรียกว่า “ชานุมาร” ซึ่งแปลว่า “หัวเข่าของยักษ์” ภายหลังมีการเขียนชื่อเปลี่ยนไปว่า “ชานุมาน” เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอำนาจเจริญ
                ยังมีสถานที่อีกหลายแห่งที่ยังปรากฏร่องรอยของยักษ์สะลึคึและยักษ์อีนางแก้ว...หลวง ที่เกี่ยวข้องกับลุ่มแม่น้ำของ เช่น ภูเขาที่ชาวบ้านน้ำแม่สะนามที่เขื่อนน้ำเทิน 1 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 เรียกว่า “ฮ่างบักสะลึคึ” จะมีลักษณะเหมือนอวัยวะเพศของยักษ์สะลึคึ ชูโดดเด่นเป็นแท่งขึ้นไปอย่างน่าอัศจรรย์ และยังมีภูเขาหินก้อนไม่ใหญ่โตนัก ที่ปรากฏอยู่ที่อำเภอปายแม่ฮ่องสอน รูปร่างเหมือนผู้หญิงเปลือยกายนอนตะแคง ชาวบ้านเรียก “นางแก้ว” ซึ่งอยู่ภายใน “หมู่บ้านสันติชน” ยูนนาน อำเภอปาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของอำเภอปายอีกแห่งหนึ่ง ได้สอบถามชาวยูนนานบริเวณนั้นแล้วว่า บริเวณนี้มี “น้ำของ” ผ่านหรือไม่? เขาบอกว่าที่อำเภอปาย จะมีแม่น้ำของเหมือนกัน แต่เป็นสายน้ำเล็กกว่าแม่น้ำของหรือแม่น้ำโขงที่ลาว แม่น้ำของที่อำเภอปายจะไหลสู่
แม่น้ำปาย เป็นแหล่งล่องแพท่องเที่ยวที่สวยงามมาก ถึงตอนนี้ก็พอจะสรุปความได้ว่า เมื่อมีชื่อ “แม่น้ำของ” อยู่ที่ไหน ยักษ์อีนางแก้ว...เธอก็จะไปเที่ยว หาปลากินที่นั่นแหละ...พอเหนื่อยก็นอนพักเอาแรงจนถึงปัจจุบัน ส่วนที่หมู่บ้าน “นาไก่เขี่ย” เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะมีรอยไก่ยักษ์ปรากฎบนลานหิน ชาวบ้านเรียกว่า เป็นรอยไก่ยักษ์ ที่เกิดพร้อมกับยักษ์สะลึคึ ปัจจุบันชาวบ้านเขาอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้ดูเป็นแหล่งเรียนรู้ ประกอบตำนานหมู่บ้าน “นาไก่เขี่ย” ผู้สนใจมีโอกาสไปเที่ยวเมืองท่าแขก ก็แวะไปชมกันได้ ไม่ห่างจากแม่น้ำของเลย... 
สรุปข้อสันนิษฐานตามหลักฐานทางภูมิศาสตร์-วิทยาศาสตร์
ตำนานหรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับยักษ์สะลึคึนั้น หากเทียบเคียงสถานที่หรือแหล่งธรรมชาติ ตามภูมิศาสตร์ในลุ่มน้ำโขงแล้ว มีสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
                -รูจมูกของยักษ์สะลึคึ ที่ผู้คนเข้าไปอาศัยและใช้เล่นกิจกรรมต่าง ๆ นั้น อาจเป็นถ้ำ ตามภูเขาต่าง ๆ นั่นเอง
                -ยักษ์สะลึคึ กระดิกตัวหรือพลิกตัวจะตื่นจากการนอนหลับ อาจเป็นแผ่นดินไหว เพราะตามหลักฐานทางกรมทรัพยากรธรณี มีรอยแยกท่าแขกปรากฏชัดเจน
                -กำแพงหินยักษ์ ที่ยังปรากฏในเมืองท่าแขก ที่คู่ขนานไปตามลำแม่น้ำโขงนั้น อาจเกิดจากรอยแยกของการเคลื่อนขยายของแผ่นดินในยุคก่อน ปัจจุบันจึงเห็นเป็นกำแพงหินมีขนาดความหนาประมาณ 1 เมตร สูง 10-20 เมตร ยาวประมาณ 14-16 กิโลเมตร
                -ที่บ้านนาไก่เขี่ย เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน มีรอยเท้าไดโนเสาร์พันธุ์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ปรากฏบนลานหิน ปัจจุบันชาวบ้านทำรั้วล้อมไว้และเชื่อว่าเป็นรอยไก่ยักษ์ ยุคเดียวกับยักษ์สะลึคึ เมื่อมีชุมชนเกิดขึ้นในบริเวณนี้ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านไปตามสิ่งที่พบเห็นว่า “บ้านนาไก่เขี่ย” ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวลาวเผ่าโส้
                -บริเวณตอนใต้ของลาว ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่าน กัดเซาะผืนแผ่นดิน แยกออกเป็นเส้นทางน้ำหลายสาย จนเกิดเป็นหมู่เกาะน้อยใหญ่จำนวนมาก เรียกว่า “สี่พันดอน” หรือ “สี่พันเกาะ” เชื่อว่าเป็นเส้นทางหากินปลาของนางแก้วโยนีหลวง ซึ่งต้องเหยียบย่ำไปมาวันแล้ววันเล่า จนเกิดเป็นเกาะแก่งมาถึงปัจจุบัน
                -ตัวยักษ์สะลึคึนั้น บางแนวคิดอาจหมายถึง ไดโนเสาร์ ที่มีขนาดใหญ่มหึมาที่ไม่ได้สวมเสื้อผ้า เวลาเดินไปหาอาหาร จะลากหางเดินไปจนเป็นร่องทางเดินก็อาจเป็นไปได้
**************************************
 
 
                                                เรื่องตำนาน                          กาลเวลา                                พาให้คิด
                                     จะถูกผิด                                          เท็จจริง                                  อ้างอิงได้
                                     เห็นสอดคล้อง                               หรือค้าน                                ประการใด
                                     ก็ขอให้                                            ร่วมคิด                                   พินิจดู
                                                ลองค้นคว้า                           สอบถาม                                ตามระบบ
                                     ส่วนไม่ครบ                                   ต้องค้นหา                             พาให้รู้
                                     แหล่งอ้างอิง                                  ทั้งตำรา                                  มาช่วยชู
                                     จะนำสู่                                            “ผู้รู้ผ่าน                                 กาลเวลา”
 
 
 
                                                                                                                            เด่นชัย ไตรยะถา
                                                                                                                            4 มิถุนายน 2553      

 




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ