ReadyPlanet.com
dot dot
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก

"ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก"


ณ ตอนนี้ ผมกำลังงงๆๆ งวยๆๆ (แกมขำขัน)
กับ “ปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก”
(ซึ่งกลายเป็นความเมืองระหว่างประเทศหลังจากประชุมที่บราซิเลียของ
นรม. และกับ รมต. ของรัฐบาลไทย versus รอง นรม. และ ครม. กัมพูชา
Who speaks the truth to each and their own peoples, or none at all ?
ครับ หรือไม่มีใครพูด “ความจริง” ทั้งหมดกับประชาชนเลย)

“ต้นตอ” ของปัญหานี้
ขอสรุปเป็นเบื้องต้นว่า
สมัยเมื่อเรายังเป็น "สยาม" กับสมัยที่เปลี่ยนเป็น "ไทย" แล้ว
ความคิดความอ่านหรือ “ลัทธิชาตินิยม” และ “ความรักชาติ”
ของทั้ง 2 ยุคสมัย-ต่างกันมาก
ซึ่งก็จะเลยเถิดไปถึงการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” แผนที่ “เจ้าปัญหา” แผ่นนั้น

แผนที่แผ่นนี้
มักเรียกกันด้วยชื่อผิดๆและประหลาดๆ
โดยนักวิชาการ-นักการทหาร-และสื่อมวลชนฯ  ว่า
“แผนที่ 1 ต่อ 200,000” (หนึ่งต่อสองแสน !!!???)
ซึ่งสร้างความงุนงง-มึนให้กับประชาชนทั่วๆไป

ความจริงชื่อที่แท้จริงของมันก็มี คือ แผนที่ Dangrek
ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่าแผนที่ “ดงรัก” หรือ “ดงเร็ก” นั่นเอง
(คลิ๊กดูได้ที่ http://wms.cfcambodge.org/mambo/images/stories/CartePreahvihear.jpg)

“แผนที่ดงรัก” ดังกล่าวนี้ รัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ ร. ๕
ซึ่งมีสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ (ต้นสกุลดิศกุล) เป็นมหาดไทย
กับมีสมเด็จกรมฯเทววงศ์ (ต้นสกุลเทวกุล) เป็นการต่างประเทศ
ได้ “รับรอง” แผนที่แผ่นนั้น และนำมาใช้ในประเทศของเราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(เพราะต้องการรักษา “อธิปไตย” ของสยาม (ส่วนใหญ่) เอาไว้

ครับ  ไม่รับก็ไม่ได้ เพราะสมัยนั้น
คือ gunboat diplomacy/politics
และนี่ก็เป็นหลักฐานหรือเหตุผลเพียงพอที่ทำให้ “ศาลโลก” ที่กรุงเฮก
ในปี พ.ศ. 2505 ตัดสินด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 ว่า
“ปราสาทพระวิหาร ตั้งอยู่ในอาณาเขต ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา”)
แล้วลูกระเบิดทางการเมืองสำหรับสังคมไทย ก็ถูกวางไว้ตั้งแต่สมัยของจอมพลสฤษดิ์ ครั้งกระนั้น

ย้อนกลับไปให้ไกลใน ปวศ. อีก คือ
ครั้งเมื่อ “รัฐบาลปีกขวา” ของ “คณะราษฎร”
นำโดย “พิบูลสงคราม-วิจิตรวาทการ”
เปลี่ยน “สยาม” เป็น “ไทย”

เปลี่ยน Siam เป็น Thailand นั่นแหละ
ก็ได้เริ่มกระบวนการที่จะไม่รับ “แผนที่ดงรัก” แผ่นนั้น
(รวมทั้งไม่รับสนธิสัญญาสมัยสยามกับฝรั่งเศส (ร.ศ. 112) อีกด้วย)
นี่ก็นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 หรือสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

สรุป  จะเห็นได้ว่าเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว
รัฐบาลของรัชกาลที่ 5 ในยุคของ “ลัทธิชาตินิยมสยาม”
ได้ยอมรับทั้งสนธิสัญญาและแผนที่กับฝรั่งเศส
แต่ต่อมาเมื่อ 70 ปีที่แล้ว

รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ที่ส่งทอดมายังจอมพลสฤษดิ์)
ในยุคของ “ลัทธิชาตินิยมไทย” ไม่ยอมรับ

พอมายุคสมัยนี้  ที่เราๆท่านๆ อาจถูกชี้หน้าถามว่า
“เป็นคนไทยหรือเปล่า” สังคมของเราจึงยังย่ำอยู่กับ "ลัทธิชาตินิยมไทย"

(ไม่ใช่ “ลัทธิชาตินิยมสยาม”)
ดังนั้น  ทั้งรัฐบาลปัจจุบันและพันธมิตรร่วมอุดมการณ์
(รวมทั้งนักวิชาการที่ขังตนเองอยู่ใน “เขตแดนรัฐชาติ”

อย่าง ดร. อดุล-อ. ศรีศักร) ก็รับช่วงต่อๆกันมาจาก
"ลัทธิผู้นำของพิบูลสงคราม-วิจิตรวาทการ-สฤษดิ์-เสนีย์"
(จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม)

ตกทอดกันมา
ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของ “ลัทธิชาตินิยมไทย”
ซึ่งถือได้ว่าเป็น “เวอร์ชันแปลง” ของ Thailand
มิใช่ “ลัทธิชาตินิยมสยาม” ซึ่งเป็น “เวอร์ชันดั้งเดิม” ของ Siam

บุคคลระดับ “ผู้นำ” เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น
จอมพล-นายกฯ-รมต.
นักการเมือง
นักการทหาร
นักวิชาการ (ที่จำกัดอยู่ในเขตแดนของรัฐ)
นักเคลื่อนไหวมวลชน
หรือสื่อมวลชนกระแสหลัก

ไม่ว่าเป็นภาครัฐ หรือภาค (ที่อ้างว่าเป็น) ประชาชน
ไม่ยอม “รับรู้” หรือ “ประสงค์” ที่จะรับรู้ว่า
"เสด็จพ่อ ร. ๕  กับสมเด็จกรมเทววงศ์ (กต.)  และสมเด็จกรมดำรงฯ" (มท.)
ได้ทรงทำอะไรไว้

ได้ทรงกำหนดเขตแดน-ขอบเขต-และเส้นทางเดินของรัฐ "สยาม" กับประเทศข้างเคียงไว้อย่างไร
(ที่ในช่วง “หน้าสิ่วหน้าขวาน” เมื่อประมาณระหว่าง พ.ศ. 2436-2450 (1893-1907)
อันเป็นจุดสูงสุดของลัทธิอาณานิคมล่าเมืองขึ้น Height of colonialism หรือ 100 ปีมาแล้วนั้น
ในห้วงเวลาที่ไม่มี “มหามิตร” ที่สยามคิด (ฝัน) ว่าจะพึ่งพาได้เข้ามาช่วย
ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษของพระนางวิกตอเรีย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซียของพระเจ้าซาร์
ไม่มีองค์กรระหว่างประเทศอย่าง “สันนิบาตชาติ” หรือ “สหประชาชาติ”
หรือ Unesco ฯลฯ ที่จะเข้ามาแทรกแซง) ดังนั้นจึงต้อง “จำยอม” และ “เลยตามเลย”

แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ถึง พ.ศ. 2482 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังที่กล่าวข้างต้น
รัฐบาลใหม่ (ปีกขวาของคณะราษฎร)
และ/หรือ “ผู้นำใหม่” อย่าง "พิบูลสงคราม-หลวงวิจิตรวาทการ"
ก็เปลี่ยน "สยาม" เป็น "ไทย" เปลี่ยน Siam เป็น Thailand
แล้วก็เปลี่ยนจินตนาการใหม่  และก็เริ่มสร้างปัญหาใหม่ๆ ส่งทอดต่อๆมา
ผ่านนักการทหารบ้าง (อย่างสฤษดิ์) ผ่านนักการเมืองบ้าง (อย่าง ม.ร.ว. เสนีย์)
ให้มาเป็นปัญหาอยู่กับเราๆท่านๆจนถึงทุกวันนี้

และเราประชาชนไม่ว่าจะชนชั้นบน-กลาง-ล่าง
ก็ต้องรับมรดกอันเลวร้ายทาง ปวศ. (บาดแผล-บกพร่อง)
ที่ถูกนำมา “ปลุกผี” และ “ปัดฝุ่น” ทำให้กลายเป็นปัญหาของ "มรดกโลก"
นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 จากควีเบ็ก ไปเซวีญา ไปบราซิเลีย และก็จะไปบาห์เรน ในปีหน้า 2554

นี่เป็น “โศกนาฏกรรมระดับชาติ”
ในยุคสมัยที่เราน่าจะก้าวไปข้างหน้าเพื่อสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่า
เพื่อคนรุ่นใหม่
ไปให้พ้น “อดีตเก่าๆ”
ที่ “ล้าหลังและคลุ้มคลั่ง”
ไปให้พ้น “ปวศ.บกพร่อง” - “ปวศ.บาดแผล”
เดินไปข้างหน้า
ตั้งฝันไปให้ไกล ไปให้ถึง
“โลกาภิวัตน์-โลกไร้พรมแดน-และประชาคมอาเซียน”
เราไม่เพียงจะต้อง “ปฏิรูป-ปรองดอง-สมานฉันท์-รักสามัคคี” กันกับผู้คนในชาติบ้านเมืองของเราเท่านั้น
แต่ยังต้อง “ปฏิรูป-ปรองดอง-สมานฉันท์-รักสามัคคี”กับเพื่อนร่วมภูมิภาค และมนุษยชาติร่วมโลกอีกด้วย


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ป.ล.
รัฐธรรมนูญใหม่ของบ้านนี้เมืองนี้
ถ้าไม่เป็น “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม-สยามประเทศ”
ก็ “ปฎิรูป-ปรองดอง-สมานฉันท์-รักสามัคคี” กันไม่ได้




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ