ReadyPlanet.com
dot dot
ร่องรอยกาลเวลา:

โครงการสัมมนาวิชาการแบ่งปันความรู้
ร่องรอยกาลเวลา :
ลุ่มน้ำนครชัยศรี ทวารวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิ

หลักการและเหตุผล
ลุ่มน้ำนครชัยศรี เกี่ยวพันกับเส้นทางการค้า การคมนาคมโบราณ บริเวณนี้เป็นที่รู้จักมาก่อนแล้วในนามสุวรรณภูมิ มีชุมชนใหญ่ที่ดอนตาเพชร (กาญจนบุรี) อู่ทอง (สุพรรณบุรี) เป็นศูนย์การแลกเปลี่ยนค้าขายกับชาวต่างชาติที่มาจากภายนอก “ตะวันตก – ตะวันออก”
บรรพชนชาวสุวรรณภูมิลุ่มน้ำแม่กลอง – ท่าจีน อาศัยอยู่กระจัดกระจาย บ้างร่อนเร่แสวงหาอาหารตามป่าชายเลนเป็นชุมชนชั่วคราวขนาดย่อยๆ แต่ยังไม่เป็นชุมชนเมือง ชุมชนเมืองที่สำคัญของลุ่มน้ำแม่กลอง - ท่าจีนยุคนี้มีอยู่ทางดอนตาเพชร (กาญจนบุรี) อู่ทอง (สุพรรณบุรี) โพธิ์หัก (ราชบุรี) ฯลฯ มีเทคโนโลยีชั้นสูง คือถลุงโลหะแล้วหลอมสัมฤทธิ์ ด้วยวิธีเทโลหะร้อนๆ ไล่ขี้ผึ้ง หรือ Lost Wax (เช่นเดียวกับเทคโนโลยีในวัฒนธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี)
พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน บริเวณจังหวัดนครปฐมมีชุมชนหมู่บ้านขนาดเล็ก
กระจัดกระจายตามที่ดอนป่าชายเลน แต่ยังไม่พบหลักฐานเป็นชุมชนบ้านเมือง ตรงบริเวณปากน้ำที่ลำน้ำบางแก้วกับแม่น้ำท่าจีนสบกันแล้วให้ชื่อ เมืองนครไชยศรี ตามความเชื่อเก่าแก่ในตำนานนิทานท้าวแสนปมว่า พระเจ้า
ไชยสิริจากเมืองเชียงแสน (จังหวัดเชียงราย) มาสร้างเมืองนี้ไว้นานแล้ว จึงเอาพระนามไชยสิริ เป็นไชยศรี (แต่นิทานบางเรื่องเรียก เมืองศรีวิไชย เป็นเหตุให้พ่อขุนช้างในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีชื่อ ขุนศรีวิไชย) เมืองนครปฐมโบราณได้ชื่อว่า เมืองนครไชยศรี ตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ยุคกรุงศรีอยุธยา สืบมาจนกรุงธนบุรี ถึงแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
การสั่งสมความรู้แลกเปลี่ยนความรู้ผ่านการศึกษานอกระบบ หรือที่เรียกอย่างเข้าใจง่ายว่า “ตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน” โดยอาศัยศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อ เพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจทางภูมิสังคมวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย เป็นพหุลักษณ์และสหวิทยาการ เพื่อให้การบริหารงานสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ให้การทำงานคล่องตัวและเข้าถึงประชาชน โดยมุ่งเน้นถึงคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มาจากศิลปะต่าง ๆ และการสร้างสรรค์ของมนุษย์ในยุควัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความรักชาติ ความซาบซึ้ง และคุณค่าทางภูมิสังคมวัฒนธรรม นิเวศวิทยา รวมถึงการที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2551 เป็นปีแห่งความหลากหลายทางภาษา การสัมมนาครั้งนี้จึงเกิดขึ้นจากความร่วมมือในวงวิชาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยการริเริ่มของสถาบันและองค์กรต่างๆ เพื่อขยายพรมแดนความรู้ และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ให้เป็นการศึกษาทางเลือกแบบตลาดวิชาที่เน้นการ“สั่งสมความรู้” มากกว่าการ “สั่งสอน” ก่อเกิดเป็นสังคมอุดมปัญญา
วัตถุประสงค์
1.          เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ในมิติต่างๆ ทางด้านประวัติศาสตร์
สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
2.          เพื่อกระตุ้นให้มีการนำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปปรับให้เอื้อต่อการสร้างความเข้าใจอันดี
ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
3.          เพื่อมุ่งสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากกระแสความเปลี่ยนแปลง
อันเกิดจากระบบเศรษฐกิจและสังคม
4.          เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสู่สังคมไทย และส่งเสริมให้รู้จักการใช้เครือข่ายสังคม
อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
5.          เพื่อบูรณาการความรู้ด้านวรรณกรรม ดนตรี ศิลปะ ตำนาน และประวัติศาสตร์
นำไปสู่บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนและสั่งสมความรู้สู่ชุมชนอย่างเข้มแข็งและมีพลัง
6.          เพื่อเป็นกิจกรรมหนึ่งในวาระ 50 ปี สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.          เกิดการตื่นตัวเรื่องความรู้ทางเลือกเกี่ยวกับภูมิภาคลุ่มน้ำนครชัยศรีในมิติต่างๆ
โดยเริ่มต้นจากชุมชน และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในวงวิชาการ
2.          เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างชุมชนอย่างยั่งยืนและเข้มแข็งมีพลัง
สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ
3.          เกิดความเข้าใจเรื่องภูมิสังคมวัฒนธรรมของภูมิภาค เสริมสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียน
4.          เกิดการแตกยอดทางความรู้ ยอมรับความเห็นที่แตกต่างด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา
ร่วมกันพิจารณาประเด็นปัญหาใหม่ๆ เกี่ยวกับภูมิภาคอุษาคเนย์
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน 500 คน ประกอบด้วย
1.          ครู – อาจารย์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 และ 2    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สุพรรณบุรี เขต
1, 2 และ 3    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1,  2,  3 และ 4
2.          วิทยากร – คณะทำงาน และสื่อมวลชน
3.          กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด อำเภอ และตำบล
4.          นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
(ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับ ถุงผ้า 1 ใบ หนังสือประกอบการสัมมนา 1 เล่ม เกียรติบัตร 1 ใบ 
และหนังสือจากองค์กรร่วมจัดและผู้สนับสนุน)
งบประมาณ
1.          เก็บจากค่าลงทะเบียน
2.          งบอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
3.          งบสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร และภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุน
องค์กรร่วมจัด
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์
สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
                สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล
                ชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน
วารสารวิทยาจารย์
                มูลนิธิอมตะ
               พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
บริษัท สถาพรบุ๊คส์ จำกัด
บริษัท ออน อาร์ต ครีเอชั่น จำกัด
 
กำหนดการ
โครงการสัมมนาวิชาการแบ่งปันความรู้

ร่องรอยกาลเวลา :
ลุ่มน้ำนครชัยศรี ทวารวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิ
วันที่ 18-19 กันยายน พ.ศ. 2553
ณ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
 
วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553
08.00 น. – 08.30 น.                ลงทะเบียน กล่าวต้อนรับผู้ร่วมสัมมนาและคณะวิทยากร
08.30 น. – 09.30 น.                ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา
นายรังสรรค์ อ้วนวิจิตร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2
กล่าวรายงาน
นายสมชาย เสียงหลาย เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กล่าวเปิดการสัมมนา
09.30 น. – 12.00 น.                เสวนาหัวข้อ “นครปฐมมาจากไหน? : ลุ่มน้ำนครชัยศรี ทวารวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิ”
ผศ.นุกูล ชมภูนิช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อ.ทรงยศ แววหงษ์ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
บุหลง ศรีกนก รายการจดหมายเหตุกรุงศรี
วัฒนะ บุญจับ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ดำเนินรายการ
12.00 น. – 13.00 น.                รับประทานอาหารกลางวัน
 
13.00 น. -16.00 น. แบ่งหัวข้อสัมมนา 4  ห้องย่อย
 
ห้องที่ 1                  หัวข้อ “นิราศลุ่มน้ำท่าจีน สุนทรภู่ – เสมียนมี – หลวงจักรปาณี : หมายเหตุร่วมสมัย”
                                                บุญเตือน ศรีวรพจน์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
                                                วารุณี โอสถารมย์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                                                ยุทธ โตอดิเทพย์ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
                                                วิษณุ เอมประณีตร์ ผู้จัดการทั่วไปพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ดำเนินรายการ 
ห้องที่ 2                                  หัวข้อ “นิทาน ตำนาน ประวัติศาสตร์ ลุ่มน้ำแม่กลอง–ท่าจีน :
เจิ้งเหอ พระยากง พระยาพาน ตำนานรักขุนไกร นางทองประศรี”
                                                ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ มหาวิทยาลัยรังสิต
                                                ทองแถม นาถจำนง บรรณาธิการ นสพ.สยามรัฐรายวัน
                                                ผศ.ศิวกานท์ ปทุมสูติ ศูนย์การเรียนรู้ทุ่งสักอาศรม
                                                ศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดำเนินรายการ 
ห้องที่ 3                  หัวข้อ “กวีนิพนธ์ รู้สึก นึก คิด เขียน” 
                                วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา
โชคชัย บัณฑิตกวีซีไรต์
                                ผศ.สกุล บุณยทัต มหาวิทยาลัยศิลปากร
                                อ.ณัฐกาญจน์ นาคนวล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินรายการ
 ห้องที่ 4                  หัวข้อ “ร้อง รำ ทำเพลง : เพลงพื้นบ้าน ฝั่งขวา แม่น้ำเจ้าพระยา”
                                ชัยชนะ บุญนะโชติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
เอนก นาวิกมูล บ้านพิพิธภัณฑ์
                                เจนภพ จบกระบวนวรรณ พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง
                                อานันท์ นาคคง      คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินรายการ               
วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน 2553
08.00 น. – 08.30 น.                ลงทะเบียน กล่าวต้อนรับผู้ร่วมสัมมนาและคณะวิทยากร
08.30 น – 10.00 น. แบ่งหัวข้อสัมมนา 3 ห้องย่อย
ห้องที่ 1                  หัวข้อ“การบริหารความรู้และบุคลากรการศึกษา”
                                                ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
                                                ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลสวัสดิ์ บมจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
                                                เฉลิมศักดิ์ แหงมงาม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
                                                วิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์
                                                ถวัลย์ พึ่งเงิน เลขาธิการสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการ 
ห้องที่ 2                  หัวข้อ   “สามก๊ก – ราชาธิราช –ไซ่ฮั่น วรรณกรรมแปล โลกทัศน์ของชนชั้นนำสยาม
                                ทองแถม นาถจำนง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนศึกษา
                                อภิลักษณ์ เกษมผลกูล สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
                                องค์ บรรจุน นักวิชาการเรื่องมอญศึกษา
                                รักษ์ มนัญญา สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการ
ห้องที่ 3                  หัวข้อ “ภูมิสังคมวัฒนธรรมกับการจัดนิเวศลุ่มน้ำ”
                                                ประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา
                                                เจตน์ เจริญโท นักเขียน – นักแปล คนบางปลาม้า
                                                ผศ.เด่นศิริ ทองนพคุณ เลขาธิการชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีนนครปฐม               
ดร.สมยศ แสงสุวรรณ บมจ.บริหารและการพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ดำเนินรายการ 
ห้องที่ 4                  หัวข้อ “ครูบ้านนอก : วรรณกรรมบนแผ่นฟิลม์ ถึง คุรุปฏิวัติ : ตำนานโลกไม่ลืม”
คำหมาคนไค ผู้เขียนนวนิยายเรื่อง ครูบ้านนอก
เสมอ กลิ่นหอม ผู้เขียน คุรุปฏิวัติ ตำนานโลกไม่ลืม
สมจิตร พรรณา อดีตช่างศิลป์ ศาลาเฉลิมไทย
ปรีดา ข้าวบ่อ กองทุนศิลปินครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิดำเนินรายการ
10.00 น.                  รับประทานอาหารว่าง
10.30 น.- 11.00 น. ปัจฉิมกถา โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
11.00 น.                  บรรยายสรุปปิดการสัมมนา โดย องค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา
12.00 น.                  จบการสัมมนา มอบวุฒิบัตร รับประทานอาหารกลางวัน
พิธีกร      รักษ์มนัญญา สมเทพ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
มินทร์ลดา นิธิโชตินันทชัย สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล
*กำหนดการอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม วิทยากรอยู่ระหว่างการประสานงาน

 




ข่าวสารประชาสัมพัธ์

เชิญส่งผลงานประกวด “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งที่6
เชิญส่งผลงานประกวดชิงรางวัลพานแว่นฟ้าปี 2558
กิจกรรม จากมองโกเลียอัลไต สู่ไทยเจ้าพระยา
อสรพิษ – แดนอรัญ แสงทอง – รางวัลซีไรต์ 2557
ผลการประกวดข้อเขียนแรงบันดาลใจจากหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
เวทีกลอนเดือนสิบ ๒๕๕๗
ชวนประกวดเรื่องสั้นกับ สสส.
ผลรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 11, 2557
ประกาศรางวัล รพีพร 13 ก.ค. 2557
เชิญร่วมสงกรานต์นักกลอน และ ๗๕ ปี นิภา ท่าพระจันทร์
จัดงาน "๗๕ ปี นิภา ท่าพระจันทร์"
ขอเชิญร่วมการบำเพ็ญกุศลพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
ผลการตัดสิน รางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ประจำปี ๒๕๕๖
ขอเชิญส่งบทกลอนไปร่วมสนุกในรายการ "ประกายดาว"
คอนเสิร์ตเพลงดังหนังไทย ครูสุรินทร์ ภาคศิริ
"หัวใจห้องที่ห้า" รางวัลซีไรต์ 2556
ร่วมแสดงมุทิตาจิต สู่ 80 ปี สุเทพ วงศ์กำแหง
ประชันกลอนสดกลอนกระดาษ “การเมืองและการเลือกตั้ง” ครั้งที่ ๒
ประชันกลอนสดกลอนกระดาษ “การเมืองและการเลือกตั้ง” ครั้งที่ ๒
7 เล่มสุดท้าย ซีไรต์ 2556
เยาวชนอายุระหว่าง 8-18 ปี เชิญส่งภาพประกวดวันแม่
Young Thai Artist Award 2013
ประกวดรางวัลวรรณกรรมรามคำแหงครั้งที่ 3
งานประชันกลอนสด ชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
“ข้าวไทย เด็กไทย เรียงความชิงแชมป์ประเทศไทย”
เชิญร่วมกิจกรรม “ค่ายกวีน้อยเมืองนคร” 20-21 ก.ค. 56
พิธีมอบรางวัลสุนทรภู่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่องสั้นเข้ารอบสุดท้าย รางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ ปี 2556
โครงการอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่น ๒๒ (นิราศภูเขาทอง)
รางวัลศรีบูรพา เป็นคนที่ 25 (2556) ธีรภาพ โลหิตกุล
ประสพโชค เย็นแข นักกลอนอาวุโส นักเขียนรางวัลนราธิป เสียชีวิต
ประกวดพานแว่นฟ้าแห่งรัฐสภาไทยประจำปี ๒๕๕๖
5 พฤษภาคม วันนักเขียน
วันนักแปลและล่าม ครั้งที่ 7
ร่องรอยกาลเวลา : ลาว เพื่อนบ้านอาเซียน วัฒนธรรมร่วมสองฝั่งโขง
รายชื่อกวีนิพนธ์และรายชื่อกรรมการซีไรต์ 2556
เปิดตัวหนังสือตำนานครูเพลง เพลงไทยสากล ลูกกรุง (30 มีนาคม 56)
รางวัลศรีบูรพา ปี 2556
นำชมศิลปะเขมร 7 วัน 12-18 เมษายน 2556
รางวัลหนังสือดีเด่นประจำปี 2556 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ล่องเรือเพลง และสังสรรค์รวมพลคนมีนา ประจำปี 2556
ลาว คำหอม และ พนมเทียน รับรางวัลอมตะครั้งที่ 6
สัมมนา ปันหยีอิเหนา ๒-๖ มีนาคม ๒๕๕๖
พิธีมอบรางวัล “นักเขียนอมตะ” ครั้งที่ ๖
งานมอบรางวัลนักเขียนบทความดีเด่นและฟังสักวา
“ราชมงคล รักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน” ครั้งที่ 12
เชิญประกวด “กวีนิพนธ์” และ “นักเขียนรุ่นเยาว์ กวีพนธ์” เซเว่นบุ๊คอวอร์ด
รางวัลนักเขียนอมตะประจำปี 2555
ประกาศรายชื่อศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2555
เชิญร่วมประกวด “กวีนิพนธ์” รางวัลซีไรต์ 2556
การประกวดรางวัลพระยาอนุมานราชธน
ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2555
ผลการตัดสินรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ประจำปี 2555
ประกวดรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ครั้งที่ ๒, ๒๕๕๕
ประชุมวิชาการ 100 เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ครั้งที่ 8
สมาคมนักกลอนเชิญชวนแข่งขันกลอนสดประจำปี ๒๕๕๕
นายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
ผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด 2555
นวนิยาย "คนแคระ" ของ วิภาส ศรีทอง คว้าซีไรต์ปี 2555
สัมมนาวิชาการ “ท้องถิ่นอีสานกับการปรับตัวยุคโลกาภิวัฒน์”
ภาพงานรับรางวัลพานแว่นฟ้า ปี 2555
การคัดเลือกกวีรางวัลสุนทรภู่ ประจำปี ๒๕๕๕
ร่องรอยกาลเวลา: ลุ่มน้ำน่าน
รายการศิลป์สโมสร - รางวัลสุนทรภู่ 26 มิถุนายน 2555
จัดงานเปิดตัวหนังสือชุดบทกวีคำเมือง
โครงการเที่ยวเชียงใหม่ ไหว้พระ(เกิน)เก้าวัด กับนายกสมาคมนักกลอน
โครงการแทนคุณแผ่นดิน ปี ๒๕๕๕
ร่องรอยกาลเวลา : สุรินทร์
ร่อยรอยกาลเวลา : ตรัง
งานมหกรรมทุเรียนโลก จังหวัดจันทบุรี
สงกรานต์นักกลอน" วันอาทิตย์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕
สัมมนา "จ้วง-ไท ศึกษา การค้นพบอักษรภาพของชนเผ่าไท"
เชิญชมหนังสือตัวอย่าง "ทางอีศาน" งานสัปดาห์หนังสือ
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 40, 2555
รางวัล "ศรีบูรพา" ประจำปี 2555
ชิงรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี ๒๕๕๕
รวมพล คนมีนา" โดยพร้อมเพรียงกัน
กำหนดการชุมนุมเสวนา 72 ปี เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ประชุมใหญ่สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
เสวนากวี ม.แม่โจ้ ๔ ธ.ค
โครงการ สานสายสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 2
เชิดชูปูชนียบุคคลและผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น กระทรวงวัฒนธรรม
“รักสร้างสรรค์สยาม” โดยกลุ่มสห+ภาพ
ขอเชิญร่วมเปิดตัวนิตยสาร "อีศาน" และหนังสือ "บทนำชีวิต"
ประกาศผลรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี ๒๕๕๔
ประกวดเรียงความ เรื่องสั้น บทกวี รางวัลธรรมวรรณศิลป์
ประกาศผลการตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่นรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ ๘ (ประจำปี ๒๕๕๔)
ขอเชิญร่วมแข่งสักวากลอนสด
โครงการกล้าวรรณกรรม ถอดรหัสนักวาดการ์ตูนในฝัน
เสวนา ๒๕ ปีสำนักพิมพ์แม่คำผาง
เปิดรับ “ศิษย์เก่า” รางวัลพานแว่นฟ้า
กาดผญาครั้งที่ ๕ ทัวร์วัฒนธรรมรถรางไหว้พระ ๙ วัด
Young Thai Artist Award 2011
นิทรรศการจัดแสดงผลงานของท่านสุนทรภู่ แนวร่วมสมัย
โครงการกล้าวรรณกรรม รุ่นที่ 8 เข้าอบรมฟรี
กิจกรรม คุณ...จะเอาพวกเขาไปไว้ที่ไหน?
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จุดประกายความคิด
งานประกาศผลรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ครั้งที่ ๑๒
วิจารณ์วรรณกรรม ชั่วฟ้าดินสลาย



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ