ReadyPlanet.com
dot dot
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่

 ภาษาเปรียบเสมือนหัวใจของมนุษย์ เพราะเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารที่สำคัญยิ่ง ทุกชนชาติทุกเผ่าพันธุ์ล้วนมีภาษาประจำชาติ เช่นเดียวกับภาษาของชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย ซึ่งอาศัยอยู่ตามป่าเขาและถิ่นทุรกันดารห่างไกลความเจริญ แม้ว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีปัญหาด้านการสื่อสารกับคนไทยส่วนใหญ่ แต่ก็มีอัตลักษณ์ของภาษาที่ควรค่ายิ่งแก่การอนุรักษ์มิให้สูญหาย

 
 “กะเหรี่ยง” เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ ที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม รวมทั้งการแต่งกายที่น่าสนใจ ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาค้นคว้าทั้งแนววิชาการที่เป็นความรู้เบื้องต้น และแนวสารคดีเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ให้ความรู้และความบันเทิง อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาษากะเหรี่ยงแนวภาษาศาสตร์ในช่วง 50 กว่าปีที่ผ่านมาพบว่ามีผลงานวิจัยด้านสัทศาสตร์เพียงรายการเดียว นอกนั้นเป็นด้านภาษาศาสตร์พรรณนา และภาษาศาสตร์เปรียบเทียบและเชิงประวัติซึ่งพอมีบ้าง 

 
 คณะวิจัยซึ่งมี ศ.ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ จากภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการ “ภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยง” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายวิชาการ สกว. ได้ลงพื้นที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัทศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ตามรอยพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการอนุรักษ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประจำเผ่าของชาวกะเหรี่ยง 


 ก่อนหน้านี้ ศ.ดร.ธีระพันธ์และคณะได้ศึกษาโครงการ “ความหลากหลายทางภาษาในจังหวัดน่าน: ความรู้พื้นฐานเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว” เพื่อบูรณาการความรู้ต่างศาสตร์ (ภาษาศาสตร์-ภูมิศาสตร์) สำหรับการแสวงหาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับจังหวัดน่านซึ่งเป็นความรู้ใหม่ โดยร่วมมือกับผู้รู้ในท้องถิ่นนั่นคือ ประชาคมน่าน เพื่อผลิตผลงานวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดน่านอย่างเป็นระบบ โดยองค์รวมที่ได้รับจากโครงการนี้ประกอบด้วย หนังสือประกอบภาพ 4 ภาษาเรื่อง “จากภูฟ้าน่าน สู่ภูฟ้ามหานคร” ศัพทานุกรม 15 ภาษาที่พูดในจังหวัดน่าน บทความวิจัยภาษาอังกฤษ 4 เรื่องที่เน้นการพิสูจน์แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับวิวัฒนาการของวรรณยุกต์จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ฐานข้อมูลหมู่บ้าน 902 หมู่บ้านโดยใช้ระบบงานสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่สร้างขึ้น รายงานผลการประมวลและสังเคราะห์ฐานข้อมูลหมู่บ้านซึ่งเน้นเรื่องแหล่งท่องเที่ยวและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดน่านระดับตำบล และแผนที่สี
 โครงการดังกล่าวดำเนินการได้อย่างราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์เกินคาด ก่อประโยชน์อย่างมหาศาสตร์ต่อวงวิชาการด้านภาษาศาสตร์ทั้งระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับภาพของ “องค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนา” อันเป็นปรัชญาในการให้ทุนของฝ่ายวิชาการ สกว. ชัดเจนยิ่งขึ้น

 
 ผลงานทั้งหมดของโครงการน่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ถึง 5 ด้าน คือ 1. เชิงพาณิชย์: อุตสาหรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและวัฒนธรรมอันล้ำค่าของจังหวัดน่าน 2. เชิงวิชาการ: ช่วยอนุรักษ์ภาษาพื้นเมืองที่พูดในจังหวัด 3. เชิงสาธารณะ: พัฒนาท้องถิ่นตามโครงการในพระราชดำริรวมทั้งโครงการของภาครัฐและเอกชน 4. เชิงนโยบาย: ช่วยให้ผู้บริหารระดับจังหวัดจนถึงระดับตำบลสามารถจัดทำนโยบายและแผนพัฒนาด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5. ความเข้มแข็งของชุมชน: ทำให้ชาวน่านภูมิใจในจังหวัดของตน เกิดความเข้มแข็งและมั่นคง
 นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังได้จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา โดย สกว. ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ “จากภูฟ้าน่าน สู่ภูฟ้ามหานคร” รวมทั้งสิ้น 1,600 เล่ม เพื่อพระราชทานและจำหน่ายในร้านภูฟ้า นอกจากนี้ สกว.ได้แจกหนังสืออีกส่วนหนึ่งให้หน่วยงานต่างๆ และบุคคล ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของโครงการนี้ส่งผลให้ ศ.ดร.ธีระพันธ์ได้รับคัดเลือกให้เป็นโครงการเด่น สกว. ประจำปี 2550
 ถึงวันนี้ ศ.ดร.ธีระพันธ์ยังคงสานต่อโครงการด้านภาษาศาสตร์ของชาวกะเหรี่ยง โดยมีเครือข่ายวิจัยที่เข้มแข็งทั้งในประเทศจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และนักวิจัยต่างประเทศ ร่วมกันทำงานด้วยใจรักและตระหนักถึงความสำคัญของภาษาศาสตร์ จึงทุ่มเทกำลังกายกำลังใจให้กับการศึกษาวิจัยด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
 ล่าสุดคณะวิจัยของ ศ.ดร.ธีระพันธ์ พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของฝ่ายวิชาการ สกว. ได้เดินทางไปศึกษาวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง พร้อมกับรายงานความก้าวหน้าโครงการฯ ณ ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ซึ่ง ศ.ดร.ธีระพันธ์กล่าวว่า กลุ่มชนที่พูดภาษากะเหรี่ยงในประเทศไทยมีทั้งหมด 6 กลุ่ม กระจายอยู่ในพื้นที่ 15 จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันตก อีกทั้งยังมีนักเรียน นักศึกษา ผู้ใช้แรงงานและแม่บ้านอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ เช่นในกรุงเทพฯ ด้วย
 “การใส่ห่วงคอทองเหลืองมีผลอย่างมากต่อการออกเสียงของหญิงกะยัน (กะเหรี่ยงคอยาว) เนื่องจากความผิดปกติของสรีระช่วงระหว่างใต้คางถึงกระดูกไหปลาร้าและกระดูกซี่โครงตอนบน รวมทั้งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับบริเวณดังกล่าว อาจทำให้มีปัญหาในการพูด และพูดนานๆ ไม่ได้ นอกจากนี้ยังศึกษาระบบสระและลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระ ตลอดจนระบบวรรณยุกต์และลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ในภาษากะเหรี่ยงกลุ่มต่างๆ ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร” ศ. ดร.ธีระพันธ์กล่าวถึงการศึกษาการออกเสียงของชาวกะเหรี่ยง ส่วนหลักเกณฑ์ในการใช้ลักษณะนามของภาษากะเหรี่ยงนั้น จะแบ่งตามลักษณะกายภาพของคนจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนสัตว์ประเภทอื่นๆ และสิ่งของ จะใช้รูปทรงเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทที่สะท้อนให้เห็น จากการใช้ลักษณะนาม รูปทรงหลัก คือ ยาว แบน และกลม
 นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมวิจัยท่านอื่นๆ นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการด้วย อาทิ ผศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ จากสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ศึกษาสระธรรมดาและสระนาสิกในภาษากะเหรี่ยงโป ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ศึกษากะเหรี่ยงโปแพร่เพื่อจัดกลุ่มภาษากะเหรี่ยงโปที่พูดในประเทศไทย และ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยคอแนลล์ ศึกษาภาษากะเหรี่ยงสะกอ เพื่อไขปริศนาสัทลักษณะร่วมของกลุ่มเสียง ร
 ขณะที่การศึกษาวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงนั้น ดร.วิชาติ บูรณประเสริฐสุข คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอโครงร่างของหนังสือ 2 ภาษา ภาษาไทย-อังกฤษ ประกอบภาพ “เรื่องเล่าจากชายแดนไทย-พม่า: ประกายไฟเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อสะท้อนภาพชีวิตชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทย ปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งนำเสนอโครงการตามพระราชดำริที่ช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวกะเหรี่ยง เพื่อให้อยู่ร่วมกับคนไทยได้อย่างสันติและมีความสุข ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สอดคล้องกับการดำเนินวิถีชีวิต ขนบวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่ดั้งเดิม โดยใช้วิธีนำเสนอที่มีสาระและทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลิน
 จากการศึกษาพบว่าชาวกะเหรี่ยงในชุมชนวัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม ปกากะญอที่ยังคงมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียงตามวิถีเดิมทั้งการแต่งกาย ประเพณี กินมังสวิรัติตามตำนานเล่าขานที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ฉันเนื้อสัตว์ รวมทั้งมีศรัทธาต่อพุทธศาสนาและครูบาเจ้าชัยวงษาพัฒนาซึ่งนำไปสู่การพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งการศึกษา สาธารณสุข และคุณภาพชีวิต แต่ปัจจุบันชีวิตของชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมเมือง ทั้งวิถีปฏิบัติของคนรุ่นใหม่ที่เข้าวัดน้อยลง ไม่กินมังสวิรัติ ไม่สนใจเพาะปลูก มีความคิดเห็นแตกต่างจากกลุ่มอนุรักษ์วิถีดั้งเดิม และมีค่านิยมและความเชื่อว่าควรแต่งงานตั้งแต่อายุไม่เกิน 18 ปี มิฉะนั้นจะถูกเรียกว่าสาวแก่ ฯลฯ
 ขณะที่ชุมชนสวนผึ้ง จ.ราชบุรี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโปที่นับถือศาสนาพุทธและคริสต์ เลือกที่จะขายที่ดินทำกินให้นายทุนเพื่อสร้างรีสอร์ทพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว “สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย” แล้วมารับจ้างทำงานที่รีสอร์ท หรือทำงานโรงงาน อีกทั้งมีคนรุ่นใหม่เกือบทั้งหมดได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ยอมพูดภาษากะเหรี่ยง ไม่ทอผ้าใส่ ไม่ภูมิใจในความเป็นกะเหรี่ยงของตน จึงอาจนำไปสู่การสูญสิ้นอัตลักษณ์ในอีกไม่ช้า
 หลังเสร็จสิ้นการรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัย คณะทั้งหมดได้เดินทางไปเยี่ยมชมวิถีชีวิตกะเหรี่ยงโปบ้านเจ้าวัดยางแดง ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง โดยมีหัวหน้าบ้านที่เรียกกันว่า “เจ้าวัด” เป็นผู้นำทางสังคมและเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ในภาษากะเหรี่ยงเรียกเจ้าวัดว่า “โบวคู้” แปลว่า ผู้นำในการทำบุญ ทั้งนี้ผู้เป็นเจ้าวัดจะต้องเป็นผู้ทรงคุณธรรม มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านความเชื่อและพิธีกรรม นอกจากนี้ยังต้องสมถะ สันโดษ รักษาศีล ประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดกว่าชาวบ้านธรรมดา เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด ไม่กินเนื้อสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ยกเว้นสัตว์ป่า การเป็นเจ้าวัดถือเป็นการบวชอย่างหนึ่ง ไม่มีการสึก จะต้องเป็นไปจนตาย เมื่อเจ้าวัดสิ้นชีวิต
 ใกล้ๆ บ้านเจ้าวัดจะมีสถานที่ประกอบพิธีกรรม ลักษณะเป็นลานกว้าง มีสัญลักษณ์ทำด้วยไม้ เรียกว่า “เจดีย์” ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวกะเหรี่ยง เมื่อจะเข้าไปยังบริเวณลานรอบเจดีย์ทุกคนต้องถอดรองเท้าและห้ามถ่ายภาพอย่างเด็ดขาด โดยในวันสงกรานต์หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 กลุ่มกะเหรี่ยงที่มีบรรพบุรุษเดียวกันจะมารวมกันที่หมู่บ้านเจ้าวัด เพื่อร่วมทำพิธีในการไหว้พระเจดีย์กลางหมู่บ้านที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “การไหว้พระใหญ่” เป็นการไหว้เจ้าที่เจ้าทางให้คุ้มครองอยู่เย็นเป็นสุขทั้งหมู่บ้าน 
 จากนั้นคณะทั้งหมดเดินทางต่อไปยังสำนักงานเขตของศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 73 เพื่อชมกรรมวิธีย้อมฝ้ายสีธรรมชาติและทอผ้า ผ้าทอและเครื่องใช้ของกลุ่มบ้านอีมาด หมู่ 4 ใน ต.บ้านไร่ และร่วมพิธีสืบชะตาเพื่อขอขมาที่ได้ทำสิ่งไม่ดีทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม พิธีดังกล่าวปกติจะมีขึ้นในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกในฤดูฝน ที่ชาวกะเหรี่ยงถือว่าเป็นปีใหม่ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ตามจันทรคติ ประมาณเดือนเมษายนของทุกปี
 การดำเนินการวิจัยภายใต้การนำของ ศ.ดร.ธีระพันธ์ จึงนับเป็นตัวอย่างที่ดีของการวิจัยพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงลึกและสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการสืบสานด้านภาษาและวิถีชีวิตที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนกะเหรี่ยงอย่างยั่งยืน และเป็นจุดขายในการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเน้นศักดิ์ศรีของความเป็นคนที่มีจิตวิญญาณและศิลปวัฒนธรรม

นิธิปรียา จันทวงษ์
เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ
ฝ่ายวิชาการ สกว.
โทร. 0-2278-8249
 




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ