ReadyPlanet.com
dot dot
ภาพกิจกรรมร่องรอยกาลเวลา: นครปฐม
ร่องรอยกาลเวลา : ลุ่มน้ำนครชัยศรี ทวารวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิ
มหา สุรารินทร์
อาจจะเรียกว่าเป็นกิจกรรมต่อเนื่องก็ว่าได้ สำหรับโครงการสัมมนาวิชาการแบ่งปันความรู้ “ร่องรอยกาลเวลา” ซึ่งจัดโดย สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล ร่วมกับ วารสารวิทยาจารย์ และได้รับงบสนับสนุนการจัดกิจกรรมจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

โครงการ “ร่องรอยกาลเวลา” ครั้งล่าสุดนี้ใช้ชื่อว่า “ร่องรอยกาลเวลา : ลุ่มน้ำนครชัยศรี ทวารวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิ” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-19 กันยายน ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม นอกจากองค์กรหลักข้างต้นแล้ว ยังมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม มูลนิธิอมตะ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย บริษัท สถาพรบุ๊คส์ จำกัด ออนอาร์ต ครีเอชั่น และ ชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน-นครปฐม เป็นเจ้าภาพร่วมจัดและสนับสนุนการจัดกิจกรรมครั้งนี้อีกด้วย

เช้าวันแรก การสัมมนาเริ่มขึ้นท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายลงมาสร้างความฉ่ำเย็นให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก นายสุรพล แสวงศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา และ นายรังสรรค์ อ้วนวิจิตร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 เป็นผู้กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม โดยมี บันลือ จันดาศรี จากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย และ มินทร์ลดา นิธิโชตินันทชัย จากสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล เป็นพิธีกรตลอดทั้งวัน

การเสวนาหัวข้อแรกของภาคเช้า “นครปฐมมาจากไหน? : ลุ่มน้ำนครชัยศรี ทวารวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิ” เต็ม เปี่ยมด้วยสาระความรู้จากวิทยากรในพื้นที่ซึ่งทำงานค้นคว้า พร้อมด้วยนิทรรศการลำดับความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์ นำเสนอยาวนานกว่า 3 ชั่วโมง มี อ.วัฒนะ บุญจับ เลือดเนื้อเชื้อไขคนลุ่มน้ำนครชัยศรี จากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินรายการ

วิทยากรท่านแรกคือ อ.บุหลง ศรีกนก จากรายการจดหมายเหตุกรุงศรี เริ่มต้นอธิบายภาพเก่าเกี่ยวกับองค์พระปฐมเจดีย์และหลักฐานอ้างอิงจากนัก วิชาการที่ค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนครปฐมโบราณ ทั้งนี้อาจารย์ได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจคัดลอกรูปภาพที่นำมาบรรยายเพื่อนำไป ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนได้อีกด้วย

ขณะที่ ผศ.นุกูล ชมภูนิช อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้นำนิทรรศการเกี่ยวกับองค์พระปฐมเจดีย์ เจดีย์ประโทน รวมทั้งเจดีย์จุลประโทน และรูปภาพสันนิษฐานองค์พระปฐมเจดีย์ก่อนที่จะเป็นรูปลักษณ์ที่ปรากฏอย่าง ปัจจุบัน รวมทั้งเรื่องราวแนวคิดการจัดทำอุทยานทวารวดีมาเสนอในวงเสวนา ทั้งนี้หลักฐานทั้งหลายที่ อ.นุกูล อ้างอิงพยายามที่จะบอกว่า นครชัยศรี เป็นศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดี รวมทั้งบอกเล่าเรื่องราวนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันของเมืองนครปฐม และปัญหาการรบกวนโบราณสถานของตึกรามบ้านช่อง ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีหน่วยงานใดมารับผิดชอบ

วิทยากรอีกท่านคือ อ.ทรงยศ แววหงษ์ จากมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งได้ให้ภาพที่กว้างขึ้นมาอีกเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเมืองนครปฐมโบราณ ทั้งในแง่การค้า เศรษฐกิจ สังคม แล้วโรยราลงก่อนจะเป็นจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้เมืองอู่ทองร้าง ซึ่งอาจรวมทั้งถึงเมืองนครชัยศรี ก่อนที่พระมหาเถรศรีศรัทธา เจ้านายสายสุขโขทัยจะมาบูรณะ และพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา จะเริ่มให้ความสนใจเมืองนครชัยศรีโบราณอีกครั้ง รวมทั้งอธิบายถึงศิลปกรรมต่างๆ ของโบราณสถานที่ปรากฏในลุ่มน้ำนครชัยศรีและสุวรรณภูมิ

ภาคบ่ายเป็นการเสวนาห้องย่อย โดยแบ่งเป็น 4 ห้องด้วยกัน เริ่มที่ห้องที่ 1 หัวข้อ “นิราศลุ่มน้ำท่าจีน สุนทรภู่ – เสมียนมี – หลวงจักรปาณี : หมายเหตุร่วมสมัย” ห้องนี้ดำเนินรายการโดย ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย วิทยการท่านแรกคือ บุญเตือน ศรีวรพจน์ จากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ได้พูดถึงกวี 3 ท่านที่เกี่ยวพันกับการเขียนนิราศในลุ่มน้ำนครชัยศรี โดยเฉพาะจังหวัดนครปฐม คนแรกคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ซึ่งเขียนโคลงนิราศพระประธม เมื่อ พ.ศ. 2377 ท่านที่สองคือ สุนทรภู่ เขียนนิราศพระประธม เมื่อ พ.ศ. 2385 เมื่อมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ และ หลวงจักรปาณี (ฤกษ์) เขียนนิราศพระปฐม เมื่อ พ.ศ. 2417 ที่มีนิทานเรื่องพระยากง พระพาน
นอกจากนี้ยังมีกวีอีกท่านที่เดินทางผ่านมาแล้วพรรณนากวีโวหารเกี่ยวกับองค์พระปฐมเจดีย์และพระประโทนเจดีย์ คือ หมื่นพรหมสมพัตสร (นายมี) เขียนนิราศพระแท่นดงรัง และ นิราศสุพรรณ นอกจากเนื้อหาในนิราศแล้ว อ.บุญเตือน ยังบอกเล่าเกร็ดชีวิตของของเหล่ากวีเป็นของแถมให้อีกต่างหาก

อ.บุญ เตือน ยังกล่าวด้วยว่า นิราศที่เกี่ยวกับลุ่มน้ำนครชัยศรียังมีอีกหลายสำนวน แต่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น โคลงนิราศสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) และ นิราศปากลัด

ขณะเดียวกัน อ.วารุณี โอสถารมย์ จากสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เชื่อมโยงและพูดถึงมุมมองในการอ่านนิราศในอีกมิติหนึ่ง คือนอกจากจะเสพย์ความงามทางภาษาแล้ว ยังมีมิติชุมชน ชื่อบ้านนามเมืองที่นิราศในยุคต้นรัตนโกสินทร์ได้บันทึกไว้พร้อมวิถีชีวิต ผู้คน และสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบยังชีพมาเป็นเศรษฐกิจแบบเงิน ตรา

อ.วารุณี ได้หยิกบยก โคลงนิราศสุพรรณ ของ สุนทรภู่ ซึ่งเดินทางผ่านมาบริเวณจังหวัดนครปฐมจากลุ่มน้ำนครชัยศรี และ นิราศสุพรรณ ของ หมื่นพรหมสมพัตสร (นายมี) ซึ่ง เดินทางไปเก็บภาษีอากร มาเป็นเรื่องหลักในการเสวนา ได้เล่าถึงความยากลำบากของการเดินทางในสมัยนั้น ประกอบกับเรื่องเล่าของคนท้องถิ่นที่ปรากฏในนิราศทั้งสองเรื่อง ซึ่งบันทึกการเดินทางในเวลาที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่เจตนาของการเดินทางเป็นคนละอย่าง

ยุทธ โตอดิเทพย์ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย วิทยากรอีกท่านหนึ่ง กล่าวเชื่อมโยงอิทธิพลและแรงบันดาลใจของกวีถึงกวี อย่าง นิราศประธม ของ สุนทรภู่ ที่มีทั้งคำอธิษฐานของสุนทรภู่ต่อองค์พระปฐมเจดีย์ หรือโวหารเปรียบเทียบที่ส่งผลในนิทานกลอนอ่านพระอภัยมณี รวมทั้งคำอธิษฐานใน เสียเจ้า ของ อังคาร กัลยาณพงศ์ กับ คำอธิษฐานของสุนทรภู่ในนิราศพระประธม นอกจากนี้ในช่วงของการตอบคำถาม ได้มีการหยิบยกถ้อยคำในนิราศมาวิเคราะห์ด้านนิรุกติศาสตร์กันอย่างออกรสอีก ด้วย

ห้องย่อยที่ 2 “นิทาน ตำนาน ประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำแม่กลอง–ท่าจีน : เจิ้งเหอ พระยากง พระยาพาน ตำนานรักขุนไกร นางทองประศรี” ห้องนี้มี อ.สมปอง ดวงไสว จากรายการวิทยุ คือไทยหัวใจศิลป์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดยเริ่มจากวิทยากรท่านแรก ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งงานเล่มคลาสสิกของนักบริหารท่านนี้ คือเรื่อง เจิ้งเหอ มหาขันทีจีน เชื้อสายมุสลิม ที่เดินเรือมหาสมบัติของจักรพรรดิจีนไปเกือบทั่วโลก รวมทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยา พร้อมเชื่อมโยงเข้ากับความเชื่อเกี่ยวกับศาลซำปอกงที่ปรากฏทั่วภูมิภาคอุษา คเนย์ ทั้งนี้ อ.สืบแสง ยังแสดงให้เห็นว่า การเดินเรือเพื่อการค้าเกี่ยวข้องกับบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก อย่างไร โดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำนครชัยศรี

วิทยากรอีกท่านหนึ่ง ทองแถม นาถจำนง บรรณาธิการ นสพ.สยามรัฐรายวัน ที่มาพร้อมกับเรื่องราวในขุนช้างขุนแผน ที่เกี่ยวกับคนลุ่มน้ำนครชัยศรี กล่าวถึงเส้นทางรักของนางทองประศรีและขุนไกร ที่เชื่อมโยงไปถึงชื่อพ่อของขุนช้าง คือขุนศรีวิชัย และนำเสนอข้อมูลว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการแต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนสำนวนที่เกี่ยวกับขุนไกรและนางทองประศรี เพิ่มขึ้นมา เพื่อเชื่อมต่อเรื่องเดิมให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน รวมทั้งได้กล่าวถึงปมเรื่อง “ลูกฆ่าพ่อ” ในนิทานเรื่องพระยากง พระยาพานด้วย

วิทยากรอาวุโสอีกท่านหนึ่งคือ อ.บุญครอง คันธฐากูร ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ได้พูดถึงความเปลี่ยนไปของลุ่มน้ำสุพรรณ ที่คนรุ่นหลังไม่รู้แล้วว่าสายน้ำแห่งนี้มีนิทาน ตำนาน อะไรบ้าง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ รวมถึงผู้มีหน้ารับผิดชอบต่างปล่อยปละละเลย และอาจารย์ยังบอกเล่าประสบการณ์ช่วงที่เป็นครู ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากคนรุ่นเก่าที่นับวันจะหายไปทีละคน

ห้องที่ 3 “กวีนิพนธ์ รู้สึก นึก คิด เขียน”มี พินิจ นิลรัตน์ จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการ แม้ว่าห้องนี้ ผศ.สกุล บุณยทัต อาจารย์นักวิจารณ์ชื่อดังจะไม่สามารถมาเป็นวิทยากรได้ เนื่องจากเป็นไข้หวัด แต่ได้สีสันไม่น้อยจากกวีวิทยากร ไม่ว่าจะเป็น โชคชัย บัณฑิต กวีซีไรต์ ที่เตรียมตัวมาอย่างดีเกี่ยวกับการเขียนบทกวีและการอ่านชีวทัศน์ หรือ วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ที่เล่นเอาผู้ฟังสะดุ้งทุกครั้งที่พูดเกี่ยวกับประเด็นกวีการเมืองและ จิตสำนึกของกวี รวมทั้งภาพลักษณะของการเมืองไทยในวันที่แบ่งแยกเล่นกีฬาสีเช่นทุกวันนี้

และห้องย่อยที่ 4 “ร้อง รำ ทำเพลง : เพลงพื้นบ้าน ฝั่งขวา แม่น้ำเจ้าพระยา” มี อ.หน่อง วงกอไผ่ หรือ อ.อานันท์ นาคคง จากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ดำเนินรายการ ห้องนี้มีแฟนเพลงเต็มห้อง แน่นหนากว่าทุกห้อง โดยวิทยากรท่านแรก ชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ เจ้าของเพลง ยอยศพระลอ เอื้อนเสียงเพลงตรึงผู้ฟังในห้องจนเงียบสนิท ขณะที่วิทยากรอีกท่าน เอนก นาวิกมูล จากบ้านพิพิธภัณฑ์ ได้บอกเล่าเรื่องราวเพลงพื้นบ้านซึ่งเป็นเพลงพื้นฐานให้เพลงลูกทุ่ง ด้วยความที่ อ.เอนกเป็นนักสะสม จึงมีทั้งภาพเก่า โปสเตอร์เพลงเก่าๆ มาให้ดูเป็นขวัญตา พร้อมด้วยข้อมูลเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านอีกมากมาย เพิ่มสีสันด้วยการขับเพลงพื้นบ้านของวิทยากร อ.วัฒนะ บุญจับ นักวิชาการเสียงเสน่ห์แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี

วันที่ 19 กันยายน ซึ่งเป็นวันที่สองของการสัมมนา กิจกรรมเริ่มตั้งแต่ 9.00 น. โดยได้รับเกียรติจาก นายสมชาย เสียงหลาย เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตำแหน่งในขณะนั้น ตำแหน่ง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษ ว่าด้วยยุทธศาสตร์และการเผยแพร่ความรู้เรื่องวัฒนธรรมกับชุมชน

ซึ่ง นายสมชาย ได้พูดถึงวัตถุ ประสงค์ของการสัมมนาครั้งนี้ ว่าจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งมีทั้งผู้บริหารการศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับหลักสูตรการเรียนการสอน ปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตำนานนิทาน วรรณกรรมท้องถิ่น รวมทั้งการปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถนำเอาองค์ความรู้ท้องถิ่นมา จัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนและภาษาวรรณกรรมเป็นส่วนประกอบ หลักในการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังควรนำเอาหลักธรรมทางศาสนามาบูรณาการให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ รวมทั้งการสร้างรสนิยม หรือ สุนทรียศาสตร์ ที่เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีงามและสิทธิทางวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นแก่เยาวชน รุ่นต่อไปด้วย

หลังจากการบรรยายพิเศษจบ เป็นการเสวนาห้องย่อย โดยแบ่งเป็น 3 ห้องด้วยกัน ห้องที่ 1 “สามก๊ก – ราชาธิราช – ไซ่ฮั่น วรรณกรรมแปล โลกทัศน์ของชนชั้นนำสยาม มี อ.ถวัลย์ พึ่งเงิน เลขาธิการสมาคมนักกลอนฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ วิทยากรประกอบด้วย ทองแถม นาถจำนง หรือ โชติช่วง นาดอน ที่หยิบยกสามก๊กสำนวนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สำนวนของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) สามก๊ก ฉบับวณิพก ของ ยาขอบ หรือ ฉบับนายทุน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มาบอกเล่าและวิเคราะห์อย่างละเอียด นอกจากนี้ ยังได้พูดถึงลักษณะตัวบุคคลต่างๆ ใน สามก๊ก เป็นลักษณะเปรียบเทียบ รวมทั้งได้กล่าวถึงสำนวนที่เป็นการ์ตูนกับข้อเท็จจริงในสามก๊กด้วย

ขณะที่วิทยากรอีกท่านหนึ่งคือ คุณองค์ บรรจุน คนที่ประกาศว่าตัวเองเป็นโรคที่รักษาไม่หาย คือ “โรคมอญ” คุณองค์ได้พูดถึงพงศาวดารมอญเรื่อง ราชาธิราช ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่วรรณคดีเท่านั้น หากแต่เป็นประวัติศาสตร์พงศาวดาร และคนมอญเองก็เชื่อว่า “ราชาธิราช” เป็นพงศาวดารอย่างสนิทใจอีกด้วย วรรณคดีเรื่องนี้จึงมีอิทธิพลทางความคิดความเชื่อต่อชาวมอญโดยทั่วไปอย่าง มาก ท่านยังได้พูดถึงพระราชกุศโลบายของรัชกาลที่ 1 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แปลราชาธิราชหลังขึ้นครองราชย์เพียง 3 ปี นั้น น่าจะเป็นโลกทัศน์ในการกล่อมเกลาทางการเมืองและยกยอพระมหากษัตริย์ในเชิง อุดมคติ และอีกเหตุหนึ่งก็คือการที่ชนชั้นนำส่วนมากในยุคนั้นสืบเชื้อสายมาจากมอญ นั่นเอง

รักษ์ มนัญญา นักเขียน กวี และบรรณาธิการ วิทยากรอีกท่านหนึ่ง ได้พูดถึงวรรณกรรมแปลทั้งสามเรื่องในอีกมิติหนึ่งที่ส่งผลต่องานวรรณกรรมและ โลกทัศน์ของขุนนาง โดยเฉพาะราชาธิราช ที่มอญรบกับพม่า ขณะที่ สามก๊ก หรือ ไซฮั่น แม้จะมองว่าเป็นไปเพื่อความบันเทิง แต่ได้มีกลยุทธต่างๆ อยู่ในนั้นที่สร้างความฮึกเหิมในยุคต้นรัตนโกสินทร์ที่ยังผูกพันกับสงคราม และต้องไม่ลืมว่าผู้คนที่ปะปนปด้วยเชื้อชาติต่างๆ มีคนจีนอยู่ไม่น้อยที่มาทำการค้าและอยู่มาแต่เดิม ทั้งที่เป็นเต้จิ๋วและฮกเกี้ยน

ห้องที่ 2 หัวข้อ “ภูมิสังคมวัฒนธรรมกับการจัดนิเวศลุ่มน้ำ” มี อ.ประเชิญ คนเทศ จากชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน – นครปฐม เป็นผู้ดำเนินรายการ วิทยากรท่านแรกมาจากองค์กรเดียวกันคือ ผศ.เด่นศิริ ทองนพคุณ เลขาธิการชมรมฯ ซึ่งได้ฉายภาพเกี่ยวกับกิจกรรมของชมรมที่เดินหน้าจัดการปัญหาต่างๆ ของลุ่มน้ำแห่งนี้ พร้อมกับวิดีทัศน์เรื่องราวต่างๆ

ขณะที่อีกท่านหนึ่งมาจากสายนักปกครอง คือ เฉลิมศักดิ์ แหงมงาม นักเขียน-รองอธิการบดีวิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้พูดถึงประสบการณ์ตั้งแต่เป็นปลัดอำเภอในหลายๆ จังหวัด จนเป็น นายอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด ที่อยู่บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ก่อนจะโอนย้ายมาอยู่ส่วนกลาง ยังเคยที่ดูแลเรื่องการจัดปัญหาห้วยน้ำลำคลองและปัญหาสิ่งแวดล้อม

ด้าน ดร.สมยศ แสงสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บมจ.บริหารและการพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือที่รู้จักในนาม “เจนโก้” ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการกากขยะ โดยเฉพาะซากแบตเตอรี่มือถือ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเพิ่มปริมาณกากมลพิษขึ้นทุกปี โดยในปี 2552 มีถึง 30 ล้านตัน

ห้องที่ 3 คับคั่งไปด้วยวิทยากรชื่อ ส. ในหัวข้อ “ครูบ้านนอก : วรรณกรรมบนแผ่นฟิลม์ ถึง คุรุปฏิวัติ : ตำนานโลกไม่ลืม” มี ปรีดา ข้าวบ่อ แห่งชนนิยม ดำเนินรายการ

ห้องนี้วิทยากรประกอบไปด้วย ส. แรก สมพงศ์ พละสูรย์ หรือ นักเขียนนามปากกา คำหมาน ฅนไค ผู้สร้างเรื่องราวของครูปิยะแห่งบ้านหนองหมาว้อให้มาโลดแล่นบนแผ่นฟิล์ม ครูคำหมานพูดถึงปัญหาการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยเฉพาะหลักการเรียนและหลักการสอน หรือทักษะความรู้ที่ไม่ใช่เป็นสินค้า และปัญหาที่ครูมักจะยกย่องตัวเองเพียงเพื่อจะได้เลื่อนวิทยาฐานะ นอกจากนี้ ครูคำหมานยังได้เล่าถึงความเป็นมาของนวนิยายเรื่อง จดหมายครูบ้านนอก จนมาถึงภาพยนตร์เรื่อง ครูบ้านนอก ด้วย

วิทยากรอีก ส. หนึ่งคือ สมจิตร พรรณา อดีตช่างศิลป์ ศาลาเฉลิมไทย ซึ่งเล่าประสบการณ์เมื่อภาพยนตร์เรื่องครูบ้านนอกเข้าฉายที่ศาลาเฉลิมไทย กว่าจะรอคิวได้ฉาย ภาพวาดโฆษณาครูปิยะหนวดก็เริ่มงอก และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ฉายก็มาแบบประเภท “ผีจับยัด” เมื่อแรกคิดว่าคงไม่ใช่หนังทำเงิน เพียงมาคั่นรายการเท่านั้น คงไม่รอดอาทิตย์เพื่อรอเวลา แต่กลับกลายเป็นหนังทำเงินในยุคนั้น

ส.ที่สามเป็น ส. เสมอ กลิ่นหอม กวีนามปากกา ขุน รำยอง เจ้าของสำนวน “กูคือตะวัน” ผู้เขียนเรื่อง คุรุปฎิวัติ ตำนานโลกไม่ลืม เหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องสิทธิของครูโรงเรียนเอกชนเมื่อ พ.ศ. 2517 กว่า 7 เดือนเต็มๆ ส่งผลให้ครูโรงเรียนเอกชนได้รับสิทธิการคุ้มครองและสวัสดิการขึ้นมาในภายหลัง

ถัดมาอีกหนึ่ง ส. คือ สามารถ รอดสำราญ ผู้อำนวยการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา เจ้าของสถานที่ ผอ.สามารถ ประกาศว่าตนเองนั้นเป็น “หัวหน้าครู” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างครูน้อยกับครูใหญ่ วิทยากร ส. ท่านนี้ได้พูดถึงความต่างระหว่างการประเมินหรือปรับวิทยฐานะของครูมัธยมหรือ ประถม ทำไมต้องให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประเมินอยู่เสมอ นอกจากนี้ การพัฒนาควรเริ่มต้นที่โรงเรียนในการส่งเสริมให้นักเรียนเก่งๆ ให้ได้มีโอกาสตอบแทนสถานบันด้วยการส่งเสริมรุ่นน้อง

ส. สุดท้าย คือ สามารถ จันทร์สูรย์ จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งครูน้อยที่จังหวัดร้อยเอ็ดบ้านเกิด เมื่อแรกรับราชการก็ชอบทำกิจกรรมกับนักเรียน ในยุคที่ถูกหน่วยงานรัฐเข้มงวดเรื่องภัยคอมฯ จึงมักจะถูกครูใหญ่ตำหนิติเตียนว่า ทหาร ตำรวจ บอกให้ระวังพฤติกรรมหน่อย ท่านยังเสนอแนวคิดเพิ่มเติมด้วยว่า การปรับวิทยฐานะหรือการบริหารการศึกษานั้น ขึ้นอยู่กับว่ากล้าที่จะทำหรือเปล่า และรู้จักช่องทางที่จะทำให้ผลงานปรากฏหรือเปล่าเท่านั้น

 
จบการสัมมนาย่อยทั้ง 3 ห้อง เป็นชั่วโมงสุดท้ายของการสัมมนาครั้งนี้ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขา วรรณศิลป์ เป็นผู้บรรยายสรุป

กวี รัตนโกสินทร์แห่งสยามประเทศไทยท่านนี้ พื้นแพพ่อเป็นคนบ้านทวนเมืองกาญจน์ แม่สาวนครชัยศรีคนบ้านท่ากระชับที่สุนทรภู่ผ่านมาเมื่อครั้งมานมัสการองค์ พระปฐมเจดีย์ ประเด็นที่หยิบยกย่อมอยู่ที่องค์พระปฐมเจดีย์ที่มองอย่างเปรียบเทียบเชิง พุทธศาสตร์ พระปฐม คือ ปฐมธรรม ใน มรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นทางสายกลาง ปฐมเหตุในข้อสัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา

ทั้ง นี้ ยังได้เปรียบเทียบความเห็นในการรับรู้ทางความรู้สึกกับสังคมความเชื่อที่ เป็นปัญหากับสังคมไทยในทุกวันนี้เพราะผูกอยู่กับฐานความเชื่อเป็นเป็นฐาน ความรู้สึกในการเชื่อที่ฟังในสิ่งที่ตนเชื่อแต่ไม่ได้มองความเป็นจริงว่า สังคมนั้นจะเกิดอะไร นอกจากนี้ยังยังฝากบทกวีให้แง่คิดหลายสำนวนพร้อมด้วยนิทานสั้นๆ มาฝากผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ด้วย

ปิดท้ายรายการด้วยเสียงเพลงจาก ขุนพลเพลงลูกทุ่ง เจ้าของเสียงเพลง ล่องใต้,แม่แตงร่มใบ,บางกอกน้อย ชัยชนะ บุญณโชติ ศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (เพลงลูกทุ่ง) มาพร้อมกับ พิกุล บุญณโชติ มาแหล่สดๆ พร้อมกับขับเสภาและขับจังหวะสองไม้จากบทกวีของกวีรัตนโกสินทร์

การสัมมนาวิชาการแบ่งปันความรู้ ร่องรอยกาลเวลา : ลุ่มน้ำนครชัยศรี ทวารวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิ เป็น เพียงกิจกรรมหนึ่งที่จะนำร่องการศึกษาทางเลือกที่ความรู้อยู่กับท้องถิ่น และครูคือผู้บริการความรู้ให้กับชุมชน สร้างชุมชนอย่างเข้มแข็งและมีพลัง โดยเฉพาะด้วยความรู้จากภูมิสังคมวัฒนธรรม

โครงการร่องรอยกาลเวลา : ลุ่มน้ำนครชัยศรี ทวารวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิ จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยเฉพาะท่านเลขาธิการฯ สมชาย เสียงหลาย ที่ ให้การสนับสนุนตั้งแต่การจัดโครงการที่จังหวัดเลยและจังหวัดพัทลุง รวมทั้งองค์กรร่วมจัดทุกหน่วย และสื่อมวลชน ที่ช่วยประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของการจัดการสัมมนา เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีการสร้างสรรค์และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่าง ชุมชนและส่วนกลางอย่างเข้มแข็งและมีพลัง ด้วยความสมานฉันท์ เพื่อความรู้สาธารณะ

พบกันใหม่ใน “ร่องรอยกาลเวลา” ครั้งหน้า สวัสดีครับ

 




กิจกรรม

รวมภาพประกวดกลอนสดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ราชภัฏมหาสารคาม
ยุวกวีศรีศิลป์ ปีที่ ๒๓
สวดพระอภิธรรมศพ ประสพโชค เย็นแข
ล่องเรือเพลง สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ภาพวันประชุมใหญ่สมาคมนักกลอนฯ 2555
ภาพข่าวประชุมใหญ่สมาคมนักกลอน และวันนักกลอน
สงกรานต์นักกลอนประจำปี ๒๕๕๔
การประกวดคำขวัญบ้านเกาะ
Asean Youth 1:เยาวชนอาเซียนครั้งที่ 1
ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ ๑๐
ร่องรอยกาลเวลา 450 ปีเวียงจัน: หนองคาย-เวียงจันท์
พบปะกับกวี ทองแถม นาถจำนง และเพื่อน
ประชุมใหญ่ประจำปีและวันนักกลอน ๒๕๕๓
สบายดีเวียงจันท์ 450 ปี กับ ครูกวีน้อยเมืองนครฯสัญจร
ภาพกิจกรรมร่องรอยกาลเวลา: พัทลุง
ประชันสักวา-กลอนสด ม.ปลาย ราชภัฏมหาสารคาม
ค่ายนักเขียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
โครงการแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะจุดประกายความคิด
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๙
ตลาดวิชา ร่องรอยกาลเวลา: โขง
ภาพกิจกรรมสัมพันธ์ไทย-จีน(จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
งานรับมอบรูปปั้นเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
รักษ์เหลืองจันท์ ครั้งที่ 9
ค่ายเยาวชน ดนตรี กวี ศิลป์ สัญจร ๒๕๕๓
ภาพการประชุมใหญ่ และงานวันนักกลอน ๒๕๕๒
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๘ ตอนที่ ๓
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๘ ตอนที่ ๒
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๘
กิจกรรมร่องรอยของเวลา
งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ ครั้ง ที่ ๘
บันทึกวันนักกลอน ๒๕๕๑
ค่ายตะพานหิน
ผลการประกวดคำขวัญรณรงค์การเลือกตั้ง
สักวากลอนสดเรื่อง กากี ตอน ถูกลอยแพ
เงาสะท้อน:ปิยะพันธุ์ จำปาสุต
ค่ายภาษาไทยรักการอ่าน เขาทับคล้อ
ค่ายเยาวชนนครปฐม
78 ฝน "ดาเรศ" ลุงประสิทธิ์ โรหิจเสถียร
90 ปี เสนีย์ เสาวพงศ์
ภาพเล่าเรื่องกิจกรรม
กิจกรรม ยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ 17 นิราศภูเขาทอง
ร่องรอยของเวลา : เครือญาติ ชาติพันธุ์ สุวรรณภูมิ
สงกรานต์นักกลอน-สงกรานต์พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง
งานเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ “พระเมรุ” แรกมียุคกรุงศรีอยุธยา
พิธีไหว้ครู-ครอบครู ช่างสิปป์หมู่,
สักวาบอกบท พระมหาชนก ตอนเรือแตก
สยามประเทศไทย ของ พล นิกร กิมหงวน
รวมภาพค่ายเมืองเลย ๑๒-๑๓ ม.ค.๒๕๕๐
รวมภาพงานวันนักกลอน ๑๐ ธ.ค. ๒๕๕๐
รายงานกิจกรรมการแข่งขันประชันกลอนสด
จัดทำหนังสือนวมินทราศิรวาท
ผลการแข่งขันแซววาทีกลอนสด ๔ ภาค
ผลแข่งขันกลอนสดภาคกรุงเทพฯและปริมณฑล
ถอดรหัสนักวาดการ์ตูนในฝัน รุ่นที่ 4
ประมวลภาพข่าวสมาคมนักกลอนฯประชุมสัญจร
ตลาดนัดวิชา เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลโต้วาทีนักเรียนมัธยมงานมหกรรมประชาธิปไตย
ค่ายบ้านหมี่
ภาพงานการอบรม ยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ 16
ภาพประชุมสัญจร 22 เม.ย.
บรรยากาศงานสงกรานต์นักกลอน
อยุธยาศึกษา ตลาดวิชา
งานวันเกิด พี่เนาวรัตน์
ภาพงานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ ครั้ง ที่ ๖ article
รูปงานศพพ่อของ ผศ.ศิวากานท์ article
กิจกรรมออกค่ายตะพานหิน article
เปิดศูนย์ประสานงานสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย article



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ