ReadyPlanet.com
dot dot
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

 

ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
                                                                                                        สานิตย์   เพชรกาฬ
 
 
                       พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นกลุ่มทางสังคมและนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่มีเอกภาพและพัฒนาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง   โดยมีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดพัทลุงทั้งหมด พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสงขลาและพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช   ทะเลสาบสงขลาจัดเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 1,040 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 616,750 ไร่ ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกประมาณ 20 กิโลเมตร และความยาวจากทิศเหนือไปใต้ประมาณ 75 กิโลเมตร มีแม่น้ำหลายสายที่กำเนิดจากเทือกเขาบรรทัดไหลผ่านที่ราบลุ่มลงสู่ทะเลสาบ ทั้งยังได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลอ่าวไทยไหลเข้าสู่ทะเลสาบตอนล่าง   ยังผลให้ทะเลสาบสงขลามีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพและมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมเพื่อการดำรงชีวิต   การศึกษาวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงมิติแห่งกาลเวลาควบคู่กันไปด้วย   เพราะลักษณะทางกายภาพรูปพรรณสัณฐานของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบ ได้มีความแปรเปลี่ยนพัฒนาการเป็นเวลาอันยาวนาน ภูมิประเทศที่เป็นพื้นดิน ที่ราบลุ่ม ภูเขา เนิน(ควน) แม่น้ำ ทะเลและหมู่เกาะที่ปรากฏให้เห็นสภาพอยู่ในปัจจุบันได้ผ่านการกระทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้ง ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปและความเปลี่ยนแปลงโดยฉับไวเมื่อมีภัยพิบัติทางธรรมชาติ
                        ลักษณะในทำนองเดียวกันกับภาพมิติทางด้านวัฒนธรรมซึ่งเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา   ที่ได้ผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สั่งสม บ่มเพาะ พัฒนาผ่านห้วงกาลเวลาอันยาวนาน   แล้วนำไปถ่ายทอดประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องตอบสนองความต้องการของแต่ละชุมชน จนทำให้เกิดวัฒนธรรมย่อยที่ประพฤติปฏิบัติแตกต่างกันบ้างหรือเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม   ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติและอิทธิพลของการปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอก เพราะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเป็นพฤติกรรมการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับโลก สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช ธรรมชาติ ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ที่ร่วมกันในสังคมหรือชุมชน และความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ทั้งหลาย วัฒนธรรมจึงมีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมหรือวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ จากสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่มีทั้งป่าเขา ที่ราบลุ่มและพื้นที่ชายฝั่ง สามารถแบ่งชุมชนออกเป็นสามลักษณะคือ กลุ่มแรกเป็นชุมชนที่ราบชายฝั่งทะเลหรือนิยมเรียกกันในภาษาถิ่นว่า “โหมเล” มีการประกอบอาชีพประมง ทำนา ค้าขาย กลุ่มที่สองอยู่ในพื้นที่ราบตอนกลางสภาพเป็นทุ่งกว้างเรียกว่า “โหมท่ง” พื้นที่ราบสลับด้วยภูเขาหินปูนและเนินเขาสูงหรือควนและกลุ่มที่สามคือกลุ่มที่อาศัยอยู่บริเวณเชิงเขาบรรทัดทางทิศตะวันตก เรียกว่า “โหมเหนือ” มีอาชีพทำสวน ทำไร่ หาของป่า วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของผู้คนจึงแสดงออกในลักษณะที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นฐานของอาชีพและการดำรงชีวิต แต่ก็ยังมีพื้นฐานแนวความคิดในลักษณะเดียวกัน   คือความเป็นวัฒนธรรมที่ผูกพันในลักษณะเครือญาติของโครงสร้างสังคมระบบอุปถัมภ์ และเป็นวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนผลผลิต ดังปรากฏหลักฐานการแลกเปลี่ยนสินค้าในย่านชุมชน เมืองท่าและการสัญจรไปมาในทะเลสาบและแม่น้ำลำคลองทั้งยังมีกลอุบายการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้มีความเหนียวแน่นมั่นคงด้วยการ “ผูกเกลอ” ไว้สำหรับช่วยเหลือเกื้อกูลประหนึ่งญาติที่มีความใกล้ชิดอีกส่วนหนึ่งด้วย ชุมชนที่อยู่ริมทะเลและพื้นที่ราบลุ่มมีโอกาสได้รับอิทธิพลความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยีได้เร็วกว่าชุมชนที่อยู่เชิงเขา เพราะความสะดวกด้านเส้นทางคมนาคมทางน้ำซึ่งสามารถได้รับสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคได้เร็ว ทั้งยังสามารถติดต่อกับคนจีนและมุสลิมที่ได้เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมในเวลาต่อมา ในขณะที่ชุมชนเชิงเขายังอยู่ห่างไกลจากการได้รับอิทธิพลดังกล่าวจนทำให้คนที่ราบริมทะเลและที่ราบลุ่มมักจะเปรียบเปรยผู้ที่มีพฤติกรรมตามไม่ทันความเจริญดังกล่าวว่าเป็น “โหมเหนือ” อีกด้วย อิทธิพลของสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม   ยังเกื้อกูลต่อการประกอบอาชีพอันเป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนที่เด่นชัดเป็นที่รู้จักและยอมรับกันในสังคม ซึ่งมักจะกล่าวถึงด้วยถ้อยคำคล้องจอง เช่น “สะทิ้งทำหม้อ เกาะยอทำอ่าง หัวเขาโพงพาง บ่อย่างขายเคย(กะปิ)” เช่นเดียวกับที่พัทลุงได้กล่าวถึงอาชีพที่เด่นของชุมชนได้แก่ “หนุมจีนตำหนาน(ขนมจีนตำนาน) น้ำตาลบ้านแร่ พลูท่าแค ปลาลำปำ” ข้อความตามสำนวนเหล่านี้เปรียบเสมือนสินค้าโอท็อปในปัจจุบัน ที่ได้รับการยอมรับในภูมิปัญญาและแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของชุมชนได้เป็นอย่างดี
                        พลังอันทรงอิทธิพลอย่างสูงต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางวัฒนธรรม ที่เป็นปทัสถานของสังคมได้แก่ความเชื่อ ความศรัทธาในลัทธิ ศาสนา การเคารพบูชาจิตวิญญาณบรรพบุรุษและอิทธิพลอำนาจเร้นลับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอยู่นอกเหนือคำอธิบายที่มนุษย์ไม่สามารถล่วงรู้ได้   กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวงจรชีวิตและปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งในการคิดค้นสร้างสรรค์นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อบำบัดความกลัวและความทุกข์ พร้อมกับแสวงหาความสุขทางกายและใจด้วยการหาสิ่งยึดเหนี่ยวให้กับชีวิต   ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลยสาบสงขลาสันนิษฐานว่ามนุษย์ได้มาอาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการค้นพบเครื่องมือหินกะเทาะ
ขวานหิน ร่องรอยในการประกอบพิธีกรรมฝังศพตามความเชื่อของมนุษย์ในยุคนั้น ต่อมาในยุคประวัติศาสตร์มนุษย์ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำลำคลอง รู้จักการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมเพื่อการดำรงชีวิต รับอิทธิพลความเชื่อของศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธนิกายมหายาน นิกายเถรวาท และศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนจึงผูกพันอยู่กับความเชื่อความศรัทธาของศาสนาดังกล่าว ทั้งยังมีการประยุกต์ผสมผสานจนกลายเป็นวัฒนธรรมของผู้คนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ความเชื่อความศรัทธาในลัทธิศาสนา การเคารพบูชาในจิตวิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย   นับได้ว่าเป็นพลังอันสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของผู้คนในชุมชนให้อยู่ร่วมกันได้ในลักษณะความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ มีความเรียบง่ายเคร่งครัดในศาสนาและศีลธรรม โดยเฉพาะพุทธศาสนาซึ่งผู้คนส่วนใหญ่นับถือได้มีอิทธิพลอันทรงพลังมาช้านาน มีการอุทิศแรงกายแรงใจให้กับพระพุทธศาสนา ด้วยการปฏิบัติธรรมและสร้างสรรค์จรรโลงศาสนสถานให้มีความวิจิตรงดงาม   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.121 ขณะที่เสด็จไปชมอุโบสถวัดวิหารเบิกเมืองพัทลุง วันอาทิตย์ ที่ 8 มิ.ย. 121 ความว่า
                        “.......มาแวะดูวัดเบิก อยู่เคียงข้างถนนซีกซ้ายมือ มีโบสถ์ก่อช่อฟ้าใบระกาไม้ทรงพอดูได้หน้าบรรณเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑปั้นด้วยปูน มีกนกหว่านล้อมผูกเป็นอย่างใหม่ขั้นอาจารย์แดง (อาจารย์แดงวัดหงส์) ข้างในอุโบสถมีพระประธานปั้นดูค่อยยังชั่วสักหน่อย ฝีมือผนังเขียนสิบชาติข้างบนด้านอุดหน้ามารประจญ ด้านข้างเทพชุมนุม ด้านหลังเรือนแก้วมีพิทยาธรเหาะแลยักษ์ยั่น ฝีมือเขียนเห็นเข้าชื่นใจ เก่าด้วยค่อนข้างดีด้วย เอาที่บางกอกไล่ทันน้อยแห่งเป็นฝีมือช่างแผ่นดินพระนั่งเกล้า มีความสงสัยได้ถามเขาว่าช่างอะไรเขียน หลวงบุรี(หลวงบุรีบริบาล เดิมชื่อสว่าง ณ พัทลุง ภายหลังเป็นพระยาโสภณพัทลุงกุล) ว่าช่างเมืองนี้ชื่อ “สุ่น” เป็นหลวงเทพบัณฑิตกรมการเมืองนี้ แต่ได้ไปหัดกรุงเทพเคยไปเขียนแข่งขันกับอาจารย์แดงวัดพระแก้วก็ได้เขียน ได้เขียนที่นี้ประมาณ 30 ปี เลยแล้ว คราวเดียวกับวัดวัง เดี๋ยวนี้ตัวก็ตายแล้ว พิจารณาดูสอบถามเขาว่าเป็นจริงด้วย....”
                        จากข้อมูลหลักฐานดังกล่าว   ได้สะท้อนให้เห็นภาพมิติทางวัฒนธรรมชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของประชาชนร่วมสมัย ที่ได้อาศัยพระศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวการดำรงชีวิต พร้อมทั้งการใช้ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมเป็นกลวิธีในการเผยแพร่ความรู้และสร้างความศรัทธาในพุทธศาสนา นอกจากนั้นยังพบว่าภาพประกอบท้องเรื่องของจิตรกรรมฝาผนังโดยทั่วไป ศิลปินมักจะสอดแทรกสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนในยุคสมัยนั้นไว้ด้วย ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
                        การดำรงชีวิตของผู้คนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีลักษณะเดียวกับชุมชนเกษตรกรรมทั่วไปโดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และมีบางส่วนประกอบอาชีพอื่นบ้างก็ตาม แต่การทำนาถือว่าเป็นอาชีพหลัก วัฒนธรรมชาวนาและวัฒนธรรมในกระบวนการผลิตข้าวจึงเป็นวงจรชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง จัดได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมืองพัทลุง ร.ศ. 108 (พ.ศ.2432) ทรงมีพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า ข้าวที่เมืองพัทลุงสามารถใช้เลี้ยงคนสงขลาได้ทั้งเมือง และปรากฏหลักฐานจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ.1200-1201 ได้เกณฑ์ทัพเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง พร้อมด้วยข้าวและเสบียงอาหารอื่นๆ ไปทำสงครามในหัวเมืองมลายู คือเมืองไทรบุรี สตูน ละงู นอกจากนั้นยังเกณฑ์กำลังไพร่พลไปทำนาหาเสบียงไว้ล่วงหน้าก่อนทำสงคราม  จากหลักฐานดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นความสำคัญของพื้นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาทั้งในทางเศรษฐกิจ และการรักษาความมั่นคงในหัวเมือง
ปักษ์ใต้ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวนาดำรงอยู่เป็นเวลาอันยาวนาน เพราะมีคติความเชื่อว่าข้าวเป็นธัญพืชที่มีพระคุณแก่มนุษย์ การทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษที่ได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาทุกยุคทุกสมัย จึงมีวัฒนธรรมปฏิบัติในกระบวนการผลิตข้าวและการบริโภคด้วยความเคารพศรัทธาและสำนึกในบุญคุณ ได้แสดงออกในประเพณีปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นบุญกุศลเกี่ยวเนื่องกับลัทธิความเชื่อศาสนา เช่น การไหว้แม่โพสพ การทำขวัญข้าว ประเพณีลาซัง ประเพณีทำบุญกองข้าวเลียง นอกจากนั้นการทำนายังทำให้เกิดความรักความผูกพันกับท้องถิ่นและความสามัคคีของชุมชนให้มีความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การประกอบอาชีพการทำนาจึงมีอิทธิพลอย่างสำคัญยิ่งต่อการสร้างสรรค์สังคมชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบให้ดำรงอยู่อย่างมีพลัง
                        วัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา    ในมิติของกาลเวลาที่เปลี่ยนผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบันยังมีพฤติกรรมอีกหลายด้านทั้งของผู้คนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ที่ราบลุ่มตอนกลางและพื้นที่เชิงเขาด้านตะวันตก ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางด้านการเมืองที่ควรแก่การศึกษาค้นคว้า เพื่อหาบทพิสูจน์ในสมมุติฐานต่างๆ ให้มีความคมชัดมากขึ้น ภาพแห่งอดีตจะมีคุณค่าที่สมบูรณ์ควรแก่การภาคภูมิใจ ก็ด้วยการสืบเสาะแสวงหามาบอกเล่าและบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น   เพื่อเชื่อมโยงบทเรียนและเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลาได้ถูกทิศทาง สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอีกด้วย

 




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ