ReadyPlanet.com
dot dot
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย

ภูมิสังคม วัฒนธรรมกับการจัดนิเวศลุ่มน้ำ

แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
โดย เจตน์ เจริญโท
                ในอดีตแม่น้ำถือเป็นเส้นเลือดสำคัญของบ้านเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อาณาจักสุวรรณภูมิหรือสุพรรณภูมิ อันเป็นที่ตั้งของเมืองนครปฐม(นครชัยศรี) สุพรรณบุรี(อู่ทอง) มีแม่น้ำท่าจีนเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยง แม่น้ำท่าจีนจึงเป็นแม่น้ำสำคัญของภูมิภาคนี้ ประชาชนในชุมชนต่างๆที่ตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่ตลอดสองฟากฝั่งของแม่น้ำนี้ ล้วนทำมาหากินโดยอาศัยทรัพยากรในลำน้ำ จับกุ้งหอยปูปลาและสัตว์น้ำนานาชนิดมากินเป็นอาหาร ใช้น้ำในแม่น้ำทำการเพาะปลูกพืชผักผลไม้ พืชสำคัญคือข้าวที่เพาะปลูกกันมานับพันปียังคงปลูกกันมาจนถึงปัจจุบัน
 เส้นทางคมนาคมขนส่งของคนในชุมชนแถบนี้ก็อาศัยแม่น้ำเป็นเส้นทางสำคัญ เพราะสามารถเดินทางด้วยเรือ แพ ได้อย่างสะดวกสบาย ขนส่งสิ่งของได้มากโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนหรือสัตว์พาหนะให้ยุ่งยากสิ้นเปลือง และสามารถเดินทางไปได้ไกลๆ เนื่องจากแม่น้ำท่าจีนมีความยาวถึงราว 300 กิโลเมตร กว้าง 60 เมตรโดยเฉลี่ย เริ่มต้นโดยแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท เรียกว่าแม่น้ำมะขามเฒ่า ไหลผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอเดิมบางนางบวช สามชุก ศรีประจันต์ บางปลาม้า สองพี่น้อง เรียกว่าแม่น้ำสุพรรณบุรี ไหลผ่านจังหวัดนครปฐม บางเลน นครชัยศรี เรียกว่าแม่น้ำนครชัยศรีและไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครลงสู่อ่าวไทย เรียกว่าแม่น้ำท่าจีน รวมไหลผ่านทั้งหมด 5 จังหวัด ทั้งยังมีลำคลองสาขากระจัดกระจายซอกซอนไปทั่วทุกพื้นที่
สภาพของน้ำในแม่น้ำท่าจีนซึ่งมีถึง4 ชื่อดังกล่าวมานี้ มีน้ำคลองไหลหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดปีไม่เคยขาดช่วง น้ำในแม่น้ำนี้ถึงแม้จะไม่ใสนักแต่ก็สะอาดไม่เน่าเหม็นหรือมีเชื้อโรค สามารถใช้ดื่มกินได้โดยผ่านการทำความสะอาดเพียงเล็กน้อย เช่น แกว่งด้วยสารส้ม นอกจากนั้นในฤดูน้ำหลากซึ่งอยู่ในระหว่างเดือน 11 เดือน 12 เดือนอ้ายและเดือนยี่ เหมือนที่ศิลปินเพลงลูกทุ่งได้ประพันธ์ไว้ว่า “พอเดือนสิบเอ็ดน้ำเริ่มไหลนอง เพ็ญเดือนสิบสองน้ำในคลองก็เริ่มจะทรง ครั้นถึงเดือนยี่น้ำก็รี่ไหลลงไหลลง เหตุไฉนน้ำใจอนงค์ไหลคล้อยลงเหมือนน้ำเดือนยี่....”
น้ำที่หลากท่วมทั้งสองฝั่งคลองเจิ่งนองในท้องทุ่งอันกว้างขวางช่วยให้ชาวนาสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตงดงามทุกปี แถมยังมีพืชผัก เช่น กระเฉด ผักบุ้ง ผักตบชวา สาหร่าย สายบัวและผักน้ำนาชนิด กับกุ้ง หอย ปู ปลา มากมายให้ใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องผู้คนในชุมชนได้อย่างอุดมสมบูรณ์ แถมยังมีเผื่อแผ่ส่งออกไปขายให้ผู้คนในชุมชนอื่นๆได้อิ่มหมีพีมันตามไปด้วย จึงนับเป็นความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษชาวสุวรรณภูมิเราที่มาเลือกที่ตั้งชุมชนอยู่บนฟากฝั่งของแม่น้ำสายนี้ เพราะนี่คือระบบนิเวศที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง
นอกจากเป็นที่อยู่ที่กินและเส้นทางคมนาคมขนส่งดังกล่าวแล้ว แม่น้ำยังเป็นแหล่งก่อเกิดของศิลปวัฒนธรรมของประชาชนในชุมชนสองฟากฝั่งอย่างงดงามอีกด้วย ไม่ว่าเพลงเรือ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงยาว เพลงกล่อมเด็ก เพลงเห่เรือ ลิเก รวมถึงเพลงลูกทุ่งที่ร้องกันในปัจจุบันด้วย นอกจากนั้นยังมีการละเล่นต่างๆ เช่น การแข่งเรือ การลอยกระทง การเผาเทียนเล่นไฟ และการเล่นกีฬาทางน้ำอื่นๆ ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้มีวิวัฒนาการสืบทอดกันมายาวนานแต่ยุคโบราณ น่าเสียดายที่บัดนี้ศิลปวัฒนธรรมเหล่านั้นกำลังค่อยๆเสื่อมสูญไป เช่นเดียวกับความสำคัญของแม่น้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวมาข้างต้นด้วย
   ความเสื่อมโทรมของแม่น้ำท่าจีนเกิดขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงจนบางคนบอกว่า “แม่น้ำท่าจีนตายแล้ว”สาเหตุสำคัญก็คือ ผู้คนเริ่มเห็นความสำคัญของแม่น้ำน้อยลงและบางคนไม่เห็นความสำคัญเลยโดยเฉพาะนักการเมืองและข้าราชการที่ถือว่าเป็นผู้นำชุมชน คนเหล่านี้หันไปรับเอาวัฒนธรรมใหม่ๆของต่างชาติมาใช้โดยขาดความยั้งคิด  เช่น มีการสร้างเขื่อนปิดกั้นแม่น้ำโดยไม่คำนึงถึงระบบนิเวศของสัตว์น้ำ และการทำมาหากินของประชาชนในลุ่มน้ำ เขื่อนที่สร้างขึ้นทางตอนบนของแม่น้ำท่าจีนคือ เขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท และเขื่อนภูมิพล(ยันฮี) ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเขื่อนทั้งสองคือเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯและเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อการเกษตรและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในจังหวัดต่างๆในภาคกลางของประเทศน้อยมาก ประการต่อไปคือ การก่อสร้างถนนใหญ่(สายเอเชีย)ขนานไปกับแม่น้ำท่าจีน มีการนำรถบรรทุกขนาดใหญ่มาใช้มากมาย ทำให้ผู้คนละเลยการขนส่งทางเรือซึ่งเป็นเส้นทางที่ประหยัดพลังงานได้มากกว่า
นอกจากนั้นยังมีการปล่อยปละละเลยให้ชุมชนใหญ่ๆ เช่น ตัวเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ระบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำท่าจีน เรียกว่าเป็นการ “เอาแม่น้ำเป็นท่อน้ำทิ้ง” โรงงานต่างๆที่เกิดขึ้นสองฟากฝั่งแม่น้ำท่าจีนก็ไม่มีการเข้มงวดกวดขันการระบายน้ำเสียและทิ้งขยะลงในแม่น้ำนี้เช่นกัน เป็นผลให้คุณภาพของน้ำในแม่น้ำนี้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก กุ้งหอยปูปลาพากันสูญพันธุ์หมดสิ้นไป การประมงน้ำจืดซึ่งเคยเป็นอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของประชาชนดังที่กล่าวมาในตอนต้นจึงไม่อาจทำได้อีกต่อไป การเพาะปลูกพืชหลักเช่น ข้าว ซึ่งแต่เดิมอาศัยน้ำที่หลากมาตามฤดูกาล นำเอาปุ๋ยธรรมชาติมาให้ในรูปของดินเลนอันอุดม ปัจจุบันชาวนาต้องอาศัยปุ๋ยเคมีที่ซื้อหามาในราคาแพงเพียงอย่างเดียวเพราะดินเลนติดอยู่เหนือเขื่อน

นี่คือการสูญสิ้นของระบบนิเวศชุมชน ซึ่งทำให้ผู้คนไม่อาจอาศัยอยู่กินอย่างปกติสุขโดยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเองได้ คนส่วนมากต้องดิ้นรนไปทำงานหาเงินในกรุงเทพฯ คนส่วนที่ไม่สามารถไปทำมาหากินในกรุงเทพฯได้ก็ต้องรอให้ลูกหลานส่งเงินมาให้ใช้ นี่คือร่องรอยกาลเวลาที่ทำให้ชุมชนในลุ่มน้ำนครชัยศรี(สุพรรณบุรี มะขามเฒ่า ท่าจีน)ที่สืบทอดมาจากทวาราวดีศรีวิชัย สุวรรณภูมิเสื่อมโทรมลงใกล้จะถึงที่สุดแล้ว




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ