ReadyPlanet.com
dot dot
สบายดีเวียงจันท์ 450 ปี กับ ครูกวีน้อยเมืองนครฯสัญจร

 สบายดี...เวียงจันท์ 450 ปี กับ ครูกวีน้อยเมืองนครฯสัญจร

 

อย่าหม่อมฉันอันที่ดีและชั่ว                 ถึงลับตัวก็ชื่อเขาลือฉาว
เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว             เขมร ลาว ลือเลื่องถึงเมืองนครฯ
จากบทหนึ่งในเพลงยาวถวายโอวาทของมหากวีกระฎุมพีสุนทรภู่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่กลุ่มกวีน้อยเมืองนครฯ นำโดย อ.บุญเสริม แก้วพรหม หรือ รัตนะ ธาดา ประธานภาคใต้ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะจัดกิจกรรมครูกวีน้อยเมืองนครสัญจร ‘นิราศเมืองลาว’  ระหว่าง 16-22 ตุลาคม 2553  ที่ผ่านมา เพื่อเดินทางไปเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลอง 450 ปี นครเวียงจันท์ สปป.ลาว และจุดประกายไฟให้แก่ครูทั้งสองฝั่งซึ่งมีครูอาจารย์และผู้สนใจกว่า 40 ท่านร่วมเดินทางครั้ง โดยคณะออกเดินทางจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมุ่งตรงไปยังจังหวัดหนองคายผ่าสายฝนและน้ำนองถึงค่ำของวันที่ 17 ตุลาคม มองมองโขงฟากฝั่งโน้นในยามค่ำ
นอกจากนี้ยังมีกำลังสำคัญให้เกิดกิจกรรมในนามของกลุ่มไม่ว่าจะเป็น อ.นิโรจน์ ทิศทองแก้ว,อ.โชติ พรมเช็ก,อ.พงศ์ กาญจนภักดิ์,อ.เจริญศรี บุญสว่าง,อ.นิภา นวลขาว รวมทั้ง อ.สงวน กลิ่นหอม นักกลอนดีเด่น ภาคใต้ของ สมาคมนักกลอนฯ ปี พ.ศ. 2552 ร่วมคณะเดินทางไปด้วย
เวียงจันท์ ไม่ใช่ดินแดนใหม่และไม่ใช่เมืองใหม่ แต่มีร่องรอยคูน้ำกำแพงดินขนาดใหญ่ของเมืองเวียงจันท์เดิมอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คล้ายเมืองอกแตก มีพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมหลายพันปี พอๆ กับบริเวณ “แอ่งสกลนคร” ในเขต “อีสานเหนือ” ที่มี “วัฒนธรรมบ้านเชียง”
รุ่งเช้าพบกันที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชิงสะพานมิตรภาพไทย –ลาว การเดินทางครั้งนี้มี ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต หรือ มหา สุรารินทร์ ผู้สนใจเรื่องภูมิสังคมวัฒนธรรมอุษาคเนย์ เป็นหัวหน้าคณะมัคคุเทศก์ร่วมกับไกด์สาวลาว ดาวเวียง ขาวผันนำชมสถานที่ต่างๆในเวียงจันท์ และ อ.วิทยา วุฒิไธสง จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ประสานงานร่วมกับ ทองแถม นาถจำนง อุปนายสมาคมนักกลอนฯ และ อ.สมพาวัน แก้วบุดตา อาจารย์ภาควิชาลาว จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดูแลคณะตอลดการเดินทางใน สปป.ลาว
วันแรกของการเดินทางท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายตลอดช่วงเช้าจึงชุ่มฉ่ำเป็นอย่างยิ่งที่ พระธาตุหลวง ซึ่งมีอนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ผู้สถาปนานครหลวงเวียงจันท์เป็นราชธานีเมื่อ 450 ปี ที่แล้วตั้งตระหง่านอยู่หน้าองค์พระธาตุพระเจ้าไชยเษฐาธิราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงทองหรือเมืองหลวงพระบางมาตั้งศูนย์กลางพระราชอาณาจักรบริเวณเมืองเวียงจันท์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2103 ตามหลักฐานที่ ดร.สุเนด โพทิสาน อ้างอิง ซึ่งพระนครแห่งนี้มีอายุ 450 ปี ในปี พ.ศ. 2553 นี้
เวียงจันท์ มีความสำคัญมากขึ้น เมื่อท้าวฟ้างุ้มจากหลวงพระบางมาครอบครอง มีหลักฐานทั้งศิลาจารึก ตำนาน พงศาวดารว่า เป็นเครือญาติกับอาณาจักรขอมแห่งกัมพูชา กรุงศรีอยุธยา แคว้นสุโขทัย จนถึงดินแดนโยนก –ล้านนา ความยิ่งใหญ่ของเวียงจันท์เป็นถึงระดับมหานครหนึ่งของภูมิภาคนี้ มีอยู่ในเอกสารชาวตะวันตกที่เดินทางจากปากแม่น้ำโขงผ่านกัมพูชาขึ้นไปเจริญทางพระราชไมตรีกับเจ้ามหาชีวิตเวียงจันท์ เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 22 (ราว พ.ศ. 2183 หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก)
พระธาตุหลวงแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศลาวเครือญาติชาติพันธุ์ เครือญาติชาติภาษากับสยามฝั่งไทย ซึ่งในเดือนพฤศจิกายนจะมีประเพณีไหว้พระธาตุผู้คนจากทั่วสารทิศใน สปป.ลาวมาร่วมกัน ณ สถานที่แห่งนี้จนเต็มท้องสนามหลวงหน้าองค์พระธาตุ ขณะที่ถนนเลียมแม่น้ำโขงมีร้างรวงมาออกร้านเต็มไปหมดเนื่องอยู่ในเทศกาลบุญแข่งเรือประเพณีวันออกพรรษาที่จะมาถึงในอีกมากี่วัน
หลังจากนมัสการองค์พระธาตุหลวงเราจะต้องเดินทางไปชมภูมิทัศน์รอบนครหลวงเวียงจันท์บนประตูชัยกลางถนนล้านช้าง ถนนสายหลักที่ใหญ่ที่สุดในเมืองหลวงแห่งนี้ ก่อนจะไปศึกษาดูงานที่ หอสมุดแห่งชาติ สปป.ลาว โดยมี ผอ. บุญเลิด ทำมะจัก ให้การต้อนรับคณะไม่ว่าจะเป็นการปริวัตรอักษรจากใบลานหรือห้องสมุดสำหรับคนพิเศษหรือห้องสมุดเคลื่อนที่ในการส่งเสริมการอ่านกับเยาวชน
 หอสมุดแห่งนี้มีห้องสมุดอาเซียนประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม ,กัมพูชา เป็นอาทิ โดยเฉพาะโซนห้องของประเทศไทยนั้นหนังสือส่วนใหญ่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ พระราชทานหนังสือให้แก่หอสมุดแห่งนี้ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่จากหนังสือทั้งหมดในโซนหนังสือไทย
บ่ายคล้อยหลังมื้อเที่ยงคณะเราเดินทางต่อไปยังวัดองค์ตื้อซึ่งไม่ไกลจากริมโขงทีตรงข้ามอำเภอศรีเชียงใหม่ถัดจากวัดจันทบุรีที่อยู่ริมฝั่งโขง สร้างขึ้นรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช วัดแห่งนี้อยู่ถนนสายหลักที่นักเดินทางจะมาตั้งหลักท่องเที่ยวเวียงจันท์จึงคราคร่ำไปด้วยรถราพาหนะและผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ เมื่อถึงวัดเราไปกราบนมัสการพระประธานในอุโบสถที่เรียกว่า พระองค์ตื้อ พระประธานขนาดใหญ่ซึ่งสร้างก่อน ‘พระสุก’ ซึ่งจมอยู่ใต้แม่น้ำโขง ‘พระใส’ ที่ฝั่งหนองคาย และ ‘พระเสริม’ พระประธานในพระอุโบสถวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ นอกจากนี้วัดองค์ตื้อนั้นยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์อีกด้วยภายในวัดจึงมีร้านหนังสือเคลื่อนที่มาจำหน่ายให้กับพระนักศึกษา
หลังจากออกจากวัดองค์ตื้อเราไปกับต่อที่‘ร้านหนังสือดอกเกด’ ร้านแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากอนุสาวรีย์เจ้าฟ้างุ้ม มหาราชองค์สำคัญของลาว ผู้รวบรวมอาณาจักรลาวให้เป็นเอกภาพ
ร้านดอกเกด นั้นเจ้าของร้านหนังสือคือคุณดวงเดือน บุนยาวง นักเขียนซีไรต์ให้การต้อนรับพร้อมกับพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องการเรียนการสอนวรรณกรรมและตลาดหนังสือใน สปป.ลาว นอกจากนี้เรายังได้พบกับ ฮุ่งอรุณ แดนวิไล หรือ โอทอง คำอินซู นักเขียนซีไรต์ อีกท่านหนึ่งร่วมเสวนาฉันทลักษณ์ของลาวและบรรยากาศการเรียนในห้องเรียนของ สปป.ลาว
รวมทั้งกวีซีไรต์คนล่าสุดของ สปป.ลาว คือ คุณดาลา กัลยา มาให้การต้อนรับคณะในครั้งนี้ด้วย และ อ.วิกกี้ กัลยา ผู้ที่นำสินไซมานำเสนอสร้างความสนใจเรื่องวรรณกรรมให้หนุ่งสาวรุ่นใหม่ คณะเราใช้เวลาที่ร้านหนังสือนานพอสมควรเลือกซื้อหนังสือทั้งที่เป็นงานใหม่ งานค้นคว้าของ มหาสิลา วีระวงศ์ ปราชญ์คนสำคัญด้าน ประวัติศาสตร์และวรรณกรรม รวมทั้งนิตยสารต่างๆ และวรรณกรรมร่วมสมัยพร้อมกับแบบเรียนของ สปป.ลาว  โดยเฉพาะวงการนักประพันธ์ลาวปีนี้จะคึกคักเป็นพิเศษกับการเฉลิมฉลองเมืองหลวงแห่งนี้ อีกทั้งครบ 20 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียนลาวและไทยโดย สโมสรนักเขียนภาคอีสาน เมื่อ ตุลาคม 2533 ในการก่อตั้งสมาคมนักประพันธ์ สปป.ลาว
คณะเราจะค้างแรมที่โรงแรมเจริญฮุ่ง ในค่ำนี้เจ้าของโรงแรมได้เตรียมหมอพรพร้อมกับบายศรีสู่ขวัญไว้ต้อนรับคณะเราอย่างเรียบง่ายและภาคบันเทิงยังมีการรำวงเต้นบัติสะลบโดย อ.วิกกี้ กัลยา ได้มาร่วมแจมในครั้งซึ่งทางคณะครูกวีน้อยฯ ได้เตรียมกับรำโนราห์มาสาธิตให้ดูด้วย
รุ่งเช้าวันที่ 2 ของการเดินทาง แรกเริ่มเดิมทีเรามีจุดหมายในการเดินทางไป มหาวิทยาลัยแห่งชาติ สปป.ลาว หรือทีดงโดก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนการสอนกับคณะคณาจารย์คณะอักษสาสตร์ แต่เนื่องจากวันนั้นมีประชุมเราจึงเปลี่ยนสถานที่เป็นโรงเรียนประถมสมบูรณ์สว่าง ที่บ้านสว่าง เมืองจันทบุรี โดย ผอ.โรงเรียน อ.พวงมณี แสงจันทวงศ์ ให้การต้อนรับ โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่ในวัดสมบูรณ์สว่าง บรรยากาศร่มรื่น คณะเราดูบรรยากาศในห้องเรียนที่มีทั้งหญิงและชายรวมทั้งสามเณรน้อยนั่งเรียนร่วมกับที่แห่งนี้ได้นั่งพูดคุยกับครูในแต่ละชั้นเรียนเมื่อครูกับครูมาเจอกกันเรื่องราวพูดคุยจึงยาวยืดอย่างออกรสออกชาติเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษาในเมืองไทยและการศึกษาในเมืองลาว ขณะที่น้องๆหนูๆนักเรียนก็ดูจะสนใจเป็นพิเศษกับการมาเยือนของคณะจากเมืองไทยคณะนี้
ก่อนมื้อเที่ยงเรายังมีรายการสำคัญอีกรายการหนึ่งคือไปเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ไกรสร พรหมวิหาร ที่ตั้งอยู่นอกเมืองมีรูปปั้น นายไกรสร พรหมวิหาร อดีตประธานประเทศเด่นสง่าโบกมือพร้อมกับอนุสารีย์ผู้คนในแต่เผ่าพันธุ์อาชีพที่สร้างความเป็น สปป.ลาว อยู่ด้านหน้า
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์วิวัฒนาการสังคมวัฒนธรรมและการขบวนการต่อสู้ปลดปล่อยประเทศลาวภายใต้การนำของบุคคลสำคัญไม่ว่าจะเป็น เจ้าสุภานุวงศ์ หรือที่เรารู้จักกันในนาม ‘เจ้าชายแดง’ และนายไกรส พรหมวิหาร ตลอดจนภาพบุคคลต่างในประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นโซนๆ สองฝั่งของตัวอาคาร ซึ่งภัทรรักษ์และเจ้าหน้าที่ได้นำชมจนครบที่โซน
ก่อนมื้อเที่ยงวันนี้เราทานกันริมน้ำโขง มีนักท่องเที่ยวเต็มร้านรวงไปหมดส่วนใหญ่ข้ามมาจากฝั่งไทยแทบทั้งสิ้นก่อนหน้าจะมาทานมื้อเที่ยวได้พาแวะซื้อเครื่องเงิน โดยภาคบ่ายเลือกซื้อสินค้าที่ตลาดเช้าซึ่งขณะได้ก่อสร้างปรับปรุงเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่ไหลบ่ามาเที่ยว สปป.ลาว เริ่มบริษัททุนต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจมาขึ้น
แต่ก่อนจะไปตลาดเช้าในภาคบ่ายยังมีโปรแกรมของการเดินทางไปยัง พระอุโบสถพระแก้วเดิมที่ตั้งอยู่ติดกับ หอคำ หรือทำเนียบประธานประเทศ ชมโบราณสถานตรงกันข้ามเป็นวัดสีสะเกด วัดแห่งเดียวในเวียงจันท์ที่ไม่ถูกเผาในศึกสงครามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มี พระยาบดินทร์เดชา เป็นแม่ทัพใหญ่ ศึกครั้งได้เกิดวรรณกรรมนิราศเรื่องสำคัญที่บรรยายความงดงามของนครหลวงแห่งนี้ นิราศทัพเวียงจันท์ ของ หม่อมเจ้าทับ ในกรมหลวงเสนียบริรักษ์ กวีวังหลังร่วมสมัยกับสุนทรภู่ ซึ่งพรรณาความงดงาม ความรุ่งเรือง และความองอาจของพระมหานครเวียงจันท์ว่า “งามสถานปานศรีอยุธยา”
ล่วงทวารด่านโดยทักษิณทิศ                                พี่เปลี่ยวจิตเปล่าใจอาลัยหา
                                งามสถานปานศรีอยุธยา                                        ช่างเทียบทำทีทำไม่ผิดทรง
ความงดงามมของเวียงจันท์สำนวนโวหารของ หม่อมเจ้าทับ เขียนนิราศเชิงขนบเปรียบเทียบ แต่ยังพรรณนาภูมิสถานพระราชวังเวียงจันท์ในอดีตไว้อย่างวิจิตรพิสดารละเอียดละอออีกด้วย
กราบพระที่อุโบสถวัดสีสะเกดที่กำลังปรับปรุงซ่อมแซมเพื่อให้ทันกับงานเฉลิมฉลองพระนครพร้อมๆกับไม่ใกล้ไม่ไกลจากหอคำนักกำลังมีการก่อสร้างพระอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ เจ้ามหาชีวิตองค์สำคัญที่คนลาวให้การเคารพนับถือไม่ด้อยไปกว่า เจ้าฟ้างุ้ม,พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช และเจ้าสุริยะวงษา ไปเลย
เมื่อเสร็จธุระการเดินชมตลาดสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือวัดสีเมือง ซึ่งเป็นสำคัญคือเสาหลักเมืองนครหลวงเวียงจันท์ที่มีแม่ศรีเมืองปกปักรักษาเมืองแห่งนี้เป็นสถานที่สุดท้ายของวันในการเยี่ยมยามเวียงจันท์มาสองวันเต็มๆ ก่อนจะไปรับประทานอาหารมื้อค่ำและนั่งรถชมเวียงจันท์ยามราตรีและเข้าที่พักก่อนจะอำลาเวียงจันท์ในรุ่งอรุณเพื่อกลับฝั่งหนองคายเดินทางต่อไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์และถึงนครศรีธรรมราชในวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม ตามกำหนดไว้ในเส้นทางของครูกวีน้อยเมืองนครฯ
3 วันในเวียงจันท์หลายคนประทับใจเพราความง่ายงามในความเป็นลาวนี่แหละที่ทอดสายสัมพันธ์กันได้โดยไม่มีภาษามาขวางกั้นสายสัมพันธ์จึงบ่กั้นขวางแว่วๆว่า โครงการครูกวีน้อยเมืองนครฯ จะกลับมาชื่นชม สปป.ลาว อีกในคราหน้าที่เมืองมรดกโลก
พบกันใหม่ฉบับหน้า สบายดี... 

 

สะบายดีเวียงจัน
ขัวข้ามเขตข้ามของโยงสองฝั่ง
เชื่อมความหวังสัมพันธ์ที่มั่นหมาย
ส่งตายิ้มปริ่มฮักมาทักทาย
ฝากกับสายน้ำโขงอยู่โยงใย
 
สะบายดีเวียงจัน...วันเยี่ยมยาม
แม่โขงถามเบาเบา..เจ้าไปใส
ตอบคำแม่คำหลายไม่อายใคร
ว่า-ไปตามหัวใจในเมืองลาว
 
หัวใจแห่งวิถีที่อบอุ่น
หอมละมุนชื่นฉ่ำดังคำกล่าว
หัวใจแห่งสัมพันธ์อันยืนยาว
ร่วมผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน
 
หัวใจแห่งรักร้อยที่รวมใจ
รากร่วมในภาษาที่สื่อสาร
หัวใจแห่งวัฒนธรรมแต่เบาราณ
ที่สืบย่านเครือญาติมาด้วยกัน
 
มาเวียงจันทน์จึงเหมือนมาเยือนญาติ
อบอุ่นในเชื้อชาติไม่หวาดหวั่น
สนิทใจในวิถีที่ผูกพัน
จนคงมั่นเหมือนดั่งโขงที่โยงใย
 
จากเวียงจันทน์..ทั้งที่ใจไม่อยากจาก
เว้าคำฝากคำมั่นมิหวั่นไหว
ถึงแม้กายระยะทางจะห่างไกล
แต่หัวใจเราใกล้กันอยู่มั่นคงฯ
 
รัตนธาดา   แก้วพรหม
สำนักกวีน้อยเมืองนคร นครศรีธรรมราช
ในรถระหว่างเส้นทางเวียงจันทน์-หนองคาย
เช้า ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 




กิจกรรม

รวมภาพประกวดกลอนสดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ราชภัฏมหาสารคาม
ยุวกวีศรีศิลป์ ปีที่ ๒๓
สวดพระอภิธรรมศพ ประสพโชค เย็นแข
ล่องเรือเพลง สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ภาพวันประชุมใหญ่สมาคมนักกลอนฯ 2555
ภาพข่าวประชุมใหญ่สมาคมนักกลอน และวันนักกลอน
สงกรานต์นักกลอนประจำปี ๒๕๕๔
การประกวดคำขวัญบ้านเกาะ
Asean Youth 1:เยาวชนอาเซียนครั้งที่ 1
ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ วันดอกไม้บาน ครั้งที่ ๑๐
ร่องรอยกาลเวลา 450 ปีเวียงจัน: หนองคาย-เวียงจันท์
พบปะกับกวี ทองแถม นาถจำนง และเพื่อน
ประชุมใหญ่ประจำปีและวันนักกลอน ๒๕๕๓
ภาพกิจกรรมร่องรอยกาลเวลา: นครปฐม
ภาพกิจกรรมร่องรอยกาลเวลา: พัทลุง
ประชันสักวา-กลอนสด ม.ปลาย ราชภัฏมหาสารคาม
ค่ายนักเขียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
โครงการแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะจุดประกายความคิด
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๙
ตลาดวิชา ร่องรอยกาลเวลา: โขง
ภาพกิจกรรมสัมพันธ์ไทย-จีน(จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
งานรับมอบรูปปั้นเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
รักษ์เหลืองจันท์ ครั้งที่ 9
ค่ายเยาวชน ดนตรี กวี ศิลป์ สัญจร ๒๕๕๓
ภาพการประชุมใหญ่ และงานวันนักกลอน ๒๕๕๒
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๘ ตอนที่ ๓
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๘ ตอนที่ ๒
กิจกรรมอบรมยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ ๑๘
กิจกรรมร่องรอยของเวลา
งานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ ครั้ง ที่ ๘
บันทึกวันนักกลอน ๒๕๕๑
ค่ายตะพานหิน
ผลการประกวดคำขวัญรณรงค์การเลือกตั้ง
สักวากลอนสดเรื่อง กากี ตอน ถูกลอยแพ
เงาสะท้อน:ปิยะพันธุ์ จำปาสุต
ค่ายภาษาไทยรักการอ่าน เขาทับคล้อ
ค่ายเยาวชนนครปฐม
78 ฝน "ดาเรศ" ลุงประสิทธิ์ โรหิจเสถียร
90 ปี เสนีย์ เสาวพงศ์
ภาพเล่าเรื่องกิจกรรม
กิจกรรม ยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ 17 นิราศภูเขาทอง
ร่องรอยของเวลา : เครือญาติ ชาติพันธุ์ สุวรรณภูมิ
สงกรานต์นักกลอน-สงกรานต์พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง
งานเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ “พระเมรุ” แรกมียุคกรุงศรีอยุธยา
พิธีไหว้ครู-ครอบครู ช่างสิปป์หมู่,
สักวาบอกบท พระมหาชนก ตอนเรือแตก
สยามประเทศไทย ของ พล นิกร กิมหงวน
รวมภาพค่ายเมืองเลย ๑๒-๑๓ ม.ค.๒๕๕๐
รวมภาพงานวันนักกลอน ๑๐ ธ.ค. ๒๕๕๐
รายงานกิจกรรมการแข่งขันประชันกลอนสด
จัดทำหนังสือนวมินทราศิรวาท
ผลการแข่งขันแซววาทีกลอนสด ๔ ภาค
ผลแข่งขันกลอนสดภาคกรุงเทพฯและปริมณฑล
ถอดรหัสนักวาดการ์ตูนในฝัน รุ่นที่ 4
ประมวลภาพข่าวสมาคมนักกลอนฯประชุมสัญจร
ตลาดนัดวิชา เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลโต้วาทีนักเรียนมัธยมงานมหกรรมประชาธิปไตย
ค่ายบ้านหมี่
ภาพงานการอบรม ยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ 16
ภาพประชุมสัญจร 22 เม.ย.
บรรยากาศงานสงกรานต์นักกลอน
อยุธยาศึกษา ตลาดวิชา
งานวันเกิด พี่เนาวรัตน์
ภาพงานราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ ครั้ง ที่ ๖ article
รูปงานศพพ่อของ ผศ.ศิวากานท์ article
กิจกรรมออกค่ายตะพานหิน article
เปิดศูนย์ประสานงานสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย article



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ