ReadyPlanet.com
dot dot
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม

ไปดู..การประชันกลอนสดวันภาษาไทยแห่งชาติที่ราชภัฏมหาสารคาม

รายงานวรรณกรรม / เกรียงศักดิ์ ฤทธิยงค์
                29 กรกฎาคมของทุกปี ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยหน่วยงาน องค์กรทางการศึกษาและวัฒนธรรม มักมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของเรา ซึ่งในปีนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยสาขาวิชาภาษาไทย ได้จัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติขึ้น ณ ห้องประชุมวิญญูคุวานันท์ อาคารเฉลิมพระเกียรติชั้น 5 โดยเชิญวิทยากรสองท่านมาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคือ ภาคเช้า คุณไพวรินทร์ ขาวงาม กวีซีไรต์ บรรยายพิเศษในหัวข้อ “คุณค่าภาษาไทยในแง่วรรณศิลป์” ส่วนภาคบ่ายได้รับเกียรติจากคุณลุงสมพงษ์ พละสูรย์ หรือครูคำหมาย คนไค เจ้าของนวนิยายเรื่องครูบ้านนอก บรรยายพิเศษเรื่อง “ครูภาษาไทยในวิถีครูบ้านนอก” โดยมีกิจกรรม “การประกวดกลอนสดระดับมัธยมศึกษา” สลับกันทั้งสองช่วง และมีการแสดงของนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ทั้งภาคเช้าและบ่ายเช่นเดียวกัน เรียกว่ารายการแน่นเอี๊ยดเบียดเวลากันเลยทีเดียว
                หลังจากพิธีเปิดโดย อาจารย์สมาน ศรีสะอาด รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม แล้ว นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 3 ก็แสดงการฟ้อนรำในชุด “อีสานลำเพลิน” ต่อด้วยการบรรยายของคุณไพวรินทร์ ขาวงาม จากนั้นก็ประชันกลอนสดรอบที่ 1 พอภาคบ่ายก็เริ่มด้วยการแสดงละครจากวรรณคดี ของ นักศึกษาเรียกเสียงฮาได้ตลอดต้นจนจบ ตามด้วยครูคำหมาน บรรยายแบบครูมืออาชีพ ที่ผู้ร่วมกิจกรรมได้ทั้งสาระและความบันเทิงไปในตัว เมื่อเสร็จสิ้นการบรรยาย ก็ตบท้ายด้วยการประชันกลอนสดรอบที่ 2 และ 3 การประกาศผลกลอนกระดาษ และประกาศผลการประชันกลอนสดตามลำดับ
                การประชันกลอนสดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมที่ทุกคนให้ความสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะศิษย์เก่าของโรงเรียนที่เข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งในปีนี้มีทั้งหมด 5 โรงเรียน คือ โรงเรียนบรบือ โรงเรียนวาปีปทุม โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรพ์ จังหวัดมหาสารคาม และ โรงเรียนบัวขาว โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทุกโรงเรียนจึงมีทั้งบรรดากองเชียร์ที่เป็นศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันอยู่เต็มห้องประชุม สร้างความคึกคักเป็นอย่างยิ่ง
                การประกวดกลอนในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจาก สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ที่มอบโล่รางวัลชนะเลิศมาเป็นเกียรติยศแก่ผู้ชนะ โดยมีท่านคณะกรรมการตัดสิน 3 ท่านคือ คุณไพวรินทร์ ขาวงาม ประธานกรรมการ อาจารย์เจริญ กุลสุวรรณ และ คุณชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ตัวแทนจากสมาคมนักกลอนร่วมตัดสิน
                กิจกรรมเริ่มจากพิธีกรทบทวนกฎกติกา โดยทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่า การประกวดครั้งนี้แบ่งเป็น 3 รอบ แต่งคำประพันธ์ 3 ประเภทคือ กลอนสุภาพ กลอนดอกสร้อย และกลอนสักวา ในหัวข้อที่จับสลากได้ จากนั้นจึงนำคะแนนมารวมกันทั้งหมดแล้วตัดสินผล
                เมื่อตัวแทนแต่ละโรงเรียนเรียกเสียงปรบมือด้วยการออกมาอ่านกลอนแนะนำโรงเรียนและสมาชิกในกลุ่มจบลง กรรมการก็ได้จับสลากประเภทคำประพันธ์ในรอบที่ 1 พร้อมหัวข้อขึ้นมา ปรากฏว่ารอบแรกนี้เป็นกลอนดอกสร้อย ในหัวข้อ “หนังสือ” ช่วงเวลาแปดนาทีที่ตัวแทนแต่ละโรงกำลังใช้สมาธิและมุ่งมั่นสรรค์คำอยู่นั้น สะกดให้บรรยากาศในห้องประชุมพลอยเงียบกริบไปด้วย ซึ่งในรอบนี้ปรากฏว่า โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ทำคะแนนได้ดีที่สุด จากสำนวน
                                หนังเอ๋ยหนังสือ                                     เจ้าเป็นสื่อเปิดประตูสู่โลกกว้าง
                เป็นแสงทองแสงธรรมส่องนำทาง                       เป็นประทีปแจ่มกระจ่างอยู่กลางใจ
                ส่องชีวิตให้มีชีวายิ่ง                                              ส่องความจริงให้กระจ่างกลางสมัย
                สื่อปัญญางอกงามและอำไพ                                 ประดับให้มวลมนุษย์พิสุทธิ์เอย
                หลังจากที่ ฉัตรสุมาลย์ ภูแต้มนิล อ่านผลงานที่สรรค์สร้างร่วมกันกับเพื่อนจบลง เสียงปรบมือก็ดังกึกก้องให้กำลังใจอีกครั้ง ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปรับประทานอาหาร และเข้ามา “ดวล” กันใหม่ในภาคบ่าย
                ขณะเดินออกจากที่ประชุม มีเสียงหลายคนทีพูดทำนองทึ่งในความสามารถของน้องๆที่เข้าร่วมประกวด เพราะในเวลาแปดนาทีนั้น ไม่มีโรงเรียนใดเลยที่ทำไม่ทันเวลา ผมสังเกตเห็นว่า ตัวแทนบางโรงเรียนเดินเข้าไปทักทายกัน ทั้งที่อยู่คนละจังหวัด ผมจึงเรียนถามอาจารย์ที่มาควบคุมมา ทราบว่า น้องๆหลายคนรู้จักกันมาก่อน เพราะเคยไปเข้าค่าย “จุดประกายความใฝ่ฝัน เพาะเมล็ดพันธุ์วรรณกรรม” ของกองทุนศิลปินครูบ้านป่าสลา คุณวุฒิ ด้วยกัน
                และ..วันนี้ คือเวทีและโอกาส ที่ผู้ใหญ่ได้หยิบยื่นให้น้องๆได้แตกกอต่อยอด สืบสานคุณค่าภาษาไทยต่อไป ไม่แน่..อีกไม่นาน เราอาจจะเห็นกวีที่มีชื่อเสียงของประเทศจากเวทีนี้ก็ได้
                รอบที่สองเริ่มขึ้นเวลาประมาณ บ่ายสามโมง ด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ ในหัวข้อ “ลูกเทวดา” ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาได้ไม่เบาเลยทีเดียว โดยคราวนี้ โรงเรียนที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดเปลี่ยนมาเป็น โรงเรียน วาปีปทุม จากสำนวน
                                พ่อกับแม่อุ้มชูดูแลลูก                                           ด้วยพันผูกชิดใกล้ไม่ถ่ายถอน
                                ป้อนข้าวน้ำโอบอ้อมกล่อมเจ้านอน                     เฝ้าพร่ำสอนฝึกฝนจนโตมา
                                จงอย่าคิดรั้งรอรักพ่อแม่                                       อย่าเชือนแชห่างเหินเมินหนีหน้า
                                อย่าทำตัวเกเรเป็นเทวดา                                       จงรักษาจิตมั่นกตัญญู
                รอบสุดท้ายเป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนสักวา ในหัวข้อ “ภาษาใจ” ทุกโรงเรียนต่างระดมสมองทุ่มเทกันอย่างเต็มที่ หัวใจของคนคอยลุ้นก็พลอยเต้นถี่แทบทะลุ ซึ่งปรากฏว่าโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์กลับมาทำคะแนนได้สูงสุดอีกครั้งจากสำนวนสักวา..
                                สักวาภาษานี้มีหลากหลาย                                   ทั้งหญิงชายพากเพียรเรียนภาษา
                                อาจเรียนรู้เจนจัดพัฒนา                                     เปิดประตูสู่คุณค่าของชีวิต
                                เราอาจมองภาษาไปไกลเกินกว่า                         จนมองข้ามคุณค่าภาษาจิต
                                ภาษาที่สื่อความงามด้วยความคิด                         นีรมิตรเอาไว้ด้วยใจเอย
                เมื่อท่านคณะกรรมการรวบรวมคะแนนแล้ว คุณไพวรินทร์ ขาวงาม ประธานกรรมการ ได้ออกมากล่าวแสดงความชื่นชมและให้กำลังใจแก่น้อง ๆทั้ง 5 โรงเรียน พร้อมกับตั้งข้อสังเกต และให้คำแนะนำ ชี้ให้เห็นจุดเด่นจุดด้อยที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เข้าประกวดและทุกคนในห้องประชุม จากนั้นก็ถึงนาทีระทึกใจ พิธีกรประกาศผลการประกวดกลอนระดับมัธยมศึกษาในปีนี้ เริ่มจากรางวัลชมเชยสองรางวัลได้แก่ โรงเรียนบัวขาว และโรงเรียนโกสุมวิทยาสรรพ์ รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนวาปีปทุม รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนบรบือ และเป็นที่แน่นอนว่า โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ คว้ารางวัลชนะเลิศรับเงินรางวัล 2,500 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยไปครองอย่างสมศักดิ์ศรี
                กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติที่จัดโดยสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามในครั้งนี้ ถือว่าได้รับความสำเร็จอย่างสูง แม้จะจัดขึ้นอย่างเรียบง่ายด้วยจำกัดในงบประมาณ และมีโรงเรียนเข้าร่วมประกวดเพียง 5 โรงก็ตาม ซึ่งอาจด้วยเหตุที่สถานศึกษาทุกโรงต่างก็มีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญของชาตินี้ อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ในครั้งนี้ถือว่ามีค่ายิ่ง โดยเฉพาะสำหรับน้อง ๆที่เข้าร่วมประกวด ทุกคนกลับบ้านด้วยรอยยิ้ม ได้เพื่อน ได้พี่ ได้ความรู้และได้สัมผัสกับบรรยากาศที่อบอุ่น ประทับใจที่จะควรค่าในการเก็บไว้ในความทรงจำตลอดไป
                ทุกโรงเรียนให้สัญญาว่า วันภาษาไทยแห่งชาติปีหน้า จะเข้ามาประลองเชิงกลอนกันใหม่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม แน่นอน
                พบกันใหม่ปีหน้า ......



บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ