ReadyPlanet.com
dot dot
นักกลอนตัวอย่างของสมาคมนักกลอนฯ ๒๕๕๓ article

 สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

ตามที่สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้มีโครงการคัดเลือกผู้สมควรแก่การยกย่องประกาศเกียรติคุณเป็น นักกลอนตัวอย่าง และ นักกลอนดีเด่น จาก 7 ภูมิภาค เนื่องในโอกาส วันนักกลอน ประจำปีพุทธศักราช 2553
  บัดนี้คณะกรรมการสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการคัดเลือกเสร็จสิ้นแล้ว
 ผู้ที่สมควรได้รับการประกาศเกียรติคุณมีรายนามดังต่อไปนี้
 
               
นักกลอนตัวอย่างสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
นายสถาพร ศรีสัจจัง (นามปากกาพนม นันทพฤกษ์)
นักกลอนดีเด่น ภาคกรุงเทพฯและปริมณฑล
นายสันติ ชนะเลิศ (นามปากกา สันติธรรม)
นักกลอนดีเด่น ภาคกลาง
นายสิทธิชัย เรือแก้ว
นักกลอนดีเด่น ภาคเหนือ
นายสมหวัง แก้วบท
นักกลอนดีเด่น ภาคตะวันออก
นายอำนวย ชำนาญ (นามปากกา ก่องแก้ว กวีวรรณ)
นักกลอนดีเด่น ภาคตะวันตก  
นายบุรินทร์ ชินธเนศ (นามปากกา เตือนจิตต์ นวตรังค์)
นักกลอนดีเด่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายสมคิด สิงสง
                นักกลอนดีเด่น ภาคใต้
                นายอารมณ์ โจมฤทธิ์ (นามปากกา คมน์ เมืองนคร)
                ซึ่ง พิธีมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ในเวลา 15.00 - 16.00 น.ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมาหนคร โดยมี นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว จึงขอความอนุเคราะห์สื่อมวลชนเผยแพร่ข่าวาสารประชาสัมพันธ์มา ณ โอกาสนี้
   
 นายยุทธ โตอดิเทพย์
นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

สถาพร ศีสัจจัง (พนม นันทพฤกษ์)
นักกลอนตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓
สถาพร ศรีสัจจัง หรือ พนม นันทพฤกษ์(นามปากกา) เป็นศิลปินจากภาคใต้ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญทั้งวรรณศิลป์และบทบาททางสังคมมาตลอดเวลาที่ยาวนานคนหนึ่ง
เกิดที่พัทลุง เป็นกวีและนักเขียนที่สร้างสรรค์ผลงานหลายประเภททั้งเรื่องสั้น บทกวี และนวนิยาย เนื้อหางานเขียนของ ‘พนม นันทพฤกษ์’ พุ่งเข้าหาชีวิตปุถุชน เน้นความเป็นไปของสังคม โดยเฉพาะกวีนิพนธ์ล้วนเสนอแง่มุมจากการเพ่งเข้าไปในชีวิต สังคมและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเวิ้งจักรวาล
                เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์เคยกล่าวว่า "ความสำคัญในกาพย์กลอนของ พนม นันทพฤกษ์ นั้นยิ่งใหญ่ในด้านความเป็นผู้นำที่ยังคงอิทธิพลให้กับคนเขียนกวีรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เขาเป็นกวีแห่งยุคผู้เป็น ต้นแบบ ที่น่าศึกษา และน่าภาคภูมิคนหนึ่งของแผ่นดิน" (จากปกหลังรวมบทกวี "ทะเล ป่าภู และเพิงพัก" ของ พนม นันทพฤกษ์ สำนักพิมพ์มิ่งมิตร พ.ศ.๒๕๔๑)
ผลงานหลายเรื่องของอาจารย์สถาพรได้รับรางวัลและการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ เช่น เรื่องสั้นเรื่อง คลื่นหัวเดิ่ง นวนิยายเรื่อง เด็กชายชาวเล ฯ
อาจารย์สถาพร ศรีสัจจัง เป็นพี่ใหญ่ที่เคารพนับถือของนักเขียนภาคใต้ ทั้งกลุ่มนาคร กลุ่มคลื่นใหม่ และกลุ่มเยาวชนหนุ่มสาวรุ่นต่อๆ มา เป็นบรรณาธิการที่อภิปรายหน้าบทและเก็บแผงแหลงใต้ ในหน้าวารสาร “ทักษิณคดีศึกษา” ของสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ และเคยแวะทักทายนักอ่านในคอลัมน์ "หมื่นส้อง" ของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ "โฟกัสภาคใต้" อยู่ช่วงหนึ่ง
ประวัติชีวิต การศึกษา และกาละแห่งการงาน :
สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ บันทึกว่า สถาพร ศรีสัจจัง หรือนามแฝงว่า พนม นันทพฤกษ์ เป็นกวี /นักเขียน ชาวพัทลุง เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ที่บ้านน้ำเลือด ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง เป็นบุตรนายกระจ่าง นางเล็ก ศรีสัจจัง
เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดควนนิมิตร อำเภอเมืองพัทลุง จนจบชั้นประถมปีที่ 4 จึงติดตามบิดาซึ่งรับราชการไปเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จนจบชั้นประถมปีที่ 7
สอบเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ อำเภอเมืองตรัง จนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 
สอบเข้าเรียนต่อในแผนกศิลป์ที่โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเป็นรุ่นพี่ของกวีซีไรท์ จิระนันท์ พิตรปรีชา
สอบเข้าเรียนต่อคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์ สาขาภาษาไทย ในปี พ.ศ.2515 จบศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ไทยคดีศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ในปี พ.ศ.2533
อาจารย์สถาพร เริ่มสนใจการอ่านและการเขียนหนังสือมาตั้งแต่เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเริ่มต้นเขียนกลอน มูลเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากสมัยเด็กอาศัยอยู่กับย่า และย่ามักจะเล่าและท่องวรรณกรรมพื้นบ้าน เช่น เรื่องพระรถเมรี เรื่องพระสุธน-นางมโนราห์ ฯลฯ ให้ฟังอยู่เสมอ และเมื่อไปเรียนหนังสือที่จังหวัดตรัง ได้อยู่บ้านเดียวร่วมกับนักกลอนที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นคือ ประพนธ์ เรืองณรงค์ ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์, และจำลอง ศรีสัจจัง ผู้เป็นพี่ชาย    
เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดคำกลอนระดับจังหวัด ประกวดคำฉันท์ และเรื่องสั้น มาตั้งแต่ยังเรียนชั้นมัธยม มีผลงานตีพิมพ์สู่สาธารณะครั้งแรกที่ “สตรีสาร” ในคอลัมน์ศาลากวี และเรื่องสั้นเรื่องแรกตีพิมพ์ใน “ชัยพฤกษ์” ราวปี พ.ศ. 2509 – 2510
                สมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของชมรมวรรณศิลป์ มีผลงานตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ในหนังสือ ม.ช. สัมพันธ์, ทองกวาว และหนังสืออื่น ๆ ที่ออกเผยแพร่ในมหาวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ 
มีบทกลอนเด่น ชื่อ นิยายพื้นเมืองกรุงสยาม ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น ๖ องก์ คือ องก์หนึ่ง บทนำขลุ่ย องก์สอง เพลงขลุ่ยทอด ฤ ร่าน ท่วมแล้ว อยุธยา องก์สาม องค์สี่ องค์ห้า มหาวิทยาลัย องก์หก ดั้นเพลงลา บทกลอนนี้แสดงความคิดที่มีต่อการใช้ชีวิตของนักศึกษาปัญญาชนในรั้วมหาวิทยาลัยในตอนนั้น ดังเช่นตอนหนึ่งว่า
“เด็กอนุบาลผู้ใหญ่ที่นั้น                                         ทั้งหญิงชายเฉิดฉันท์แฉล้ม
แต่งตัวยั่วกามกันวามแวม                     ฝึกเดินแต้มความพินาศให้ชาติไทย
มีเพียงความกลัวทั่วห้องจิต                  ซึ่งผู้ใหญ่ผลิตเบ้าไว้ให้
ไม่มีความนึกคิดติดหัวใจ                                      หวังเพียงใบปริญญาอาชีพงาม
จึ่งที่นี้ไม่มีอะไรให้ชาติ                                          นอกจากผลิตเศษกระดาษให้เกลื่อนสยาม
เป็นโรงเรียนฝึกอาชีพทรามทราม                         ที่ฝึกความดักดานให้ครองเมือง
เมื่อขึ้นชั้นปี 2 เข้าร่วมกลุ่มเพื่อนสนิทที่สนใจปัญหาทางการเมือง และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม วลัญชทัศน์ ซึ่งแปลว่า มองหาช่องทาง เป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหว ทางการเมืองในยุคแสวงหาหรือยุคฉันจึงมาหาความหมาย เช่นเดียวกับนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยส่วนกลาง    
                กลุ่มวลัญชทัศน์ ออกหนังสือหลายเล่ม แต่เล่มที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด คือ วลัญชทัศน์ ฉบับ ภัยเขียว ในหนังสือเล่มนี้ อาจารย์สถาพร เขียนงานร้อยแก้วชื่อ “โศลกมืดจากจากภูเขาบรรทัด” บอกเล่าเด็กชายที่พ่อถูกฆ่าตาย สะท้อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย โดยเฉพาะท้องถิ่นภาคใต้แถบเทือกเขาบรรทัด ที่ฝ่ายอำนาจรัฐปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างทารุณ งานเขียนชิ้นนี้ทำให้อาจารย์สถาพรถูกสอบสวนและเกือบทำให้ถูกลบชื่อจากสถาบันการศึกษา
ในปี พ.ศ. 2513 ร่วมกับเพื่อนที่เป็นนักเขียนพิมพ์หนังสือ เจ้าชื่อทองกวาว หนังสือรวมเรื่องสั้นและบทกวี หนังสือรวมผลงานเล่มแรกประสบความสำเร็จไม่น้อย ทำให้ทำให้ตีพิมพ์ต่อจากงานเล่มแรก เป็น เจ้าชื่อทองกวาวขบวนสอง ใช้ชื่อปกว่า ต้องฝนยามแล้ง นายสถาพร ศรีสัจจัง มีงานกวีนิพนธ์ 3 เรื่อง คือ สังคีตแห่งเทวาลัย เธอกับฉันอยู่ในประเทศไทย และ ดอกไม้หมา ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนบทนำให้ชื่อว่า “คนหนุ่มเหล่านั้นกับเมืองไทย” ดร.นิธิเขียนถึง อาจารย์สถาพร ศรีสัจจัง ไว้ว่า “คนที่ต้องยกเว้นสำหรับคำวิจารณ์ตอนนี้คือ สถาพร ศรีสัจจัง ข้าพเจ้าคิดว่า เขาไปไกลที่สุดจากงาน เจ้าชื่อทองกวาว กับงานที่ปรากฏในเล่มนี้ ทั้งในด้านเนื้อหา วิธีการ ความจริงใจ…”
                เมื่อจบการศึกษาปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2515 อาจารย์สถาพร ศรีสัจจัง ทำงานกับมูลนิธิโกมล คีมทอง และเขียนงานอย่างสม่ำเสมอทั้งเรื่องสั้นและกวีนิพนธ์
กลางปี พ.ศ. 2516 เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง และเป็น 1 ใน 100 คนที่ลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ อันเป็นเหตุให้เกิดวิกฤติการณ์ 14 ตุลา 16
                ต้นปี พ.ศ.2517 เดินเข้ากรุงเทพฯ และเข้าทำงานประจำเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์ และหัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสารปุถุชน ซึ่งมีวินัย อุกฤษณ์ (วารี วายุ) เป็นบรรณาธิการบริหาร และได้เขียนเรื่องสั้น นกพญาไฟ ตีพิมพ์ใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ จนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเรื่องสั้นที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีเรื่องสั้นและบทกวีอีกหลายเรื่องเรื่องสั้น เช่น คนสั่นระฆัง , คนในนา , เกี่ยวกับวันเวลาและศัตรู , เหยื่อ , ก่อนไปสู่ภูเขา ,นาน้ำฟ้า ฯลฯ บทกวี เช่น สิบสี่เดือนตุลา วันมหาประชาชัย , กู่ขาน วีรชน , สงครามประชาชน , คำประกาศขบถจากหมู่บ้านเคียวเกี่ยวดาวแห่งเทือกเขาผาเพ ฯลฯ
งานร้อยกรอง ชิ้นสำคัญในช่วงนี้คือ ลิลิตพัฒนา โองการประกาศฟ้า ซึ่งปรับเปลี่ยนจากโองการแช่งน้ำ ที่สาปแช่งผู้ที่ไม่จงรักภักดี มาเป็นประชาชนสาปแช่งชนชั้นปกครองที่ฉ้อฉล ลิลิตโองการประกาศฟ้า ใช้คำประพันธ์หลากชนิด ประกอบด้วยร่าย โคลงห้าพัฒนา โคลงสี่สุภาพ กาพย์ และฉันท์ กล่าวได้ว่าอาจารย์สถาพร ศรีสัจจังเป็นคนหนึ่งในกลุ่มนักเขียนหนุ่มสาวที่สานต่อแนวความคิดวรรณกรรมเพื่อชีวิต
ปลายปี พ.ศ. 2517 ได้ลาออกมาเป็นนักเขียนอิสระ เขียนทั้งเรื่องบทกวี เรื่องสั้น และบทความให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารฉบับเดียว และเป็นนักหนังสือพิมพ์ประจำกองบรรณาธิการและนิตยสารมีชื่อหลายฉบับ เช่น อธิปัตย์   มาตุคาม   โคมฉาย ฯ
พ.ศ.2518 สำนักพิมพ์ปุถุชนก็จัดพิมพ์หนังสือ รวมเรื่องสั้นและกวีนิพนธ์ชื่อ "ก่อนไปสู่ภูเขา" โดยใช้ชื่อจริง เนื้อหาของเรื่องสั้นและกวีนิพนธ์ในหนังสือเล่มนี้ เป็นท่วงทำนองของการวิพากษ์วิจารณ์ สังคมในช่วงนั้นอย่างรุนแรงกว้างขวาง และขายดีจนต้องตีพิมพ์ซ้ำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื้อหาแนวคิดในหนังสือเล่มนี้สอดคล้องกับกระแสความคิดของคนหนุ่มสาวร่วมสมัยในยุคประชาธิปไตยแบ่งบาน เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้การนำของ เรือเอกสงัด ชลออยู่ เข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 หนังสือเล่มนี้จึงกลายเป็นหนังสือต้องห้ามตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยเล่มหนึ่งใน ๒๐๔ รายการ
หลังจาก ปุถุชน ปิดตัวลง อาจารย์สถาพร ศรีสัจจัง เข้าทำงานประจำกองบรรณาธิการนิตยสาร ชีวิต ของสนธิ ลิ้มทองกุล แต่เมื่อเกิดเหตุ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ นิตยสารเล่มนี้ก็ปิดตัวเองลงไปเช่นเดียวกับนิตยสารและหนังสือพิมพ์อีกหลายเล่ม
ปี พ.ศ.2519 เดินทางกลับจังหวัดตรัง และเข้าทำงานเป็นผู้จัดการโรงงานปลาป่นแห่งหนึ่งในอำเภอกันตัง จนปลายปี พ.ศ.2522 ลาออกแล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยเข้าทำงานประจำที่สำนักพิมพ์เม็ดทราย สำนักพิมพ์กอไผ่ พร้อมกับเป็นนักเขียนประจำของหนังสือพิมพ์มาตุภูมิ และหนังสือพิมพ์ครูไทยตามลำดับ
หลังปี พ.ศ.2519 -2521 อาจารย์สถาพร หยุดงานเขียนหนังสือไปช่วงหนึ่ง แต่ในปลายปี พ.ศ.2522 ก็เริ่มเขียนหนังสืออีกครั้งหนึ่ง โดยใช้นามปากกา "พนม นันทพฤกษ์" เรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ คลื่นหัวเดิ่ง ของเขาได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ โลกหนังสือ ฉบับเรื่องสั้นชุดคลื่นหัวเดิ่ง จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ดวงกมล เรื่องสั้นเรื่องนี้ ภายหลังได้รับการคัดเลือกให้เป็นเรื่องสั้นยอดเยี่ยมประจำปี พ.ศ.2522 ของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา
ในช่วงปี ๒๕๒๒ ความขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองและการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐกับนักศึกษา ประชาชนเริ่มสงบลง พร้อมกับการใช้นโยบาย ๖๖ / ๒๓ ทำให้เหล่าประชาชน นิสิตนักศึกษาที่เข้าป่าเริ่มคืนเมือง บรรยากาศของการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมสว่างไสวกว่าเดิม
เมื่อ คลื่นหัวเดิ่ง ได้ตีพิมพ์ จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่นักอ่านและคนวรรณกรรม จากนั้นเรื่องสั้นอื่นๆ ในนามปากกา พนม นันทพฤกษ์ ได้ทยอยตามออกมาไม่ขาดสาย เช่น  ณ ที่ซึ่งเป็นแผ่นดินกว้าง , คนเตา , คืนฟ้าฉ่ำดาว , รอยเปื้อนและทางเดิน , จากภูเหนือ , คือเหยื่อ , นกแร้ง , อาชญากรรม ,เหยื่อพราน , ไฟที่ไหม้ลาม , ข่าวคราวจากฝั่งทะเลและจดหมาย , ชายแก่ริมทะเลสาบ , ปาดังเบซาร์ ,ดาวที่ขีดเส้นฟ้า , บาระเด็ง , มรสุม , ลมแล้งที่โหมกระหน่ำลง , คนไกล ฯลฯ เรื่องสั้นเหล่านี้สะท้อนภาพชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนที่กำลังเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รัผลกระทบจากการพัฒนาที่เน้นด้านวัตถุและการบริโภคนิยม เด็กรุ่นใหม่ในชุมชนพากันละทิ้ง ขนบประเพณีของบรรพบุรุษหันไปชื่นชมกับสิ่งใหม่ที่เห็นว่าทันสมัยนอกจากนี้ปัญหาความยากจน และการเอาเปรียบในสังคมทุกระดับเป็นภาพที่สะท้อนอยู่ชัดเจนในงานเรื่องสั้นเหล่านี้ นายสถาพรมุ่งมั่นที่จะบอกเล่าผู้อ่านให้เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตและสังคมและชี้ให้เห็นว่าแก่นแท้ของชีวิตคือการต่อสู้ มนุษย์ต้องต่อสู้ กับอุปสรรคที่ขวางกั้น ต่อสู้กับการถูกกดขี่ข่มเหง ต่อสู้กับความเอารัดเอาเปรียบ และต่อสู้กับความอยุติธรรม ทุกรูปแบบ
                นอกจากเขียนเรื่องสั้นแล้ว อาจารย์สถาพรยังเขียนงานร้อยแก้วและบทกวีอีกด้วย งานร้อยแก้ว เช่น คำนึงถึงคนรัก และ บางค่ำคืนในฤดูแล้ง ตีพิมพ์ครั้งแรกใน โลกหนังสือ พ.ศ. ๒๕๒๒ ต่อมามีบทร้อยแก้ว รวมเล่ม ชื่อว่า ที่ว่ารัก - รักนั้น ตีพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ 
ส่วนบทกวีชิ้นแรกที่เขียนในนามปากกา พนม นันทพฤกษ์ ชื่อ เดือนสาม   ลมรักล่องแผดโผยโปรยผ่านมา ตีพิมพ์ใน โลกหนังสือ พ.ศ. ๒๕๒๒ เช่นกัน บทกวี ชิ้นเด่น ๆ ที่เขียนหลังจากนี้ ได้แก่ ดาวศรัทธายังโชนจ้าแสง , ฤดูกาล , ยืนต้านพายุ , จากเทือกเขาพนมมาลัย ,ผ่านทางที่หมู่บ้าน , ดาวเหนือ , ผ่านทางไปภาคใต้ ปีสองพันห้าร้อยยี่สิบสาม , ฝั่งทะเลตะวันตก ,ตำนานดาว , ตำนานแห่งนกพญาไฟ , ตำนานแห่งพิมพะยอม , นักเดินเรือ , ลำห้วยใหญ่ ฯลฯ
         บทกวีเหล่านี้ต่อมารวมเล่มในหนังสือ คือนกว่ายเวิ้งฟ้า พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ เพิงพักริมห้วย พ . ศ . ๒๕๓๑ และ ทะเล ป่าภู และเพิงพัก พ . ศ . ๒๕๔๑
เนื้อหาในงานเขียนทั้งกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น และนวนิยายของอาจารย์สถาพร ส่วนใหญ่ จะมีเนื้อหาคาบเกี่ยวอยู่กับปัญหาสังคมอยู่ในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาชนบทในภาคใต้ และภาคเหนือ เสนอแง่คิดด้านต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เสนอแนะวิธีของโลก และวิธีเข้าใจปรากฏการณ์ในสังคมเป็นหลัก
พ.ศ.2525 อาจารย์สถาพรเดินทางกลับภาคใต้อีกครั้ง และเข้ารับราชการที่สถาบันทักษิณ จนกระทั่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา
นอกจากจะเป็นนักเขียน อาจารย์สถาพรยังมีบทบาทสำคัญอื่นๆ ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ได้แก่    
ได้รับเชิญเป็นตัวแทนนักเขียนไทยร่วมประชุมนักเขียนแห่งเอเชีย ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ใน พ.ศ.2524
มีส่วนร่วมเป็นกองบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมภาคใต้
เป็นบรรณาธิการบริหารทักษิณคดีศึกษา
ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนปราศ ราหุล
เป็นที่ปรึกษาชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ในช่วงปี พ.ศ.2525
เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับวรรณกรรมในสถาบันต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เป็นอาจารย์สอนนิสิตระกับบัณฑิตศึกษา สาขาไทยคดีศึกษาและภาษาไทยของมหาวิทยาลัยทักษิณ และอาจารย์พิเศษในสถาบันระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคบางแห่ง
ลำดับผลงานรวมเล่ม :
                พ.ศ. ๒๕๑๓ รวมเรื่องสั้น,กวีนิพนธ์(เขียนรวมกับผู้อื่น) “เจ้าชื่อทองกวาว”  
                                พ.ศ. ๒๕๑๔ รวมเรื่องสั้น,กวีนิพนธ์(เขียนร่วมกับผู้อื่น) “ต้องฝนยามแล้ง” 
                พ.ศ. ๒๕๑๘ รวมเรื่องสั้นและกวีนิพนธ์ "ก่อนไปสู่ภูเขา" โดยใช้ชื่อจริงคือ "สถาพร ศรีสัจจัง" จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ปุถุชน ได้รับการประกาศเป็นหนังสือต้องห้าม
พ.ศ. ๒๕๒๓ รวมเรื่องสั้น "คืนฟ้าฉ่ำดาว รอยเปื้อนและทางเดิน"
พ.ศ. ๒๕๒๔ รวมเรื่องสั้นและกวีนิพนธ์ “ยืนต้านพายุ”
พ.ศ. ๒๕๒๔ นวนิยาย "เด็กขายชาวเล"
พ.ศ. ๒๕๒๕ นวนิยาย "บองหลา"
พ.ศ. ๒๕๒๕ นวนิยาย   "ทุ่งหญ้า ป่าสูง และวันรุ้งทอสาย"
พ.ศ. ๒๕๒๖ รวมเรื่องสั้น "ดาวที่ขีดเส้นฟ้า"
พ.ศ. ๒๕๒๙ กวีนิพนธ์ "คือนกว่ายเวิ้งฟ้า"
พ.ศ. ๒๕๒๙ กวีนิพนธ์ "ที่ว่ารัก-รักนั้น"
พ.ศ. ๒๕๓๑ นวนิยาย "ดั่งผีเสื้อเถื่อน"
พ.ศ. ๒๕๓๑ กวีนิพนธ์ “ณ เพิงพัก ริมห้วย"
พ.ศ. ๒๕๔๐ นวนิยาย "ดงคนดี"
พ.ศ. ๒๕๔๑ กวีนิพนธ์ "ทะเล ป่าภู และเพิงพัก"
พ.ศ. ๒๕๔๓ กวีนิพนธ์ “ฟ้องนายหัว” 
                              (ใช้นามปากกา อินถา ร้องวัวแดง)
รางวัลที่ได้รับ:
ได้รับประดับรางวัลช่อการะเกด ประจำปี ๒๕๑๙ จากนิตยสารโลกหนังสือ จากเรื่องสั้นชื่อ "คลื่นหัวเดิ่ง"   และรางวัลเรื่องสั้นยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๒๒ จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
เรื่องสั้นชื่อ “เหยื่อพราน” ได้รับรางวัลจากนิตยสารแมน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๓ สารคดีเรื่อง “วังปราจันทร์ -ทะเลบัน-บูกีบากิ๊ด: เส้นทางสายยุทธศาสตร์ " ได้รับรางวัลจากนิตยสารประจำปี ๒๕๒๓
วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง "เด็กชายชาวเล"ได้รางวัลชมเชย ประเภทหนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น (๑๒-๑๔ ปี) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
     - รางวัลชมเชยจากคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๔
     - ๑ ใน ๕๐๐ เล่ม หนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน ของสมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนาหนังสือและการอ่าน
     - ๑ ใน ๑๐๐ เล่ม หนังสือดีที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง "บองหลา"
     - รางวัลชมเชย ประเภทหนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น (๑๒-๑๔ ปี) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๕
     - ๑ ใน ๕๐๐ เล่ม หนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน ของสมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนาหนังสือและการอ่าน
 รวมบทกวีนิพนธ์ชื่อ "คือนกว่ายเวิ้งฟ้า"
     - รางวัลชมเชย ประเภทหนังสือกวีนิพนธ์ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๙
     - รางวัลชมเชย ประเภทหนังสือกวีนิพนธ์ จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๙
 วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง "ดงคนดี"
     - รางวัลชมเชย ประเภทหนังสือบันเทิงคดีสำหนับเด็กก่อนวัยรุ่น (๑๒-๑๔ ปี) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑
บทกวีชื่อ "ดาวศรัทธายังโชนจ้าแสง" ได้รับการคัดเลือกเป็นสรรนิพนธ์ในโครงการวิจัย "กวีนิพนธ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๑" ซึ่งมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ เป็นหัวหน้าโครงการ เป็นโครงการวิจัยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากนำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
 
ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช ๒๕๔๘
ได้รับการยกย่องให้เป็น นักกลอนตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ในวาระ ๕๐ ปี ก่อตั้ง สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

 




ข่าวสารข้อมูลสมาคม

นักกลอนตัวอย่าง นักกลอนดีเด่น ของสมาคมนักกลอน 2557
ตัวแทนโรงเรียน ๗ ภาค ร่วมแข่งขันกลอนสด วันนักกลอน ๒๕๕๗
วันนักกลอนและประชุมสามัญประจำปี ๒๕๕๗
เชิญชวนประกวดกลอนสด ม.ปลายภาคตะวันตก สมาคมนักกลอนฯ 2557
ประกวดกลอนสดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ราชภัฏมหาสารคาม
ค่ายวรรณศิลป์ ๗-๘ ก.ค. ๒๕๕๗ รัตนโกสินทร์สมโภช
นักกลอนตัวอย่างและนักกลอนดีเด่น ปี 2556
ประชุมใหญ่ประจำปีสมาคมนักกลอน และวันนักกลอน ๒๕๕๖
ประชันกลอนสด ม.ปลาย หัวข้อ "อภิสัมมานสักการะ ๑๐๐ พระชันษา พระสังฆบิดร
ผลประกวดกลอนสดมัธยมและอุดมศึกษาแต่ละภาค ปี 2556
ประกวดกลอนสดนักเรียนมัธยมศึกษา ภาคตะวันตก 13 พ.ย.
ประกวดกลอนสดนักเรียนมัธยมศึกษา ภาคเหนือ 30 พ.ย.
ประกวดกลอน ภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 11 พ.ย.
พ.ย. 56 สมาคมนักกลอนฯ จัดแข่งขันกลอนสดนักเรียนมัธยม ๓ ภาค
ผลการประกวดกลอนสดภาคอีสาน 2556
ประมวลภาพงานวันภาษาไทยแห่งชาติ และ งานประชันกลอนสดชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประวัติ 10 กวีอาเซียน “รางวัลสุนทรภู่” 2556
รายชื่อกวี 10 ชาติ รางวัลสุนทรภู่ 2556
บรรยากาศสงกรานต์นักกลอนประจำปี ๒๕๕๖
สงกรานต์นักกลอน" วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๖
นักกลอนตัวอย่าง ประจำปี ๒๕๕๕
ขอเชิญประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๕
ขอเชิญประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๔
งานทำบุญวันนักกลอน ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๔
นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยสมัยที่ ๑๗
การเลือกตั้งนายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ประชุมใหญ่ประจำปีและวันนักกลอน ๒๕๕๓ article
นักกลอนตัวอย่างของสมาคมนักกลอนฯ ๒๕๕๑-๒๕๕๒ article
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี และงานวันนักกลอน ๒๕๕๒ article
นักกลอนตัวอย่างสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
การดำเนินงาน สมาคมนักกลอนฯ (ปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๑)
นักกลอนตัวอย่างระดับภาค
คำประกาศเกียรติคุณ นิภา บางยี่ขัน
รูปคณะกรรมการสมัยที่๑๕ article
ความเป็นมา article
กรรมการสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยสมัยที่ ๑๕ - ๑๖ article
นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยสมัยที่ ๑๕ article
วัตถุประสงค์สมาคมนักกลอน article
นโยบายการบริหาร article
วันเกิดของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย article
รายชื่อนายกสมาคม article



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ