ReadyPlanet.com
dot dot
เวียงจัน 450 ปี

เวียงจัน 450 ปี

โดย ทองแถม นาถจำนง
                พ.ศ 2553  ประเทศ สปป.ลาว เพื่อนบ้านที่เป็นเครือญาติใกล้ชิดของไทย มีงานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ คืองาน “วันก่อตั้งนครหลวงเวียงจัน ครบรอบ 450 ปี เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระอันยิ่งใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้านจึงขอเสนอบทความประวัตินครหลวงเวียงจันสมัยโบราณโดยสังเขป ดังต่อไปนี้
                เมืองเวียงจันมีอายุเก่าแก่มากกว่าสี่ร้อยห้าสิบปี   แต่ที่มีการเฉลิมฉลอง 450 ปีนั้น   ถือเอาวาระที่พระเจ้าไชยเซษฐาธิราชทรงประกาศสถาปนาเวียงจันเป็นราชธานีอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ 2103 
                ก่อนหน้านั้นราชธานีของอาณาจักรล้านช้างคือเชียงทอง หรือนครหลวงพระบาง
                ความเป็นราชธานีแห่งแรก ประกอบกับตำนาน “ขุนบรม” หรือ “ขุนบูลม” อาจทำให้นึกไปว่าเมืองหลวงพระบางมีประวัติเก่าแก่กว่าเวียงจันมาก     อันที่จริง “ขุนลอ” โอรสขุนบรมผู้เป็นปฐมวงศ์กษัตริย์ลาวล้านช้างนั้น   อยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16    หนังสือ “ลำดับกษัตริย์ลาว” โดย สุรศักดิ์ ศรีสำอาง หน้า 35  เสนอว่า
                “ราชธานีแรกของรัฐล้านช้างมีชื่อเรียกแต่เดิมว่า เมืองชวา เมืองเชียงดงเชียงทอง หรือเมืองเชียงทอง   ภายหลังเมื่อสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงย้ายราชธานีลงไปตั้งที่นครเวียงจันทร์เมื่อ ปี พ.ศ 2103 แล้วจึงทรงสถาปนาเมืองเชียงทองให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา เปลี่ยนนามว่าเมืองหลวงพระบางราชธานี ศรีสัตนาคนหุตร่มขาว ตามพระนามพระพุทธรูปพระบาง ซึ่งพระยาหล้าแสนไท อัญเชิญจากเมืองเชียงคำมาปะดิษฐานในเมืองนี้เมื่อราว พ.ศ 2039  คนทั้งหลายจึงเรียกเมืองเชียงทองว่าเมืองหลวงพระบางสืบมา
                พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ทั้งฉบับนิทานขุนบูลมและฉบับเดิม กล่าวว่า พื้นที่บริเวณเมืองหลวงพระบางนั้นมีชนพื้นเมืองเดิมอาศัยปกครองสืบเชื้อสายมาได้ 2 ชั่ววงศา   พวกแรกเป็นพวกที่ขึ้นมาจากนครเวียงจันทร์ ปกครองบ้านเมืองได้ชั่วระยะหนึ่งก็สิ้นสายวงศ์ ขุนชวาจึงเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยสืบต่อ ชื่อเมืองหลวงพระบางระยะแรกจึงเรียกว่าเมืองชวา ตามนามขุนผู้นี้
                สันนิษฐานกันว่าพวกชนพื้นเมืองเป็นชนเผ่าหลายกลุ่มในตระกูล มอญ-เขมร จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทางตอนกลางของรัฐล้านช้างแถบ เมืองเวียงจันทร์ โพนโฮง ซายฟอง และพื้นที่ข้างเคียงแสดงให้เห็นว่ามีการรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนสังคมเมืองมาแล้วตั้งแต่ราว พุทธศตวรรษที่ 11-12 ต่อมาชุมชนเหล่านี้ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะพุทธศาสนาจากกลุ่มวัฒนธรรมมอญโบราณหรือทวารวดีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน  ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 13-15 และวัฒนธรรมเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-18
                ล่วงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 15-16 กลุ่มชนตระกูลไท-ลาว ได้เริ่มขยายตัวจากพื้นที่สูงบริเวณเมืองแถง และตะวันออกฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบาง ลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่อาซัยปะปนอยู่กับชนพื้นเมืองเดิมตามที่ราบแตบ ๆ ริมฝั้งแม่น้ำโขงตอนบนและลำน้ำสาขา อาทิ น้ำทา น้ำอู น้ำคาน และน้ำงึม เป็นต้น
                ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 17  ขุนลอ โอรสขุนบรม เจ้ามืเองแถง ปฐมวงศ์กษัตริย์ลาวล้านช้าง ได้ยกไพร่พลลงมาตามลำน้ำอู ตั้งชุมชนอยู่อาศัย ณ บริเวณปากอู ทางเหนือเมืองชวา จากนั้นจึงยกกำลังเข้าชิงเมืองขับไล่ขุนกันฮาง เจ้าเมืองและบุตรหลานซึ่งรักษาเมืองอยู่ในขณะนั้นแตกพ่ายหนีไปขุนลอเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์ลาวล้านช้าง”
                ประวัติศาสตร์ชนชาติลาวในดินแดนประเทศ สปป.ลาว นั้น   นักวิชาการลาวยอมรับทั่วกันว่า   ดั้งเดิมทีชนพื้นเมืองที่อาศัยในดินแดนลาวคือชนเผ่า Austronesian ซึ่งต่อมาก็คือกลุ่มชนที่ปัจจุบันนี้เรียกว่า “ลาวเทิง”    ส่วนชนชาติลาว(ปัจจุบันเรียกลาวลุ่ม)ได้อพยพจากภาคใต้ของจีนเข้าแทนที่ชนเผ่าลาวเทิงที่ย้ายไปอยู่เขตภูดอย เมื่อประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 (พุทธศตวรรษที่หก)
                แดนเวียงจันเป็นพื้นที่ซึ่งชาวลาวมาตั้งถิ่นฐานสำคัญแห่งหนึ่ง   แดนเวียงจันจึงมีชุมชนหมู่บ้านมากกว่า 2000 ปีแล้ว เวียงจันคงพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเมือง มีพระยาเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
                ดร.สุเนด โพทิสาน เขียนสรุปไว้ว่า “สังคมชนเผ่าในลุ่มแม่น้ำโขง มีวัฒนธรรม ฮีตครอง ประเพณี แบบปฐมกาลเป็นของตนและมีความเจริญอย่างมากมายในหลายด้านแล้ว   ก่อนจะได้รับเอาวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน คือรู้จักปลูกข้าวนาดำเป็นอาชีพสำคัญ รู้จักปั้นดินเผาและระบายสี   สามารถผลิตเครื่องมือจากทองสำริดและเหล็ก     มีความชำนาญในการเดินเรือตามลำแม่น้ำของ สามารถผลิตเครื่องนุ่งห่มและสร้างบ้านเรือนที่มีใต้ถุนสูงเพื่อหลีกน้ำท่วม   ด้านสังคม นับถือหัวหน้าเผ่าของตนเป็นผู้ดำเนินการปกครอง แต่ละหมู่บ้านมีหัวหน้าบ้าน ด้านความเชื่อมีการนับถือผี เช่น ผีพ่อแม่ ผีบรรพบุรุษ ผีฟ้า (แถน) เจ้าแห่งน้ำ (นาค) เจ้าแห่งแผ่นดิน (ช้าง) เจ้าแห่งอากาศ (ครุฑ)”
                เอกสารทางการ สปป.ลาว เรื่อง “ความเป็นมาของนครหลวงเวียงจัน” ที่พิมพ์ในวาระเฉลิมฉลองเวียงจัน 450 ปีมีสี่เล่ม    แบ่งประวัติเวียงจันเป็น 5 ยุค ดังนี้
                เวียงจันในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบอง หรือศรีโคตรบูรณ์ (คริสตศตวรรษที่ 1 – 10)
                เวียงจันสมัยซายฟอง (เมืองหาดซายฟอง) ในคริสตศตวรรษที่ 12
                เวียงจันสมัยอาณาจักรลาวล้านช้าง (ค.ศ 1353 – 1560)
                เวียงจันในสมัยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
                เวียงจันสมัยราชอาณาจักรลาว  
                                                เวียงจันยุคศรีโคตรบูรณ์
                แคว้นศรีโคตรบูรณ์หรือศรี โคตรบอง เป็นแว่นแคว้นของคนลาว อาณาเขตครอบคลุมดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง มีอายุร่วมสมัยกับทวารวดีภาคกลาง
         นักวิชาการลาวบางท่านเห็นว่า   แคว้นศรีโคตรบอง มีนครหลวงตั้งอยู่เมืองร้อยเอ็ด ในคริสตศตวรรษที่ 1 แล้วย้ายมาอยู่ปากแม่น้ำเซบั้งไฟ ในคริสตศตวรรษที่ 5 ต่อมาได้มีอำนาจควบคุมหลายแขวงหลายเมือง ตั้งแต่จำปาสัก ถึงยูนนาน เชียงขวาง อัตปือ รวมทั้ง อุบล สกลนคร(หนองหานใหญ่) อุดร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และราชสีมาในประเทศไทยเดี๋ยวนี้
                ดร.สุเนด โพทิสาน เสนอว่า 
                “หนังสืออุรังคธาตุ กล่าวถึงเวียงจันในเบื้องต้นว่า   ครั้งหนึ่งมีพระฤาษีสองตน ได้มาปลูกไม้จันไว้ที่ปากป่าสัก คิดว่าที่นั้นในอนาคตจะเป็นแหล่งที่รุ่งเรือง ต่อมาก็มีพญาองค์หนึ่งซึ่งเป็นเชื้อสายของพญาสุวันนะพิงคาน แห่งเมืองหนองหานหลวง (สกลนคร) อาณาจักรศรีโคตรบอง ได้พาไพร่พลขึ้นมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ปากห้วยเก้าเลี้ยว   แล้วให้ชื่อว่า เมืองสุวรรณภูมิ  พญาองค์นี้มีลูกชายชื่อท้าวคำบาง  และมีลูกสาวชื่อว่า นางอินทะสว่างลงฮอด   ต่อมาก็ได้แต่งงานกับท้าวบุรีจัน (อ้วยล้วย)
                ท้าวบุรีจัน เป็นนายบ้าน อยู่บ้านหนองคันแทผีเสื้อน้ำ(บริเวณบ้านร่องแกในปัจจุบัน) ท้าวบูรีจันเป็นคนขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์ ใจบุญบำรุงพระศาสนา   ข่าวนี้รู้ไปถึงพระเจ้าสุมิตรธรรมวงศา แห่งเมืองมลุกขะนคร ศรีโคตรบอง ทรงพอพระทัยจึงแต่งตั้งให้ท้าวบุรีจันปกครองเมืองเวียงจัน ตั้งแต่ปากกระดิงไปถึงเมืองชะนะคาม”
                ประวัติการสร้างพระธาตุพนมและพระธาตุหลวง   กล่าวถึง “พญาจันทบุรีประสิทธิศักดิ์” ซึ่งก็คือ “ท้าวบุรีจัน” นั่นเอง จึงสันนิษฐานได้ว่า บุรีจัน ได้ปกครองเมืองเวียงจันในคริสตศตวรรษที่ 6   เมืองเวียงจันได้ชื่อว่า เมืองจันทะบูรี ตามยศของบูรีจัน   พญาจันทบูรีประสิทธิศักดิ์กษัตริย์เมืองจันทะบูรี(เวียงจัน) ทรงเป็นผู้สร้างพระธาตุหลวงเวียงจัน
                หลังจากได้ราชาภิเศกเป็นกษัตริย์แล้ว   พระองค์ทรงสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้านเก่าของตน   เรียกว่าวัดอ้วยล่วย สร้างวิหารอีกสองแห่ง คือที่ป่าใต้ และที่ป่าเหนือ
                “ในเวลาต่อมา พระอรหันต์ 5 รูป ได้นำพระธาตุหัวหน่าวมาประดิษฐานไว้ที่ภูเขาหลวงหรือภูเขาลวง เข้าใจว่าคือพระธาตุหลวง เพราะว่าในศิลาจารึกธาตุหลวงเรียกว่า ฎคุยหะถูปาโย” (แปลว่าธาตุของลับ คือกระดูกหัวหน่าว) การบรรจุพระธาตุหัวหน่าวนั้น มีพระธาตุ 27 องค์ (27 ชิ้น) โดยพระเจ้าจันทะบุรีประสิทธิศักดิ เป็นองค์ประธาน ได้สร้างอุโมค์ครอบไว้ ฝาด้านข้างของอุโมงค์ทั้ง 4 ด้าน กว้างด้านละ 5 วา หนาด้านล ะ 2 วา       ส่วนสูง 4 วา 2 ศอก
หลังการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าสำเร็จแล้ว พระเจ้าจันทะบุรีสั่งให้สร้างวิหารขึ้นห้าหลัง เพื่อให้เป็นที่พำนักของพระอรหันต์ทั้งห้ารูป” ( “ประวัติชนชาติลาว เล่ม 1” โดย บุนมี เทบสีเมือง   แปลโดย ไผท ภูทา หน้า 89-90)
                เมืองเวียงจันเวลานั้นเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของแคว้นศรีโคตรบอง เช่นเดียวกับ  เมืองร้อยเอ็ด เมืองหนองหานใหญ่(สกลนคร) และเมืองหนองหานน้อย(อุดรธานี)เป็นเมืองด่านหน้า
                เมืองเวียงจันเองก็มีเมืองหน้าด่านของตนเช่นเดียวกัน   ทิศตะวันออกคือเมืองเวียงคุก (หนองคาย) ทิศตะวันตกคือเมืองชะนะคาม (เชียงคาน) ทิศเหนือคือเมืองเวียงคำ (หรือเมืองไผ่ล้อม ตำนานว่าเป็นเมืองคู่แฝดที่สร้างพร้อมกับเวียงจัน) ทิศใต้คือเมืองผาน้ำรุ่งเชียงสา (บริเวณเมืองปากซันและเมืองปากกระดิงในปัจจุบัน) 
                นอกจากนั้นยังมีเมืองรายล้อมเวียงจันอีกหลายเมือง เช่น   ด้านตะวันออกมีเมืองซายฟอง ด้านตะวันตกมีเมืองสุวรรณภูมิ(เก้าเลี้ยว) ด้านใต้มีเมืองพันพ้าว (ท่าบ่อ หนองคาย) เป็นต้น
                นักวิชาการลาวเสนอว่า   ผู้คนในเวียงจันเริ่มนับถือศาสนาพุทธในราวคริสตศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา แคว้นศรีโคตรบองนี้ดำรงอยู่ต่อเนื่องมาจนถึงคริศตวรรษที่ 10 ในระหว่างนั้นศรีโคตรบองเป็นเมืองส่วยของจามและเขมร    เมื่อใดอาณาจักรขมรมีความขัดแย้งภายในกัน หรือว่ามีสงครามกับพวกจาม หรือมีกษัตริย์อ่อนแอ อำนาจของเขมรเสื่อมลง   เวลานั้นแคว้นศรีโคตรบองก็แข็งข้อต่อเขมร ประกาศเป็นเอกราชอยู่จนถึงคริสตศตวรรษที่ 11 
                                                เวียงจันยุคซายฟอง
                เมืองเวียงจันขึ้นต่อเขมรอีกสมัยหนึ่งในคริสตศตวรรษที่ 12 หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์แล้ว อำนาจของเขมรก็ทรุดโทรมลง   เวียงจันเป็นนครรัฐอิสระอีกครั้งหนึ่ง จนถึงต้นคริสตศวรรษที่ 13 
                หนังสือ “ลำดับกษัตริย์ลาว” ของ สุรศักดิ์ ศรีสำอาง หน้า 88 กล่าวถึงการปกครองของเวียงจันว่า
                “ขณะที่ขุนลอทรงสถาปนาเมืองชวา เชียงดงเชียงทอง ขึ้นเป็นราชธานีของรัฐล้านช้างนั้น เมืองเวียงจันและพื้นที่ทางตอนล่างยังคงเป็นอิสระ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ที่ทรงสืบสายมาจากชนพื้นเมืองเดิมผู้ครอบครองพื้นที่บริเวณนี้ต่อเนื่องลงมาจนถึงราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ........
                ล่วงมาถึงราว พ.ศ 1896 – 1900 หรือราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 เวียงจันและเวียงคำซึ่งปกครองโดยท้าวเชียงมุง และพระยาเภา เชื้อสายวงศากษัตริย์สองพ่อลูก จึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างในรัชกาลเจ้าฟ้างุ่ม แต่นั้นมาการจัดการปกครองเมืองเวียงจันทร์ ไปจนถึงเมืองกะบอง (เมืองนคร) ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้   และเมืองหนองบัวทางด้านใต้ รวมทั้งหัวเมืองอื่น ๆ ทางตอนล่าง   จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของกษัตริย์ลาวล้านช้างองค์ต่อ ๆ มา”
                                                เวียงจันสมัยอาณาจักรลาวล้านช้าง
                ทางวงศ์กษัตริย์หลวงพระบางมีกษัตริย์ครองราชย์ ตามลำดับดังนี้ (ตามหนังสือ “ลำดับกษัตริย์ลาว” โดย สุรศักดิ์ ศรีสำอาง)
                ขุนบรม (ปฐมวงศ์)
1.               ขุนลอ ปฐมกษัตริย์ล้านช้าง
2.ขุนชวา (ลูก)
2.               ขุนสูง (หลาน)
3.               ขุนเด็ก (ลูก
4.               ขุนคีม (หลาน)
5.               ขึนคัง (ลูก)
6.               ขุนคาน (ลูก)
7.               ขุนแพง (ลูก)
8.               ขุนเพ็ง (ลูก) 
9.               ขุนพี (ลูก)
10.         ขุนคำ (ลูก)
11.         ขุนฮุ่ง (ลูก)
12.         ท้าวแทนโม (ลูก)
13.         ท้าวยุง (ลูก)
14.         ท้าวเยิก (ลูก)
15.         ท้าวพิณ (ลูก)
16.         ท้าวผาด (ลูก) 
17.         ท้าวหว่าง (ลูก)
18.         พระยาลัง พ.ศ 1814-1859
19.         พระยาสุวรรณคำผง พ.ศ 1859 - ?
20.         พระยาฟ้างุ่ม หรืองุ้ม  พ.ศ 1896 – 1916
21.         พระยาสามแสนไท พ.ศ 1916-1959
22.         พระยาล้านคำแดง พ.ศ  1959-1971
23.         พระยาพรหมทัต
24.         พระยาปาก
25.         พระยาหมื่น
26.         พระยาไค
27.         พระยาเชียงสา
28.         บุตรพระเจ้าล้านคำแดง
29.         พระยาคำเกิด
30.         พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว พ.ศ 1981- 2023
31.         พระยาสุวรรณบัลลังก์ พ.ศ 2023 – 2029
32.         พระยาหล้าแสนไทไตรภูวนาถ   พ.ศ 2029 – 2039
33.         พระยาชมพู   พ.ศ 2039- 2044
34.         พระยาวิชุลราชาธิบดีศรีสัตนาคนหุต พ.ศ 2044-2063
35.         พระยาโพธิสาลราช   พ.ศ 2063-2090
36.         สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พ.ศ 2091-2114 
        เจ้าฟ้างุ้มหรืองุ่มเป็นกษัตริย์ลาวล้านช้างที่มีอานุภาพมาก   ทรงรวบรวมดินแดนเข้าไว้ในอำนาจได้กว้างขวางมาก   รัชกาลเจ้าฟ้างุ้มตรงกับรัชกาล พระเจ้าอู่ทอง แห่งกรุงศรีอยุธยา , พระมหาธรรมราชาที่หนึ่ง (พระยาลือไท-ลิไท) แห่งสุโขทัย   และพญากือนา แห่งเชียงใหม่
                “เจ้าฟ้างุ่มได้รับการสนับสนุนจากพระยาอินทปัตนครให้ปราบปรามบ้านเมืองต่าง ๆ ไว้ในอำนาจ เริ่มตั้งแต่เมืองพรหมทัตทางตอนใต้ของลาว   เมืองกะบอง(เมืองกะบองขอน) และเมืองหินบูนทางตอนกลางของลาวแถบแขวงสะหวันนะเขตและแขวงคำม่วน   เมืองปากกะดิงหรือเมืองพระน้ำฮุ่ง แขวงบลิคำไซ เมืองพวนเมืองเชียงขวาง ข้ามไปเมืองบัวเขตเมืองญวน เมืองแถง และเมืองไล เขตสิบสองจุไท เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ และเมืองบูน เขตสิบสองพันนา จากนั้นจึงยกลงไปยังปากอูทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเชียงดงเชียงทอง    ขณะนั้นเจ้าฟ้าคำเฮียงผู้เป็นอา ได้ครองเมืองสืบต่อจากพระยาคำเฮียวผู้เป็นบิดาของเจ้าฟ่าง่าม เกิดความเกรงกลัวชิงฆ่าตัวตายเสียก่อน หมู่เสนาอำมาตย์ทั้งหลายจึงไปอัญเชิญเจ้าฟ้างุ่มขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
                หลังจากได้ราชสมบัติแล้วเจ้าฟ้างุ่มทรงขยายดินแดนล้านช้างด้วยการปราบปรามบ้านเมืองต่าง ๆ ทางด้านตะวันตกและด้านใต้ซึ่งติดต่อกับเขตของรัฐล้านนา สุโขทัย และอยุธยา ทางด้านทิศตะวันตกเขตแดนตรดเวียงผาใด ต่อแดนเมืองเชียงของ (ล้านนา) ด้านใต้ได้เมืองซาย (เมืองซายขาว) ซึ่งท้าวไค หลานขุนเค็ดขุนคานเป็นเจ้าเมือง
                หลังจากนั้นจึงยกไปปราบปรามเมืองเวียงจันทร์และเวียงคำ   ซึ่งท้าวเชียงมุงและพระยาเภา ชนพื้นเมืองเดิมสองพ่อลูก (ข่า) ปกครองอยู่ และได้เมืองแก่นท้าวลงไปถึงเมืองหนองหานน้อย หนองหานหลวง ภูวานเถ้า ภูวานปาว (ภูพานเถ้า ภูพานปาว) เมืองบังกอง เวียงบึงพระราม   เวียงฮ้อยเอ็ดปรัตู ถึงเขตแดนเมืองลานเพี้ยศรีอยุธยา จากนั้นจึงจัดการปกครองบ้านเมืองและตั้งเจ้าเมืองต่าง ๆ ในเขตรัฐล้านช้าง ดังนี้
                ตั้งปู่เลี้ยงเป็นแสนเมืองเวียงจันทร์ ตั้งเชือ้พระวงศ์หรือพระโอรสเป็นเจ้าเมืองชั้นใน(ขุนใหญ่เชือนเมือง) ได้แก่ เจ้าเวียงคำ เจ้าเวียงแก เจ้าปากห้วยหลวง และขุนางผู้ใหญ่(ขุนอันเจ้าเมืองใหญ่)เป็นเจ้าเมืองเชียงสา และเจ้าเมืองพระน้ำฮุ่ง........
                ให้ขวากิม เอาไพร่พลหมื่นครัวไปใส่บ้านเมืองชายเจตเวียงจันทร์ ได้แก่ เมืองหนองหานน้อย หนองหานหลวง ภูวานเถ้า ภูวานปาว........
                เมืองสำคัญทางตอนใต้ของเมืองหลวงพระบาง อันได้แก่เมืองเวียงจันทร์ เวียงคำ และเมืองกะบอง (เมืองนคร)  ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐล้านช้างในรัฐกาลนี้” ( “ลำดับกษัตริย์ลาว” โดย สุรศักดิ์ ศรีสำอาง)
                นับจากเจ้าฟ้างุ้มรวมเวียงจันเข้าอยู่ในอาณาจักรลาวล้านช้าง จนถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ทรงย้ายราชธานีมาอยู่เวียงจัน   เวียงจันมีเจ้าเมืองปกครอง 6 คน ดังต่อไปนี้
1.               หมื่นจัน   หรือ บาคุ้ม ผู้เป็นแม่ทัพของเจ้าฟ้างุ่ม   บาคุ้มชนช้างกับพระยาเชียงมุง ฟันพระยาเชียงมุงขาดคอช้าง   บาคุ้มได้เป็นพระยาเจ้าเมือง ตั้งแต่ พ.ศ 1899
2.               พญาวังบุรี (ลูกชายพระเจ้าสามแสนไท) ในปี พ.ศ 1960
3.               เจ้าชายมุ่ย กษัตริย์ในเวียงจันเอง ขึ้นปกครองต่อ
4.               พระยาแสนสุรินทรลือไชย ขึ้นปกครอง ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าแผ่นดินแทนพระเจ้าไชยเชษฐา
5.               พระยาศรีสัตธรรมไตรโลก ในปี พ.ศ 2093
พระเจ้าโพธิสาลราช พระราชบิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงพัฒนาเมืองเวียงจันมาก เมืองเวียงจันเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว  
        “หลังจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับจากล้านนามาเสวยราชย์ในแผ่นดินล้านช้าง เมื่อ พ.ศ 2091 แล้ว   อาจจะทรงเล็งเห็นว่านครเชียงทองตั้งอยู่ในทำเลพื้นที่จำกัดคับแคบและใกล้เส้นทางติดต่อกับล้านนา คงจะถูกรุกรานจากพม่าซึ่งกำลังขยายอิทธิพลเข้ามายังล้านนาได้โดยง่าย   ประกอบกับเมืองเวียงจันทร์ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม มีที่ราบกว้างขวางอุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารสามารถเลี้ยงดูไพร่พลจำนวนมากได้ และมีประชากรชาวลาวตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่อาศัยหนาแน่นมากขึ้นในบริเวณตอนกลางของประเทศ ทั้งด้านตะวันออกเฉียงใต้และด้านใต้ที่ติดต่อกับเขตกรุงกัมพูชาและกรุงศรีอยุธยา จะสะดวกต่อการปกครองดูแลจัดการหัวเทืองในพระราชอาณาเขตกว่าการตั้งราชธานีที่นครเชียงทอง จึงทรงทำสัยญทางไมตรีกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา แล้วย้ายราชธานีมายังนครเวียงจันทร์ในปี พ.ศ 2103” ( “ลำดับกษัตริย์ลาว” หน้า 88)
                รัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนับเป็นยุครุ่งเรืองมากยุดหนึ่งของอาณาจักรลาวล้านช้าง    เหตุการณ์สำคัญในรัชกาลของพระองค์   มีมากหลายเรื่อง   เช่น
1.               ทรงย้ายราชธานีจากเชียงทองมาตั้งที่เมืองจันทบุรี (นครเวียงจัน)
2.               ทรงสถาปนาความสัมพันธ์ทางพระราชไมตรีกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรัก ขึ้นที่ด่านซ้าย จังหวัดเลยในปัจจุบัน   (สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ 2103-2106)
3.               ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต พระแซกคำ ลงมาประดิษฐานที่นครเวียงจัน ทรงสร้างหอพระแก้ว ในปี พ.ศ 2099   
4.               ทรงบูรณะพระธาตุหลวง เวียงจัน เริ่มตั้งแต่ พ.ศ 2107 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ 2109    พระธาตุหลวงสูง45 เมตร กว้าง 69 เมตร  บรรจุพระธาตุสามสิบองค์   ต่อมาทรงสร้างวัด เช่น วัดศรีเมือง   วัดองค์ตื้อ   วัดอนทร์แปง   วัดโพธิสาลราช (อุทิศบุญกุศลแด่พระบิดา) วัดพระไชยเชษฐา วัดธาตุหลวง 
ทรงหล่อพระพุทธรูปสำคัญ เช่น พระองค์ตื้อ พระอินทร์แปง พระสุก พระใส พระเสริม    ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์สถูปโบราณ   สร้างองค์พระธาตุครอบใหม่ เช่น พระธาติศรีโคตรบูรณ์ เมืองท่าแขก พระธาติอิงฮัง เมืองสะหวันนะเขต   พระธาตุพนม พระธาตุเชิงชุม เป็นต้น 
5.               ทรงยกทัพมาช่วยกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง   เช่น   ยกทัพช่วยพระมหินทราธิราช ตีเมืองพิษณุโลก (พระมหาธรรมราชา เข้ากับฝ่ายพม่า) ล้อมอยู่สี่เดือนึงถอยกลับ และเมื่อพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา   พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยกทัพลงมาช่วย แต่ถูกทัพพม่าซุ่มโจมตีแตกพ่ายกลับไปเวียงจัน
6.               บุเรงนองโจมตียึดครองแว่นแคว้นในสุวรรณภูมิได้เกือบทั้งหมด   แต่อาณาจักรล้านช้างรัชสมัยของพระองค์ยังต้านทานพม่าไว้ได้   รักษาเอกราชอยู่จนสิ้นรัชกาลของพระองค์
       นับแต่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่เวียงจัน   จนถึงปีนี้ (พ.ศ 2553) เป็นวาระครบ 450 ปีพอดี    เวียงจันผ่านช่วงพัฒนาเจริญรุ่งเรือง   ช่วงแตกแยกทรุดโทรม    ผ่านศึกสงคราม ผ่านชตากรรมทั้งสุขและทุกข์   ชาวลาวต้องต่อสู้มายาวนานเพื่อรักษาเอกราชอธิปไตย   ปัจจุบันนี้ สปป.ลาว มีความก้าวหน้าพัฒนาเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน    นครเวียงจันเปรียบเหมือนเพชรยอดมงกุฏของประเทศ  
ในฐานะคนไทยคนหนึ่งผู้มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตกับชาวลาว   ผู้เขียนรู้สึกภาคภูมิใจกับอนาคตอันรุ่งโรจน์ของนครเวียงจันแห่งนี้
        มิตรภาพลาว-ไทย มั่นยืน
หนังสืออ้างอิง
ภาษาลาว
1.หนังสือชุดต้อนรับวันสร้างตั้งนครหลวงเวียงจันครบรอบ 450 ปี   “ความเป็นมาของนครหลวงเวียงจัน “ 4เล่ม   “เมืองเวียงจันสมัยโบราณ”   “นครหลวงเวียงจันสมัยอาณาจักรล้านช้าง” “นครหลวงเวียงจันสมัยลาวเป็นอาณานิคมของฝรั่ง”    “นครหลวงเวียงจันสมัยอาณาจักรลาว”  “
ภาษาไทย
1.ความเป็นมาของชนชาติลาว : การตั้งถิ่นฐานและสถาปนาอาณาจักร โดย บุนมี เทบสีเมือง   แปลโดย ผไท ภูธา สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ 2553
2.ลำดับกษัตริย์ลาว โดย สุรศักดิ์ ศรีสำอาง   กรมศิลปากรจัดพิมพ์   พ.ศ 2545
ปล. เรียนสมาชิกสมาคมนักกลอนทุกท่าน
ผมได้รับหัวโขนใหม่อีกหัวหนึ่ง คือนายกสมาคมฯ มันก็ไม่ต่างจากอุปนายกฯหรอกครับ เรายังทำงานกันเต็มที่เหมือนเดิม    วันนี้ยังไม่มีแผนรูปธรรมอะไรเพิ่มเติม เพราะต้องเร่งงานต้นฉบับสำหรับงานอบรมสัมนา “ร่องรอยกาลเวลา” ที่หนองคาย วันที่ ๘-๙ มกราคมนี้
และต้นฉบับประวัติเวียงจัน ให้กับมหาวิทยาลัยรังสิตอีกเรื่องหนึค่ง    สองวันนี้ทำสองเรื่องนี้ก็ย่ำแย่แล้วครับ
        ด้วยจิตคารวะ
        ทองแถม นาถจำนง



บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ