ReadyPlanet.com
dot dot
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง

ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง

 

แปลเรียบเรียงจากภาษาจีนโดย ทองแถม นาถจำนง
                คงเป็นที่ทราบกันแล้วว่า   ชนพื้นเมืองในเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง-กวางสี เป็นชาติพันธุ์ที่มีรากเหง้าร่วมกับคนไทย-ลาว   เรื่องราวของชนชาติจ้วงทุกด้านจึงน่าค้นคว้า ศึกษาเปรียบเทียบกับเรื่องของไท-ลาว
                ตำนานการสร้างโลกศร้างคน   นิยายปรัมปรา มีร่องรอยบาอย่างที่น่าสืบค้นว่า จ้วง-ไทย-ลาว มีจุดร่วมจุดต่างอย่างไรล้าง
                ตำนานชุดนี้    ผู้แปลเลือกมาจากหนังสือภาษาจีน เรื่อง “เสินกงเป่าเจี้ยน” (ธนูวิเศษและดาบศักดิ์สิทธิ์)     รวบรวมแปลเป็นภาษาจีนโดย “หลานหงเอิน”  หัวข้อ “ผู้หลวกทั่วและแม่นกจอก”   คุณหลานหงเอินรวบรงมตำนานเหล่านี้มาจาก ชาวบ้านชนชาติจ้วง ในแถบ อำเภอตูอัน อำเภอปาหม่า อำเภอตงหลาน ในกวางสี และในจังหวัดเหวินซาน มณฑลยูนนาน   ประกอบด้วยนิทาน 17 เรื่อง   แต่การจัดทำเอกสารชุดนี้ต้องเร่งรีบมาก ต้องขออภัยที่ไม่อาจแปลได้ทั้งหมด   
เรื่องที่ ๑ :  ฟ้า-ดิน แยกกัน
                ดั้งเดิมโพ้น   ฟ้ากับดินบ่ได้แยกกัน   ในจักรวาลมีแต่ก้อนหมอกไอหมุนควงอยู่    หมุนไป ๆ ก็ยิ่งหมุนเร็วขึ้น ๆ   สุดท้ายเปลี่ยนรูปไปคล้ายกับฟองไข่   แต่ไข่ฟองนี้มีไข่แดงสามก้อน
                  ตอนนี้ในจักรวาลมี “แมงบึ้งขี้ควาย” มากลิ้งฟองไข่นี้ให้หมุนอยู่ตลอด    และยังมี “เพลี้ยจักจั่น”ตัวหนึ่งปีนขึ้นไปเจาะรูบนฟองไข่นั้นทุกวัน (เจ้าสองตัวนี้ไม่รู้เกิดมาจากไหน ) เจาะไป ๆ ทุกวัน ในที่สุดก็ทะลุ    ฟองไข่เลยระเบิดออกมาแยกเป็นสามแผ่น 
                แผ่นหนึ่งลอยขึ้นไปเป็น “ฟ้า”    แผ่นหนึ่งตกไปเป็น “น้ำ”   แผ่นหนึ่งอยู่ตรงกลางกลายเป็นพื้นดิน.
เรื่องที่๒  แม่นกจอก
            จักรวาลแยกเป็นสามชั้น คือ ฟ้า ดิน น้ำ   แต่ก็ยังว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย
                แล้วจู่ ๆ บนดินก็มีดอกไม้ดอกหนึ่งผุดขึ้นมา    ดอกไม้ดอกนี้บอกไม่ถูกว่าสีอะไร    เมื่อดอกไม้บานออก   มีผู้หญิงคนหนึ่งงอกออกมาจากใจกลางดอกไม้
                หญิงคนนี้ก็คือผู้ให้กำเนิดมนุษย์   นางเปลือยกาย ผมสยาย มีขนทั่วตัว นางเฉลียวฉลาดมาก   คนรุ่นต่อมาจึงเรียกนางว่า แม่นกจอก   และเพราะนางมีภูมิปัญญาสูงเป็นครูของคนผู้มีปัญญาดี จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า แม่ลูกสือ (ลูกสือหมายถึงลูกศิษย์)
                เมื่อฟ้าดินแยกจากกันนั้น เพลี้ยจักจั่นบินขึ้นไปอยู่ที่ฟ้า   แมงบึ้งขี้ควายอยู่บนดิน   เพลี้ยจักจั่นแต่งฟ้า แมงบึ้งขี้ควายแต่งดิน    แมงบึ้งขี้ควายขยันขันแข็ง สร้างดินกว้างขวางมาก   เพลี้ยจักจั่นเกียจคร้าน   สร้างฟ้าแคบมาก   แต่พวกมันสร้างฟ้าสร้างดินไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย แม่นกจอกจึงจับดินบีบจนโป่งพองขึ้น    ดินกับฟ้าจึงเป็นระเบียบเรียบร้อยสมส่วนกัน   ดินส่วนที่โป่งพองขึ้นกลายเป็นที่สูงและภูดอย   ดินส่วนที่เว้าลงก็กลายเป็นแม่น้ำลำคลองบึงและทะเล
                แม่นกจอกเห็นว่าบนดินไม่มีชีวิตชีวา   คิดอยากสร้างคนขึ้นมา   นางจึงแยกขายืนบนภูเขาสองลูก   ทันใดนั้นมีลมพัดมา นางปวดท้องเยี่ยวจึงเยี่ยวออกมา   น้ำเยี่ยวเปียกดินจนเป็นโคลน   นางจึงควักดินโคลนนั้นมาปั้นตามรูปร่างของนางขึ้นเป็นคนโคลนจำนวนมาก   แล้วนางเอาหญ้าคลุมไว้ ผ่านไปสี่สิบเก้าวัน เปิดหย้าคลุมออก   คนโคลนเหล่านั้นก็มีชีวิตขึ้นมา
                คนเหล่านั้นพากันวิ่งพล่านกระโดดโลดเต้น   แม่นกจอกสั่งอย่างไรก็ไม่หยุด   นางจึงเก็บท้อและพริกจากป่ามาโปรยไป   พวกคนพากันมาแย่งเอา ผู้ที่ได้พริกไปกลายเป็นผู้ชาย ผู้ที่ได้ท้อไปกลายเป็นผู้หญิง แต่นั้นมาโลกจึงมีผู้ชายผู้หญิง
                ผู้คนเหล่านี้ขยันขันแข็งทำงาน แต่มีเด็กคนหนึ่งเกียจคร้านมาก ไม่ยอมใช้แรงงานทำงาน   คนอื่นเห็นเขาขี้เกียจมาก จึงไม่แบ่งของกินให้ เด็กคนนั้นจึงเก็บใบไม้กิน  วันหนึ่งเขาไปขโมยผ้าฝ้ายของผู้หญิงคนหนึ่ง    เขาถูกจับได้ แต่เขาไม่ยอมรับผิด   เขาเอาผ้าฝ้ายซุกเข้าไปในก้น   เลยกลายเป็นหาง   เด็กนี้เป็นต้นกำเนิดของลิง
                แม่นกจอกต้องการให้โลกมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น   นางจึงปั้นดินเป็นรูปต่าง ๆ อีกมากมาย    จึงกลายเป็นสัตว์ต่าง ๆ
                เมื่อฝนตกลงมา พวกคนและสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่หลบฝน แม่นกจอกจึงนั่งลงแยกขาออก เกิดเป็นถ้ำ   แต่นั้นมาคนและสัตว์จึงเข้าไปหลบลมหลบฝนในถ้ำ
เรื่องที่ ๓  ผู้หลวกทั่ว
               ต่อมาเกิดมีคนที่มีภูมิปัญญาฉลาดเฉลียวมาก เรียกกันว่า ผู้หลวกทั่ว (หรือผู้รู้ทั่ว)
                ผู้หลวกทั่วคิดสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับคนไว้มากมาย
                สมัยนั้นคนกับสัตว์ยังอาศัยอยู่ด้วยกัน พูดจากันเข้าใจ   วันหนึ่งพวกสัตว์บกสัตว์ปีกพากันมาฟ้องผู้หลวกทั่วว่า ลูก ๆ ของคนเกเรมาก พากันทำลายไข่สัตว์ปีก ฆ่าตัวอ่อนสัตว์บก ถ้าปล่อยต่อไป   พวกสัตว์จะสูญพันธุ์ ผู้หลวกทั่วบอกให้พวกสัตว์กลับไปก่อน
                แล้วผู้หลวกทั่วจึงแยกคนกับสัตว์จากกัน ให้คนอยู่บนที่ราบและเชิงเขา ให้นกขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ ให้สัตว์บกไปอยู่ในป่า
                พวกสัตว์รู้จักแต่กิน ไม่รู้จักใช้แรงงานผลิต   สัตว์กินพวกหมากไม้ในป่าหมดไป    จึงพากันมากินพืชผลที่คนเพาะปลูกไว้ พวกคนกับสัตว์จึงทะเลาะวิวาทกัน   ผู้หลวกทั่วจึงตั้งกฏว่า   ต่อแต่นี้ไป    พวกที่ไม่ทำการผลิต จะไม่ให้กิน   ใครเป็นคนเพาะปลูกพืชคนนั้นก็ได้เก็บเกี่ยว   ผู้หลวกทั่วเกรงว่าสัตว์กับคนจะทะเลาะกันอีก จึงกำหนดให้ คนมีภาษาของคน นกมีภาษาของนก   สตว์ต่าง ๆ มีภาษาของตน    แต่นันมาก้ไม่มีการทะเลาะกันอีก   และพวกสัตว์ต่าง ๆ เมื่อเห็นคนจะรีบหลบหลีกไป   บางครั้งอาจลอบมาลักขโมยกินผลผลิตของคน    แต่เมื่อเห็นคนก็จะรีบหนีไป
                เนื่องจากภาษาพูดกันไม่รู้เรื่องแล้ว   เมื่อคนเข้าไปในป่า บางทีก็โดนสัตว์ทำร้าย
                ยุคนั้น   นกมีรังนก ผึ้งมีรวงผึ้ง   ส่วนคนยังพักอยู่ในถ้ำ    บางทีไปทำงานข้างนอกเหนื่อยอ่อนนอนหลับอยู่ตามทาง ถูกสัตว์ร้ายกัดกิน   คนไปทำไร่ทำนาได้ผลผลิต ก็ต้องแบกหามขึ้นเขาลงห้วยขนไปเก็บไว้ในถ้ำ   ต้องเหน็ดเหนื่อยมาก มีบางคนจึงขัดห้างทำที่นอนบนง่ามต้นไม้   ขัดห้างบนง่ามไม้ป้องกันสัตว์ร้ายได้ แต่เด็กเล็กปีนขึ้นปีนลงยาก   ผู้คนจึงพากันไปถามผู้หลวกทั่ว
                ผู้หลวกทั่วจึงสอนให้ผู้คนตัดต้นไม้มาทำเสา   เอามีดถากทำขื่อแป    ผ่าไม้ไผ่ขัดฟาก ปลูกเป็นเรือน   เอาใบไม้และหญ้ามุงหลังคา ปูกระดานหรือขัดไม้ไผ่เป็นพื้นเรือน    คนอยู่ข้างบน สัตว์เลี้ยงอยู่ข้างล่าง   ทำบันได้ขึ้นลง เด็ก ๆ สามารถปีนขึ้นง่าย แต่สัตว์ขึ้นยาก   ทำประตูปิดเรือน ผู้คนจึงได้อาศัยในเรือนหลบลมหลบฝนและมีความปลอดภัย.  
                ในยุคโน้น   ต้นไม้ต้นหญ้าก็พูดจาได้ เดินไปไหนมาไหนได้เร็วราวกับบิน   น้ำก็ฟังคำสั่งคน   ร้องเรียก “น้ำมา”   น้ำก็ไหลมาลงตุ่มเอง   เมื่อคนอยากได้ไม้ฟืนได้หญ้าก็ร้องเรียก ไม้ฟืนและหญ้าก็เคลื่อนมาเข้าเรือนคนเอง
                แต่สำหรับไฟนั้น คนยังต้องพึ่งไฟฟ้า   พึ่งไฟที่ตกลงมาจากฟ้า
                มีคราวหนึ่ง หญิงนางหนึ่งนึ่งข้าว นางวางหม้อเอียง หวดนึ่งข้าวก็เอียงตามไปด้วย   นางเรียกให้น้ำมา น้ำก็มาแล้ว   นางเรียกฟืน   ฟืนก็บินเข้ามาในเรือน   แต่เพราะนางลืมบอกให้หยุด   ฟืนจึงอัดเข้าไปแน่นครัว    และยังอัดหน้าต่าง ประตู   ฟืนเบียดเสียดกันแน่นจนชนหม้อนึ่งข้าวล้มลง หญิงคนนั้นจึงไปฟ้องผู้หลวกทั่ว   ผู้หลวกทั่วจึงสั่งฟืนว่า   ต่อไปนี้พวกเจ้าออกรากออกกิ่งได้ แต่ห้ามเดินไปไหนมา     พวกเจ้าไม่ต้องมีหูมีปากอีกต่อไป    และให้เอาหัวลงดินเอาหางชี้ฟ้า
                ผู้หลวกทั่วยังสั่งอีกว่า ต่อไปนี้พวกเจ้าไม่ต้องมีหูและปากอีกต่อไป หากคนต้องการฟืนต้องการหญ้า ก็ให้คนไปเก็บเอาเอง นับแต่นั้นมา ต้นไม้ต้นหญ้าจึงพูดจาไม่ได้ เดินไม่ได้อีกต่อไป
เรื่องที่ ๔ สี่พี่น้องแตกกัน
                ตำนานว่า ผู้หลวกทั่วมีพี่น้องรวมกันสี่ตน   คนโตคือ “ตัวฟ้า” (ภาษาจ้วงว่า duz byaj   ตูเปี๊ยะ หมายถึง “ฟ้าผ่า”) คนที่สองคือ “ตัวเงือก” (ภาษาจ้วงว่า duz ngieg ตูเนวี๊ยะ หมายถึงเงือกหรือนาคในความหมายโบราณ คือสัตว์ร้ายในน้ำ อาจหมายถึงจรเข้ หรืองูใหญ่) คนที่สามคือ “ตัวเสือ” (ภาษาจ้วงเหนือถิ่นฐานที่รวบรวมตำนานเหล่านี้ ว่า duz guk ตูกุ๊ก ในภาษาจ้วงใต้ใช้ตรงกับคำไทยว่า “เสือ) ส่วนคนสุดท้องก็คือ “ผู้หลวกทั่ว”
                “ตัวฟ้า” พี่คนโตมีฤทธิ์มาก เป็นผู้ควบคุมฝน   สามารถปล่อยไฟฟ้า (ฟ้าผ่า) มีพลังมาก เที่ยวทำร้ายคนไปทั่ว   
                “ตัวเงือก” ก็มีฤทธิ์มากเช่นกัน เป็นผู้ควบคุมน้ำ สามารถปล่อยน้ำท่วมจมคนและสัตว์
                “ตัวเสือ”ทีกรงเล็บและเขี้ยวหลมคม สามารถกัดคนตายได้อย่างง่ายดาย เป็นผู้ควลบคุมลม
                “ผู้หลวกทั่ว” ไม่มีฤทธิ์เดชอะไร มีแต่ภูมิปีญญา   เขารู้เรื่องทุกอย่าง              รู้หลักเหตุผลต่าง ๆ   จึงได้รับฉายาว่า “ผู้หลวกทั่ว” (หรือผู้รู้ทั่ว)
                ตัวฟ้า ตัวเงือก ตัวเสือ ใช้ฤทธิ์เดชของตนข่มเหงรังแกผู้หลวกทั่วอยู่เรื่อย ๆ   สุดท้ายยังคิดอยากจับผู้หลวกทั่วกินเสีย    แต่ทั้งสามตัวอยากจะกินผู้หลวกทั่วตามลำพัง ไม่อยากแบ่งให้ตัวอื่นกิน
                พวกเขาจึงหาวิธีได้ ตกลงกันว่าพวกเขาจะแข่งขันฤทธิ์เดชกัน ใครร้ายกาจที่สุดจะได้กินผู้หลวกทั่ว โดยในการแข่งขันนั้นจะให้ผู้หลวกทั่วเข้าร่วมด้วย
                วิธีการแข่งขันคือ   ให้ตัวหนึ่งอยู่ข้างนอก   อีกสามตัวเข้าไปอยาในกระท่อมเชิงเขา   ตัวที่อย฿ข้างนอกแสดงฤทธิ์เดชเต็มที่   หากพวกที่อยู่ในกระท่อมหวาดกลัว ก็นับว่าผู้ชนะคือตัวที่แสดงฤทธิ์เดช
                เริ่มต้นตัวฟ้าแสดงฤทธิ์เดชก่อน   พวกตัวเงือก ตัวเสือ กับผู้หลวกทั่วเข้าไปอยู่ในกระท่อม
                ตัวฟ้าเริ่มแสดงฤทธิ์ด้วยการเรียกฝนห่าใหญ่ตกลงมาจนกระท่อเปียกปอนโยกเยก   พวกที่อยู่ในกระท่อมกลัวว่าตัวฟ้าจะชนะจึช่วยกันค้ำยันเสาไว้อย่างเต็มที่ ดังนั้นแม้ตัวฟ้าจะกระหน่ำตีกลองฟ้าผ่าแรงจนแผ่นดินสะท้านสะเทือน กระท่อมนั้นก็ไม่พัง ตัวฟ้าจึงขว้างฟ้าผ่าลงมา แต่เนื่องจากกระท่อมเปียกน้ำมาก   แม้ถูกฟ้าผ่าแต่ไฟก็ไม่ไหม้ติดกระท่อม   ตัวฟ้าจึงพ่ายแพ้
                ถึงคราวตัวเงือดแสดงฤทธิ์เดชบ้าง   ตัวเงือกสั่งให้น้ำทะเล น้ำในแม่น้ำ บึง เกิดคลื่นใหญ่ซัดขึ้นมาที่กระท่อม   ตัวฟ้าและตัวเสือกล้วว่าตัวเงือกจะได้กินผู้หลวกทั่ว จึงช่วยกันค้ำยันกระท่อมไว้ ประกอบกับกระท่อมอย่บนเชิงเขา   น้ำขึ้นมาท่วมมไม่ถึง    ตัวเงือกออกฤทธิ์สุดเดชจนเหนื่อยอ่อน ไปเอง จึงต้องพ่ายแพ้
                ต่อไปถึงทีตัวเสือแสดงฤทธิ์เดชบ้าง ตัวเสือเรียกลมพายุพัดใส่กระท่อม ตัวฟ้า ตัวเงือกลัวตัวเสือจะไดเกินผู้หลสกทั่ว จึงช่วยกันค้ำยันกระท่อมไว้เต็มที่    ลมแม้จะแรงแต่กระท่อมก็ไม่โยกคลอน ตัวเสือจึงกางเล็บแยกเขี้ยวคำรามกรรโชกใส่กระท่อมเสียงดัง แต่ตัวฟ้า ตัวเงือก ผู้หลวกทั่ว ไม่กลัวตัวเสือ ตัวเสือจึงพ่ายแพ้
                สุดท้ายถึงคราวผู้หลวกทั่วแสดงความสามารถบ้าง   ตัวฟ้า ตัวเงือก ตัวเสือ พากันเข้าไปในกระท่อม   ผู้หลวกทั่วลั่นดานปิดกระท่อม   กระท่อมถูกลมพัดจนแห้งมาก   ผู้หลวกทั่วจุดไฟขึ้นรอบกระท่อม ฝ่ายตัวฟ้า ตัวเงือก ตัวเสือ ตกลงกันว่า เมื่อผู้หลวกทั่วเริ่มแสดงฤทธิ์ ทั้งสามก็จะกหระโจนออกจากกระท่อมไปพร้อมกัน แล้วจับผู้หลวกทั่วแบ่งกนกินอย่างเท่าเทียมกัน   ทั้งสามนึกไม่ถึงว่ากระท่อมจะติดไฟเร็ว ควันไฟมากมาย ทำให้ทั้งสามสำลักควัน ไฟก็ลามเข้าใกล้ตัว ทั้งสามจะกระโจนออกมา   กระท่อมก็ถูกลั่นดานปิดแน่น   ทั้งสามได้แต่วิ่งวุ่นหาทางหนีออกจากกระท่อม
                ตัวฟ้ากระโดดออกมาทางหลังคาได้เป็นตนแรก   เขากระโดดลอยขึ้นไปบนฟ้า ดวงตาถูกไฟและควันรมจะมัว นับแต่นั้นจึงไม่กล้าลงมาจากฟ้าอีก   ตัวเสือเรี่ยวแรงมาก   ชนฝาด้านหนึ่งพังออกมา   แล้วกระโจนหายเข้าไปในป่า   ร่างกายถูกไฟเผาไหม้เป็นลายดำ ๆ อยู่ตลอดร่าง   นับแต่นั้นก็ไม่กล้าออกมาสู่ทุ่งราบอีก
                ส่วนตัวเงือก เมื่อตัวเสือพังฝาด้านหนึ่งออกมาแล้ว ตัวเงือกจึงตามออกมาได้ ตัวเงือกถูกไฟไหม้มากที่สุด มีแผลมากที่สุด   เขาโดดลงทะเลไปซ่อนตัว จนเมื่อแผลหายรอยแผลนั้นกลายเป็นเกล็ด นับแต่นั้นจึงไม่กล้าขึ้นมาบนบกอีก
                ผู้หลวกทั่วไม่เพียงรักษาชีวิตของตนไว้ได้เท่านั้น   แต่ยังได้ช่วยรักษาชีวิตของมนุษยชาติไว้ด้วย นับแต่นั้นมามนุษยชาติก็ไม่ถูกตัวฟ้าและสัตว์ร้ายคุกคามอีก
                                                              .......................................
                จากนั้นผู้หลวกทั่วได้ช่วย “คน” สร้างดวงตะวันกับดวงจันทร์ขึ้น    เนื่องจากดวงตะวันเป็นเพศผู้ ดวงจันทร์เป็นเพศเมีย ตะวันจันทราครองคู่กัน เกิดลูกออกมาเป็นตะวัน ๑๐ ดวง   ดวตะวันมากไป ทำให้โลกร้อนมาก จึงต้องทำธนูยิงลูกของดวงตะวันทั้งสิบดวงให้ตกลงไป   แล้วตัดอวัยวะเพศของดวงตะวันและดวงจันทร์ออกเสีย
              ต่อมาผู้หลวกทั่วได้ สอนคนให้รู้จักจับปลา    นำเอาไฟมาให้มนุษย์   ทำให้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก    คนก็มีสุขภาพแข็งแรงขึ้นมาก   ขยายเผ่าพันธุ์มีผู้คนจำนวนมากขึ้น ๆ   จนเกิดปรากฏการณ์อดอยากขาดแคลนอาหาร.  
                                                       
เรื่องที่ ๕ กลองมโหรทึก
                หลังจากคนมี “ไฟ” ใช้แล้ว   ร่างกายคนแข็งแรงขึ้น   ขยายเผ่าพันธุ์มีจำนวนมากขึ้น ทำให้อาหารไม่ค่อยเพียงพอ
                ในยุคนั้น “ตัวฟ้า” (จ้าวฟ้าผ่า) กำหนดสั่งผู้คนไว้ว่า ใครที่อายุมากจนเดินไม่ไหวแล้ว และคนที่ตาย ให้เอาเนื้อของคนผู้นั้นมาแบ่งให้ทุก ๆ คนกิน
                มีเด็กคนหนึ่งชื่อ “เท่ออี” เขาช่วยครอบครัวนำสัตว์ไปเลี้ยงในทุ่ง   เขาเห็นแม่ม้าคลอดลูกม้าอย่างทุกขทรมานมาก   แม่ม้ากลิ้งกับพื้นอยู่นานกว่าจะคลอดลูกม้าออกมาได้
                เมื่อเขากลับถึงบ้านจึงถามแม่ว่า “แม่ ๆ   ข้าเห็นแม่ม้าออกลูก   กว่าจะออกมาได้ แม่ม้าเกลือบตาย แล้วตอนที่แม่ออกข้ามา แม่เป็นยังไงบ้าง”
                แม่ของเท่ออีบอกว่า   แม่คลอดพวกเจ้าสามพี่น้อง เกือบจะตายไปทุกครั้ง
                เท่ออีได้ฟังแม่บอกอย่างนั้น จึงรู้สึกว่า การที่คนเราเอาเนื้อคนแก่มากินเป็นเรื่องโหดร้ายมาก จึงปรึกษากับพี่ชายว่า    อีกหน่อยเมื่อมีคนส่งเนื้อคนแก่มาให้บ้านเรา เราอย่ากิน ให้เอาเนื้อนั้นตากแห้งเก็บรักษาไว้
ครั้นแม่ของเท่ออีตาย    ผู้คนก็มาขอกินเนื้อแม่ของเท่ออี เท่ออีบอกว่า   เนื้อของพ่อแม่พวกเจ้า ข้าตากแห้งแขวนไว้บนราว   พวกเจ้าเอาไปแบ่งกันกินเลย
ผู้คนไม่ยินยอม   บอกว่าจะต้องได้กินเนื้อสด   ไม่เอาเนื้อแห้ง   เท่ออีกับพี่น้องจำต้องฆ่าม้าของพวกเขา   แบ่งเนท้อม้าสดให้ผู้คนกิน ผู้คนจึงยอิมกลับไป  
เท่ออีกับพี่น้องทำเช่นนั้น ทำให้ผู้ฟ้าโกรธมาก ผู้ฟ้าจะลงโทษผู้ละเมิดขนบธรรมเนียมของเผ่า
เท่ออีไปขอความแนะนำจากผู้หลวกทั่ว   
ผู้หลวกทั่วแนะนำว่า   ตัวฟ้ามีกลองมหโหรทึก(กลองสำริด)จึงมีฤทธิ์   ให้พวกเจ้าเอาหนังม้ามา   มาตอกตรึงกับไม้กลวงทำเป็นกลองหนังม้า    เมื่อตัวฟ้าตีกลองมโหรทึกขึ้นมา ก็ให้พวกเจ้าตีกลองหนัง          สู้   พวกเจ้ามีคนมากกว่า ผลัดกันตีกลอง ตัวฟ้าเอาชนะพวกเจ้าไม่ได้แน่
เท่ออีกับพี่น้องทำตามคำแนะนำของผู้หลวกทั่ว   วันหนึ่งตัวฟ้าก็ลงมาจะลงโทษเท่ออีกับพี่น้อง    แต่พอตัวฟ้าเริ่มตีกลองมโหรทึก    เท่ออีกับพี่น้องจึงตีกลองหนังให้ดัง     ตัวฟ้าได้ยินเสียงกลองหนัง   ก็ตกใจ หยุดตีกลองมโหรทึก   แล้วสั่ง “กบ” ผู้เป็นลูกชายลงไปสืบหาว่ากลองที่คนตีมีลักษณะอย่างไร
                ผู้หลวกทั่วรู้ว่าตัวฟ้าจะส่งลูกลงมา จึงบอกกับสามพี่น้องให้คอยดักจับ “กบ” ลูกชายของตัวฟ้าไว้ให้ได้  
                ดังนั้นเมื่อ “กบ” กรัโดดมาถึงหน้าเรือนของเท่ออี   สามพี่น้องจึงช่วยกันจับกบไว้ได้ แล้วขู่ตัคอกให้บอกความจริงทุกอย่าง ไม่อย่างนั้นจะฆ่าเสีย    กบหวาดกลัวจนตัวสั่น   เท่ออีจึงถามว่า   กลองมโหรทึกของตัวฟ้ามีลักษณะอย่างไร
                กบไม่กล้าปิดบังจึงบอกว่า   พวกเจ้าอยากรู้เรื่องกลองของแม่ข้าหรือ   กลองนั้นทำด้วยสำริด หกด้านมีรูปหล่อสำริดเป็นรูปของพวกข้าหกตัว   ดังนั้นเมื่อตีจึงเสียงดังกังวานมาก
                กบบอกตามจริง สามพี่น้องจึงปล่อยกบกลับไป   จากนั้นก็เอาสำริดมาหล่อเป็นกลองมโหรทึกบ้าง และหล่อรูปกบหกตัวไว้หกด้านด้วย เมื่อตีนอกจากจะดังกึกก้องกังวานไปทั้งหุบเขาแล้ว   ยังดังก้องฟ้าทำให้เหล่าเมฆขาวพากันสั่นกลัว นับแต่นั้นมา ตัวฟ้าก็ไม่กล้าประชันกลองกับคนอีก   ผู้คนก็ละเลิกความเคยชินการกินเนื้อคนไปด้วย
                ทุกวันนี้    เมื่อมีชาวจ้วงผู้ชราตายไป   ก็ยังมีระบำมโหรทึกบอกเล่าเรื่องนี้ในพิธีทำศพด้วย
                เมื่อคนมีกลองมโหรทึกแล้ว   ตัวฟ้ากังวลใจมาก   จึงสั่งให้ตัวเงือกและตัวเสือพยายามขโมยกลองมโหรทึก ดังนั้นกลองมโหรทึกจึงผูกแค้นกับตัวเงือกและตัวเสือ    มีตัวเสือที่ไหน กลองมโหรทึกจะไปต่อสู้ทำลาย ทำให้ผู้คนไม่มีความสงบสุข    ผู้คนจึงต้องเอากลองมโหรทึกฝังดินไว้   เมื่อจำเป็นจะใช้จึงจะขุดขึ้นมาใช้
                แม้ในทุกวันนี้   ชาวจ้วงจะตั้งกลองมโหรทึกไว้ในเรือน แต่ก็ต้องเอาโซ่ล่ามกลองมโหรทึกไว้ไม่ให้ไปตีตัวเสือ ตัวเงือก
เรื่องที่ ๖ เรื่องหมาเก้าหาง
                ผู้คนมี “ไฟ” ใช้หุงต้มอาหาร สุขภาพร่างกายจึงแข็งแรงขึ้นมาก   และเมื่อละเลิกขนบการกินเนื้อคนแก่แล้ว   สัตว์ที่จะกินเป็นอาหารก็ลดน้อยลงเรื่อย ๆ   ไม่พอจะกินกัน   ผู้คนจึงไปปรึกษาผู้หลวกทั่วอีก
                ผู้หลวกทั้วจึงสั่งให้หมาเก้าหางขึ้นไปขโมยพันธุ์ข้าวบนฟ้า
                หมาเก้าหางขึ้นไปถึงฟ้าเห็นตัวฟ้ากำลังเก็บเกี่ยวข้าว   กองเมล็ดข้าวไว้เป็นกองใหญ่ ๆ หลายกอง หมาเก้าหางจึงเข้าไปกลิ้งเกลือกตัวบนกองข้าวนั้น เมล็ดข้าวติดกับขนและหางของหมามาจำนวนมาก
                คนบนฟ้าเห็นหมาเก้าหางจึงแจ้งแก่ตัวฟ้า ตัวฟ้าวิ่งมาจะฆ่าหมาเก้าหาง    หมาเก้าหางกระโดดหนี รีบวิ่งไป ๆ    เมล็ดข้าวที่ติดขนตามตัวมาร่วงหล่นไปหมด   เหลือแต่เม็ลดข้าวที่ติดอยู่กับหาง แต่ตัวฟ้าก็ไม่ยอมละลด ยังไล่ติดตามต่อไป     ตัวฟ้าขิ่งตามไม่ทันจึงใช้ขวานขว้างใส่หมาเก้าหาง   ขว้างไปครั้งแรกถูกหางฟหมาเก้าหางขาดไปหางหนึ่ง   ตัวฟ้าขว้างขวานไปแปดครั้ง ถูกหางหมาเก้าหางขาดไปแปดหาง   แต่หมาเก้าหางก็รอดตายมาได้   โดยเหลือหางเพียงหนึ่งหาง และมีเมล็ดข้าวติดหางนั้นมาด้วย   ผู้หลวกทั่วนำเอาเมล็ดข้าวนั้นเพาะลงในโคลน แล้วให้หมากับหมูไปไถนา
                หมูใช้ปากไถดินอย่างขยันขันแข็ง ส่วนหมานึกว่าตนได้นำเอาเมล็ดข้างมาให้คน มีความดีความชอบมากแล้ว   จึงไม่ยอมไปไถดิน   หมูไถดินจนเสร็จแล้วก็ไ   ปพักผ่อน   หมาจึงไปวิ่งวนทิ้งรอยเท้าไว้ในแปลงที่ไถนั้น   
                เมื่อผู้หลวกทั่วไปตรวจแปลงไถ    ก็ถามว่าใครเป็นผู้ไถดิน หมูบอกว่า ข้าเป็นผู้ไถ   หมาก็ว่า หมาเป็นผู้ไถ   ผู้หลวกทั่วบอกให้พูดความจริง    แต่ทั้งหมูและหมาต่างยินยันว่ามันเป็นผู้ไถ   ผู้หลวกทั่วถามว่ามีอะไรเป็นพยานหลักฐานไหม หมาบอกว่ามีรอยเท้า   ผู้คนไปดูก็เห็นรอยเท้าหมาจริง ๆ 
                ฝ่ายหมูไม่ยอม ยื่นจมูกไปให้ผู้หลวกทั่วดู เห็นมีเศษดินโคลนติดจมูกจริง ๆ   ฝ่ายหมาจึงโกรธ   ใช้อุ้งเท่าตบปากหมูไปหนึ่งฉาด เดิมทีปลายปากหมูนั้นแหลม เมื่อถูกหมาตบจึงบี้แบน
                ผูหลวกทั่ว เห็นหมูซื่อตรง   จึงดุด่าหมาว่า ต่อไปนี้เมื่อมีข้าวไว้กินแล้ว    ให้ผู้คนแบ่งให้หมูกินได้ ส่วนหมาขี้โกง   อย่าให้มันกินข้าว ให้มันกินแต่ขี้คน    นับแต่นั้นหมาจึงกินแต่ขี้   หางทั้งแปดที่ถูกขวานตัดขาดก็ไม่งอกออกมาอีก 
                ส่วนข้าวนั้น ติดมากับหางหมา รวงข้าวที่ออกมาจึงรูปร่างเหมือนหางหมา




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ