ReadyPlanet.com
dot dot
ง่ายและงามอย่างลาว

 ง่ายและงามอย่างลาว

แวง พลังวรรณ
ภูมิหลัง
ประวัติศาสตร์ของลาวเริ่มจากอาณาจักรน่านเจ้า มีตำนานขุนบรมและขุนลอ จนถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ผู้รวบรวมอาณาจักรล้านช้างเป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙และมีกษัตริย์ปกครอง ในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชถือเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง แต่เมื่อพระองค์สวรรคต เชื้อพระวงศ์ก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น๓ อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่อเมืองเพื่อนบ้าน เช่น ไทยและพม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกัน
ในที่สุดอาณาจักรลาวทั้งสามจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสยามในปี๒๓๒๑ในปี พ.ศ.๒๓๖๙อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มีเจ้าอนุวงศ์เป็นกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้พระราชทานเมืองจำปาสักให้ราชบุตรเจ้าอนุวงศ์ปกครอง ต่อมารัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคต เจ้าอนุวงศ์ได้กอบกู้อิสรภาพ ฝ่ายไทยได้ส่งกองทัพนำโดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ และเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ไปปราบเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์สู้ไม่ได้จึงหลบหนีเข้าเวียดนาม ภายหลังจึงกลับมาสู้รบอีกครั้ง แต่ก็พ่ายแพ้อีก และต้องหลบหนีอีกครั้ง และถูกเจ้าน้อยเมืองเชียงขวางจับตัวได้และส่งเข้ากรุงเทพฯ และถูกคุมขังจนสิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพฯ
            พุทธศตวรรษที่ ๒๕  ดินแดนลาวทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส โดยใช้เรือรบปิดอ่าวไทยบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และลาวถูกรวมเข้าเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีน เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระ ได้ประกาศเอกราชต่อมา ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากเวียดมินห์ได้ปลดปล่อยเวียดนาม จึงสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศส จึงยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพ็ชราช และเจ้าสุภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิต เมื่อสถานการณ์ในลาวยุ่งยาก เจ้าสุภานุวงศ์ ๑ ในคณะลาวอิสระได้ประกาศตนเป็นฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้า ขบวนการปะเทดลาว เคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า
                        ปี ๒๕๐๔ ร้อยเอกกองแล วีระสาน ทำการรัฐประหารรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐฯ จนถึงปัจจุบัน
            ต่อมา ลาวต้องตกอยู่ท่ามกลางสงคราม จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และเวียดนามโดยการนำของเจ้าสุภานุวงศ์ ก็ล้มล้างรัฐบาลของเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เจ้ามหาชีวิตและมเหสีถูกนำไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ แล้วสถาปนาประเทศลาวเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ ๒  ธันวาคม ๒๕๑๘
            สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ ๑๙๘๐ ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์ คือ ท่านไกสอน พมวิหาน และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรม ท่านหนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนก็รับตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี             ๒๕๔๙ ท่านคำไตได้ลงจากตำแหน่ง ให้ท่านจูมมะลี ไซยะสอน เป็นประธานประเทศลาวจนปัจจุบัน
          สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปกครองในระบอบสังคมนิยม โดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวมีอำนาจสูงสุด และได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาประเทศในการประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ ๘ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๔๙ ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือปฏิบัติ  คือ ปี ค.ศ. ๒๐๒๐ (๒๕๖๓) ลาวต้องพ้นจากสถานะของประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ต้องมีความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจต้องขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากปัจจุบัน ๓ เท่าตัว
                ดังนั้น ระหว่างปี ๒๕๔๙-๒๕๕๓ จึงเป็นช่วงเสริมสร้างพื้นฐานเพื่อบรรลุเป้าหมายในปี ๒๕๖๓ โดยกำหนดให้เศรษฐกิจต้องมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ยุติการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย แก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นไป เตรียมพัฒนาบุคลากรรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ประชากรมีรายได้เฉลี่ยมากกว่า ๘๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
วิถีลาว-คนลาว
ชาติลาวถึงแม้ว่ามิใช่ชนชาติที่ยิ่งใหญ่ แต่ก็มีความเป็นมาอันยาวนานหลายพันปี และก็ประกอบด้วยหลายชนชาติ ในปัจจุบันรัฐบาลลาวถือเอาว่าชนเผ่าในชาติมีทั้งสิ้น ๔ ชนเผ่า มาจาก ๔ ตะกูลภาษาได้แก่ ๑. ลาว-ไต ๒. มอญ-ขแมร์ ๓. จีน-ธิเบต ๔. ม้ง-อิวเมี่ยน และแม้ชนเผ่าต่างๆ จะมีภาษาพูด ฮีต-คอง ประเพณีและฐานะทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ก็มีมูลเชื้อความขยันขันแข็ง กอปรด้วยภูมิความรู้ และน้ำใจการต่อสู้อันพีระอาจหาญ ไม่ยอมก้มหัวให้ศัตรูใดๆ และทุกเผ่ามีความรักสมัครสมานสามัคคีดุจเป็นพี่น้องในครอบครัวเดียวกันมาแต่โบราณกาล ดังตำนาน ขุนบรม ที่กล่าวไว้ว่า ทุกชนชาติชนเผ่าล้วนแต่กำเนิดมาจากน้ำเต้าปุงใบเดียวกัน
การขับร้อง-ขับลำ
            ความหลากหลายทางชนเผ่าที่มีภาษาพูด ฮีต-คอง วัฒนธรรมและความสวยสดงดงามรุ่มรวยทางธรรมชาติ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจ เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการประดิษฐ์คิดแต่งทางด้านศิลปะ วรรณกรรม และเกิดเสียงขับ เสียงลำ เสียงเซิ้ง[1] ที่หลากหลลาย ทำให้ขุมสมบัติด้านนี้พอกพูนทวีขึ้นเป็นลำดับกล่าวเฉพาะการขับ การลำ การเซิ้งและแคน อันเครื่องดนตรีหลักที่เล่นประกอบแล้ว คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ของชนชาติลาวมาช้านานบนผืนโลกใบนี้ คงไม่มีชนชาติใดขับ-ลำ-เซิ้ง ประกอบแคนได้เหมือนชนชาติลาวอีกแล้วประเทศลาวจึงอุดมรุ่มรวยด้วยการขับลำประเภทต่างๆ เช่น
            ภาคเหนือ :ขับลื้อ ขับซำเหนือ ขับไทดำ ขับเจิม (ขมุ) ขับพวน ขับทุ้มหลวงพระบาง
                ภาคกลาง (เวียงจันทน์) : ขับงึ่ม ลำล่องของ ลำเต้ย ลำตัด
                    แขวงคำม่วน : ลำมหาไซ
                   แขวงสะหวันนะเขต : ลำคอนสะหวัน ลำผู้ไท ลำตั่งหวาย ลำตำหลอย ลำบ้านซอก
            ภาคใต้ :ลำสาละวัน ลำสีพันดอน (ลำใต้) ลำโสม และยังมีขับของเผ่าอื่นๆ
          นอกจากการขับ ลำ เซิ้ง แบบพื้นเมืองของสามัญชนแล้ว ทางชนชั้นศักดินานับแต่ครั้งโบราณ ก็มีวงมโหรี ปี่พาทย์ ฆ้องวง ระนาด มีนาฏศิลป์ มีดนตรีลาวเดิม และเพลงลาวเดิมที่เป็นอมตะก็ได้แก่ ลาวดวงเดือน ลาวเสี่ยงเทียน ลาวเจริญศรี ลาวเจ้าชู้ ....
            อาจกล่าวได้ว่า ด้วยขับลำ เซิ้งพื้นเมืองของชนเผ่าและท้องถิ่นต่างๆ นั้นเอง ที่เป็นพื้นฐาน เป็นรากเหง้าของเพลงแนวลาวสะไหม (ลาวทันสมัย/ลาวร่วมสมัย)
            แนวเพลงลาวสะไหม ถือกำเนิดขึ้นระหว่างต้นทศวรรษ ๑๙๔๐ อันเป็นระยะต้นของสงครามโลก ครั้งที่ ๒ หากจะนับเป็นเวลากว่ากึ่งศตวรรษแล้ว ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ฝรั่งเศสได้ครอบครองเมืองลาว และตลอดห้วงเวลาดังกล่าว ฝรั่งเศสได้จำกัดสิทธิ์และควบคุมด้านการศึกษา ศิลปะ วรรณกรรม และฮีต-คอง วัฒนธรรมทั้งปวงไว้ในกำมือ และการที่ฝรั่งเศสอนุญาตให้ปัญญาชนคนลาวออกจดหมายเหตุ ฉบับปฐมฤกษ์ ที่มีชื่อว่า ลาวใหญ่ ด้านหนึ่งก็เพื่อเผยแพร่ให้คนลาวได้รับรู้บทบาทและ บุญคุณ ของฝรั่งเศส ที่ได้นำความเจริญศิวิไลซ์มาให้คนลาว และอีกด้านหนึ่ง ก็เพื่อปลุกจิตสำนึกความรักชาติ รักบ้านเกิดเมืองนอนของลาว ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism) และลัทธิ ไทยใหญ่ (ของญี่ปุ่นและจอมพล ป. พิบูลสงคราม) ขบวนการปลุกกระแสรักชาติลาว อันเป็นอาณานิคมแห่งหนึ่งของฝรั่งเศสดังกล่าว ได้แผ่ขยายไปในหลายภาคส่วนภายในสังคมลาว ทั้งสื่อโฆษณา คณะอักษรศาสตร์ คณะละคร คณะดนตรี- ขับร้อง คณะสตรี คณะเยาวชน ฯลฯ
                เพลงชาติลาว (ประพันธ์โดย ท่านหมอทองดี) ก็เกิดขึ้นในระยะนี้ ติดตามด้วยเพลง แมลงภู่(ภูมรินทร์)ศิลปินนักประพันธ์เพลงในยุคต้น ได้แก่ ท่านอุดตะมะ จุนละมะนี ท่านพูมี ที่แต่เพลง จำปาเมืองลาว หรือ ดวงจำปาท่านคำอ้วน รัดตะนะวง ท่านบุนคง ปะดีจิด แต่งเพลงแข้น้อยลาวยี่เปิดส่องสวัสดีน้องสาวนอกจากยังมี ท่านบุนทะมาลี เจ้าของผลงานเพลงอมตะหลายเพลง เช่น สายลมเย็น กุหลาบปากเซ
            เพลงลาวสมัยส่วนใหญ่จะเป็นจังหวะรำวง เนื่องจากว่า รำวงเป็นการเต้นรำที่ให้ความสนุกสนานแบบชาวบ้าน โดยมักจัดให้มีขึ้นตามพิธีต่างๆ เช่น บุญบ้าน (บุญเฮือน) บุญบ้าน (บุญหมู่บ้าน) บุญวัดและบุญประเพณีต่างๆ ขณะเดียวกัน ฝรั่งเศสผู้ปกครองก็เผยแพร่วัฒนธรรมตะวันตกด้วยการตั้งบาร์ สถานบันเทิง เวทีลีลาศ ซึ่งมีเฉพาะจังหวะและเพลงสากลล้วนๆ บรรดานักดนตรีและเครื่องดนตรีก็ล้วนนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย พม่า เป็นต้น
ภาษิต-ภาษา
            ความเป็นชนชาติเก่าแก่สะท้อนให้เห็นทางภาษิต-ภาษา สังคมลาวอุดมไปด้วยหลักคุณค่า ที่เป็นกรอบให้ปัจเจกชนและสังคมโดยรวมมีแนวทางที่จะดำเนินไป โดยประดิษฐ์แปลงกรอบอันเคร่งขรึมให้อยู่ในรูปของฉันลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในรูปของกลอนและกาพย์ และแตกแขนงออกจากภาษิต (ผญา) เป็นสร้อย หรือโตงโตย และญาบเว้า ตัวอย่าง ผญา (กลอน) เดือนสามคล้อย ฝิงไฟสังมาอุ่น บาดเดือนห้ามาฮอดแล้ว กรายใกล้ก็ว่าควันโตงโตย(กาพย์) กินความโตโสความเพิ่น หมาหลายเจ้า กินเข้าหลายเฮือน เป็นต้น
          ภาษิตลาว หรือเป็นเสาหลักและแก่นแกนของศิลปวัฒนธรรมลาว หลักแห่งคุณค่านี้ผสานแทรกอยู่ในทุกอณูของงานศิลปะทุกแขนง
            ภาษาลาว ภาษาถือเป็นความยิ่งใหญ่ของชนชาติลาว เป็นแก้วที่ไม่เคยร้าวหรือแผ้วพานแม้คลีผง ภาษาลาวจึงบริสุทธิ์ กี่ร้อยกี่พันปีก็ยังคงภาษาเดิม ไม่ถูกผสมหรือสำส่อน ซึ่งเรียกเสียเพราะพริ้งว่า “มีพลวัต” เหมือนภาษาอื่น และแม้ สปป.ลาวจะเคร่งครัดทางการเมือง แต่ด้านภาษากลับมีอิสระอย่างยิ่ง คนจากทุกภาคส่วน ทุกชนเผ่า สามารถสื่อสารกับคนต่างพรรณ ด้วยภาษาของตน และสามารถออกสื่อของรัฐได้ด้วย ไม่ต้องคิดประดิษฐ์คำในภาษาอื่นที่แปลกแยก ก่อนพ่นเป็นภาษากลาง ความไม่จำกัดหรือเกณฑ์ในทุกคนในชาติต้องใช้ภาษากลาง หรือภาษาราชการ จึงเป็นความง่ายประการหนึ่ง และความง่ายก็นำมาซึ่งความงดงาม ดังจะเห็นได้จากบรรยากาศการประชุมสภา ซึ่งสมาชิกมาจากหลากหลายเชื้อพันธุ์ และเมื่อทุกคนต่างก็ภาษาของตน การประชุมในเรื่องระดับชาติจึงอบอุ่นและผ่อนคลายเมื่อสมาชิกจากต่างแขวงต่างเมืองลุกขึ้นอภิปราย
ศิลปวัฒนธรรม-ฮีตคองลาว
ศิลปวัฒนธรรมของชาวลาวถือเป็นเพชรเม็ดเอกที่ประดับบนมงกุฎของชาติลาว แม้โลกจะหมุนเปลี่ยน แม้อิทธิพลภายนอกจะถาโถมสู่แดนจำปา กระทั่ง ตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติหลายชาติร่วม ๒๐๐ ปี แม้ลาวจะเป็นสนามเด็กเล่นให้มหาอำนาจจากทุกค่ายได้เข้าละเลงอำนาจผ่านยุคผ่านกาลแห่งความเป็นความตาย แต่บรรดาศิลปวัฒนธรรมลาวกลับไม่เคยแหว่งวิ่นเสียหายแม้แต่กระผีกริ้น ปัจจุบัน แม้สื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจะแทรกซึมเข้าสู่ทุกครัวเรือน เพราะดาวเทียมจากจีนราคาถูกพอๆ กับข้าวสารเหนียวเพียงไม่กี่ถัง และจานดาวเทียมผุดขึ้นบนหลังคาเรือนลาวราวดอกเห็นหน้าฝน แต่... ศิลปวัฒนธรรมลาวยังอยู่ดี แม้จะมีสาวลาวที่ข้ามฝั่งโขงแล้วติดกางเกงยีนส์นุ่งกลับบ้าน แต่ก็ทนสายตาถากถาง ในที่สุด ก็ต้องสลัดทิ้ง ที่สำคัญ หญิงสาวที่นุ่งกางเกงยีนส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของความสำส่อน
ความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของลาว และการไม่เปลี่ยนแปลงตามโลกของชาวลาวมาจากฮีต-คอง ประเพณีที่สั่งสม จนกลายเป็นกรอบที่ทุกคนน้อมรับและไม่ฝ่าฝืน เช่นเดียวกับชาติเก่าแก่ มั่นคงและยิ่งใหญ่และเป็นต้นธารแห่งวัฒนธรรมอย่าง อินเดีย ที่ไม่เปลี่ยนเพราะถูกบังคับ หรือการรณรงค์ หากมาจากข้างใน และเมื่อลาวเปลี่ยนแปลงเป็น สปป. ลาว พรรคและรัฐยุคใหม่ ยุคที่ใช้ทัศนะวัตถุนิยมสัจจวิพากษ์ ได้ใช้ศิลปวัฒนธรรมเป็นหลักชัย ส่งเสริมให้มี “ลักษณะชาติ” ถึงขนาดตราเป็นรัฐบัญญัติ เป็นกรอบเพื่อเป็นไม้บรรทัดวัด วัฒนธรรมประเพณีของลาวจึงเข้มแข็ง เข้มแข็งจากจิตสำนึกมิใช่เข้มแข็งจากคำบงการ
เมื่อยึดมั่นยึดเหนี่ยวในวัฒนธรรมประเพณีโดยจิตสำนึก การปฏิบัติตนและการดำเนินชีวิตก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ฝืดฝืน เป็นความง่ายที่สายตามนุษย์ในโลกนี้ได้เห็นต้องชมว่า งาม
วรรณกรรม-การใช้ชีวิต
สถาปัตยกรรมลาว
แม้ตึกทรงโคโลเนียลจะดาษดื่นในนครหลวงและแขวงสำคัญๆ กระทั่ง ในเมือง (อำเภอ) บางเมือง อันบ่งบอกถึงการเคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกอย่างฝรั่งเศส แต่ในวัดวาอารามของลาวยังคงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ลาวได้อย่างมั่นคง
สถาปัตยกรรมในศาสนสถานของลาว  เป็นอีกหนึ่งความงามและง่ายของวิถีลาว ที่โดดเด่นที่สุด คือ สิม หรือพระอุโบสถ สิมลาวทั่วไป ยกเว้น วัดสำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับอาณาจักร และได้รับราชูปถัมภ์ มักมีขนาดไม่ใหญ่ หรือมีขนาดตามแรงศรัทธาของญาติโยมในชุมชนนั้นๆ โดยไม่ต้องพึ่งพิงพึ่งพาจากวัตถุและศรัทธาจากภายนอกเลย
สิมลาวเป็นสิมที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์จะเป็นที่ประกอบสังฆกิจและพิธีกรรมทางศาสนาโดยแท้ มิใช่ที่ๆ จะอวดแสดงความมั่งคั่งหรืออวดความยิ่งใหญ่ อวดศักดาของผู้สร้าง สิมลาวจึงเรียบง่าย และใช้ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด หลายแห่งไม่มีฝาผนัง เป็นเพียงสิมโล่ง จุดรวมความสนใจอยู่ที่ “พระเจ้าใหญ่” หรือพระประธานเท่านั้น ที่ตั้งเด่นเป็นสง่ารอการกราบไหว้
ความเรียบง่ายของสิมลาว มีประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ แน่นอนว่า สิมลาวใช้งบประมาณในการสร้างน้อยกว่าน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับโบสถ์พุทธในไทย การใช้งบประมาณต่ำ หมายถึง การจัดการด้วยแรงของชุมชนเอง ไม่ต้องพึ่งกฐิน ผ้าป่าฯ จากแดนไกล หรือสร้างคาค้างเติ่ง เป็นเหมือนตัวประกัน รอรับเม็ดเงินจากคนร่ำรวยและผู้มีอำนาจทางการเมือง ทำตัวเป็นขอทานในนามของศาสนา
ความเรียบง่ายของสิมลาวทำให้เสียงสวดสาธยายของพระสงฆ์แผ่ซ่านสู่ชุมชนได้โดยง่าย เพราะไม่มีฝาปูนคอยกั้น คนที่ไม่เคยเข้าวัดเข้าโบสถ์ก็พลอยซึมซับวันแล้ววันเล่า จะทำผิดบาปก็ได้สำนึก ความเรียบง่ายของสิมยังช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่ใช่ที่ซุกปลากระป๋อง กองขี้ค้างคาว หรือรังนักพิราบอย่างโบสถ์ที่มีฝาปูนมิดชิด ที่สำคัญ สิมลาวทำให้ชาวบ้านเข้าถึงได้ง่าย เนื่องจากชาวพุทธถือว่าการจะเข้ากราบพระประธานในโบสถ์ต้องสำรวม ต้องถอดปลดเครื่องมือทำกิน เช่น มีดพร้ากระท้าขวาน เสียก่อน แต่เมื่อสิมไม่มีฝากั้น ชาวบ้านชาวไร่-ชาวนาก็สามารถยกมือไหว้พระเจ้าใหญ่ในสิมได้ โดยไม่ต้องหมอบคลานเข้าโบสถ์ หรือรอให้พระที่ถือกุญแจมาไขประตูโบสถ์
คุณค่าและคุณประโยชน์จากความงดงามแต่เรียบง่ายของสิมลาวยิ่งเด่นชัดขึ้น เมื่อเห็นโบสถ์อันโอ่อ่าราคาแพงผุดขึ้นทดแทนสิมลาวที่เคยมีอยู่เต็มพื้นที่ของภาคอีสาน ปัจจุบัน คนอีสานจึงมีโบสถ์เพียงเพื่อจะได้ไม่น้อยหน้าบ้านอื่นวัดอื่นเขาเท่านั้น น่าเสียดาย
ความง่ายและงามประดามีที่บรรยาย หาได้เป็นทั้งหมดของความง่ายและงามอย่างลาวไม่ ในดินแดนที่กรุ่นกลิ่นจำปายังโชยชายยังมีความเรียบง่ายและความงดงามอยู่อีกเป็นอันมาก ขึ้นอยู่กับผัสสะและภูมิรู้ของผู้เสพ และการค้นพบความเรียบง่ายและความงดงามจากวิถีลาว ก็เป็นเครื่องวัดภูมิรู้ของผู้คนได้อีกทางหนึ่ง
อยากเชิญชวนท่านเข้าใช้เครื่องมือของท่านในแผ่นดินล้านช้างสักครั้งหนึ่ง


[1]ขับ-ลำ-เซิ้ง รูปแบบการแสดง-ขับร้องพื้นเมืองประเภทหนึ่งของของประชาชนลาวทั้งมวลที่มีมาแต่โบราณกาล
 

 




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ