ReadyPlanet.com
dot dot
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส

 

สารลึบพะสูน:
วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
โดย ปราโมทย์ ในจิต
 
                                ในบรรดาวรรณคดีแห่งลุ่มแม่น้ำโขงทั้งมวลทั้งสิ้นนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกไม่โปร่งโล่งใจเป็นที่สุดกับวรรณคดีแห่งบรรพชนของเราเรื่องหนึ่ง ที่ดูเหมือนว่าพวกเราน่าจะให้ความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ เสียด้วยซ้ำไป แต่เท่าที่ผ่านมา กลับถูกละเลยในการชำระสะสางให้เกิดความชัดเจนอย่างเป็นเอกภาพทั้งชื่อเรื่อง การจัดประเภท การตีความเนื้อหา ผู้แต่ง รวมไปถึงยุคสมัยของการก่อเกิดก็ยังคลุมเครือมากทีเดียว ซึ่งวรรณคดีเรื่องนี้ก็คือ “สารลึบพระสูรย์” หรือ “สารลึปสูญ” หรือ “สารลึบบ่สูญ”หรือ ฯลฯ (และหรือชื่ออื่นอีกมาก)นี่เอง   ถึงวันนี้ สมควรที่จะเป็นภารกิจของเราที่จะต้องมาสังคายนากันให้สิ้นสุด ให้ได้ข้อสรุปในประเด็นดังกล่าวดีไหม หรือเรายังจะปล่อยปละละเลยไปอีก โดยคิดว่าน่าจะเป็นภาระของชนรุ่นต่อ ๆ ไปดีกว่า แล้วคนรุ่นเรานี้ขาดไร้ภูมิปัญญาที่จะชำระเรื่องดังกล่าวถึงเพียงนั้นเชียวหรือ ?
                                ข้าพเจ้าก็เพิ่งสนใจจริงจังประมาณสามเดือนมานี่เอง ที่สนใจเพราะสงสัยว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ชื่อถึงแปลก   และเนื้อหานั้นว่าด้วยเรื่องอะไร พอไถ่ถามเพื่อนพ้องที่สอนในรั้วมหาวิทยาลัย และคนเคยเรียนในสถาบันแถวตักศิลามาก่อน ก็ไม่ได้ความแน่ชัด บอกว่ายังไม่ได้ศึกษาลงลึกเพียงพอเช่นกัน ข้าพเจ้าตัดสินใจเริ่มต้นโดยเข้าห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งหาหนังสือวรรณกรรมอีสานของอาจารย์ธวัช ปุณโณทกค้นดู ค้นอย่างไรก็ไม่พบชื่อของวรรณคดีเรื่องนี้ รู้สึกท่านจะสนใจวรรณคดีเรื่อง “พื้นเวียง” เป็นพิเศษ แต่แปลกมากที่ไม่กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เลย   วันหนึ่งไปที่ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ถ่ายเอกสารหนังสือ “ลึปสูญ” ของคุณพรชัย ศรีสารคามตรวจแก้และเรียบเรียงใหม่ปี 2528 มา   และหนังสือ“ลักษณะวรรณกรรมอีสาน” ของจารุวรรณ ธรรมวัตร   ทั้งได้ค้นหนังสือเก่า ๆในตู้ที่บ้านเจอหนังสือภาษาลาวที่ซื้อเก็บ ๆไว้นานแล้วอีก 2 เล่มคือ “ประโหยดของวันนะคะดี” ของมหาสิลา วีระวงส์ กับ “สานลึบพะสูน” ของคณะค้นคว้าภาควิชาภาษาลาววรรณคดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ(ลาว) จึงเข้าเค้ากระเตื้องขึ้นมาบ้าง
๐ สารลึบพะสูนเป็นภาพสะท้อนวิทยาการคลื่นลูกที่แห่งอุษาคเนย์เป็นอย่างดี
                                วรรณคดีเป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่ผู้สร้างและผู้เสพของเราในยุคที่มีความหมายตรงกับคำว่า “สิปปะ” ไม่ใช่ “ศิลปะ” อย่างความหมายของฝรั่งตะวันตก กล่าวคือ ไม่จำเป็นต้องระบุว่าใครเป็นคนแต่ง ไม่ต้องพะวงเรื่องลิขสิทธิ์อันมีผลประโยชน์เรื่องเงินทอง(ทุน)มาข้องเกี่ยว รวมทั้งเขียน(จาร)ลงใบลานเพียงฉบับเดียว ถ้าอยากอ่านกว้างขวางออกไปก็มาคัดลอกไปสิ(ไม่มีโรงพิมพ์) ซึ่งมีผลทำให้เกิดต้นฉบับที่หลากหลายและกระจายไปทั่วลุ่มแม่น้ำโขง พอเวลาล่วงเลยไปก็ไม่รู้ว่า “ฉบับใด” คือ “ต้นฉบับ”ดั้งเดิม แถมเนื้อหา และทั้งชื่อเรื่องก็เพี้ยนกันไปตามสติปัญญาของผู้คัดลอกเป็นลำดับตกเป็นทอด ๆมาอีกด้วย 
                                พระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติ ปี 2464 ฉบับแรกกว่าจะครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานได้เบ็ดเสร็จใช้เวลาประมาณหนึ่งทศวรรษทีเดียว1 จึงทำให้ตัวอักษรไทยมีอิทธิพลในการใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ถึงกระนั้นก็ตามตัวอักษรไทยน้อย และอักษรธรรมอีสานก็ยังนิยมมาสืบเนื่องมาถึงสมัยกึ่งพุทธกาล(2500) จึงนิยมถอดจากหนังสือหนังหาใบลานไปเป็นอักษรไทย มาพิมพ์เป็นรูปเล่มในโรงพิมพ์ตามวิทยาการคลื่นลูกที่สอง
ชื่อเรื่องและความหมายที่ยังไม่เป็นหนึ่งเดียว
                                ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ชื่อเรื่องนั้นมีหลากหลายชื่อที่สุด   โดยเฉพาะของคนไทยฝั่งขวาของแม่น้ำโขงที่ใช้อักษรไทยเขียนนี้เขียนไว้มากมายเสียจริง ๆซึ่งเกี่ยวโยงถึงความหมายและเนื้อเรื่องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   เท่าที่ศึกษาสามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้ 
กลุ่มที่หนึ่งคือคนไทย ใช้ว่า ลึปสูญ (ฉบับพรชัย ศรีสารคาม เรียบเรียง 2528), ลึบบ่สูญ (หลายคนในเว็บไซค์ไทยปัจจุบัน และคำบอกเล่า), ลึบปสูญ(พจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง ฉบับปณิธาน 2515) ลึบพระสูรย์และลึบปสูญ(สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ปรีชา พิณทอง 2532), ลึบปสูรย์ (อริยานุวัตร เขมจารี 2512), และมีทั้งลึปสูญตัวผู้กับลึปสูญตัวเมียที่อยู่จังหวัดนครพนมอีกด้วย (สุรมนตรี จักรชุม-ยืนยัน 2553), โสมใจคึด (หนังสือใบลานฉบับวัดหนองบัว จ.ขอนแก่น) และสมที่คึด(หนังสือใบลานเมืองด้านซ้าย) ก็มี ส่วนความหมายนั้นแปลว่า “ลบไม่หาย”และ ลึบพระสูรย์ หมายถึงลบหรือปิดบังดวงอาทิตย์ 
กลุ่มที่สองคือคนลาว ใช้ว่า ลึบบ่สูน (ส.เดชา 2518), ลึบพะสูน (สิลา วีระวงส์ 2503), ลึพสูน (คณะกรรมการวรรณคดี 2509), สมที่คึด (หนังสือใบลานบ้านหนองลำจันเหนือ เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด) ความหมายส่วนมากทางลาวจะเน้นที่หมายถึงการปิดบังแสงดวงอาทิตย์
๐ ใครแต่ง ?
                                นับว่าเป็นวรรณคดีที่มีผู้สันนิษฐานถึงผู้ประพันธ์ไว้หลากหลายมากที่สุดเช่นกัน จึงขอยกมาพิจารณาดังต่อไปนี้
                                1. ท้าวปางคำ         เป็นผู้ประพันธ์ ในหนังสือลึปสูญ ฉบับพรชัย ศรีสารคาม เรียบเรียง ได้บันทึกในคำปรารภว่า “ท่านหลวงพ่อพระอริยานุวัตร ได้กล่าวว่า เรื่องนี้ท้าวปางคำ ผู้ครองเมืองหนองบัวลำภู(ลางท่านว่า หนองบัวลำภู) ได้แต่งขึ้นเมื่อ 600 กว่าปีมาแล้ว แสดงความรักความคิดถึงที่มีต่อนางเภานางแพง” และมีนักเขียนลาวอีกคนหนึ่งที่สนับสนุนว่าท้าวปางคำแต่ง คือ ดวงไซ หลวงพะสี แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียด
                                2. พระเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งเวียงจันองค์สุดท้าย(ครองราชย์ปี 2347-2369) คนลาวส่วนมากจะพูดเช่นนี้ตามความสันนิษฐานของ มหาสิลา วีระวงส์ ได้ให้เหตุผลว่า “พระเจ้าอนุวงศ์คงมีความเจ็บแค้นแน่นพระทัยในการที่ประเทศของพระองค์เสียอิสรภาพ และพระองค์ก็คิดจะกู้ชาติอยู่เสมอ ซึ่งสันนิษฐานได้จากข้อความที่กล่าวไว้ในหนังสือลึบพะสูนที่ว่า : ดวงนี้ ชื่อว่า บุแผ่นธรณีดั้นกุมพระกรกำโฮบ และตอนที่ว่า ครุฑอ้าปากขึ้นขำเมฆเฮืองฤทธิ์ จันโทเมามัว มุดมึดแสงสูญอ้ำ นี้หมายความว่า อาณาจักรไทยถือตราครุฑ ลาวถือนาค หรือพระจันทร์ เวลานั้นครุฑมีอำนาจ พระจันทร์ คืออาณาจักรลาวเวียงจัน จึ่งมึดมัวลง” และคณะวิจัยสานลึบพะสูน ในโครงการค้นคว้าวรรณคดีสมัยอาณาจักรลาวล้านช้างเสื่อมโทรม คณะค้นคว้าภาควิชาภาษาลาววรรณคดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ค.ศ. 2002 ก็สันนิษฐานไว้เช่นนี้เหมือนกัน
                                3. พระมหาสมณพราหมาจารย์สิบสองกวี ซึ่งเป็นพระสังฆราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรล้านช้าง และเป็นที่ปรึกษาราชสำนัก(ของพระเจ้าอนุวงศ์) ผู้ที่สันนิษฐานคือคนลาวชื่อท่านมหาบุนยก แสนสูนทอน ที่ปรึกษาคณะวิจัยสานลึบพะสูน ในโครงการค้นคว้าวรรณคดีสมัยอาณาจักรลาวล้านช้างเสื่อมโทรม คณะค้นคว้าภาควิชาภาษาลาววรรณคดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ และคนลาวอีกคนหนึ่งที่สันนิษฐานว่านักปราชญ์ในราชสำนักของพระเจ้าอนุวงศ์แต่งคือ บุนทะนอง ชมไชผน นักเขียนอีสระผู้โดดเด่นของลาวยุคปัจจุบัน
                                4. นักปราชญ์แห่งลุ่มแม่น้ำโขงยุคหลังพระเจ้าอนุวงศ์  คำสันนิษฐานนี้เป็นของท่านมหาสวิง บุญเจิม ที่กรุณาให้สัมภาษณ์วันที่ 22 ธันวาคม 2553 เวลา 15.00 น. ณ สำนักพิมพ์มรดกอีสาน เลขที่ 229-231 ถนนแจ้งสนิท ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ว่าเป็นนักปราชญ์ลาว(เป็นใครนั้นยังไม่ชัดเจน) อันมีจุดประสงค์แต่งขึ้นเพื่อเตือนคนลาวให้ระวังคนไทย เพราะช่วงเวลานั้นลาวอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม มีเหตุการณ์ที่ถูกเจ้านายไทยข่มเหงรังแก เช่น ถ้ากำลังเลี้ยงไก่ชนอยู่ใต้ถุนบ้านอย่างปกติสุข เมื่อเจ้านายคนไทยมาพบเข้าเกิดชอบก็ขอไปดื้อ ๆ แม้ลูกสาวสวยก็ขอไปเป็นคนรับใช้ที่บ้านและกลายเป็นเมียเก็บในที่สุด ต่อมาจึงนิยมทำสวนหลังบ้าน เลี้ยงไก่ และให้ลูก ๆอยู่ในสวนไม่ต้องอยู่ใต้ถุนหรือหน้าบ้านเพื่อหลบสายตาคนไทย มหาสวิง บุญเจิมเป็นอีกคนหนึ่งที่มีความประสงค์ให้เกิดมีการจัดสัมมนาสะสางวรรณคดีเรื่อง “สาส์นลึบบ่สูญ” นี้ขึ้น   ท่านเคยมีผลงานชำระเรื่องนี้ตีพิมพ์ออกมาแล้วตั้งแต่ปี 2539 ใช้ชื่อว่า “กาละนับมื้อส่วย” จากต้นฉบับอันเลอะเลือนที่มีใครคนหนึ่งถ่ายเป็นเอกสารมาให้ในปี 2505 ที่เลอะเลือนก็แต่งเพิ่มเติมไปด้วย
                                เกี่ยวกับผู้แต่งจึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน และยังเป็นข้อสันนิษฐานในสี่บุคคลนี้ต่อไป ซึ่งมีความสัมพันธ์โยงถึงข้อสันนิษฐานว่า วรรณคดีเรื่องนี้เกิดขึ้นในยุคใดด้วยอย่างปฏิเสธไม่ได้ จึงขอยกข้อสรุปของคณะวิจัยสานลึบพะสูน ในโครงการค้นคว้าวรรณคดีสมัยอาณาจักรลาวล้านช้างเสื่อมโทรม คณะค้นคว้าภาควิชาภาษาลาววรรณคดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ค.ศ. 2002 มาให้ท่านผู้อ่านพิเคราะห์ดังนี้ “มหาสิลา วีระวงส์ และอาจารย์บุนยก แสนสูนทอน แม้ว่ามีความเห็นแตกต่างกันเรื่องผู้แต่ง แต่ก็เป็นมีเอกภาพในเรื่องของยุคสมัยการแต่ง คือ สารนี้แต่งขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอนุวงศ์ สำหรับความเห็นของพระอริยานุวัตรนั้น มีความสับสนด้านประวัติศาสตร์ ช่วงเวลาที่อ้าง (600 ปี)กับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ (ยุคท้าวปางคำเป็นช่วงท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 17 –ซึ่งไม่ถึง 600 ปี) ไม่ตรงกันประการหนึ่ง นอกจากอ้างอิงเนื้อเรื่องในสารกล่าวถึงความรัก และความเป็นเอกด้านบทกวีแล้ว ไม่มีเหตุการณ์อื่นที่จะช่วยสนับสนุนให้เป็นที่เชื่อถือได้ ความเห็นของมหาสิลา วีระวงส์และอาจารย์บุนยก แสนสูนทอนมีเหตุผลที่ควรได้รับการศึกษา เมื่อศึกษาจากสาร มีตอนได้กล่าวถึงความคิดที่จะไปขอความช่วยเหลือจากต่างอาณาจักรหรือต่างประเทศ ดู
-         ฉบับถนุพล ไชยสินธุ์ (สมที่คึด) เขียนว่า
ยังอยากหาฝูงพี่น้อง                               ทางหงสามาอยู่       จิคือลือ
ทังหมู่ห้อ                                                เชิญพร้อมพ่ำซวา (หน้า 1)
-         ฉบับคณะกรรมการวรรณคดี เขียนว่า
เฮียม อยากไปวานฝูงพี่น้อง วงศ์วานให้มาซ่อย ซิคือลือ
ทังหมู่ห้อ                                                กะเลิงพร้อมพ่ำแกว (หน้า 17)
การกล่าวถึงซวา(หลวงพระบาง)ก็ดี การกล่าวถึง แกว(เวียดนาม) ก็ดี นั้นได้ชี้ช่องให้พวกเราสันนิษฐานว่า สารเกิดขึ้นหลังอาณาจักรล้านช้างเสียความเป็นเอกราช และแตกแยกเป็นหลายอาณาจักร ในการเตรียมการต่อสู้กู้เอาเอกราช อาณาจักรล้านช้างเวียงจันเคยได้ขอความร่วมมือจากหลวงพระบาง พร้อมกันนั้น ก็มีแต่อาณาจักรล้านช้างเวียงจันเท่านั้นที่มีสัมพันธไมตรีกับเวียดนาม (แกว) หลังจากประเทศชาติแตกแยก ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว มันไม่เพียงแต่บ่งบอกให้รู้ว่าสารนี้แต่งขึ้นในยุคหลังประเทศชาติแตกแยกซึ่งก็ยังรู้ได้ว่า แต่งขึ้นในเขตอาณาจักรเวียงจันล้านช้างอีกด้วย
๐ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับอะไร ?
                                ในหนังสือลึปสูญ ฉบับพรชัย ศรีสารคาม เรียบเรียง ได้บันทึกในคำปรารภเกี่ยวกับเนื้อเรื่องว่า “เมื่อพิจารณาตามเนื้อหาแล้ว เรื่อง”ลึปสูญ” มีลักษณะเหมือนจดหมายระบายความในใจของชายคนหนึ่งซึ่งมีต่อหญิงคนรัก” และจารุวรรณ ธรรมวัตรได้แบ่งวรรณกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลักษณะเนื้อเรื่อง โดยจัดให้ “สารสึปสูรย์” เป็นวรรณกรรมนิราศ (ระบุว่ามีเพียงเรื่องเดียว) และแบ่งวรรณกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลักษณะสำคัญของเนื้อเรื่องของ นาร์ธรอป ไพรเออร์ บอกว่าเป็นประเภทที่ 2 คือ External Fiction หรือ Thermatic หมายถึงวรรณกรรมที่จุดสนใจของเรื่องอยู่ที่ความคิดเห็นหรือแนวความคิดของผู้แต่งซึ่งเกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมและสังคมของผู้แต่งเอง เช่น ท้าวคำสอน อินทิญาณสอนลูก กาพย์ปู่สอนหลาน กาพย์หลานสอนปู่ สารสึปสูรย์ กาพย์พระมุนี ฯลฯ ซึ่งไม่มีรายละเอียดมากไปกว่านี้
                                เนื้อหาของเรื่องทั้งคุณพรชัย ศรีสารคามที่อ้างถึงหลวงพ่อพระอริยานุวัตร และจารุวรรณ ธรรมวัตร มีความเห็นในแนวเดียวกันคือ เป็นวรรณคดีนิราศ มีลักษณะเหมือนจดหมายระบายความในใจของชายคนหนึ่งซึ่งมีต่อหญิงคนรัก
                                ส่วนมหาสวิง บุญเจิม มหาสิลา วีระวงส์ และคณะวิจัยสานลึบพะสูน ในโครงการค้นคว้าวรรณคดีสมัยอาณาจักรลาวล้านช้างเสื่อมโทรม คณะค้นคว้าภาควิชาภาษาลาววรรณคดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ มีความเห็นว่า เป็นวรรณกรรมหรือวรรณคดีการเมือง ที่ซ่อนเนื้อหาใช้รูปแบบการ-เขียนสารถึงคนรัก มีเนื้อหาเป็นรหัสลับที่ต้องตีความ โดยเฉพาะคณะวิจัยสานลึบพะสูน มีข้อสรุปว่า “ได้ผ่านการวิเคราะห์ สารได้ยกให้เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหา ในแต่ละบั้น(ตอน) ดังนี้
                                - บั้นที่หนึ่ง (บั้นบังรหัส) ได้สะท้อนถึงการดิ้นรนของนักชาตินิยม ที่อยากปลุกระดมปวงชนทั้งชาติให้ลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรู ในเงื่อนไขที่ประเทศชาติถูกต่างชาติที่มีกำลังแข็งแกร่งกว่าครอบครอง และจิตใจของคนลาวบางกลุ่มแตกแยก ประชาชนตกอยู่ในสภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด ซึ่งเป็นปัญหาหนักในการปลุกระดม ถ้าจะกล่าวตรง ๆก็กลัวจะเสียความลับนั่นเอง ถ้าจะไม่พูดกลับมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้เห็นสภาพความเป็นไปที่ควรจะแก้ไข อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งได้สอดแทรกแนวคิดความรักชาติ โดยผ่านการเปรียบเทียบ สุดท้ายผู้แต่งยังเน้นย้ำว่า ถ้าต้องการเอกราชกลับมา มีแต่ร่วมแรงร่วมใจกันลุกขึ้นต่อสู้ด้วยอาวุธเท่านั้น
                                - บั้นที่สอง (บั้นสมที่คึด) ซึ่งเป็นตอนกลางของสารนั้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ ยุทโธบาย ยุทธวิธี และการจัดตั้งกลุ่มหัวหอก เพื่อต่อสู้แย่งเอาเอกราชแห่งชาติจากศักดินาสยาม การดำเนินการต่อสู้นั้น ต้องโน้มน้าวให้มีการนำที่เข้มแข็ง และปวงชนจะต้องมีความสมัครสมานสามัคคีอย่างแน่นแฟ้น หน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของปวงชนลาวทั้งมวล ทุกคนต้องได้ขบคิด และร่วมพันธกิจ
                                - บั้นสุดท้าย (บั้นสุดที่อ่าว) กล่าวถึงความมุ่งมาดปรารถนาที่ต้องการปลดปล่อยชาติ ช่วงชิงเอาเอกราชกลับคืนมา ซึ่งเป็นความปรารถนาอันแรงกล้า จนทำให้ผู้แต่งไม่เป็นสุขกินไม่ได้นอนไม่หลับ มีความกระวนกระวายใจ และคลั่งแค้น เพราะไม่พอใจ ไม่ชอบการใช้ชีวิตในภาวะที่ประเทศชาติเสียเอกราชและเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่นเช่นนี้ ในที่สุด ผู้แต่งได้ตัดสินใจ ขอเอาชีวิตมาแลกกับความเป็นเอกราช นี่คือจุดยืน คืออุดมการณ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง
                                เนื่องจากสารลึบพะสูน เขียนในรูปแบบวรรณคดีเริงรมย์ โดยยืมวิธีการนำเสนอความรักระหว่างหนุ่มสาว มาใช้ในการเสนอถึงความรักชาติ ซึ่งกลวิธีการประพันธ์เช่นนี้ เป็นรูปแบบวิธีการแต่งของวรรณคดีการเมืองอีกประเภทหนึ่งที่อยู่ภายใต้ระบอบศักดินาเผด็จการ ฉะนั้น เนื้อหาของ “สารลึบพะสูน” ได้ทำให้เกิดหลายแนวคิด หลายประเด็นพิจารณา และการตีความ การดำเนินการวิจัยค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการจะช่วยให้พวกเราได้รับรู้ในอีกหลายแง่มุมที่เป็นประโยชน์ ที่ยังไม่ได้ขุดค้นออกมาให้หมดสิ้นได้”
                                ข้าพเจ้าได้ข่าวแว่ว ๆว่าทางเอื้อยดวงเดือน บุนยาวง แห่งสำนักพิมพ์ดอกเกด สปป.ลาวต้องการจะจัดสัมมนาเรื่องนี้ด้วย ไม่ทราบข่าวนี้เป็นจริงเพียงใด รวมทั้งมหาสวิง บุญเจิมแห่งเมืองนักปราชญ์ลุ่มน้ำมูลก็ประสงค์จะเข้าร่วมการสัมมนาเรื่องนี้ทุกที่ทุกแห่ง ปรากฎการณ์ดังกล่าว ข้าพเจ้าถือเป็นข่าวดี เป็นนิมิตหมายที่เปี่ยมด้วยคุณค่ายิ่ง แต่จะเกิดการสัมมนาเรื่องนี้ขึ้นได้ ณ ที่ใด และเวลาใดหนอ ? ยังเป็นคำถามค้างคาหัวใจไม่ยอมเหือดหาย
                                และทั้งหมดทั้งสิ้นที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ข้าพเจ้ายังไม่ขอสรุปในทัศนะส่วนตัว แต่ขอเป็นเพียงไม้ขีดไฟเล็ก ๆอีกก้านหนึ่ง เพื่อส่งทอดไปถึงผู้คนแห่งลุ่มน้ำโขง คณะบุคคลแห่งภาคภาษาตะวันออกในสถาบันการศึกษาทั้งมวล ได้เห็นความจำเป็นและความสำคัญที่จะร่วมมือกันจัดสัมมนาวรรณคดีเรื่อง “สารลึบพะสูน” ให้ได้ข้อยุติในสิ่งที่ยังคลุมเครือไม่ชัดเจนดังกล่าว ข้าพเจ้าสละเวลาอันน้อยนิดในการสืบค้นมานำเสนอให้เห็นภาพรวมในวาระนี้ เพื่อพวกเราทั้งมวลจะได้ต่อยอดภูมิปัญญา และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์แห่งคุณค่าอันหาที่เปรียบมิได้นั้นร่วมกันในอนาคต.
 
1  สัมภาษณ์นายสวิง บุญเจิม วันที่ 22 ธันวาคม 2553 เวลา 15.00 น. ที่สำนักพิมพ์มรดกอีสาน เลขที่ 229-231 ถนนแจ้งสนิท ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมถิ่นอีสาน. พจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลางฉบับปณิธานสมเด็จพระมหา-
                   วีรวงศ์(ติสฺสมหาเถระ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2515.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. ลักษณะวรรณกรรมอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม : ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม-                         
                อีสาน มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 2521.
ธวัช ปุณโณทก. วรรณกรรมอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2522.
ปรีชา พิณทอง, ดร. สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์ศิริธรรม,                          
                2532.
พรชัย ศรีสารคาม. ลึปสูญ. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม, 2528.
สวิง บุญเจิม. กาละนับมื้อส่วย. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี : มรดกอีสาน, 2539.
ภาษาลาว
คนะกัมมะกานวันนะคดี. สานลึพสูน. พิมพ์ครั้งที่ 2. เวียงจัน : กมวันนะคดี, 2509.
คะนะค้นคว้าพากวิชาพาสาลาว-วันนะคดี คะนะอักสอนสาด มะหาวิทยาไลแห่งชาด. สานลึบพะสูน. พิมพ์-
                 ครั้งที่ 1. เวียงจัน : วิสาหะกิดโฮงพิมสึกสา, 2002.
สิลา วีระวงส์. ประโหยดของวันนะคดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. เวียงจัน : ไผ่หนามการพิม, 1996.
บทความ
สุชาติ สวัสดิ์ศรี. “ศิลปะทั้งผองพี่น้องกัน.” ช่อการะเกด 54 : ตุลาคม-ธันวาคม 2553: 275-290.
เว็บไซค์

www.laopoetscorner.blogspot.com   




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ