ReadyPlanet.com
dot dot
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล

50 ปีสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
กับการก้าวสู่เวทีสากล

 

ทองแถม นาถจำนง

                สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นจากการงรวมตัวของกลุ่มคนที่มีใจรักการประพันธ์ประเภทร้อยกรอง 15 คน เมื่อ พ.ศ. 2502   กลุ่มนักกลอนเรืองนามในยุคนั้น ได้แก่ ชยศรี(ชาลี) สุนทรพิพิธ , นลินี  อินทรกำแหง , นรี นันวัทน์ , ศิริเพ็ญ ภิบาลกุล ,    รำภีร์ สอนอำไพ , พวงศรี สิงหเสนี , จันทร์เพ็ญ วิเชียรพันธ์ , วิจิตร ปิ่นจินดา , มะเนาะ ยูเด็น , ประยอม ซองทอง , โกวิท สีตลายัน , สวัสดิ์ ธงศรีเจริญ , สนธิกาญจน์ กาญจนาสน์ , วินัย ภู่ระหงษ์ และ กวี มานะวุฑฒ์    ประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ 2502 ที่โรงพยาบาลสงฆ์  ผลการประชุมจึงได้เกิดมี “ชมรมนักกลอน” ขึ้นมา ประธานคนแรกของชมรมคือคุณสำรอง สิทธิแพทย์

                พ.ศ 2517  ชมรมนักกลอนได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนเป็น “สมาคมนักกลอนแห่งกรุงสยาม” ซึ่งเจ้าอาวาสวัดเทพธิดารามอนุญาตให้จดทะเบียนกุฏิสุนทรภู่เป็นที่ตั้งสมาคม

                ต่อมาใน พ.ศ 2521 ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น “สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย” สถานที่ตั้งสมาคมยังคงใช้วัดเทพธิดาราม   โดยมี ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 1  และอรุณศรี กระจ่างสาย ได้ออกแบบดวงตราสัญลักษณ์ของสมาคมเป็นรูปปากกาขนไก่พาดอยู่บนแผ่นกระดาษล้อมด้วยวงกลมสองชั้น ด้านบนเขียนข้อความเป็นตัวอักษรภาษาไทยว่า สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย   วนด้านล่างเขียนข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า The poet’s association of Thailand

                เมื่อนับตั้งแต่ยุค “ชมรมนักกลอน”   สมาคมฯ ก็มีอายุครบ 50 ปี ในสมัยของนายกสมาคมฯสมัยที่ 16 (ยุทธ โตอดิเทพย์ เป็นนายกฯ) สมาคมได้จัดกิจกรรมในวาระ “50 ปี สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย” ไปแล้วหลายอย่าง    ในปีนี้ (พ.ศ 2554) ทางสมาคมฯเห็นว่าควรจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวาระ 50 ปีสมาคมฯ ต่อไปอีกปีหนึ่ง โดยมุ่งเพิ่มเติมกิจกรรมให้ความรู้ต่อสังคม   และผลักดันให้สมาคมฯก้าวสู่ความสากล

                เมื่อปี พ.ศ 2553 สมาคมฯได้นำคณะสมาชิกสมาคมฯเดินทางไปเชื่อมสัมพันธ์กับ “สถาบันวัฒนธรรมจีนแห่งกวางสี” และบรรดาศิลปิน กวี นักเขียน กวางสี ในช่วงเดือนพฤษภาคม   นับว่าได้บุกเบิกขยายความสัมพันธ์กับกวีจีน เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง-กวางสี ได้อย่างดียิ่ง

                เดือนมกราคม สมาคมฯได้จัดงาน “ร่องรอยการเวลา” เสวนาวิชาการแบ่งปันความรู้ที่จังหวัดหนองคาย   และได้นำคณะกวี นักเขียนไทย เดินทางไปสัมมนากับกวี นักเขียน สปป.ลาว ณ กำแพงนครเวียงจัน นับว่าได้ขยายสายสัมพันธ์อันงดงามกับกวีและนักเขียนชาวลาว

                ในเดือนกุมภาพันธ์นี้   ทางสมาคมฯได้จัดโครงการ เยาวชนอาเซียนร่วมทัศนะศึกษาและสานสายสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 1 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2554 โดยได้รับความสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม , สยามรัฐ และสำนักพิมพ์แม่โพสพ

 
                ทำไมสมาคมฯจึงต้องทำงานระดับสากล
 

                ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมาคมฯ ของคณะกรรมการสมาคมฯสมัยที่ 17 มุ่งขยายงานตามแนวทางเดิมที่สมาคมฯ เคยทำมาก่อนให้ขยายตัวกว้างขวางมากขึ้น    และมุ่งยกระดับกิจกรรมและชื่อเสียงของสมาคมฯให้ยกระดับสู่เวทีสากล มีการแลกเปลี่ยนและมีกิจกรรมร่วมกับกวีนานาประเทศ   ทั้งนี้จะเน้นกิจกรรมในภูมิภาคอาเซียนก่อน

           ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เป็นหนึ่งในสามเสาหลักความร่วมมือเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันทางสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน เพื่อทำให้อาเซียนเป็นสังคมที่สมาชิกมีความเอื้อ-อาทรต่อกัน ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม

ผลกระทบที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์และการขยายจำนวนสมาชิกของอาเซียนจนครบสิบประเทศในปัจจุบัน นำมาซึ่งความแตกต่างหรือความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้กำหนดนโยบายของประเทศสมาชิกอาเซียนริเริ่มจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ข้อริเริ่มว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เป็นหนึ่งในความพยายามครั้งล่าสุดที่จะแก้ไขและรับมือกับผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวทางกันของอาเซียน และกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งทำให้อาเซียนต้องเผชิญทั้งภัยคุกคามความมั่นคงแบบดั้งเดิมและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหาโลกร้อน และโรคระบาด

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ 2552 ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจะให้การรับรองแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งจะกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยแผนงานฯ จะเน้นให้เกิดการส่งเสริมความร่วมมือกันของประเทศสมาชิกในด้านต่างๆ

                รวมถึงการส่งเสริมความเป็นตัวตนหรือที่เรียกว่า ‘อัตลักษณ์’ ของอาเซียน ผ่านกระบวนการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน อาทิ การมีกิจกรรมที่จะช่วยให้พลเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียนเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน ดังเช่น การกำหนดให้มีรางวัลซีโรต์ หรือ “รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (S.E.A. Write หรือ South East Asian Writers Awards) ซึ่งเป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่นักเขียนของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน

เป็นที่คาดว่า ผลลัพธ์ประการสำคัญที่จะเกิดขึ้นจากการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ก็คือ การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีกลไกและเครื่องมืออย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความร่วมมือกันในด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อทำให้ประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนมีความกินดีอยู่ดีขึ้น และประเทศสมาชิกอาเซียนมีฐานะทางสังคมที่ทัดเทียมกันมากยิ่งขึ้น

        การที่จะบรรลุเป้าหมายข้างต้นนั้น    จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาคประชาชนจะต้องช่วยกันสนับสนุน ผลักดัน สร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายของสมาคมอาเซียน     สำหรับกิจกรรมในประเทศไทยนั้น องค์กรเอกชนยังริเริ่มกำเนินการกันไม่มากและไม่กว้างขวางนัก  

ในการนี้สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย และสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล เห็นความจำเป็นที่จะต้องริเริ่มบุกเบิกขยายงานด้านนี้โดยเร่งด่วน   เนื่องจากเป้าระยะเวลาปี พ.ศ 2558 ใกล้เข้ามาทุกขณะ     สมาคมฯ จึงจัดโครงการ “เยาวชนอาเซียนทัศนะศึกษาและสานสายสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” ขึ้นเพื่อเป็นอีกพลังหนึ่งในการช่วยให้สมาคมอาเซียนบรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค รวมถึงการส่งเสริมความเป็นตัวตนหรือที่เรียกว่า ‘อัตลักษณ์’ ของอาเซียน ผ่านกระบวนการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน อาทิ การมีกิจกรรมที่จะช่วยให้พลเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียนเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน

                ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นงานที่เริ่มต้นเป็นครั้งแรก จึงจะเริ่มจัดให้เยาวชนอาเซียนเพียง 4 ชาติก่อน คือไทย , สปป.ลาว , กัมพูชา และเวียดนาม จำนวน 100 คนเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนเยาวชนอาเซียนชาติอื่น ๆ นั้นจะดำเนินการในวาระโครงการดำเนินการระยะต่อไป

                ทั้งนี้ ทางสมาคมฯยังต้องการแรงช่วยเหลือสนับสนุนอีกมาก เพื่อจัดกิจกรรมนี้ให้มีต่อเนื่องต่อไป    เพื่อปุทางไปสู่กิจกรรมระดับสากลที่ส่งผลสะเทือนมากกว่านี้

 




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ