ReadyPlanet.com
dot dot
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์

“สุนทรคึก” เขียนถึง “สุนทรภู่” (1)
ตามรอยคึกฤทธิ์ / ทองแถม นาถจำนง

1.               วิจารณ์ “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”            

           มีผู้อ่านสยามรัฐใช้นามแฝงว่า “ปุริม รัตนวิจิตร”    เขียนกลอนมาถามปัญหา ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช   โดยเรียกท่านว่า “สุนทรคึก”     ดังคำกลอนว่า

                ๐ เชิงโคลงฉันท์กาพย์กลอน “สุนทรคึก”          ท่านช่างนึกรอบคอบตอบได้เหมาะ

                ทำลำนำคำกวีที่พริ้งเพราะ                                    ฟังเสนาะสำเนียงเพียงเพลงพิณ
                ผมเฉาโฉดโปรดด้วยช่วยชี้ช่อง                           ตามครรลองลักษณะกวีถวิล
                 เป็นประทีปนำทางกลางดวงจินตน์                    ได้สืบศิลปะศรีกวีการ
                ขอมอบกายหมายจิตเป็นศิษย์รัก                          มาสมัครศึกษาวิชาฉาน

                หวังพึ่งบุญปัญญาหม่อมอาจารย์                          จะประทานหรือไม่สงสัยเอย ๐

                                                                                                             ปุริม รัตนวิจิตร
                อาจารย์หม่อมตอบว่า
                ๐น้อยหรือวาจาช่างน่ารัก                                     เสนาะนักน้ำคำพร่ำสรรเสริญ
                อ่านแล้วช่วยชูกำลังฟังเพลิดเพลิน                      เกือบจะเหิรเวหาวาจาคุณ

                สำนวนกลอนคุณก็เพราะเสนาะยิ่ง                      ไยจะวิ่งหาครูดูว้าวุ่น

                กวีเกิดอยู่กับใจได้เป็นทุน                                    ไม่ต้องดุนก็ยังเด่นเห็นปานนี้
                ครั้นจะรับเป็นอาจารย์พาลติดขัด                        ด้วยคุณจัดเจนเชิงกวีศรี
                เพียงเพื่อนเล่นปราศรัยผูกไมตรี                          คงจะดีกว่าเป็นศิษย์สนิทเอย ๐

                (คอลัมน์ปัญหาประจำวัน 9 พ.ย 2493)

                ข้าพเจ้าออกจะก็ชอบคำว่า “สุนทรคึก” อยู่เหมือนกัน แต่คำนี้ก็ไม่เห็นใครเอาไปใช้เรียกท่านที่ไหนอีก  

                แล้ว “สุนทรคึก” เขียนถึง “สุนทรภู่” ไว้อย่างไรบ้าง ?

                ก็มีเขียนถึงหลายครั้ง เช่น เขียนเรื่องพระอภัยมณี   แต่วันนี้จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสุภาษิต “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”

                แฟนสยามรัฐท่านหนึ่ง ใช้นาม “นายประภาศ   ลาวัณย์ธร” ถามมาว่า

1.               ในหนังสือพระอภัยมณี มีข้อความตอนหนึ่งว่า

“รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา                   รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”
เฉพาะวรรคหลัง ผมขอถามว่า  

             ก.โดยที่หนังสือพระอภัยมณีตอนนี้ กระทรวงศึกษาธิการเคยให้ใช้เป็นแบบเรียนของเด็กมาจนถึงปัจจุบัน   ผมเห็นว่าข้อความดังกล่าวสอนให้เด็กพยายามเอาตัวรอดแต่เพียงคนเดียว   หรือสอนให้เป็นคนเห็นแก่ตัว    การที่คนเราไม่ว่าใครทำผลร้ายหรือผลเสียหายให้แก่ประโยชน์ส่วนรวม เมื่อถึงเวลาที่จะต้องรับผิด คน ๆ นั้นก็เอาตัวรอดเสียคนเดียวเช่นนี้ ย่อมเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งและดูกระไรอยู่ ในฐานะที่เด็กเป็นคนอ่อนไหวต่อเหตุการณ์ง่าย   ฉะนั้นข้อความดังกล่าวหม่อมเห็นว่าจะเป็นผลร้ายเกี่ยวแก่จิตใจเด็กหรือไม่  เพราะเหตุใด    

                ข. การที่ผู้แต่งได้เขียนข้อความเช่นนี้ ขอทราบความเห็นหม่อมว่า ผู้แต่ง ๆ ขึ้นโดยมีความมุ่งหมายอันแท้จริงไปในทางใด คือหมายความว่าให้ผู้อ่านหรือผู้เขียนและผู้เรียนนึกตีความไปในทางใด

             ค ถ้าหม่อมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หม่อมเห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงแบบเรียนวรรณคดีไทยตอนนี้หรือไม่ (กรุณาอย่าตอบว่า หม่อมยังไม่ได้เป็นนี่ จึงยังตอบไม่ได้)”

                อาจารย์หม่อม ตอบปัญหาสามข้อข้างต้นดังนี้

                “ก.การนำหนังสือพระอภัยมณีมาใช้เป็นแบบเรียนนั้น ผมเข้าใจว่า เพื่อให้เด็กได้เรียนถึงสำนวนกลอนชั้นเยี่ยมของสุนทรภู่มากกว่าที่จะให้ถือว่า สุนทรภู่กล่าวสิ่งใดถูกไปหมด ข้อความที่ว่า “รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา     รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” นั้น   เด็กจะเข้าใจว่าอย่างไรก็สุดแล้วแต่ครูผู้สอนจะชี้แจง   ถ้าครูผู้สอนชี้แจงเสียให้ถูกต้อง ก็ไม่น่าจะมีผลเสียอย่างไร

            ข. สุนทรภู่เขียนความข้อนี้ไว้ อาจเป็นด้วยเหคุใดเหตุหนึ่งในสองข้อต่อไปนี้   คือหนึ่ง สุนทรภู่อาจเขียนประชดประชันสังคมในสมัยนั้น ซึ่งอาจเต็มไปด้วยคนเอาตัวรอดก็ได้   หรือสอง สุนทรภู่อาจพูดไปโดยซื่อ เพราะในสมัยนั้นอาจถือสุภาษิตนั้นว่าเป็นของดีจริง ๆ ก็ได้     และสุนทรภู่ซึ่งเป็นคนสมัยนั้นก็ถือสุภาษิตไปตามกาลสมัย 

          แต่ถ้าจะดูประวัติสุนทรภู่ซึ่งปรากฏว่าเอาตัวไม่ค่อยรอด ผมออกจะเห็นว่าสุนทรภู่เขียนด้วยเหตุที่หนึ่งมากกว่า  

             ค. เห็นไม่ควรเปลี่ยน   เพราะวรรณคดีนั้นเป็นวรรณคดีด้วยเหตุต่าง ๆ มากมายหลายประการ มิใช่ว่ากวีผู้แต่งพูดอะไรไม่ถูกนิดเดียวก็ถือเป็นเหตุเปลี่ยนเอาเสียเลย ความวรรคที่กล่าวถึงนี้   อย่างน้อยก็เป็นประโยชน์ให้กุลบุตรได้รู้ว่า ในสมัยหนึ่งคือสมัยสุนทรภู่คนมีความคิดเห็นอย่างไร จะถูกหรือผิด เชื่อได้หรือไม่ ก็เป็นหน้าที่ของคนสมัยนี้จะต้องพิจารณาเอาเอง   และถ้าจะพูดกันไปจริง ๆ แล้ว   คำกล่าวของสุนทรภู่ที่คุณเห็นว่าไม่สมควรนั้น ก็ยังมีคนถือเอาไปเป็นหลักปฏิบัติอยู่ในสมัยนี้มากมายมิใช่หรือ”

                นอกจากคำว่า “สุนทรคึก” แล้ว ยังมีแฟนนักอ่านสยามรัฐอีกท่านหนึ่ง    เขียนมาชม “คึกฤทธิ์ ปราโมช” ว่า เป็น “กวีเอกเฉกภู่...”

             “คุณปั๋น ทิพย์เนตร” (คอลัมน์ ตอบปัญหาประจำวัน) เขียนชม “คึกฤทธิ์ ปราโมช” ว่าเป็น

           “กวีเอกเฉกภู่ตู้วิชา”
ถาม    “ประดักประเดิดเกิดปัญหาไม่น่าถาม         แต่ก็ห้ามความสงสัยไว้ไม่อยู่

           ช้างพระอินทร์ปิ่นสวรรค์ครานั้นดู            ซุ้มประตูรับเสด็จฯเกินเจ็ดงา

                อะไรแน่แก้ปมให้ผมหน่อย                      จะนั่งคอยอ่านพจน์บทกังขา

                กวีเอกเฉก “ภู่” ตู้วิขา                                 ไขปัญหากระจิริดที่ติดใจ”

                                                                                                                ปั๋น ทิพย์เนตร
                                                                                                                วรจักร พระนคร
 “คึกฤทธิ์ ปราโมช” ตอบว่า
          “อันช้างพระอินทร์ปิ่นสวรรค์             คือเอราวัณตัวกล้า
                สามสิบสามเศียรอลงการ์                  เศียรหนึ่งเจ็ดงางามงอน

                เอาสามสิบสามคูณเจ็ด                      ได้สองร้อยสามสิบเอ็ดงาสลอน

                เห็นเกินเจ็ดงาแน่นอน                        คุณอย่าเดือดร้อนไปเลยครับ”




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ