ReadyPlanet.com
dot dot
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม

การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
มอง(ต่างมุม)จากกรณีของมาเลเซีย
 
 
เจน สงสมพันธุ์
นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
…………………………………………………………………………………………………………………
 

แหล่งวัตถุดิบสำคัญที่สุดของงานเขียนที่ดีก็คือ คัมภีร์กุรอานและฮาดิช (คำสอนของท่านนบีโมฮัมหมัด) สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพลังและความคิด เสริมให้เรื่องหนักแน่นขึ้น ช่วยให้นักเขียนสามารถสร้างตัวละครที่สมจริง สามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในงานเขียน และพัฒนาตัวละครให้เป็นบุคคลสมบูรณ์ การที่จะสร้างงานร้อยแก้วหรือร้อยกรองจากแหล่งวัตถุดิบเหล่านี้มิใช่เรื่องง่ายเลย แน่ละ..ต้องมีความชัดเจน นอกจากนั้นแล้วนักเขียนต้องเป็นนายภาษา สามารถหยิบเทคนิคทางภาษามาใช้ให้สอดคล้อง มีความช่ำชอง แล้วจึงลงมือเขียน

ชะห์นูน บิน อะหมัด

จากนิตยสารเอเชียวีค ฉบับ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๒

 
 

ชะห์นูน บิน อะหมัด ผู้เขียน “ทาสแผ่นดิน” กับอุสมาน (โอซามะ) อาหวัง กวีที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนคาบสมุทรมลายู นับเป็นนักเขียนรุ่นก่อตั้งของสมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย พวกเขาก่อตั้งสมาคมในแบบ “พลัดถิ่น” เพราะรัฐบาลไม่ให้ความเหลียวแล มิหนำซ้ำยังถือว่านักเขียนเหล่านี้เป็นฝ่ายตรงกันข้ามอีกด้วย ทั้งที่การก่อเกิดของสมาคมนักเขียนหรือ PENA นั้นเกิดในสมัยที่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว สำนักงานของสมาคมนักเขียนมาเลเซียจึงไปตั้งอยู่ที่เกาะสิงคโปร์ ปัจจุบันสมาคมนักเขียนของมาเลเซียนอกจาก PENA แล้วยังมีการก่อตั้ง CAPENA ของนักเขียนรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกหนึ่งสมาคม ทั้งสองสมาคมมีเครือข่ายนักเขียนแยกย่อยประจำรัฐต่าง ๆ

                แม้ชายแดนของไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซียจะต่อกัน ผู้คนเคยไปมาหาสู่ ใช้ภาษาเดียวกัน ภาษาในท้องเรื่องของชะห์นูนจะเหมือนกับภาษาของคนสายบุรี แต่ในสมัยนี้ความถ่างของความสัมพันธ์เพิ่มมากกว่าสมัยเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้วมามากมาย เมื่อเราอ่านข่าวการเสียชีวิตของ โอซามะ บิน ลาเดน ทำให้เราอาจจะไม่คิดว่าชื่อแบบนี้ก็มีในบ้านเรา เพราะหากเราย้อนกลับไปเพียงชั่วอายุคนคำว่ามะหะหมัดนั้น คนไทยเรียกย่อว่า “หมาด” ร้านโรตีบังหมาดที่อยุธยาจึงไม่ใช่ภาษาที่แปลก และนั่นหมายถึงเมื่อเราได้ยินชื่อบินลาเดน อาจทำให้เรานึกชื่อไทย ๆ ของเขาได้ว่า “โอซามะ” นั้นก็คือ “อุสมาน” คำกลางที่ใส่ “บิน” เข้ามาย่อมหมายถึงลูกชาย เหมือนเรื่องสั้นของไพฑูรย์ ธัญญา ที่ชื่อละครคือบิน อะซัน ก็คือเป็นลูกชายของอะซัน เป็นต้น

                ความห่างโดยเวลาไม่นานทำให้เราห่างกันเกือบทุกเรื่อง ขณะที่โลกตะวันตกใกล้เราเข้ามาทุกขณะจิต กลายเป็นโลกไร้พรมแดน

                โลกไร้พรมแดนก้าวข้ามประเทศอาเซียน เหมือนลัดนิ้วมือเดียว ทำให้เราสัมผัสโลกที่แข็งแรงด้วยระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ได้มากกว่าคนที่อยู่ใกล้แค่จมูก

                การรวมตัวของประชาคมอาเซียนในระยะที่ผ่านมาก็มิได้หลอมรวมผู้คนเข้าเป็นประชาคม ยิ่งมองว่าวัฒนธรรมเป็นเรื่องรอง จิตวิญญาณของผู้คนถูกทอดทิ้ง ความทิ้งห่างยิ่งขยายตัวออก เช่นเดียวกันความร่วมมือต่าง ๆ เมื่อไม่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างคนในสังคม มีเพียงการค้าขายเอากำไร ยึดติดกับผลประโยชน์ ย่อมหาความเป็นมิตรได้ยาก

                ในปี ค.ศ. ๒๐๐๐ สถาบันเดวาน บาฮาซา ดาน พุสทากา หรือสถาบันภาษาและหนังสือของประเทศมาเลเซีย ได้รวบรวมผลงานเด่นของนักเขียนอาเซียนออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ๑ เล่ม ภาษามลายู ๑ เล่ม เป็นรวมเรื่องสั้นชื่อ “คนบนสะพาน” (นำเอาเรื่องสั้นของไพฑูรย์ ธัญญา เป็นชื่อปก) หรือ People on the Bridge (An anthology of ASEAN shot story) หรือ Orang di Jambaan ในภาคภาษามลายู ทำให้เราเห็นผลงานเรื่องสั้นของนักเขียนรุ่นใหม่ที่เป็นกระดูกสันหลังคนสำคัญของภูมิภาคนี้อย่างเช่น

                นักเขียนบรูไน เช่น มุสลิม เบอรมัต เลอมัน อะหมัด ฮัจยีมูฮัมหมัด ซาและห์ลาติฟฟ์ มุสสิดี เพ็งหิรัญ ฮัจยีอาลี

                นักเขียนอินโดนีเซีย เช่น ปูตู วิจายา มาเรียน คาต็อปโป บูดี ดารมา อุมาร์ คะยัม โกราซอน โปอีค อะหมัด โตฮารี

                นักเขียนมาเลเซีย เช่น ซามัด ซาอิด อับดุลเลาะห์ อุสเซน อารีนะ วะตี เกมาลา อะซีซี ฮัจยีอับดุลลาห์ ซิตี ไซนอน อิสมาอิล อุสมาน กะลันตัน เกริส มาศ ชะห์นูน อะหมัด

                นักเขียนฟิลิปปินส์ เช่น นิค โจอาควิน เอดิเบอโต ติเอมโป อัลเฟรด ยูซัน บิเอนเวนิโด ซันโตส

                นักเขียนสิงคโปร์ เช่น มะสุหรี เอสเอ็น หว่อง เม็งวุน บาลากริชนัน อาร์เธอร์ ยัป สุรัตมัน มารกาซัน โฮ มินฟอง

                และนักเขียนไทยที่ได้รับการเลือกเรื่องไปแปล เช่น อัศศิริ ธรรมโชติ วาณิช จรุงกิจอนันต์ ไพฑูรย์ ธัญญา ศิลา โคมฉาย อัญชัน และกนกพงศ์ สงสมพันธุ์

                สถาบันเดวาน บาฮาซา ดาน พุสทากา เป็นสถาบันที่มีภารกิจเกี่ยวกับการพิมพ์ การศึกษา การอ่าน การวิจัยวรรณกรรม และการสร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหน่วยงานอิสระที่รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันบาฮาซา (ภาษา) ในคาบสมุทรมลายูต่างก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกับสถาบันเดวานของมาเลเซีย ดังนั้นการพูดถึงภารกิจและการดำเนินงานของสถาบันเดวานในมาเลเซีย คงทำให้เห็นภาพโดยรวม (ซึ่งแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด)

                สถาบันเดวานแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เพื่อปกป้องภาษามลายูและวรรณกรรมมลายู เกิดขึ้นท่ามกลางการเรียกร้องเอกราชจากการครอบครองของอังกฤษ ที่กำลังทำให้จิตวิญญาณของคาบสมุทรมลายูหายไป บทบาทอันยาวนานทางด้านของการส่งเสริมวรรณกรรมจึงทำให้สถาบันแห่งนี้กลายเป็นผู้กุมชะตากรรมการศึกษาด้านภาษาและวรรณกรรมของมาเลเซียไปโดยปริยาย กล่าวคือเป็นผู้พิจารณาว่าวรรณกรรมเรื่องใดจะได้รับการเลือกเป็นแบบเรียนของแต่ละปี นั่นหมายความว่าหากสถาบันเดวานเลือกหนังสือเล่มใด หนังสือเล่มนั้นจะได้รับการพิมพ์เพียงพอต่อการแจกจ่ายไปยังทุกโรงเรียน นักเขียนจะได้ค่าลิขสิทธิ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย เรียกว่าสามารถตั้งตัวได้เลย

                ที่ทำการสถาบันเดวานเป็นอาคารสูงโดดเด่นอยู่ในย่านเมอเดก้าเก่า ชั้นล่างสุดเป็นร้านหนังสือ ที่ทำให้เรารู้โดยทันทีว่าสถาบันแห่งนี้ให้ทุนหน่วยงานในการผลิตหนังสือ นิตยสาร หลายเล่ม หลายสาขา ตั้งแต่วรรณกรรม ไปจนถึงเทคโนโลยี ชั้นสามและสี่เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ เป็นเก็บรวบรวมหนังสือ วารสาร ตำรา เอกสารโบราณ ฯลฯ โดยมีภารกิจหลักคือการเก็บรวบรวมงานพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับโลกมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นเอกสารภาษาจีน เยอรมัน ไทยหรืออื่น ๆ หน้าที่ประการต่อมาคือการให้บริการแก่คนทั่วไปที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อศึกษาวิจัย

                เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๑ ยูเนสโกได้มอบรางวัลดีเด่นในการบริการข้อมูลเกี่ยวโลกมุสลิมให้กับห้องสมุดของสถาบันนี้ด้วย

                ในเรื่องวรรณกรรม สถาบันแห่งนี้มีภารกิจ ๓ ประการคือ

๑.       ดูแลเรื่องภาษา

๒.     ดูแลส่งเสริมวรรณกรรม

๓.      ดูแลส่งเสริมการผลิตหนังสือ

วรรณกรรมในมาเลเซียถูกแยกออก ๗ สาขา คือ วรรณกรรมสมัยใหม่ วรรณกรรมคลาสสิค วรรณกรรมเปรียบเทียบ วรรณกรรมวิจารณ์ วรรณกรรมแห่งชาติ วรรณกรรมระหว่างประเทศ และการผลิตงานวรรณกรรม

การผลิตวรรณกรรมของสถาบันแห่งนี้ไม่มีเรื่องขาดทุน เพราะอาศัยงบประมาณจากรัฐ หนังสือที่ผลิตออกมาสามารถขายเพื่อทำรายได้ให้กับตัวเอง ไม่ต้องส่งเงินคืนรัฐ เพราะเป้าหมายคือการส่งเสริมหรืออุดหนุน สถาบันแห่งนี้จึงต้องคิดสร้างสรรค์ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการสัมมนา การพิจารณารางวัลนักเขียนแห่งชาติ อุดหนุนเงินค่าเดินทางแก่นักเขียนแห่งชาติเมื่อได้รับเชิญไปสัมมนาที่ต่างประเทศ โดยที่พักนั้นต้องสมฐานะ (ระดับห้าดาว)

งานพิมพ์วรรณกรรมของสถาบันเดวานเริ่มต้นที่ ๖๐,๐๐๐ เล่ม (หากเป็นหนังสือแบบเรียน) และ ๑๐,๐๐๐ เล่ม (สำหรับวรรณกรรมทั่วไปที่ไม่ใช่แบบเรียน) นอกจากนี้แล้วสถาบันเดวานยังได้งบสนับสนุนจากธนาคารโลกสำหรับพิมพ์หนังสือแบบเรียนที่เป็นหนังสือดีที่ควรจะได้อ่าน

อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมที่โดดเด่นของคาบสมุทรมลายูที่มีความเข้มข้นมาจากกระแสเรียกร้องอิสรภาพ เมื่อมาถึงยุคใหม่ได้กลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้นักเขียนในพื้นที่ตรงนั้นมีกรอบคิดบางอย่าง รวมกับบทบาทของการเขียนในกรอบศาสนา ทำให้การพัฒนาไปสู่สากลหรือการเขียนในเชิงสากลของกลุ่มประเทศมุสลิมมีนักวรรณกรรมมลายูวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาว่า ล้าหลังกว่าการเขียนของวรรณกรรมไทย

อับดุล ราซัค ปาแนมาแล ได้เขียนเรื่องข้อจำกัดทางเสรีภาพในโลกจินตนาการ ที่เป็นปรากฏการณ์การอ่านและการเขียนในโลกมุสลิมไว้ว่า ซัลมาน รุสดี ถูกคำสั่งฟัตวาให้สังหารชีวิตจากผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งอิหร่าน อายาตุลละห์ อิมหม่าม-โคไมนี ฐานเพราะไปเขียนนวนิยาย The Santanic Verses ในหมู่นักอ่านมุสลิมเกิดปฏิกริยาต่อต้านถึงขนาดออกมาประท้วงกลางถนน ไม่พอใจที่ศาสนาของตนถูกดูหมิ่นดูแคลน ผ่านนวนิยายเล่มนี้

งานเขียนแม้จะเป็นโลกสมมุติและจินตนาการ ในทัศนะอิสลามแล้ว ต้องเคารพต่อเตาฮีด หรือต้องเคารพต่อศรัทธาศาสนา ทุกอย่างที่เป็นงานเขียนซึ่งปรากฏต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นตำรา นิยาย การ์ตูน ภาพยนตร์ หากมีการหมิ่นเหม่หรือดูหมิ่นดูแคลนศาสนา ทั้งโดยเจตนาหรือไม่เจตนา จะได้รับการประนามหรือวิพากษ์จากมุสลิมโดยไม่มียกเว้น ภาพการ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัดที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของสวีเดน จึงถูกมุสลิมทั้งโลกรุมประณาม

นักเขียนรางวัลโนเบล อย่างนากิ๊บ มาห์ฟูซ ก็เคยถูกปองร้ายจากคนกลุ่มหนึ่งที่บอกว่านวนิยายของมาห์ฟูซหมิ่นเหม่ต่อศาสนาอิสลาม หรือขัดกับความคิดผู้อ่าน นี่เองเมื่อเกิดเรื่องขึ้นกับซัลมาน รุสดี มาห์ฟูซจึงเป็นผู้หนึ่งที่ออกมาปกป้องและอธิบายว่ารุสดีกระทำไปเพราะเข้าใจศาสนามากกว่าคนอีกหลายคน การปกป้องศาสนาโดยไม่คิดวิพากษ์ก็เท่ากับทำลายศรัทธาในศาสนา

อย่างไรก็ดี แม้ว่าศาสนาดูจะเป็นข้อจำกัดในการเขียน แต่อีกด้านหนึ่งเราต้องยอมรับว่าพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ที่เป็นกีตาบ (ตำรา) ซึ่งประชาชาติมุสลิมทั้งโลกยึดเป็นแนวปฏิบัตินั้น มันคือโคลงหรือกวีนิพนธ์ชั้นเยี่ยม ภาษาสำนวนมีชั้นเชิงสูงส่ง สวยงาม การถ่ายทอดเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ ทำให้การอ่านคัมภีร์มีความตื่นเต้นเช่นเดียวกับอ่านนวนิยาย ด้วยภาษากวี

อยู่ที่ว่าวิธีการแบบนี้จะสามารถแหวกออกมาเป็นวรรณกรรมสมัยใหม่ ท่ามกลางข้อจำกัด เหมือนที่กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ นำเอาข้อจำกัดของเรื่องเล่าแบบดั้งเดิมของละติน มาใช้เป็นวิธีในการเขียนได้อย่างลงตัว หรือเหมือนกับที่ชะห์นูน บิน อะหมัด ได้ให้ความคิดเอาไว้ว่าที่จริงหากมองว่าการเล่าเรื่องมิได้เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด แต่มาจากการสะสม ประกอบสร้างหรือต่อยอด เรื่องราวในพระคัมภีร์ก็เป็นทุนก้อนใหญ่สำหรับโลกมุสลิม เช่นเดียวกับที่ไบเบิลคือทุนก้อนใหญ่ให้อองเดร ฌีด นักเขียนฝรั่งเศส คว้ารางวัลโนเบลนั่นเอง

................................................................................

จาก หนังสือ ร่องรอยกาลเวลา : อ่านเขียนเรียนรู้เพื่อนบ้านอุษาคเนย์ ,ชินวัมน์ ตั้งสุทธิจิต บรรณาธิการ




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ