ReadyPlanet.com
dot dot
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง

พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
ในพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
 
แนะนำโดย    สมเกียรติ อ่อนวิมล
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงได้รับการสรรเสริญจากองค์การสหประชาชาติว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกผู้ทรงพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนามนุษย์ การพัฒนาภูมิปัญญาของมนุษย์ ผ่านงานวรรณกรรมของพระองค์ก็อยู่ในส่วนของพระอัจฉริยภาพด้านนี้ของพระองค์ด้วย มีผลงานวรรณกรรมของพระองค์สี่เรื่อง คือ :

(1) พระมหาชนก” (ฉบับภาษาไทย) หรือ “The Story of Mahajanaka. (ฉบับภาษาอังกฤษ)

(2) นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ พระราชนิพนธ์แปลจากเรื่อง “A Man Called Intrepid” โดย William Stevenson

(3) ติโต พระราชนิพนธ์แปลจากเรื่อง“Tito: Ballantine's illustrated history of the violent century” War leader book, no. 10โดยPhyllis Auty

(4) เรื่องทองแดง” (ฉบับภาษาไทย) หรือ “The Story of Tongdaeng” (ฉบับภาษาอังกฤษ) 

เฉพาะสามเรื่องแรก เป็นพระราชนิพนธ์แปล ที่จะขอแนะนำเชิงวิพากษ์ตามลำดับต่อไปนี้:

 
(1)
“พระมหาชนก”

เรื่อง พระมหาชนก เป็นงานพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

อดุลยเดชทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ ตรงจากมหาชนกชาดก ในพระไตรปิฎก ส่วนพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 2 ปรับแต่งดัดแปลงเล็กน้อย เพื่อให้เข้าใจง่าย และสอดคล้องกับยุคสมัยและปัญหาโลกปัจจุบัน เป็นหนังสือที่ทรงพระพระราชนิพนธ์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย มีฉบับพิเศษพิมพ์ทั้งสองภาษาโดยสำนักพิมพ์อมรินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2542 หลังจากการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2539 นับเป็นหนังสือที่สวยงามที่สุดในประวัติศาสตร์การพิมพ์ ด้วยภาพเขียนประกอบโดยจิตรกรที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย 10 คน รวม 37 ภาพ

และภาพนางมณีเมขลาพยากรณ์อากาศอันเป็นภาพฝีพระหัตถ์จากคอมพิวเตอร์ของพระองค์
เรื่อง พระมหาชนก เป็นชาดกโบราณในคัมภีร์ศาสนาพุทธ เมื่อทรงนำมานำเสนอใหม่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์จึงประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพของพระองค์

ในฉบับภาษาอังกฤษ สำนวนภาษาอังกฤษแบบยุคกลาง หรือ Middle English ดั่งที่ J.R.R. Tolkien ใช้ใน The Lord of the Rings จึงปรากฏใน เรื่อง พระมหาชนก แต่ก็ไม่มากจนถึงกับอ่านยาก เพราะมีสำนวนภาษาสมัยใหม่ที่ออกจะสนุกสนาน พร้อมด้วยคำภาษาสันสกฤตโบราณเขียนด้วยตัวอักษรเทพนาคลีของอินเดีย สอดแทรกผสมผสานพระอารมณ์ขัน

วิทยาการสมัยใหม่ และความเป็นไทย ดังตัวอย่างบางตอนต่อไปนี้ :

“Any enterprise that is not achieved through perseverance, is fruitless;

Obstacles will occur. When any enterprise undertaken with such misdirected effort results in death showing his face, what is the use of such enterprise and misdirected effort?”

การงานอันใด ยังไม่ถึงที่สุดด้วยความพยายาม การงานอันนั้นก็ไร้ผล มีความลำบากเกิดขึ้น การทำความพยายามในฐานะอันไม่สมควรใด จนความตายปรากฏขึ้น ความพยายามในฐานะอันไม่สมควรนั้น จะมีประโยชน์อะไร

 

นางมณีเมขลากล่าวต่อพระมหาชนกที่กำลังเพียรพยายามฝ่าคลื่นลมและกระแสน้ำแห่งมหาสมุทร โดยวันเวลาผ่านไปแล้ว เจ็ดวัน เจ็ดคืน มิมีวี่แววว่าจะเห็นฝั่งแผ่นดิน แต่พระมหาชนกก็มิเห็นด้วยกับคำของนางมณีเมขลา เทพธิดาแห่งท้าวโลกบาลทั้งสี่ ผู้ถูกส่งมาดูแลสัตว์โลกผู้ประกอบคุณความดี มิสมควรสิ้นชีวิตในมหาสมุทร พระมหาชนกโต้แย้งนางมณีเมขลาว่า :

“Hark, o Goddess! Anyone who knows for sure that his activities will not meet with success, can be deemed to be doomed; if that one desists from perseverance in that way, he will surely receive the consequence of his indolence.”

ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำจะไม่ลุล่วงไปได้จริง ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน ถ้าผู้นั้นละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่งความเกียจคร้าน

 

 “Hark, o Goddess! Some people in this world strive to get results for their endeavours even if they don’t succeed”

ดูก่อนเทวดา คนบางพวกในโลกนี้เห็นผลแห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบการงานทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม

 

“Hark o Goddess! You do see clearly the results of actions, don’t you? All the others have drown in the ocean; we alone are going to endeavour further to the utmost of our ability; we are going to strive like a man should to reach the shores of the ocean.”

ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็นผลแห่งกรรมประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆจมในมหาสมุทรหมด เราคนเดียวยังว่ายข้ามอยู่ และได้เห็นท่านมาสถิตอยู่ใกล้ๆเรา เรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำความเพียรที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร

 

นี่คือหัวใจของพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก หัวใจของเรื่องคือ “ความเพียร ที่ต้องยึดมั่น แม้เทวดาจะแสร้งท้วงติงอย่างไร ก็ต้องโต้แย้งเทวดาได้ เมื่อพระมหาชนกทรงยึดมั่นในความเพียร นางมณีเมขลาจึงมั่นใจว่าพระองค์ทรงเป็นผู้บำเพ็ญเพียรโดยแม้ มิสมควรตายในมหาสมุทร นางจึงได้ช่วยพาพระมหาชนกไปครองมิถิลานคร แห่งชมพูทวีปต่อไป

พระมหาชนกขอพระราชมารดาเสด็จไปสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยก่อนไปกู้บ้านเมืองที่มิถิลานคร เพราะสุวรรณภูมิมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์จะได้ค้าขายแลกเปลี่ยนเพื่อสะสมความพร้อมในการกู้อาณาจักรมิถิลานคร และมิถิลานครยุคโลกาภิวัตน์ในพระจินตนาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดูเป็นเมืองอวิชชาที่ฟอนเฟะ ผู้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ต้นมะม่วงทั้งต้นถูกโค่นล้มทะลาย เพราะอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนชาวมิถิลานคร เพียงเพราะต้องการกินผล เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรถูกใช้ทำลายระบบการเกษตรทั้งหมด ดุจการล้มมะม่วงทั้งต้น พระมหากษัตริย์จึงทรงพระราชทานเทคโนโลยีแห่งโครงการหลวงฟื้นฟูมะม่วง 9 ประการ คือ :

1.  Seed culture| เพาะเม็ดมะม่วง

2. Root Nursing| ถนอมราก

3. Cutting Culture| ปักชำ

4. Grafting | เสียบยอด

5. Bud-Grafting  | ต่อตา

6. Branch Splicing| ทาบกิ่ง

7. Branch Layering| ตอนกิ่ง

8. Tree Smoking| รมควัน

9. Cell/Tissue Culture| ชีวาณูสงเคราะห์ หรือ ปลูกเนื้อเยื่อ

พระมหากษัตริย์แห่งมิถิลานครทรงมีโครงการในพระราชดำริเพื่อฟื้นฟูประเทศชาติถึง 9 วิธี แต่มหาอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนกลับไม่รับสนองพระบรมราชโอการเลย ทุกคนต่างแต่จะโค่นต้นมะม่วง เพื่อเอาเป็นของตนเองทั้งหมดเอาไปกินเองที่บ้านคนเดียวครั้งเดียว

หนทางฟื้นต้นมะม่วงกอบกู้มิถิลานครจึงมืดมน แล้วพระมหาชนกจะทรงครองนครให้รุ่งเรื่องได้อย่างไร เมื่อประโยชน์ส่วนตนเข้ามาแทนที่ความสามัคคี และความเสียสละ ความโง่เขลาเข้ามาอยู่เหนือความรู้ ความเกียจคร้านสิ้นหวังเข้ามาทำลายและความเพียร

นี่คือเรื่อง “พระมหาชนก” / “The Story of Mahajanaka” งานวรรณกรรมเรื่องที่หนึ่งพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

  
(2)
 

นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ

พระราชนิพนธ์แปล
โดย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

 [แปลจากเรื่อง “A Man Called Intrepid” โดย William Stevenson]


นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ คือชื่อหนังสือฉบับแปล

คำว่า “Intrepid” พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงแปลว่า นายอินทร์

เพียงแค่เริ่มแปลชื่อ Intrepid เป็น “นายอินทร์” ก็สะท้อนพระอัจฉริยภาพสองประการแล้ว เพราะหากเป็นนักแปลอาชีพทั่วไปแล้วก็จะต้องแปลตรงตัวว่า บุรุษผู้ชื่อว่า นายกล้าหาญ

หรือไม่ก็ ชายคนนั้นชื่อ Intrepid”

พระอัจฉริยภาพประการที่หนึ่ง คือความมั่นใจเด็ดเดี่ยวที่จะไม่แปลตามตัวอักษร แต่จะทรงแปลตามที่ควรจะเข้าในความหมายของคำและความหมายที่แฝงอยู่ในคำ เพราะ Intrepid เป็นชื่อ Code ปลอมตัวของสายลับหัวหน้าเครือข่ายจารกรรมของอังกฤษ ต่อต้าน Hitler และ Germany สมัยสงครามโลกครั้งที่สองในบทที่ 16 ของ A Man Called Intrepid อันเป็นตอนที่อธิบายที่มาของชื่อ Intrepid ต้นฉบับเขียนว่า:

“The manoeuvre which brings an ally into the field is as serviceable as that which wins a great battle,” Churchill had written in his autobiographical account of World War I. As prime minister in the second, he added that the man to bring in the Americans must be fearless. He paused, “Dauntless?” He searched for the right word while Stephenson waited. “you must be—intrepid!”

 
พระเจ้าอยู่หัวทรงแปลดังนี้:

อุบายวิธีที่ช่วยชักนำให้สัมพันธมิตรลงสนามร่วมรบมีความสำคัญพอๆกับยุทธวิธีที่นำชัยชนะในยุทธการครั้งใหญ่.นี่เป็นข้อเขียนของเชอร์ชิลล์ในอัตชีวประวัติตอนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง. ในฐานะนายกรัฐมนตรีตอนสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเพิ่มเติมข้อความว่า บุรุษที่จะชักนำพวกอเมริกันจะต้องเป็นคนไม่รู้จักกลัว. เขาหยุดตรองครู่หนึ่ง. จะเป็นเหี้ยมหาญดี

ไหม. เขาควานหาคำที่จะเหมาะ   สตีเฟนสันได้แต่คอย. คุณต้องเป็น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ!”

 

แล้วพระองค์ก็ทรงอธิบายความหมายเพิ่มเติมใส่ไว้ในวงเล็บ สำหรับผู้อ่านชาวไทย เพื่อความเข้าใจในตัวของนาย “Intrepid” หรือชื่อจริง William Stephenson หัวหน้าเครือข่ายจารกรรามข่าวกรองของ Churchill: “(Intrepid – ไม่รู้จักกลัว ไม่รู้จักหวาด กล้าหาญแต่ไม่เหี้ยม สู้ศัตรูทั้งภายนอกภายในอย่างไม่ท้อถอย ไม่น้อยใจ ไม่หยุดยั้ง รุกรันฟันฝ่า...)

การแปลชื่อ Intrepid เป็น นายอินทร์ ก็เป็นการอิงคำภาษาอังกฤษเดิมที่สะกด:

“INTRE – PID”

พยางค์แรก อ่านได้คล้ายชื่อ พระอินทร์หรือนายอินทร์ ที่มี ท-ร์(ท-ร-การันต์) ผู้ปิดทองหลังพระ

พยางค์หลัง PID ออกเสียงว่า ปิด ได้ในภาษาไทย และสามารถให้อรรถาธิบายได้ว่า

เป็นผู้ปิดทองหลังพระ

อิงคำว่า “PID” ในภาษาอังกฤษโดยดึงเอาความหมายในภาษาไทยออกมาได้

นี่เป็นพระอัจฉริยภาพอีกอย่างหนึ่ง ในด้านพระอารมณ์ขันเชิงวรรณศิลป์ ที่ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ได้ทั้งเนื้อหาความหมายที่ถูกต้องลึกซึ้ง และได้อารมณ์ขันที่อ่านได้อย่างสนุกสนาน เพราะสำนวนไทยที่ว่าปิดทองหลังพระ นั้นคือชีวิตจริงของสายลับที่มีสมญานามว่า “INTREPID” หรือนายอินทร์ สายลับทุกคนที่ร่วมงานจารกรรมในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทำทุกอย่างเพื่อต่อสู้ขวางทางรุกรานและให้มีชัยเหนือพวก Nazi Germany และ Hitler ผู้บ้าคลั่งอำนาจหมายครองโลก เมื่อทำแล้วต้องปกปิดเป็นความลับ ไม่บอกใครให้ทราบถึงวีรกรรมทั้งหมด ไม่ต้องการคำสรรเสริญเยินยอใดๆทั้งสิ้น

Intrepid และบรรดาสายลับจารชนทั้งหลายที่เรียกรวมกันว่า Baker Street Irregulars

ทำงานแบบปิดทองหลังพระจริงๆ การแปลชื่อ INPTREPID ว่านายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ จึงสมบูรณ์และลึกซึ้ง สะท้อนชีวิตและงานของ Intrepid และจารชนร่วมงานทั้งมวล อย่างถูกต้องที่สุด ยากยิ่งที่นักแปลอาชีพทั่วไปจะหาญกล้าแปลเช่นนี้ได้ การที่พระองค์ทรงให้คำอธิบายเพิ่มเติมในวงเล็บว่า (Intrepid – ไม่รู้จักกลัว ไม่รู้จักหวาด กล้าหาญแต่ไม่เหี้ยม สู้ศัตรูทั้งภายนอกภายในอย่างไม่ท้อถอย ไม่น้อยใจ ไม่หยุดยั้ง รุกรันฟันฝ่า...) ทั้งๆที่ในต้นฉบับไม่มี ก็เพราะต้องการให้ผู้อ่านชาวไทยได้เข้าใจ Intrepid อย่างลึกซึ้ง เพราะ ลำพังจะเรียกว่า นายอินทร์แล้วอธิบายตามสั้นๆว่าเป็นผู้ทำงานแบบ ปิดทองหลังพระ เฉยๆ นั้น ผู้อ่านจะขาดความลึกซึ้งถึงชีวิตจริงของมหาเศรษฐีนักบินผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่กลับมาใช้ชีวิตร่วมเป็นร่วมตายในสงครามโลกครั้งที่สองอย่างยึดความอยู่รอดของประเทศชาติเหนือชีวิต เมื่อต้องแปล พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเติมคำอธิบายเพิ่มว่า: “(Intrepid – ไม่รู้จักกลัว ไม่รู้จักหวาด กล้าหาญแต่ไม่เหี้ยม สู้ศัตรูทั้งภายนอกภายในอย่างไม่ท้อถอย ไม่น้อยใจ

ไม่หยุดยั้ง รุกรันฟันฝ่า...)

คุณสมบัติของ สายลับ หรือจารชนเช่น Intrepid นั้น ตัว Intrepid หรือ ชื่อจริง William Stephenson เองอธิบายไว้ และพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลว่า:

บุคคลที่เหมาะสมจะต้องมีคุณสมบัติหลายอย่างพร้อมกัน จะต้องมีทั้งความซื่อสัตย์สุจริตและความรอบคอบสุขุม ทั้งความเมตตาและความมุ่งมั่น. เขาจะต้องละสังคมที่มั่งคั่งและฟุ่มเฟือย เข้าสู่สังคมที่ต้องประหยัดกระเบียดกระเสียรและถูกความหายนะคุกคาม เขาจะต้องอดทนต่ออารมณ์ที่เคร่งเครียดและผลุนผลันของคนที่ตรากตรำเพราะภัยสงคราม

 

แม้ Intrepid จะพูดถึงคนที่จะมาเป็นหัวหน้าหน่วยจารกรรมฝ่ายอเมริกัน ที่จะทำงานเคียงคู่กับตัวเขาเอง แต่คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้นก็คือความเป็น Intrepid ที่ชัดเจน ส่วนนี้ในหนังสือเล่มนี้นี่เองที่สะท้อนคุณลักษณะของคนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชื่นชมอย่างที่สุด เมื่อพระองค์ทรงพบในตัว William Stephenson หรือ Intrepid ดังที่นาย William Stevenson ผู้เขียนหนังสือที่บังเอิญมีชื่อคล้ายกัน ได้เขียนเล่าไว้ด้วยแนวการเขียนที่ตื่นเต้นระทึกใจ และนี่คงจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาถึงสามปี แปล A Man Called Intrepid ให้พสกนิกรของพระองค์ทั้งประเทศได้อ่าน เพื่อว่าชีวิตที่เสียสละเพื่อชาติของ Intrepid และคณะจารชนใต้ดินอังกฤษทั้งหลายนับหมื่นนับแสนคนที่สละชีพเพื่อให้ชาติได้พ้นภัยสงครามไปได้ทั้งหลายเหล่านั้น จะได้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและสร้างประเทศชาติไทย โดยผู้นำและประชาชนที่มีคุณสมบัติเฉกเช่น “A Man Called Intrepid”

และสายลับปฏิบัติการใต้ดินทั่วยุโรปและอเมริกา และทั่วโลกที่ทำงานให้ William Stephenson เช่น:

    • Leslie Howard นักแสดงอังกฤษผู้แสดงเป็น Ashley Wilkes คนที่ Scarlet O’Hara หลงรัก ในภาพยนตร์เรื่อง “Gone with the Wind” (ชื่อไทยว่า “วิมานลอย” ชีวิตจริงที่ชาวโลกรู้จัก Leslie Howard เป็นพระเอกภาพยนตร์ ทว่าชีวิตลับของเขาคือสายลับกู้ชาติอังกฤษ ทำงานให้กับ William Stephenson หรือ Intrepid ขณะที่เขากำลังเดินทางกลับไปปฏิบัติงานให้ Intrepid ในอังกฤษ Leslie Howard เสียชีวิตเมื่อเครื่องบินที่เขาแอบโดยสารมา ถูกฝ่าย Germany ยิงตก เหนืออ่าว Biscay)
    • Greta Garbo ดาราภาพยนตร์สาวงามชาว Sweden
    • Noel Coward นักเขียนบทละครชาวอังกฤษ
    • Roald Dahl ผู้เขียนหนังสือสำหรับเด็ก “Charlie and the Chocolate Factory”
    • P.G. Wodehouse นักเขียนเรื่องสนุกของ Jeeves

และ

    • Ian Fleming ผู้เขียนเรื่อง James Bond 007
 

บุคคลที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ล้วนมีชีวิตลับเป็นหน่วยจารกรรมข่าวกรองเสี่ยงชีวิตเพื่อปฏิบัติการใต้ดินต่อต้าน Hitler, และ Nazi Germany ทั้งสิ้น ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของ

INTREPID ทุกคนล้วนเป็นนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระเช่นเดียวกับ William StephensonINTREPID ผู้เป็นหัวหน้าทั้งสิ้น หากไม่มีหนังสือที่เปิดเผยข้อมูลลับเรื่อง A Man Called Intrepid ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปล และให้ชื่อว่า นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ

ก็คงไม่มีใครทราบความจริงอันเป็นความลับแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นงานวรรณกรรมล้ำเลิศของโลกเฉกเช่นงานของ Homer, William Shakespeare, Charles Dickens หรือ Leo Tolstoy แต่ทำไมพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยามจึงได้ทรงอุทิศเวลาอันมีค่าของพระองค์ถึงสามปี เพื่อแปลหนังสือเล่มนี้

หากพระองค์จะอ่านและทรงรับประโยชน์จากเรื่องของนายอินทร์แต่เพียงอย่างเดียว เวลาอ่านวันเดียวก็คงพอเพียง การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลเรื่อง INTREPID เป็นภาษาไทยนั้นก็เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ได้ร่วมอ่านหาความรู้ รับความประทับใจไปด้วย

ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการอ่านพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ

จึงต่างกับจุดมุ่งหมายในการอ่าน “A Man Called INTREPID” ที่เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษ อ่าน

นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ นอกจากจะได้ความรู้ ข้อมูลลับสุดยอดยามสงคราม และความตื่นเต้นที่ได้จากเรื่องจริงที่ยิ่งกว่านิยายแล้ว ผู้อ่านชาวไทยจะต้องหาคำตอบให้ได้ว่า นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ นั้นสำคัญอย่างไรสำหรับพระเจ้าอยู่หัว และความสำคัญนั้นย่อมเป็นสิ่งที่พสกนิกรของพระองค์พึงต้องทราบ

หัวใจสำคัญของเรื่อง นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ คือเรื่องของคนดีที่เสียสละเพื่อชาติ

ตลอดความยาว 603 หน้า ล้วนเป็นเรื่องของคนดีที่ชาติต้องการทั้งสิ้น เมื่ออ่านจบจึงรู้ว่านี่คือลักษณะคนดีที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงต้องการสนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

Madelene (มาเดอเลน)  เป็นชื่อรหัส หรือ Code ลับ ของสายลับสาวสวย เลือดผสม อินเดีย กับ อเมริกัน ชื่อจริงว่า Noor Inayat Khan (นอร์ อินายัต ข่าน) สมัครและฝึกงานสายลับกับ นายอินทร์ เมื่ออายุ 25 ออกเดินทางไปกระโดดร่มลงที่ฝรั่งเศส และเริ่มหาที่หลบซ่อน แฝงตัว ทำหน้าที่ส่งข่าวผ่าน Code วิทยุสื่อสาร ได้นานสามเดือนครึ่ง ถูก ตำรวจลับ Gestapo จับตัวและกักขังในค่ายทรมานสังหารนักโทษนาน 10 เดือน และถูกประหารชีวิต ณ ค่าย ดัคเคา (Dachau) ใน Germany วันที่ 12 กันยายน 1944 ชีวิตที่สั้นนักของสายลับ มาเดอเลน นั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลเรื่องของ เธออย่างสะเทือนอารมณ์ยิ่งนัก ในบทที่ 27

หน้า 289 พร้อมทั้งทรงเพิ่มเติมเป็นคำอธิบายจากผู้แปลนอกเหนือไปจากที่มีในหนังสือต้นฉบับภาษาอังกฤษด้วย

เรื่องราวเสียงชีวิต และเอาตัวเข้าและกับข่าวกรองโดยงานจารกรรมของสายลับ

CYNTHIA อยู่ในบทที่ 35 ถึง 38 ให้อารมณ์ระทึกใจอีกแบบหนึ่ง ต่างไปจากความสะเทือนใจที่ได้จากเรื่อง ของมาเดอเลน CYNTHIA ไม่ตาย แต่พลีร่างกายให้กับงานจารกรรมอย่างไม่คำนึงถึงสิ่งใด นอกจากชัยชนะเหนือ Hitler ผู้คลั่งอำนาจ

เครือข่ายสายลับของ Intrepid อยู่ในอังกฤษ, New York, Canada, Bermuda, Trinidad, Jamaica และอีกหลายแห่งในโลก สายลับหลายแสนคน ส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครรับรู้ถึงวีรกรรม และจำนวนหลายหมื่นคนตายไป โดยไม่มีใครสดุดีอย่างเป็นทางการ

Ian Fleming จากกรมข่าวทหารเรืออังกฤษ ผู้ร่วมงานบริหารเครือข่ายจารกรรม และผู้ช่วยคนสำคัญของ Intrepid รู้เห็นเรื่องและวีรกรรมลับของจารชนทั้งหลาย ไม่สามารถเปิดเผยเรื่องลับเหล่านั้นได้ ดังนั้น Ian Fleming จึงเริ่มเขียนนวนิยายสายลับจารชน 007 หักเหลี่ยม สอบสวนสืบสวนเรื่องแรกชื่อ Casino Royale ในปี 1953INTREPID ตรวจต้นฉบับแล้วบอกกับ

Ian Fleming ว่า:

(น.357)

เรื่องอย่างนี้ขายไม่ออกหรอก. เรื่องจริงมักจะฟังดูแปลกไม่น่าเชื่อเสมอ...

สายลับ James Bond 007 ประสพความสำเร็จเป็นนิยายสายลับ ต่อเนื่องมา 14 เล่ม คนทั้งโลกยังอ่านมาจนทุกวันนี้

ชีวิตของ INTREPID และสายลับใต้ดินทุกคน ตื่นเต้น ระทึกใจยิ่งกว่าชีวิตของ James Bond และส่วนใหญ่ จบชีวิต โดยไม่มีใครรู้จัก แต่โลกไม่มีวันลืม 

 
(3)
 
ติโต
Tito
Ballantine's Illustrated History of the Violent Century,
War Leader Book, No. 10
โดย
Phyllis Auty
 
พระราชนิพนธ์แปล
โดย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
 

ติโตพระราชนิพนธ์แปล โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

จากเรื่อง Tito - Ballantine's Illustrated History of the Violent Century, War Leader Book, No. 10 เขียนโดย Phyllis Auty

พระราชนิพนธ์แปลโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เรื่องนี้ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2535 เล่มนี้ ในคำนำชี้แจงว่าทรงแปลจากต้นฉบับเรื่อง TITO ของ Phyllis Auty เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงบุคคลที่น่าสนใจคนหนึ่งของโลก แต่ในคำนำมิได้ลงรายละเอียดว่าเป็นหนังสือชื่อ Tito เล่มใดของ Phyllis Auty ในจดหมายอนุญาตเรื่องลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ Ballantine ก็บอกเพียงว่ายินดีที่พระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงแปลเรื่อง Tito ของ Phyllis Auty และจะไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ใดๆหากการจำหน่ายหนังสือเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล เมื่อดูจากจดหมาย ดังกล่าว, อ่านคำนำของหนังสือ และดูจากปก ก็จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์แปลจากต้นฉบับเล่มใหญ่ที่ใช้ชื่อ TITO: A Biography โดย Phyllis Auty ผู้เขียนคนเดียวกัน พิมพ์โดยแผนก Pelican Book ของสำนักพิมพ์ Penguin Books ซึ่งมีความยาวถึง 400 หน้า ครั้นมาดูที่ฉบับแปลก็พบว่ามีความยาวในแบบภาษาไทยเพียง 121 หน้าเท่านั้น จึงเกิดความสงสัยขึ้นว่าทำไมฉบับภาษาไทยจึงสั้นกว่าฉบับภาษาอังกฤษมากมายนัก เมื่อลองเริ่มเปรียบเทียบบทแปล บทต่อบท ประโยคต่อประโยค ก็พบว่าไม่เหมือนกัน และดูจะเป็นคนละเล่มกันเลย ลองย้อนไปพลิกดูจดหมายตอบจาก Phyllis Auty ผู้เขียน ในหน้า (๖) ที่ตอบอย่างปลื้มปิติในการที่พระเจ้าอยู่หัวของไทยทรงจะแปลงานชิ้นสำคัญของ Phyllis Auty เพื่อเผยแพร่เป็นการกุศลในประเทศไทย จึงทราบชัดเจนว่า ต้นฉบับที่แท้จริงคืออีกเล่มหนึ่ง ชื่อ Tito, Ballantine's Illustrated History of the Violent Century, War Leader Book, No. 10,
by Phyllis Auty
พิมพ์เมื่อปี 1972 เป็นเล่มเล็ก ฉบับย่อ พิมพ์หลังเล่มใหญ่ของผู้เขียนคนเดียวกัน สองปี เรื่องของ ติโต ในหนังสือชุดผู้นำสงครามในประวัติศาสตร์ศตวรรษแห่งความรุนแรง เล่มที่ 10 ว่าด้วยเรื่องของ Tito ผู้นำการรบต้านภัย Nazi กู้ชาติ Yugoslavia ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกแปลจากเล่มที่สั้นและย่อกว่า มีความยาวเพียง 121 หน้านั้น นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้อ่านที่ต้องการทำความรู้จักขั้นเริ่มต้นกับคนดีของโลกอีกคนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่ควรอ่านเป็นหนังสือนอกเวลาเรียน ไม่ว่าโรงเรียนจะกำหนดเป็นทางการหรือไม่ก็ตาม

Josip Broz คือชื่อจริง

Tito คือชื่อที่เป็นสมญานามของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง Yugoslavia ผู้เริ่มต้นชีวิตจากลูกชาวนา หรือที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า "ทหารลูกทุ่ง" (หน้า ๕)

เพราะ Josip Broz หรือ Tito เกิดมาในครอบครัวที่แม้ไม่ถึงกับยากจนนัก แต่ก็ต้องดิ้นรนเพราะมีพี่น้องรวมกันถึง 9 คน ออกจากโรงเรียนไปทำงานล้างจานในค่ายทหารตั้งแต่อายุ 12

ไปฝึกงานในอู่ซ่อมรถยนต์ตอนอายุ 15 เร่ร่อนเปลี่ยนงานจนอายุ 20 สมัครเป็นทหารเกือบเอาชีวิตไม่รอดในสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกรัสเซียจับเข้าค่ายกักแล้วแหกคุกหนี ถูกจับอีก แล้วหนีอีก

กลับมา แอบเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ของ Yugoslavia เรียกว่าพวก Partisan สร้างสมผลงานและบารมี จนกลายเป็นหัวหน้าพรรค เป็นหัวหน้าแนวร่วมกู้ชาติจน รวมประเทศ Yugoslavia จากความแตกแยกสมัยสงครามได้สำเร็จ

ติโต คือเด็กช่างกลลูกชาวนาได้ดี กลายเป็นสุดยอดของผู้นำโลกคนหนึ่ง ทั้งๆที่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง Yugoslavia ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ ในหน้า ๕๙ บอกชัดเจนว่า

"ติโตเองก็มีจุดยืนที่เหนียวแน่น เขาเป็นคอมมิวนิสต์ขนานแท้ และเป็นปรปักษ์อย่างรุนแรงต่อรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเดิม ซึ่งมีนโยบายให้เซอร์เบียเป็นศูนย์กลางประเทศ"

 

ความเป็นคนดี คนน่าสนใจของ Tito คือการเป็นผู้นิยมอุดมการณ์คอมมิวนิสต์แบบอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การครอบงำของ Stalin แห่งสหภาพโซเวียต อิสระในความคิดที่ไม่นิยมระบบนารวม อิสระที่ต้องการให้ให้ชนทุกเผ่าพันธุ์กลับมาร่วมความเป็นชาติเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ให้รวม Kosovo, Croatia, Serbia, Montenegro, Bosnia, Herzegovena, Slovania กลับมาเข้าอยู่ด้วยกัน ในที่สุด “ติโต” (Tito) ก็รวมชาติ Yugo-Slav ได้สำเร็จ เป็นผู้นำกองทัพใต้ดินจากจำนวน 1,000 มาเป็น 800,000 คน แม้ Germany ของ Hitler ก็ต้องปล่อยให้ชัยชนะเป็นของ Tito ลักษณะเด่นของ Tito คือการที่มีความมุมานะนึกถึงประชาชนผู้ยากไร้ นึกถึงชาติเป็นเป้าหมายใหญ่ และพร้อมที่รับความจริงว่าชัยชนะที่เป็นเป้าหมายนั้นต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือจากมิตรรอบด้านให้มากที่สุด ผสานกับการให้การศึกษากับตัวเองและประชาชนทั้งมวลอย่างต่อเนื่อง Tito กล่าวว่า:

"การดำเนินการศึกษาอย่างไม่หยุดยั้ง นี้ มีความสำคัญมาก" (น.๙๑)

 

การที่ต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุ 12 มิได้ทำให้ Tito หยุดการศึกษาด้วยตนเอง

Tito จึงกลายเป็นนักคิด นักรบ และนักต่อสู้เพื่อชาติ Yugoslavia ซึ่งอธิบายไว้ (น.๑๒๑) ว่า:

"เขาเป็นผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เปลี่ยนวิถีแห่งประวัติศาสตร์ในประเทศตน และผู้ได้ผนวกบทใหม่เข้าในตำนานของลัทธิคอมมิวนิสต์ตอนศตวรรษที่ยี่สิบ"




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ