ReadyPlanet.com
dot dot
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์

 

ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์

ทองแถม นาถจำนง
นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล

            บทความนี้ข้าพเจ้าตัดตอนและปรับปรุงจากปาฐกถาเรื่อง “ข้อเสียของประวัติศาสตร์” ซึ่งข้าพเจ้าเสนอในงานประจำปีอนุสรณ์สถานประชาชน-อีสานใต้ อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ เมื่อ พ.ศ 2545  

                ข้าพเจ้าตัดเรื่องยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสังคมออกไป    เพิ่มเติมเนื้อหาการยกตัวอย่างขยายความบ้าง    

                เรื่องนี้แม้จะเสนอมาสิบปีแล้ว แต่ปัญหาของวิชาประวัติศาสตร์ก็ยังคงเหมือนเดิม

                ในโอกาสเปิด “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านโคกเขา”    ข้าพเจ้าได้รับเชิญให้มาปาฐกถา   ซึ่งอันที่จริงก็คือการมาเล่าให้พี่น้องและสหายฟังนั่นเอง

             เนื่องจากในวันนี้เราได้เปิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เจ้าภาพผู้จัดงานต้องการให้พูดเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์   ข้าพเจ้าจึงขอแสดงทัศนะเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั่วๆ ไป ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอีสานใต้ ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนและขออนุญาตพาดพิงไปถึงอนาคตของการต่อสู้ของภาคประชาชนในขอบเขตสากลด้วย

                วันนี้ ชาวบ้านที่นี่มีพิพิธภัณฑ์ฯของตนเองแล้ว พิพิธภัณฑ์นี้จะจัดแสดงอะไร ?เนื้อหาก็คงจะมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งของที่ตั้งแสดงอยู่วันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ยังจะต้องช่วยกันระดมสมองปรึกษาหารือกันอีกว่า จะจัดทำให้เป็นรูปธรรมอย่างไร ซึ่งเนื้อหาส่วนหนึ่งก็คงต้องมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ,ประวัติการต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นนี้

                พูดถึงประวัติศาสตร์ ทุกคนบอกว่าประวัติศาสตร์นั้นสำคัญ เป็นวิชาหนึ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้ ต้องเรียนกันตั้งแต่ชั้นประถม มีคนบอกว่าวิชาประวัติศาสตร์ดี ต้องเรียนรู้   ประวัติศาสตร์คืออดีต   ต้องเรียนรู้อดีตเพื่อที่จะเข้าใจปัจจุบัน แล้วจึงจะรู้ว่าควรสร้างสรรค์อนาคตอย่างไร?

                ข้อดีของวิชาประวัติศาสตร์ มีคนพูดถึงไว้มากแล้ว วันนี้ขอพูดถึงข้อเลวข้อเสีย หรือด้านลบของประวัติศาสตร์บ้าง

                ข้อเสียของประวัติศาสตร์มีอย่างน้อย 4 ข้อ

ข้อหนึ่ง เป็นลักษณะพิเศษของประเทศไทย คือ ประวัติศาสตร์ในประเทศไทยมิได้ถูกนับถือให้เป็น “วิชาการ” อย่างแท้จริง นั่นหมายถึงว่าคนที่มีอำนาจได้กีดกัน ได้ปิดปัง ได้ห้ามการเผยแพร่ประวัติศาสตร์บางเรื่อง ตัวอย่างก็คือการที่หนังสือประวัติศาสตร์หลายเล่มกลายเป็นหนังสือต้องห้าม ห้ามจำหน่ายจ่ายแจก ห้ามอ่าน ในยุคใกล้ๆ นี่ก็มีตัวอย่างชัดเจนเช่นหนังสือ “โฉมหน้าศักดินา ไทย” ของ จิตร ภูมิศักดิ์   นอกจากนั้นยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่ถูกเก็บเงียบ ถูกซุกซ่อนเอาไว้ไม่ให้มีการเผยแพร่ พูดถึงตรงนี้เป็นจุดอ่อนจุดหนึ่งของวงการประวัติศาสตร์ประเทศไทย

                ทุกวันนี้ดีขึ้นไหม ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังมีเรื่องอีกมากมายที่นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการไม่กล้าพูด  มันจะโยงใยไปถึงข้อเสียของประวัติศาสตร์ข้ออื่นๆ ซึ่งข้าพเจ้าจะเล่าเป็นลำดับๆ ไป อย่างเช่นเรื่อง “คุณหญิงโม”  นักวิชาการพูดข้อมูลด้านตรงข้ามไม่ได้ ถ้าพูดเมื่อไรอยู่จังหวัดโคราชไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น   นี่คือข้อเสียที่สังคมไทยไม่ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ในเชิงวิชาการจริง

                ประวัติศาสตร์ที่เป็นวิชาการจริงๆ นั้นเป็นเรื่องของหลักฐานจริง ไม่เอียงข้างใดข้างหนึ่ง ในอดีตมีอะไรเกิดขึ้นก็ต้องว่ากันตามตรง ต้องใจกว้าง เป็นเรื่องที่ค้นคว้าโต้แย้งกันทางวิชาการ ส่วนในระดับอื่น เช่น ความเชื่อในท้องถิ่นในวงการอื่นๆ เช่น คติชาวบ้าน กลุ่มศิลปิน ฯลฯ จะเชื่ออย่างไร คิดอย่างไร ก็เป็นเรื่องทางสังคม

                ประเทศไทยนั้น   ข้อมูลที่แม้จะมาจากการค้นคว้าทางวิชาการแท้ๆ   บางเรื่องยังเผยแพร่ไม่ได้เลย   นี่เป็นข้อด้อยของประวัติศาสตร์ไทยข้อที่หนึ่ง

                ข้อที่สอง ประวัติศาสตร์ของทั่วทั้งโลกมีข้อเสียอันนี้ เราได้ถูกวางยาทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้คนกันเอง ยกตัวอย่างเช่น ไทยกับพม่าเคยทำสงครามกันในอดีต แล้วเราจะต้องกลายเป็นคู่อาฆาตคู่แค้นกันไปจนโลกจะแตก ไม่รู้จบหรืออย่างไร   ข้าพเจ้าต้องกราบขออภัยถ้าเรื่องที่เล่าต่อไปนี้จะกระทบจิตใจบางท่านในด้านศาสนา แต่มันก็เป็นเรื่องที่ควรกล่าวถึงเป็นอุทาหรณ์ นี่เป็นประวัติศาสตร์เหมือนกัน คือประวัติศาสตร์ของกลุ่มชนยิวและอาหรับ จริงๆ แล้วก็เผ่าพันธุ์เดียวกัน สืบตระกูลจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่ภายหลังมีความขัดแย้งขึ้น    ความขัดแย้งเริ่มเมื่อหลายพันปีก่อนเดี๋ยวนี้ยังฆ่าฟันกันไม่รู้จบ เพราะอะไร เพราะประวัติศาสตร์ที่ฝังสำนึกเข้าไปในสมองของผู้คน สอนกันว่าเป็นศัตรูคู่ตรงข้ามที่ขัดแย้งกัน จะต้องอยู่ร่วมกันไม่ได้

                ประเด็นน่าเศร้าก็คือ    ความขัดแย้งที่ฝังรากอยู่ในใจคนจำนวนมากนั้น เกิดจากเพียงแค่ “มีคนเขียนหนังสือไว้”   “หนังสือ”นั้นตอกย้ำสร้างความเคียดแค้นสืบทอดต่อ ๆ กันมา   ทากวันนี้ก็ยังมีวาทกรรมที่สร้างความเป็นปฏิปักษ์โดยเ “ประวัติศาสตร์” มาปลุกระดม

                พี่น้องชนชาติเซอร์เบียกับบอสเนียในยุโรปตะวันออกเดิมทีก็เป็นเผ่าเดียวกัน แต่เมื่ออาณาจักรออตโตมาน-ตุรกีซึ่งนับถือศาสนาอิสลามเข้าไปบุกรุกโจมตี มีผู้คนส่วนหนึ่งยอมแพ้เข้ารีตศาสนาอิสลาม ผู้คนส่วนหนึ่งไม่ยอมแพ้ ยังนับถือศาสนาคริสต์ต่อไป จึงขัดแย้งกันมาจนถึงทุกวันนี้

                ในสมัยที่จอมพลตีโต้ ปกครองแบบสังคมนิยม ความขัดแย้งไม่บานปลายปะทะกัน แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดสิ้นไป พอมีผู้นำคลั่งเชื้อชาติขึ้นมาจึงเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันอย่างโหดร้ายทารุณ มีการบุกเข้าไปในหมู่บ้านของอีกฝ่ายหนึ่งหนึ่ง แล้วจับฆ่าหมู่เป็นสิบเป็นร้อย ความแค้นก็ยิ่งขยายลุกลามมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จบรู้สิ้น

                ทุกวันนี้ความเดือดร้อน ความวุ่นวาย สงครามที่กำลังจะขยายเป็นสงครามโลก ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งมาจากมายาทางประวัติศาสตร์ ที่มนุษย์ปัจจุบันยังไม่หลุดพ้นจากกรอบนั้น

                สำหรับประเทศไทยเราก็มีปัญหานี้อยู่บ้างเหมือนกัน  เช่นกับประเทศพม่าเพื่อนบ้าน พม่าเคยทำสงครามรุกรานเรา เราก็เคยยกทัพไปตีเขา แผลนี้เมื่อใดจะลบเลือนได้ ด้านที่ไม่น่าจะมีปัญหาเลยคือไทยกับลาว เราคือเผ่าพันธุ์เดียวกันแท้ๆ แต่พอเอาประวัติศาสตร์มาเกี่ยวก็ยังเถียงกันทะเลาะกัน   ปัญหาข้อขัดแย้งในประวัติศาสตร์ไทยกับกัมพูชาก็เป็นเรื่องต้องระวัง    ซึ่งก็ปรากฏว่า   ใน พ.ศ 2554 เรื่องพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารก็บานปลายทำให้เกิดการปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ และยังไม่รู้ว่าจะยุติปัญหาลงตรงไหน

        ตรงนี้เราควรจะมองฝ่ายมายาให้ทะลุ เพื่ออนาคตที่สันติสุขของมนุษยชาติ เรื่องราวในอดีตนั้น มันควรจบกันไป มองด้วยความเข้าใจธรรมชาติของคนไม่มีใครดีพร้อมสมบูรณ์ และไม่มีบ้านเมืองไหน หรือคนเผ่าไหน ที่ไม่เคยไปกดขี่ข่มเหงเผ่าอื่นบ้านเมืองอื่น

                หากเรานึกถึงประวัติศาสตร์ยุคใกล้  พวกเราก็ย่อมแค้นเคืองอเมริกาที่มาทำร้ายเราในสงครามอินโดจีน ย้อนไปถึงนักล่าเมืองขึ้นอังกฤษ ฝรั่งเศส ที่มาทำร้ายเรา เราก็จะโกรธจะเคือง นี่เป็นสิ่งเข้าใจได้ แต่ข้าพเจ้าขอให้พวกเราคิดให้ลึกซึ้งกว่านั้น ขอให้มองเข้าใจว่ามันเป็นปัญหาของระบอบสังคม  มันเป็นสิ่งที่ผลักดันโดยชนชั้นปกครอง เราอย่ารังเกียจโกรธแค้นประชาชนในสังคมอื่นๆ

                ลองดูสังคมของเราเองสิ ในอดีตเราคนสยาม ก็เคยกระทำกับชนเผ่าอื่นๆ ที่เล็กกว่า เหมือนกับที่นักล่าอาณานิคมชาวฝรั่งมารังแกเรา

                ขกยกตัวอย่างไกลตัวก่อน ยุคหนึ่งสักสี่ร้อยปีที่แล้ว สุลต่านบรูไนมีเมืองอยู่ในปกครองหลายเมืองบนเกาะบอร์เนียว อยู่สบายๆ แล้ว แต่วันหนึ่งเกิดคิดอยากจะไปแย่งยึดที่ดินจองชาวป่า ซึ่งชาวมาเลย์เรียกรวมๆ ว่า “ชาวดายัค” ซึ่งแปลว่าคนป่านั่นเอง ชาวดายัคเป็นคนพื้นเมืองอาศัยอยู่ในป่า สุลต่านบรูไนเป็นชาวมาเลย์ที่ไปตั้งบ้านตั้งเมืองขึ้นทีหลัง เมื่ออยากจะครอบครองที่ดินมากๆ จึงไปไล่ฆ่าชาวดายัค มันก็เหมือนสงครามล่าอาณานิคมที่ฝรั่งมาแย่งยึดบ้านเมืองในเอเชียนั่นเอง เราคนเอเชียก็เคยเล่าอาณานิคมกันเองอยู่แล้ว

                มาดูประวัติตัวเอง สยามเราก็ยึดครองดินแดนรอบข้างเป็นประเทศราช เขียนตำราให้เด็กๆ ภูมิใจว่าสยามยิ่งใหญ่เคยมีประเทศราชมากมาย เดี๋ยวนี้ประเทศราชเหล่านั้นก็คือประเทศเพื่อนบ้านของเรานั่นเอง เราต้องสัมพันธ์กับเขาอย่างทัดเทียมเสมอภาค หากยังติดยึดความเป็นพี่เบิ้มในภูมิภาค    เพื่อนบ้านของเราเขาจะรู้สึกอย่างไร

                มาดูเรื่องราวในแถบอีสานใต้บ้าง ในเขตนี้มีชาติพันธุ์และวัฒนธรรมหลายกลุ่ม มีกลุ่มลาว-ไทย กลุ่มเขมร-กวย กลุ่มข่า เช่น กะเลิง กะโซ่ ข่าระแด ข่าจราย เป็นต้น ในสมัยก่อนนั้นทางจำปาศักดิ์มีพวกข่าอยู่มาก พวกคนลาวในศรีสะเกษและบุรีรัมย์เคยรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ไปล้อมหมู่บ้านข่า จับพวกข่ามาขายเป็นทาส เรียกกันว่าไป “ตีข่า” สยามมารังแกลาว ลาวก็ไปรังแกข่า ไปบุกปล้นหมู่บ้านชาวข่าที่อยู่ในป่า จับตัวมาขายเป็นทาส ตลาดค้าทาสใหญ่อยู่ที่จำปาศักดิ์และศรีสะเกษ ฝรั่งค้าทาส คนไทยคนลาวก็เคยค้าทาส เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าถึงเสนอว่า ให้ระมัดระวังอย่ามีอคติ สร้างความเกลียดชังความแค้นเคืองระหว่างเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ มิฉะนั้นเราจะสร้างสันติภาพ สันติสุข ขึ้นมาในโลกอนาคตไม่ได้ เพราะว่าทั่วโลกมีผู้คนผิวสีต่างกัน   เคยมีการกระทบกระทั่งกันมาในอดีต ขอให้มองเสียว่ามันเป็นเรื่องของมนุษย์ที่ยังมีระดับจริยธรรมมนุษยธรรมต่ำ   อภัยซึ่งกันและกัน จับมือกันสร้างอนาคตที่สันติสุขจะดีกว่า

                ต่อไปขอพูดถึงข้ออ่อนหรือข้อเสียของประวัติศาสตร์ข้อที่สาม

                ข้อที่สาม  คือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมันหายไป วิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่เกิดขึ้นในยุคที่มีรัฐ มีพรมแดนประเทศเกิดขึ้นแล้ว เวลาเราศึกษาประวัติศาสตร์ก็เลยมักจะมุ่งแต่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ของอาณาจักร สำหรับประเทศเรา เรามีประวัติศาสตร์สยาม หรือประวัติศาสตร์ไทย โดยมีศูนย์กลาง เช่น สุโขทัย , อโยธยา, อยุธยา เป็นต้น ประวัติศาสตร์ลาว ก็มีศูนย์กลางอยู่เวียงจัน  หลวงพระบาง คือเราถูกกรอบของพรมแดนกำหนดมิติในการศึกษา แต่คนสมัยโบราณที่เขาอยู่กันมันไม่ได้มีพรมแดนขีดแบ่งกันอย่างปัจจุบันนี้

                ในวงวิชาการประวัติศาสตร์โลก เขาศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์ลาว ประวัติศาสตร์กัมพูชา เท่านั้น  แล้วประวัติศาสตร์อีสานใต้ ประวัติศาสตร์บุรีรัมย์ มันหายไปมันไม่มีที่ยืน   เวลามองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสานใต้ เขาก็จัดไปรวมไว้ในประวัติศาสตร์กัมพูชา วัฒนธรรมเขมร หรือไม่ก็จัดอยู่ในประวัติหัวเมืองในประวัติศาสตร์ไทย

                แต่ที่จริงแล้ว อีสานใต้ มีประวัติศาสตร์และอารยธรรม ของตนเองที่ยิ่งใหญ่ ที่ผ่านมาเรารับรู้ตามฝรั่ง เราหลงเชื่อฝรั่ง ว่าความเจริญต่างๆ ของอีสานใต้ อารยธรรมของอีสานใต้ เรารับมาจากเขมรยุคพระนคร (นครวัด)

                แต่ถ้าหากเราไปศึกษาดูประวัติศาสตร์กัมพูชาก่อนยุคพระนคร เราจะพบว่าประวัติศาสตร์ก่อนยุคพระนครคือก่อนสร้างนครวัดนั้นมันสับสนยุ่งเหยิงมาก ประวัติศาสตร์ก่อนยุคนครวัดนั้นได้ถูกชำระเปลี่ยนแปลง รวบเอาประวัติของแคว้น “เจนละ” ไปเป็นประวัติศาสตร์กัมพูชา

                ข้าพเจ้าขอย้อนอธิบายก่อนว่า ก่อนที่จะเกิดนครวัดนั้นแคว้นในดินแดนกัมพูชาและอีสานใต้มีอยู่อย่างไร

                เมื่อประมาณหนึ่งพันเจ็ดร้อยกว่าปีมาแล้ว มีแคว้น “ฟูนัน” นักวิชาการเชื่อว่าอยู่ในดินแดนกัมพูชาทางตอนล่างใกล้ทะเล ในยุคสามก๊ก ซุนกวนประมุขของง่อก๊ก เคยส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับแคว้นฟูนัน แคว้นฟูนันเจริญรุ่งเรืองอยู่หลายร้อยปี

                ต่อมาถูกแคว้นเจนละ ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่เหนือขึ้นไปบุกโจมตีและยึดครองฟูนัน สมัยก่อนฝรั่งบอกว่าเจนละคือ เขตประเทศกัมพูชา แต่ตอนนี้นักวิชาการไทยคือ ดร.ธิดา สารยา อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ท่านได้เสนอมุมมองใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ จากการศึกษาค้นคว้าทั้งเอกสารประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี ท่านเห็นว่าศูนย์กลางของเจนละอยู่ในเขตอุบลราชธานี (อีสานใต้) ปราสาทหินแถบนั้นเป็นศิลปะก่อยยุคนครวัดเกือบทั้งสิ้น พระเจ้าจิตเสน กษัตริย์แคว้นเจนละในอีสานใต้เป็นวีรกษัตริย์เจนละที่ยกทัพไปรบชนะฟูนัน เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม ภาษา ศิลปะ การปกครอง ฯลฯ ตั้งศูนย์การปกครองขึ้นใหม่ทางตอนเหนือของแดนกัมพูชา จากนั้นพระเจ้าจิตเสนขยายอำนาจขึ้นมา ทางบุรีรัมย์ไปโคราชและในรัชสมัยโอรสของพระองค์ ได้ขยายต่อไปจนถึงทะเลภาคตะวันออกของไทยปัจจุบัน

                ราชวงศ์ของเจนละใช้คำลงท้ายว่า “เสนะ” ส่วนของฟูนันใช้คำว่า “วรมัน” หลังจากได้ชัยชนะต่อฟูนันแล้ว พระเจ้าจิตเสนมีสมัญญานามใหม่ว่า “อีสานวรมัน”

                การรวมประสานวัฒนธรรมเจนละกับฟูนัน คือต้นตอของอาณาจักรกัมพูชา หรือนครวัด ในสมัยต่อมา

                ดังนั้นหากเปลี่ยนความเชื่อที่เคยเชื่อกันว่าอารยธรรมในอีสานใต้ได้รับต้นแบบจากกัมพูชา มาเป็นว่าอีสานใต้เคยมีอารยธรรมของตน (เจนละ) จากนั้นได้ขยายลงไปผสมผสานกับอารยธรรมฟูนัน พัฒนาขึ้นเป็นอารยธรรมนครวัด

                ประวัติศาสตร์อีสานใต้ก็จะมีที่ยืนขึ้นมาในวงการประวัติศาสตร์โลก

                ข้าพเจ้ากำลังยืนพูดอยู่ที่ “อนุสรณ์สถานโคกเขา” เราจะสร้างอุทยานประวัติศาสตร์กันที่นี่ ห่างจากนี่ไปเจ็ดกิโลกเมตร มีโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งคือ ถ้ำเป็ดทอง น่าเสียดายที่น้ำท่วมไปแล้ว ที่นั่นมีจารึกของพระเจ้าจิตเสน อายุเกือบพันห้าร้อยปี เป็นจารึกของพระเจ้าจิตแสนผู้ตีได้ฟูนันนั่นเอง นั่นเป็นหลักฐานว่าพระเจ้าจิตเสนขยายอำนาจขึ้นมาจาก “ไผทสะมัน” ผ่านด่านส้มป่อย ขึ้นไปตามลำมาศสู่ที่ราบสูงโคราช

                นอกจากจารึกถ้ำเป็ดทอง ก็ยังมีพระทองคำที่วัดโพธิ์ย้อย   ปะคำ ,นางรอง เป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานพันห้าร้อยปี ช่องทางด่านส้มป่อยใกล้ๆ นั้น เป็นเส้นทางสำคัญของติดต่อปะคำ,ไผทสะมัน มันเป็นเส้นทางมรดกหลายพันปีก็เดินผ่านตรงนี้ และที่นี่เราจะสร้างเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เรามีความภูมิใจในท้องถิ่น เราสามารถจะบอกกับคนไทยในทุกภูมิภาคได้ว่าเรามีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ที่น่าภาคภูมิเช่นเดียวกับพี่น้องภาคอื่นๆ  ภาคเหนือ มีหริภุญชัย ล้านนา  , สุราษฎรธานีมีศรีวิชัย ,นครศรีธรรมราช มีตามพรลิงค์

                ที่นี่ เรามีเจนละ มีจารึกถ้ำเป็ดทอง เก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ 11 ที่ผ่านๆ มาประวัติศาสตร์มีข้อเสียอยู่ที่ละเลยประวัติของท้องถิ่น ละเลยประวัติศาสตร์ภูมิภาค ประวัติเมืองบุรีรัมย์ย้อนไปได้แค่สมัยพระยาจักรี ยกทัพไปตีเมืองอัตตะปือ ได้มาตั้งทัพที่เมืองแปะ ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองเดิมของบุรีรัมย์   ประวัติก็มีเพียงเท่านี้

                แต่ถ้าเราค้นคว้าอย่างมีวิสัยทัศน์ เราก็สามารถร่างภาพประวัติศาสตร์ของอีสานใต้ ของอำเภอปะคำ อำเภอนางรอง ให้เห็นว่ามันเกี่ยวพันกับการพัฒนาแว่นแคว้นบ้านเมืองของภูมิภาคนี้อย่างไร การตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้นที่นี่ และมีโครงการต่อไปว่าจะสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ขึ้นด้วย เป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก  ข้าพเจ้าเชื่อว่ามีหลายฝ่ายยินดีสนับสนุนโครงการนี้ให้บรรลุผลสำเร็จ

                ต่อไปข้าพเจ้าขอพูดถึงข้อเสียของประวัติศาสตร์ข้อที่สี่ 

           ข้อสี่ ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์ข้อสี่ คือการละเลยบทบาทของสามัญชน เราอ่านประวัติศาสตร์ของทางราชการ ก็จะเห็นแต่บทบาทของศูนย์กลางอำนาจไม่มีเรื่องของสามัญชน เพราะฉะนั้น ประวัติศาสตร์ที่เราจะเสนอในอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ ประวัติศาสตร์ที่เราจะต้องบอกเล่ากันต่อไป จะต้องเป็นเรื่องของคนที่เป็นจริงสามัญชนทุกคนมีส่วนร่วมอยู่ในประวัติศาสตร์ กระแสประวัติศาสตร์ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนตัวต่อเนื่องมา นับตั้งแต่ยุคลพระเจ้าจิตเสน ถึงยุคการต่อสู้ของประชาชนอีสานใต้ในสงครามประชาชน มันเป็นเลือดเนื้อ เป็นการทำงานของบรรพชนชาวอีสานใต้ทุกคน ประวัติศาสตร์ในถิ่นนี้คือเรื่องราวที่บรรพชนของเราได้ทำได้สร้างเอาไว้

                การกระทำวันนี้ ก็คือประวัติศาสตร์ในวันข้างหน้าเรากำลังร่วมกันสร้างอนาคต นั่นก็คือเรากำลังร่วมกันเขียนประวัติศาสตร์ .




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ