โครงการแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะจุดประกายความคิด
“ร่องรอยกาลเวลา : สุรินทร์ อีสาน ลุ่มน้ำมูนเชื่อมน้ำโขง สยาม-ขแมร์
การก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน”
.............................................................................................................................
หลักการและเหตุผล
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาณาเขตที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์ – ภาษา วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง และรูปแบบเศรษฐกิจที่หลากหลายพร้อมกับที่ตั้งของประเทศต่างๆ ที่กำลังจะก้าวไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในกระแสที่โลกที่กำลังจะถูกรวบรวมเป็นหนึ่งเดียว
การรับรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรหมแดนทางวัฒนธรรม หรือความเข้าใจในเรื่องประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีมุมมองที่แตกต่างและหลากหลาย การถอดองค์ความรู้ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วรรณกรรม ดนตรี และ ศิลปะ เป็นการขยายพรหมแดนความรู้ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้จากอดีตส่งผลถึงปัจจุบันและอนาคต
จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่กึ่งกลางของวัฒนธรรมกลุ่มลำน้ำมูน และมีเขตพรหมแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา ที่มีความเกี่ยวโยงทางวัฒนธรรมกันทั้งในแง่วัฒนธรรม ความเชื่อ และ ประวัติศาสตร์สังคมการเมืองในอดีต ทั้งนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย มีวัฒนธรรมร่วมกลุ่มน้ำใกล้เคียงอย่าง ลุ่มน้ำมูน ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำสงคราม ลุ่นน้ำพอง ซึ่งจะเชื่อมโยงกับแม่น้ำโขง
ใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ.๒๐๑๕) ประเทศในภูมิภาคอุษาคเนย์จะก้าวสู่ความเป็น “ประชาคมอาเซียน” นั้นต้องเริ่มที่ความรู้ โดยเฉพาะ วัฒนธรรมการอ่านและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรับรู้และตระหนักถึงความเข้าใจที่ดีและรู้เท่าทันผลกระทบจากการพัฒนาที่กำลังเกิดขึ้น ด้วยว่าเราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งเป็นเป้าหมายตามกรอบความร่วมมืออาเซียน <ASEAN> ที่จะมุ่งไปสู่ความเป็น “ประชาคมเดียวกัน” ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ (ค.ศ.๒๐๑๕)
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รวมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน จึงจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจต่อเพื่อนบ้านเป็นประตูสู่ความรู้ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวอุษาคเนย์ในประเทศต่างๆ พร้อมกับการตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการเผยแพร่ความรู้แบบ “แบ่งปันความรู้สาธารณะ” เพื่อกระตุ้นบรรยากาศการศึกษาทางเลือกพร้อมกับสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา ให้เป็นการศึกษาทางเลือกแบบตลาดวิชาที่เน้นการ “สั่งสมความรู้” มากกว่าการ “สั่งสอน” ก่อเกิดเป็นสังคมอุดมปัญญา
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า และเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ในมิติต่างๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
๒. เพื่อกระตุ้นให้มีการนำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปปรับให้เอื้อต่อการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
๓. เพื่อมุ่งสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากกระแสความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากระบบเศรษฐกิจและสังคม
๔. เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสู่สังคมไทย และส่งเสริมให้รู้จักการใช้เครือข่ายสังคมอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
๕. เพื่อบูรณาการความรู้ด้านวรรณกรรม ดนตรี ศิลปะ ตำนาน และประวัติศาสตร์ นำไปสู่บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนและสั่งสมความรู้สู่ชุมชนอย่างเข้มแข็งและมีพลัง
๖. เพื่อเป็นกิจกรรมหนึ่งในวาระ ๑๐ ปี กระทรวงวัฒนธรรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เกิดการตื่นตัวเรื่องความรู้ทางเลือกเกี่ยวกับภูมิภาคลุ่มแม่น้ำปิงในมิติต่างๆ โดยเริ่มต้นจากชุมชน และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในวงวิชาการ
๒. เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างชุมชนอย่างยั่งยืนและเข้มแข็งมีพลัง สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ
๓. เกิดความเข้าใจเรื่องภูมิสังคมวัฒนธรรมของภูมิภาค เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียน
๔. เกิดการแตกยอดทางความรู้ ยอมรับความเห็นที่แตกต่างด้านสังคมวิทยามานุษยวิทยา ร่วมกันพิจารณาประเด็นปัญหาใหม่ๆ เกี่ยวกับภูมิภาคอุษาคเนย์
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน ๓๐๐ คน ประกอบด้วย
๑. ครู – อาจารย์ ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง
๒. วิทยากร – คณะทำงาน และสื่อมวลชน
๓. กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด อำเภอ และตำบล
๔. นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
งบประมาณ/ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
องค์กรร่วมจัดและสนับสนุน
สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษาฯ/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
วารสารวิทยาจารย์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ครู –อาจารย์ มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการศึกษาในทัศนะใหม่มากขึ้น
๒. เกิดบรรยากาศของความรู้ทางเลือกและมีข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์วิจัยในระดับสูงต่อไป
๓.ผู้ศึกษาวรรณคดีมีความเข้าใจในข้อจำกัดของสิ่งที่ศึกษายิ่งขึ้น
๔.เกิดการแตกยอดทางความรู้ ยอมรับความเห็นที่แตกต่างด้านสังคมวิทยามานุษยวิทยา ร่วมกัน
พิจารณาประเด็นปัญหาใหม่ๆ เกี่ยวกับภูมิภาคอุษาคเนย์
๕.เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างชุมชนอย่างยั่งยืนและเข้มแข็งมีพลัง สนับสนุนให้เกิดการ
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ
ผลลัพธ์ (OUTCOME)
๑ ได้มีรับรู้ รักษา สืบทอด เข้าใจเรื่องราวประชาคมอาเซียนมากขึ้น
๒ได้มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน อันจะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและการยอมรับซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่ความสมานฉันท์ในสังคมไทยและสังคมโลก
๓.ความสัมพันธ์กับประเทศเป้าหมายได้รับการพัฒนาโดยใช้มิติทางวัฒนธรรม
๔.ประเทศไทยได้รับการยอมรับในฐานะเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มีบทบาท ความสำคัญในเวทีนานาชาติและประชาคมอาเซียน
๕.ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมร่วมและความหลากหลาย อันจะนำไปสู่ผลประโยชน์ทางด้านประชาคมการเมือง ประชาคมเศรษฐกิจ และ ประชาคมวัฒนธรรมสังคม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPIs)
๑.จำนวนประเทศ หน่วยงาน องค์กร ชุมชน ศิลปินที่เข้าร่วมงานหรือมีส่วนร่วมในการจัดงาน
๒จำนวน/ ร้อยละของการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของผู้เข้าชมงานและร่วมกิจกรรม
๓.จำนวนผลงานทางวิชาการ/ เอกสาร/ สื่อที่ผลิตขึ้นเพื่อเป็นการรวบรวมองค์ความรู้และข้อมูลทางด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
๔.ผลงานประชาสัมพันธ์ที่เผยแพร่ผ่านสื่อทุกรูปแบบ
กำหนดการโครงการแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะจุดประกายความคิด
“ร่องรอยกาลเวลา: สุรินทร์ อีสาน ลุ่มน้ำมูนเชื่อมน้ำโขง สยาม-ขแมร์
การสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน”
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕
เวลา ๐๘.๐๐ น. ลงทะเบียน พร้อมกับชมสารคดีชุด “ประชาคมอาเซียน”
๐๙.๐๐ น. อธิการบดีมรภ.สุรินทร์ กล่าวต้อนรับ
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑กล่าวรายงาน
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
กล่าวเปิดการสัมมนา และบรรยายพิเศษ
๑๐.๓๐ น. รับประทานอาหารว่าง
๑๑.๐๐ น. เสวนา “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นประวัติศาสตร์ชาติ กับ ประวัติศาสตร์ประชาคมอาเซียน”
ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการ-นักสื่อสารมวลชน
ทองแถม นาถจำนง นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ปรีดา ข้าวบ่อ บรรณาธิการนิตยสารทางอีศาน ดำเนินรายการ
๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ น. เสวนาห้องย่อยที่ ๑ หัวข้อ
“ศิลปะ ภาษากวี ดนตรีชีวิต สุ่มเสียงวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์”
สุรินทร์ ภาคศิริ นักแต่งเพลง
ไชยา วรรณศรี อดีตประธานสโมสรนักเขียนภาคอีสาน
วีระ สุดสังข์ นักเขียน/กวี นักแต่งเพลง
ดำเนินรายการ โดย อานันท์ นาคง ม.ศิลปากร
เสวนาห้องย่อยที่ ๒หัวข้อ
“สุรินทร์ อีสาน ลุ่มน้ำมูนเชื่อมน้ำโขง สยาม-ขแมร์
การก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน”
ไพโรจน์ เพชรสังหาร วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม
ดำเกิง โถทอง มรภ.สุรินทร์
นายไพบูลย์ พฤกษ์พนาเวศน์ นักค้นคว้าอิสระ
ดำเนินรายการโดย อัษฎางค์ ชมดี ห้องภาพเมืองสุรินทร์
ห้องย่อยที่ ๓ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ
โลกทรรศน์สุนทรภู่ภูมิศาสตร์ในอุษาคเนย์
ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต นักค้นคว้าอิสระ
๑๕.๐๐ น. รับประทานอาหารว่าง
๑๕.๓๐ น. สรุปการสัมมนา
มอบวุฒิบัตร
พิธีกรประจำวัน ศิริพงศ์ ไหวดี