ReadyPlanet.com
dot dot
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี

ทองแถม  นาถจำนง


ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต
    
คำไหว้ครูละครโนห์ราชาตรี
๐ ครูเอยครูสอน        สอนไว้ให้รำสิบสองท่า
พ่อขุนศรัทธา        สอนให้รำท่าต่างกัน
๐ แม่ลายกนก        แล้วยกขึ้นเป็นเครือวัลย์
ราหูจับจันทร์        ให้เวียนแต่ซ้ายไปขวา
๐ ..(บทขาด)...        ...(บทขาด)..............
ปลดปลงลงมา        ให้รำเป็นท่าบัวตุม
๐ บัวบานบัวคลี่        จงกลนีแย้มตระพุ่ม
...(บทขาด)......        แล้วท่าแมลงมุมชัดใย
๐ ท่าพระยาหงษ์ทอง    ลงลอยล่องน้ำไหล                                      
ล่องตรงลงไป        ยังปากน้ำพระคงคา
๐ ขอเชิญร้อยชั่ง        เจ้ารำช้างประสานงา
รำท่ากินรา            ลงมาจะเล่นสาคร
๐ แล้วเก็บดอกไม้        มาร้อยเป็นเครื่องอาภรณ์
นี่แหละครูสอน        ทำนองพ่อขุนศรัทธา ฯ

คำไหว้ครูละครโนห์ราชาตรีชิ้นนี้   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงให้จดจากพวกละครที่นครศรีธรรมราช

ตามการค้นคว้าของพระองค์    ละครโนห์ราชาตรีนั้น    ทางนครศรีธรรมราชรับไปจาก “ละครนอก” ของกรุงศรีอยุธยา   พระองค์ทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง “ว่าด้วยละครนอก” ว่า

“เมื่อมาพิจารราดูคำไหว้ครูที่จดมานั้น  เห็นมีข้อความปรากฏว่า  เดิมนั้นพระเทพสิงหร  บุตรของนางศรีคงคา (นางคนนี้ในคำไหว้ครูต่างโรง  เรียกต่างกัน  เรียกว่านางศรีมาลาบ้าง  นางนวลสำลีบ้าง)  หัดละครที่ในกรุงศรีอยุธยา  ขุนศรัทธาเป็นตัวละครของพระเทพสิงหร  ได้พาแบบละครลงไปหัดขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราชเป็นปฐม  จึงได้เล่นละครกันสืบมา  พวกละครโนห์ราชาตรียังออกชื่อบูชานางศรีคงคา  พระเทพสิงหร  และขุนศรัทธา ในคำไหว้ครูมาจนทุกวันนี้    ความที่กล่าวว่าละครโนห์ราได้แบบแผนไปจากกรุงศรีอยุธยา   ข้อนี้มีหลักฐานประกอบในคำไหว้ครูอีกบทหนึ่ง (คือบทที่ยกมาข้างต้นนี้)  ซึ่งว่าด้วยเพลงรำ

เพลงรำต่าง ๆ ที่ออกชื่อในกลอนนี้  ถูกต้องตามตำรารำครั้งกรุงเก่าโดยมาก  เห็นได้ว่าเป็นตำราที่ได้ไปจากในกรุง ฯ”

ละครโนห์ราชาตรีหัดรำเพลง 12 ท่า  ตามตำราของขุนศรัทธาทีเป็นครูเดิม   ท่ารำ 12 ท่านั้นมีดังนี้

1.    ท่าแม่ลาย (กนก)
2.    ท่าราหูจับจันทร์ (ท่าเขาควาย ก็เรียก)
3.    ท่ากินนร (รำ)
4.    ท่าจับระบำ
5.    ท่าลงฉาก (เข้าใจว่าตรงกับท่าที่เรียกว่าหงส์ลีลาในคำกลอน)
6.    ท่าฉากน้อย (เข้าใจว่าตรงกับที่เรียกว่าท่าช้างประสานงา)      
7.    ท่าผาลา
8.    ท่าบัวตูม
9.    ท่าบัวบาน
10.    ท่าบัวคลี่
11.    ท่าท่าบัวแย้ม
12.    ท่าแมลงมุมชักใย

ยังมีกลอนตำรารำของนครศรีธรรมราชอีกแบบหนึ่ง  แต่เข้าใจว่าเป็นตำราที่คิดกันขึ้นในชั้นหลัง  ชื่อท่ารำไม่เรียกอย่างท่าใน “เพลงครู”ของเก่า

๐ สอนเอยสอนรำ        ครูให้ข้ารำแต่บ่า
ปลดปลงลงมา        แล้วให้ข้ารำเพียงพก
วาดไว้ปลายอก        เรียกแม่ลายกนกผาลา
ซัดสูงขึ้นเพียงหน้า        เรียกช่อระย้าดอกไม้
ปลดปลงลงมาใต้        ครูให้ข้ารำโคมเวียน
นี่เรียกรูปวาด        ไว้วงให้เหมือนรูปเขียน
ท่านี้คงเรียน            ท่าชาวตะเคียนพาดตาล
ท่านี้แลนุช            พระพุทธเจ้าท่านห้ามมาร
ท่านนี้นงคราญ        พระรามเธอข้ามสมุทร
ยกขึ้นสูงสุด            เป็นท่าพระยาครุฑร่อนมา
ครุฑเฉี่ยวนาคได้        ร่อนกลับไปในเวหา
ทำท่าหนุมาน        เหาะทะยานไปเผาลงกา
รำท่าเทวา            สารถีขี่ม้าชักรถ
ท่านางมัทรี            จรลีหว่างเขาวงกต
ท่าพระดาบส        ลีลาจะเข้าอาศรม
สี่มุมปราสาท        วาดไว้เป็นรูปพรหม
ท่านี้เอวกลม        เรียกพระนารายณ์น้าวศร ฯ   




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ