ReadyPlanet.com
dot dot
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466

 กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466


พลตรี ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดในเรือระหว่างที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ เดินทางกลับไปนครสวรรค์ ตำบลที่เกิดนั้น คือตำบลบ้านม้า ปัจจุบันคือตำบลประศุก เขตอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

การคมนาคมระหว่างกรุงเทพกับนครสวรรค์สมัยโน้น ใช้ทางเรือเป็นหลัก ผมพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการเดินทางทางเรือแถบอำเภออินทร์บุรีอยู่ แต่ยังค้นไม่พบ 

ตอนนี้พบเพียงบันทึกเรื่องเมืองสิงห์บุรีเท่านั้น ยังขึ้นไปไม่ถึงอินทร์บุรี จึงขอนำมาเสนอไว้เป็นหลักฐานชิ้นแรกก่อน

เรื่องการเดินทางทางเรือแถบสิงห์บุรีนี้ ผมคัดมาจากเรื่อง “นิราศตามเสด็จ”เขียนโดยพระยาอนุศาสน์จิตรกร จิตรกรคนสำคัญในรัชกาลที่หก พิมพ์แจกในงานศพ คุณหญิงอนุศาสน์จิตรกร (ชุ่ม จิตรกร) 24 มีนาคม พ.ศ 2471

พระยาอนุศาสน์จิตรกร เขียนนิราศเรื่องนี้ขึ้นระหว่างตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ประพาสมณฑลอยุธยาและมณฑลนครไชยศรี พ.ศ 2466 ครั้งนั้นพระองค์เสด็จประพาส นครไชยศรี สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และลพบุรี ขบวนเสด็จไปไม่ถึงอินทร์บุรี ไม่เช่นนั้นคงมีเนื้อความกล่าวถึงตำบลบ้านม้า ที่เกิดของพลตรี ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช

การเสด็จประพาสครั้งนั้น เป็นขบวนใหญ่ มีเรือร่วมขบวนมากมาย ผมจะคัดมาเสนอเฉพาะฉากบรรยายเมืองสิงห์บุรี (ตั้งพลับพลาประทับแรมอยู่หน้าวัดพรหมสาคร) ดังนี้

๐ เรื่อย ๆ มานาวาถึงบ้านแป้ง 
ป็นเขตแขวงเมืองสิงหืกิ่งสถาน
ให้นึกถึงนงเยาว์ลำเพาพาล 
พี่จัดการให้มีที่สำอาง
โถแก้วเจียระไนนั้นใส่แป้ง 
ล้วนแก้วแดงตั้งเด่นเห็นสล้าง
ขวดน้ำหอมสวยใสวิไลบาง 
น้องจัดวางผ่องผาดสะอาดดี ฯ

๐ ลิ่ว ๆ มากระทั่งยังพลับพลา 
เขาปลูกหน้าอารามดูงามศรี
วัดพรหมสาครท่าใกล้วารี 
ในถิ่นที่แถวทางบางพุดทรา
เวลาเที่ยงเรือลำประจำทรง 
ก็แล่นตรงเรื่อยไปมิได้ช้า
จากไชโยกระทั่งยังพลับพลา 
บางพุดทราเศษหมายบ่ายสี่โมง
อันเมืองสิงห์ใกล้ท่าชลาสินธุ์ 
อันฐานถิ่นสุโขดูโอ่โถง
มีบ้านช่องเคหาศาลาโรง 
ตั้งต่อโยงติดไปจนไกลตา
จังหวัดนี้พระองค์เคยประพาส 
ไม่ใคร่ขาดปีกาลนานหนักหนา
ครั้งดำรงยุพราชก็ยาตรา 
จำติดนัยนาทั่วตำบล
ทั้งหญิงชายไม่น้อยมาคอยเฝ้า 
พระผ่านเผ้าทั่วแขวงทุกแห่งหน
ด้วยจงรักภักดีเป็นที่ล้น 
เจ้าของตนเสด็จมาถึงธานี
พวกผู้หญิงหลายหลากเห็นมากมาย 
ล้วนแต่งกายต่าง ๆ สำอางศรี
บ้างเดินไปเกินมาริมวารี 
ไม่เห็นมีสวยล้นจนคนเดียว
หาบกระบุงนั่งรายขายสิ่งของ 
ใส่แผงกองเม็ดบัวและถั่วเขียว
อ้อยควั่นพลูหมากคนอยากเคี้ยว 
ปากบูดเบี้ยวบ้วนแดงทุกแห่งไป
มีบุหรี่ขีดไฟใส่จานรอง 
พวกเรือมองซื้อกันสนั่นไหว
ที่หน้าตาหมดจดขายหมดไว 
คนพอใจสรวลเสอยู่เฮฮา
พอราตรีจุดไฟไม้กระบอก 
เอาหลักตอกสองง่ามตามหน้าท่า
เป็นทิวแถวตามทางข้างมรรคา 
ดูไกลตาสวยศรีชั่งดีครัน
ทางจังหวัดจัดลิเกมาถวาย 
ช่างหยาบคายเชิงเล่นไม่เห็นขัน
มันโลนยิ่งกว่าโลนถึงโดนกัน 
ช่างจัดสรรมาเล่นไม่เห็นดี
อันวานรมันเล่นมักเห็นขัน 
เพราะมันไม่รู้ประสาประสี
เป็นคนผู้ควรรู้การร้ายดี 
น่าบัดสีเหลือคำจะรำพรรณ ฯ

ครั้นถึงวันที่สองเดือนตุลา 
จึงเตรียมลำนาวากันเหหัน
ออกล่วงหน้าจากท่าเมืองสิงห์พลัน 
ต่างผูกพันเรือฉุดกันรุดมา
พระพิรุณโปรายปรายเป็นสายสาด 
ทั้งอากาศครึ้มมัวไปทั่วฟ้า
ต่างคนต่างออกลำนาวา 
เข้าคลองบางพุดทราไปตามกัน
ตามระยะกะทางหกชั่วโมง 
พวกเรือโยงมากมายรีบผายผัน
จะได้ไปถึงที่แต่วี่วัน 
หาที่มั่นเหมาะจอดตามชอบใจ ฯ

ขบวนเสด็จผ่านคลองบางพุดทราไปจนถึงลพบุรี ในช่วงนี้พระยาอนุศาสน์จิตรกร บรรยายทุ่งนาเปรียบเทียบ “นาลุ่ม –นาดอน” ไว้ดีมาก ดังนี้

๐ สังเกตข้าวในนาเวลาเห็น 
ดูคล้ายเช่นเห็นงามสนามหญ้า
บางลุ่มดอนหว่านดำคอยน้ำมา 
ที่ทุ่งนาหลายอย่างต่าง ๆ กัน 
ที่นาดีมีอยู่เป็นบางแขวง 
ไม่เหนื่อยแรงกรรมกรได้ผ่อนผัน
ได้ผลดีหลายหลากมากอนันต์ 
เป็นนิรันดร์เช่นนี้ดังมีมา
ที่นาดอนผู้ทำนั้นลำบาก 
ต้องเหนื่อยยากจึงสมปรารถนา
ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำทุกวันมา 
จึงจะได้ข้าวปลาเหมือนนาดี
เหมือนทำราชการต้องพานโชค 
ได้โฉลกพูนเพิ่มเฉลิมศรี
แม้ว่านายเมตตาคิดปรานี 
อาจมีลาภยศด้วยง่ายดาย
ใครอยู่ห่างต่างว่าเหมือนนาดอน 
ต้องเหนื่อยอ่อนลำบากยากใจหาย
ต้องอาบเหงื่อเป็นเทือกตะเกือกตะกาย 
ยังไม่หมายลาภยศได้งดงาม ฯ



บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ