ReadyPlanet.com
dot dot
กลอนคนฝรั่งเขียน
ขอนำเสนอบทกลอนแปลก ๆ ชิ้นหนึ่ง จะแปลกอย่างไรเชิญท่านอ่านดูก่อนดังนี้

๐ เป็นผู้น้อยทั้งอำนาจวาสนา
คำโบราณท่านกล่าวเป็นตำรา 
เหล่าเมธาควรจะจำแล้วทำตาม

เห็นผู้ใหญ่ที่ท่านดีมียศมาก 
เราควรพากเพียรเคารพด้วยเหตุสาม
หนึ่งเจ้าก้าสองประนมก้มกราบงาม 
ข้อที่สามคอยฟังคำสั่งการ

เรื่องหาทรัพย์เหมือนแก่งกำแพงรั้ว 
ใครอวดตัวโดดข้ามด้วยความหาญ
บางคนตกจมรั้วตัววายปราณ 
ต่อนานนานจึงข้ามได้ดังใจนึก

เหมือนนักปราชญ์ที่ฉลาดความคิดล้น 
ต้องอับจนเสียเพราะปองไม่ตรองตรึก
เพราะฉิบหายวายชีวิตเพราะคิดลึก 
คนที่ศึกษาชำนาญการหากิน

ค่อยค่อยเดินตามหนทางอย่างเรียบร้อย 
ถึงได้น้อยก็พอสมอารมณ์ถวิล
ถึงปะรั้วกั้นหน้าไม่ราคิน 
ค่อยขุดดินมุดลอดตลอดไป

ถึงจะช้าสักเท่าใดคนได้ถึง 
ดีกว่าปึงปังอย่างว่ากว่าไหนไหน
ไม่เดือดร้อนนอนเป็นสุขไม่ทุกข์ใจ 
หากำไรทีละน้อยค่อยประทัง

อันสามีนี้เขากล่าวว่าเท้าหน้า 
ถ้าพลาดท่าแล้วต้องเล่นเป็นเท้าหลัง
เสมอกันแล้วอย่างไรคงไม่ฟัง 
คงจะตั้งแต่วิวาทจนขาดกัน

อนึ่งชาติเมธาปัญญาฉลาด 
จึ่งสามารถรู้ว่าเขาเขลาเป็นมั่น
โง่ต่อโง่ที่จะดูรู้จักกัน 
รู้ไม่ทันกันเป็นแน่เที่ยงแท้เอย ฯ 

หลวงปฏิบัติราชประสงค์
(นามเดิม แอรวินมุลเลอ ภายหลังเลื่อนเป็นพระ)

บทกลอนข้างต้น ผมคัดมาจากหนังสือ “วชิรญาณสุภาษิต” อนุสรณ์งานพระราชเพลิงศพ มหาอำมาตย์โท ม.จ ฉลาดลบเลอสรร กมลาศน์ 16 พฤษภาคม 2504 

ในหนังสือนั้นมีข้อสงสัยอยู่ตรงข้อความในวรรค “หนึ่งเจ้าก้าสองประนมก้มกราบงาม” คำว่า “เจ้าก้า” ผมไม่เข้าใจ เดาว่าอาจพิมพ์ผิด แต่ผมยังไม่มีเวลาไปตรวจสอบกับฉบับอื่น ๆ 

สำหรับประเด็นที่ผมเห็นว่า “แปลก” ไม่ใช่เรื่องโวหารกวีดีเด่น ว่าตามสำนวนโวหารกลอนบทนี้ก็พื้น ๆ ธรรมดา ๆ 

แต่ที่เห็นแปลกคือตรงที่ ผู้เขียนเป็นฝรั่ง นาม “แอรวิน มุลเลอ” 

จริงอยู่ที่มีฝรั่งหลาย ๆ คนร่ำเรียนภาษาไทย ฝรั่งที่ศึกษาภาษาไทยจนทำพจนานุกรมได้คือ ท่านสังฆราชปัลเลอกัวซ์ (สมัยรัชกาลที่สี่) อีกท่านหนึ่งที่แตกฉานภาษาไทยถึงขั้นประพันธ์ร้อยกรองไทยได้ไพเราะคือท่าน ฟ.ฮีแลร์ 

“วชิรญาณสุภาษิต” นี้สมาชิกหอพระสมุดวชิรญาณช่วยกันแต่งขึ้นและพิมพ์แจกในงานฉลองหอพระสมุด เมื่อ พ.ศ 2432 

มีฝรั่งที่เขียนสุภาษิตเป็นบทกลอนอยู่ท่านเดียว คือ แอรวิน มุลเลอ

ส่วนฝรั่งท่านอื่นนั้น เขียนภาษิตภาษาฝรั่งแล้วมีคำแปลสั้น ๆ เท่านั้น ผมจึงรู้สึกทึ่งท่านแอรวิน มุลเลอ (พระปฏิบัติราชประสงค์) 

พระปฏิบัติราชประสงค์ เข้ามาอยู่สยามทำงานที่ห้าง บี.กริม บ้างก็ว่าท่านเป็นชาวออสเตรีย บ้างก็ว่าท่านเป็นชาวเยอรมัน มีภรรยาเป็นคนไทยชื่อ “จีน” อาจเป็นได้ว่ากลอนบทนี้ภรรยาท่านช่วยแต่งด้วย

คุณพระปฏิบัติราชประสงค์มีบทบาทพัฒนาสยามในเรื่อง “ขุดคลองรังสิต”

ความเป็นมาของคลองรังสิตนั้น ปี พ.ศ. 2431 พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ทรงขออนุญาตขุดคลองรังสิต ในนามของ บริษัทขุดคลองดูแลนาสยาม มีผู้ร่วมหุ่นในระยะแรก 4 คน คือ พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระนานาพิธภาษี (ชื่น) นายโยคิม แกรซี่และนายยม แต่ะนายยมมิได้เข้าร่วมงานผู้เข้ามารับหุ้นแทนคือ ม.ร.ว.สุวพรรณธ์ สนิทวงศ์และมีนายโยคิม แกรซี่เป็นผู้จัดการบริษัท ได้ตกลงทำสัญญากับรัฐบาล เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2431 และได้ทำหนังสืออนุญาตขุดคลองลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2433 บริษัทก็ได้ลงมือขุดคลองสายสำคัญเรียกว่า “คลองรังสิตประยูรศักดิ์” โดยขุดตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ของตำบลบ้านใหม่ ใต้เกาะใหญ่แขวงเมืองปทุมธานี ไปออกแม่น้ำนครนายก ที่ตำบลปลากดหัวควายกว้าง 8 วา ลึก 6 ศอก ยาว 1,400 เส้น และขุดคลองสกัดหกวา สายบนหกสายล่างเป็นคลองทั้งสิ้น 43 คลองแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2440 บริษัทประสบปัญหาเรื่องคน ในบังคับของสยามสถานะของผู้จัดการบริษัท นายแกรซี่ยังมิได้โอนสัญชาติ จากคนในบังคับของฝรั่งเศสมาเป็นคนในบังคับของสยาม นายแกรซี่จึงได้ตัดสินใจขายหุ้นในบริษัท ส่วนของเขาให้กับพระปฏิบัติราชประสงค์เดิม ชื่อนายมูลเลอร์เป็นชาวออสเตรีย มาทำงานที่บริษัท บี.กริม และเป็นกำลังสำคัญในการบริหารงานของบริษัท ขุดคลองดูแลสยาม 

แอรวิน มุลเลอ ได้เป็นหลวงปฏิบัติราชประสงค์ แล้วเลื่อนเป็นคุณพระปฏิบัติราชประสงค์ ท่านอยู่เมืองไทยและนิยมความเป็นไทย ท่านและภรรยาได้ขออนุญาตสร้างวัด (วัดคลองห้า) เมื่อ พ.ศ 2439 (บทกลอนข้างต้น เขียนเมื่อ พ.ศ 2432) 

ใน พ.ศ 2445 พระปฏิบัติราชประสงค์และภรรยาทูลเกล้าถวายวัดนี้ให้เป็นวัดหลวง ทีแรกนั้นในหลวงรัชกาลที่ห้าทรงเห็นว่า วัดหลวงนั้นรัฐบาลต้องดูแล เวลานั้นมีวัดหลวงมากแล้ว ไม่อยากให้รัฐบาลรับเป้นภาระมากขึ้นอีก แต่ในวันที่ 13 มีนาคม 2445 พระองค์เสด็จฯเปิดเมืองธัญบุรีเสร็จแล้ว พระราชดำเนินไปประกอบสังฆกรรมผูกพัทธสีมาวัดนี้ และพระราชทานนามวัดว่า “วัดมูลจินดา” ให้สอดคล้องกับผู้สร้าง คือ นายมูลเลอร์และนางจีน 

ตัวเป็นฝรั่งเติบโตในยุโรป แต่ร่ำเรียนภาษาไทยจนเขียนบทกวีร้อยกรองได้

เยาวชนไทยเห็นตัวอย่างอย่างนี้แล้ว ขอให้รู้สึกเห็นคุณค่าภาษาไทย ร้อยกรองไทยกันบ้าง ไม่อย่างนั้นในอนาคตอาจจะมีแต่คนฝรั่งเขียนกลอน

ทองแถม  นาถจำนง

 




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ