ReadyPlanet.com
dot dot
คำฉันท์ (1)

ผู้เขียนบทความ: โชติช่วง นาดอน(ทองแถม นาถจำนง)
ที่มา: http://www.siamrath.co.th
 
ทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่า คงมีคนที่มีความสุขกับการอ่าน “คำฉันท์” ไม่มากนัก

ร้อยกรองประเภทฉันท์ ชาวสยามรับมาจากคำประพันธ์ของอินเดีย มีการพัฒนาให้ไพเราะเหมาะกับรสนิยมของชาวสยาม ฉันท์มีวิวัฒนาการตั้งแต่ไม่เคร่งครัดคำ ครุ ลหุ นักในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนมาเคร่งครัดคำ ครุ ลหุ มากจนเกินไปในสมัยกลางยุครัตนโกสินทร์ ทำให้คำฉันท์หยุดนิ่งในกรอบตายตัว เสื่อมความนิยมลงไป อย่างไรก็ตาม มหากวียุคใกล้ก็ยังได้สร้างวรรณคดีคำฉันท์ไว้เป็นอมตะ คือเรื่อง “สามัคคีเภทคำฉันท์” ของ ชิต บุรทัต เป็นต้น

กวีร่วมสมัยที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูการแต่งฉันท์คือ “คมทวน คันธนู” บทกวีคำฉันท์ของเขามีอิทธิพลต่อกวีรุ่นใหม่มาก ปัจจุบันกับยังมีกวีรุ่นใหม่ๆ ที่แต่งกวีด้วยคำฉันท์ได้ “ถึง” ทั้งรสและสาระ เช่น “สกุณี  ทักษิณา” ผู้มีผลงานตีพิมพ์ใน “สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์” เป็นประจำ

ในทางวิชาการ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ “ฉันท์” ก็ยังไม่ขาดหายไป

ผลงานที่ดีเด่นของ ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร เรื่อง “วัณณะมาลี ทฤษฎีใหม่เรื่องการแต่งฉันท์ของล้านนา” เป็นพยานในเรื่องนี้

คำฉันท์ในศิลาจารึกเก่าแก่ที่พบในไทย ขอยกตัวอย่าง “จารึกหลักที่ ๕๖” พบที่เนินสระบัว (บริเวณเมืองพระรถ) ต.โคกปีบ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ท่านพุทธสิริ แต่งด้วยวสันตดิลกฉันท์ จารึกด้วยภาษาอินเดียใต้ เมื่อ พ.ศ. 1304 ความว่า

๐ โย สพฺพโลกหิโต                กรุณาธิวาโส
โมกฺขํ  กโร  นิรมลํ                 วรปุณฺณจนฺโท
เญยฺโย ทโม นวิกุลํ                 สกลํ วิพุทฺโธ
โลกุตฺตโร นมตถิ ตํ                 สิรสา มุเนนฺทํ ฯ

จารึกวิหารหลวง วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.สุโขทัย ภาษีบาลี จารึกในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ก็ใช้ฉันทลักษณ์ “วสันตดิลกฉันท์”

“ฉันท์ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย คำว่า ฉันท์ มีรากศัพท์มาจากธาตุ ฉท , ฉันท ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า ปรากฏมีลักษณะเป็นที่น่าพอใจ น่าพึงใจ ส่วนในภาษาบาลีคำว่า ฉันท , ฉันโท มีความหมายสองอย่าง คือ แปลว่า ความปรารถนา ความตั้งใจ และคัมภีร์พระเวท หรือลักษณะคำประพันธ์

ต้นกำเนิดของฉันท์นั้น เกิดขึ้นในสมัยพระเวทเมื่อราวสี่พันปีที่แล้ว ซึ่งถ้อยคำในคัมภีร์ฤคเวทเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือฉันท์ที่มีจำนวนคำไม่เกิน 50 พยางค์ และฉันท์ที่มีพยางค์ 50 – 106 พยางค์ โดยฉันท์ที่นิยมแต่งมี 8 ชนิด คือ คายตรี อนุษฏุก ตริษฏุก ชคตี พฤหตี ปังกตี วิราฏ อุษณิก

ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดครุ ลหุ มากนัก นอกจากบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท  จนกระทั่งอีกสองพันปีซึ่งอยู่ในสมัยมหากาพย์ ฉันท์ที่เรียกว่า “โศลก” ได้พัฒนารูปแบบขึ้นมาใหม่ โดยมี บาทที่ 1 เหมือนกับบาทที่ 3 และบาทที่ 2 เหมือนกับบาทที่ 4

โศลกบทแรกเกิดขึ้นโดยฤาษีวาลมีกิรำพึงถึงนกกะเรียนที่ถูกพรานยิงตาย.....

หลังสมัยมหากาพย์ รูปแบบฉันท์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏในคัมภีร์ฉันท์วุตโตทยะ  และฉันท์โทมัญชรี ซึ่งมีฉันท์จำนวน 311 ชนิดด้วยกัน”

(“วัณณะมาลี ทฤษฎีใหม่เรื่องการแต่งฉันท์ของล้านนา” โดย ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร หน้า 1-2)

กวีอยุธยาพัฒนารูปแบบฉันท์อินเดียมาเป็นแบบไทย ซึ่งคงประยุกต์มาจากคัมภีร์วุตโตทัย ดังปรากฏในจินดามณีของพระโหราธิบดี รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ประเภทฉันท์สมัยอยุธยานั้น อ่านค่อนข้างยาก นอกจากคำบาลีแล้ว ยังมีคำศัพท์แขมร์เป็นจำนวนมาก

อย่างเช่นตอนบรรยายช้างป่าว่า
๐ ทุยทำพำลาพาหล             สิงคาลคนชน
กันโลมระลมสังไก
พลุกแบงบังกินจรรไร            ทมพลุกทิพาไศรย
กำพษกำโบลโยนยัศ
ประพลุกสุครีพแลคัด            ธรณีบังบัด
ทั้งนาคพันธ์พินาย
ลันดาษยุรยักษ์บรรลาย         ซุกซอนพรัยพราย
บิเดาะกันเอาะพลุกหนี ฯ

คุณสุธีร์ พุ่มกุมาร ที่ปรึกษาสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “คู่มือเรียนเขียนกลอน” ร่วมกับคุณยุทธ โตอติเทพย์ อดีตนายกสมาคมนักกลอนฯ เธอกำลังจะออกหนังสือเล่มใหม่ เขียนวิเคราะห์คำฉันท์ในหนังสือ “สามัคคีเภทคำฉันท์” คุณสุธีร์ กล่าวถึงการแต่งฉันท์ไว้น่าสนใจมาก เป็นต้นว่า

“ธรรมชาติของฉันท์เป็นเรื่องของความยากลำบาก คนเขียนฉันท์ต้องพยายามทำความยากลำบากนั้นให้เป็นความง่าย แต่งาม ง่ายทั้งอ่านง่ายทั้งเขียน แต่งามด้วยลีลาและชั้นเชิงวรรณศิลป์ ต่างกับ กลอน ธรรมชาติของกลอนเป็นเรื่องง่าย คนเขียนกลอนจึงต้องพยายามทำความง่ายให้เป็นความยากโดยการสรรหาถ้อยคำที่อ่านแล้วต้องตีความ หรือการใช้ถ้อยคำอันเป็นสัญลักษณ์ มีนัยกว้างขว้าง แต่จะ “สถิตเสถียรเทียรฆ์กาลนิยม” หรือไม่ เป็นเรื่องท้าทาย”

และ

“ศัพท์ภาษาเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนฉันท์ นักฉันทศาสตร์เปรียบเหมือนนายมาลาการ(นักจัดดอกไม้) คณะฉันท์เหมือนต้นไม้ ครุ-ลหุ เหมือนดอกไม้ ความฉลาดในการจัดวางดอกไม้แม้มีเพียงไม่กี่ชนิดเพื่อประดับในแจกันใบเล็ก หากสลับปรับแต่งได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน แจกันใบนั้นก็ย่อมดูสวยงามตระการตา กฎเกณฑ์หรือกติกาข้อบังคับของฉันท์มีอยู่แค่ ครุ ลหุ วางให้ถูกตำแหน่งแค่นี้เอง ส่วนสัมผัสสระนอก-ใน หากเคยเขียนคำประพันธ์ร้อยกรองชนิดอื่นๆ มาบ้างแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรยุ่งยาก ขอให้ดูเปรียบเทียบฉันท์ที่มี 12 คำด้วยกัน”

“การยืดคำ – หดคำ ให้เป็นสระเสียงยาว – เสียงสั้นนั้น ก็ทำได้กับศัพท์จากภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้น ใช้กับคำภาษาอื่นไม่ได้ คุณสุธีร์ยกตัวอย่างคำว่า “กังวล” ซึ่งชิต บุรทัต แยกศัพท์ข้ามวรรค เป็น กัง - วละ

“มีคำศัพท์ที่น่าสนใจเป็นกรณีศึกษาอยู่คำหนึ่งคือคำว่า กังวล (ไท้นฤกัง – วละอย่างไร) กังวล เป็นคำเขมร (กังวล ก. ห่วงใย, มีใจพะวงอยู่. (ข) – พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน), คำศัพท์ที่จะ ทีฆะ – ทำสระเสียงสั้นให้เป็นสระเสียงยาว หรือ รัสสะ-ทำสระเสียงยาวให้เป็นสระเสียงสั้น และการแตก,กระจายคำออกเป็นพยางค์สั้นๆ เพื่อใช้เป็นคำ ลหุ คำนั้นๆ ต้องเป็นคำที่มาจากภาษา บาลี – สันสกฤต เท่านั้น เนื่องจากธรรมชาติของสองภาษานี้มีเสียงเป็น ลหุ เสียส่วนใหญ่ แต่ถูกตัดแต่งเพื่อความสะดวกลิ้นของผู้ตัดแต่ง เมื่อนำมาเขียนฉันท์ก็สามารถย้อนกลับสู่รากเดิมได้ เจ้าของภาษาฟังเข้าใจ รู้เรื่อง, กังวล เป็นคำเขมร ล. ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดได้อย่างเดียว เปลี่ยนหน้าที่ไม่ได้ เพราะเมื่อเปลี่ยนแล้ว เจ้าของภาษาฟังไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง, ตะวันตก จะให้เป็น ตะวันตะกะ อย่างนี้ไม่ได้เพราะไม่ใช่คำบาลี – สันสกฤต นิมนต์ เป็น นิมะนะตะ อย่างนี้ได้ เพราะเป็นคำบาลี สงสัย เป็น สงสะยะ – สังสะยะ อย่างนี้ได้ เพราะเป็นคำบาลี คำศัพท์ที่มาจาก บาลี – สันสกฤต แม้จะมีภูมิรู้ ตัด – แต่ง – แผลง – ต่อ, ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์แล้ว ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าเมื่อได้รูปได้คำตามต้องการ ลองอ่านออกเสียงให้หูตัวเองฟัง ไพเราะไหม ออกเสียงยากไหม แล้วจึงค่อยตัดสินใจจะเอาอย่างไร ถ้าฟังแล้วรู้สึกแปร่งหู ระคายหู ตลกขบขัน ก็ไม่ควรนำมาใช้เขียนในบทกวีหรือแม้แต่งานเขียนทั่วไป”

ขอเกริ่นไว้ก่อนครับ เพราะหนังสือดีเล่มนี้ ยังพิมพ์ไม่เสร็จ



บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ