ReadyPlanet.com
dot dot
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)

ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม) 

ทองแถม นาถจำนง
นายกสมาคมนักกลอนฯ 
 
 
ข้าพเจ้าถูกขุดเอาเนื้อบนศีรษะออกไปใหญ่เท่าหนึ่งฝาขนมครกอย่างโต แล้วระหว่างที่รอเวลาการปลูกผิวหนัง รวมทั้งรอผลตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็น “เนื้อร้าย” หรือไม่ ? อยู่นี้ ข้าพเจ้าจำต้องกักตัวไว้ระหว่างบ้านกับโรงพยาบาล(ไปทำแผล)เท่านั้น แต่ก็มิได้นอนเฉย ๆ ต้องทำงานเขียนให้สยามรัฐเหมือนปกติ
 
เมื่อข้าพเจ้าตัดการงานที่ต้องเดินทางไปโน่นมานี่ออกเสีย จึงมีเวลามากขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาหลังจากถูกตัด “เนื้อตาย” ขยายแผลออกไปอีก กลับถึงบ้านหยิบอ่านหนังสือ “นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ ๑ ชื่อวรรณคดี” ซึ่งได้รับมานานแล้ว
 
หนังสือนี้ดีมาก เป็นอย่าง “เอนไซโคปีเดีย” ของชาติที่น่าจะเผยแพร่ให้สถาบันการศึกษามีอยู่ทุกแห่ง (หลายหมื่นแห่ง) 
 
“มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา” พิมพ์เผยแพร่มาแล้วสี่ครั้ง จำนวน ๑๑,๐๐๐ เล่ม
 
วรรณคดีที่ปรากฏใน “นามานุกรม ชื่อวรรณคดี” เล่มนี้ คัดเอาเฉพาะวรรณคดีตั้งแต่ยุคโบราณมาหยุดตรงสมัยรัชกาลที่หก
 
หลักการนี้ข้าพเจ้าเห็นด้วย แต่เมื่ออ่านสารบัญแล้ว ประมาณการว่า ในเล่มนี้มีชื่อวรรณคดีอยู่ประมาณ สามร้อยยี่สิบกว่าเรื่อง
 
ข้าพเจ้ารู้สึกทันที่ว่า น่าจะรวมวรรณคดีไว้มากกว่านี้ ข้าพเจ้าตัดสินใจว่าจะเขียนแนะนำวรรณคดีเพิ่มเติมอย่างย่อ ๆ จึงพลิกหนังสือรอบ ๆ ตัวที่หยิบมาได้สะดวก ไล่เรียงคร่าว ๆ ได้ชื่อวรรณคดีเพิ่มอีกนิดหน่อย ภายในวันเดียวก็ยังได้เพิ่มขึ้นหลายเล่ม 
 
ก่อนจะเสนอรายชื่อวรรณคดีเพิ่ม ขอนำคำอธิบายคำว่า “วรรณคดี” ของ “คึกฤทธิ์ ปราโมช” ที่แสดงไว้เมื่อคราวแสดงปาฐกถาเรื่อง “วรรณคดีไทยกับสังคม” ณ พระราชวังจันทร์ นครปฐม เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๖ ดังต่อไปนี้
 
“วรรณคดีในภาษาไทยนั้นกระผมเข้าใจว่า เราถ่ายทอดมาจากคำว่า ‘literature’ภาษาอังกฤษ แต่เมื่อมาอยู่ภาษาไทยแล้ว เรามาทำให้มีขอบเขตจำกัดขึ้นมาก จนเดี๋ยวนี้เกือบจะไม่มีวรรณคดีเกิดขึ้น เพราะเหตุว่า เราใช้คำ ‘วรรณคดี’ ที่แปลว่า ‘literature’ ซึ่งในภาษาอังกฤษนั้นสักแต่อะไรที่เขียนลงไป ก็เป็นวรรณคดีทั้งนั้น เป็น literature ทั้งนั้น หนังสือโป๊ก็เป็น literature เรียกว่า pornographic literature….หรือไม่ใช่
 
ถ้าถือตามภาษาอังกฤษเขาก็กว้างขวางมาก อะไรก็เป็นวรรณคดี อย่างไหนจะดีจะเลว ใครจะชอบอย่างไหน ก็เป็นเรื่องของทรรศนะเรื่องของความเห็น เรื่องของรสนิยม แต่ถ้าเราจะไปตีความว่าวรรณคดีนั้นมีได้แต่อย่างนั้นย่างนี้แล้ว ในที่สุดก็ไม่มี
 
วรรณคดีเกิดขึ้นสำหรับสังคมไทยเรา วรรณคดีก็ยังเกิดขึ้นได้เรื่อย ๆ เ เพราะยังมีคนเขียนหนังสืออยู่เรื่อย ๆ กระผมเองก็เขียนมาเป็นตู้วสมุด ในห้องพระสมุดดูเหมือนจะ ๑๗๐ กว่าเล่ม ก็จะเป็นวรรณคดีหรือไม่ ก็ไม่ทราบ เป็นเรื่องของคุณ แต่ถ้าถืออย่างผมแล้วก็เป็นวรรณคดีด้วยกันทั้งนั้น
 
ทีนี้วรรณคดีนี่ อยากจะขอจำกัดความ วรรณคดีเป็นสมบัติของสังคมที่ขาดไม่ได้ เพราะมันเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของสังคม จากยุคหนึ่งไปอีกยุคหนึ่ง เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อถือหรือยึดถือและความคิดเห็นขอองมนุษย์ในสังคมแต่ละยุค ถึงแม้ว่าคนป่าที่ไม่มีหนังสืออ่านหนังสือเขียน ถ้าจะพูดกันจริง ๆ ก็คงจะต้องมีวรรณคดี เพราะมีตำนานที่จะเล่าให้กันฟัง มีประเพณีต่าง ๆ จะต้องสั่งสอนถ่ายทอด จะเป็นเรื่องผีสางนางไม้อะไรก็ตามที แต่เมื่อเขาไม่มีหนังสือ เขาก็ถ่ายทอดกันด้วยปาก มันก็ยังเป็นวรรณคดีอยู่นั่นเอง
 
ด้วยเหตุนี้ เดี๋ยวนี้เราก็ออกจะเห่อเอกลักษณ์กันอยู่ ผมก็อยากจะพูดด้วยว่า วรรณคดีนั้นเป็นเครื่องแสดงออกและอนุรักษ์เอกลักษณ์ของสังคมไว้ วรรณคดีไทยนั้นถ้าศึกษาแล้วจะรู้เอกลักษณ์ของคนไทย รุ้มากกว่าศึกษากันในทำเนียบรัฐบาล ไม่ต้องอะไร อ่านพระภัยมณีสักเล่ม เดี๋ยวอ่านลักษณวงศ์สักเล่มหนึ่ง ก็จะได้รู้เอกลักษณ์ไทยมากกว่าทีท่านนักวิชาการด๊อกเตอร์อะไรต่ออะไรนั่งค้นคว้ากันอยู่เกือบล้มประดาตาย เอกลักษณ์มันอยู่ในวรรณคดีแล้ว มันอยู่ในจิตใจของคนไทยเขาทั่วไป อยู่ในหนังสือที่คนเขาเขียนไว้ อยู่ในวรรณคดีต่าง ๆ อย่ในกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ มีมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน”
 
ต่อไปนี้ก็ขอเสนอรายชื่อวรรณคดีที่ควรจะเพิ่มเติมรายชื่อใส่ใน “เอนไซโคปีเดีย” ของชาติ ที่ข้าพเจ้ารวบรวมมาได้ในระยะเวลา ๑ วัน 
 
- กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ , เพลงยาว
- กลบทสุภาษิต - หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)
- กุมารคำฉันท์ , พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล
- เกาะจาน , นิราศ คราวรัชกาลที่ ๔ เสด็จหว้ากอ
- ขอลาสู่สวรรคต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เขาหลวง , นิราศ ขุนวรการ แต่งหลัง พ.ศ ๒๔๔๘
- คำกลอน ของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) งานพระราชเพลิงศพ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ พ.ศ ๒๔๖๕
- เครื่องเล่นกัณฑ์มหาราช , แหล่
- โคลงนิราศพะเนียด เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระกำราบปรปักษ์
- โคลงนิราศพระพิพิธสาลี (นิราศชุมพร) พระพิพิธสาลี
- โคลงพระนาควัดท่าทราย พระนาค
- จันทร์ , นิราศ (ท้ายเรื่องนิราศพระบาท)
- จารึกเรื่องสร้างภูเขาวัดราชคฤห์ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
- ฉะเชิงเทรา , นิราศ กรมหลวงภูวเนตรนิรนทรฤทธิ์
- เฉลิมพระเกียรติ , เพลงยาว คุณพุ่ม แต่ง แจกในการกบินพระราชทาน มหาเสวกโท พระยาเสถียรสุรประเพณี ปลัดบาญชีกระทรวงวัง ณ วัดราชคฤห์ พ.ศ ๒๔๖๔
- ชมพระราชวังสวนดุสิต , นิราศ นิรนาม
- ชมตลาดสำเพ็ง ล นิราศ นายบุศย์
- ตังเกี๊ย , นิราศ
- ตำราม้าของเก่า และ ตำราม้าคำโคลง กรมศิลปากร
- ถวายพยากรณ์ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท
- เทศนา เรื่องนิทานมิกาทุระ (แปลงจากอุปรากร มิกาโด) พระราชนิพนธ์รัชกาที่ ๕
- เพชรในหิน พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา
- ธารแถลง , นิราศ นายมี
- พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว , เพลงยาว
- เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ หม่อมเจ้าอิศรญาณ
- ประชุมเพลงยาว ภาคต่าง ๆ กรมศิลปากร
- มะโนรา จากสมุดข่อยของคุณ เดือน บุนนาค
- มัทรีคำฉันท์ นิรนาม
- บทประพันธ์บางเรื่องของพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (ม.ร.ว หนู อิศรางกูร) ครูภาษาไทยของ ร.๖
งานพระราชทานเพลิงศพ นางจรูญ สิทธิพยากรณ์
- ถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ , โคลง พระนิพนธ์ พระองค์เจ้าคันธรศ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์
- ทุคตะสอนบุตร นิรนาม
- รักษาตัว , นิราศ พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์
- รัตน , นิราศ พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ห้า (แทรกอยู่ในพระราชนิพนธ์ “ไกลบ้าน”)
- เรื่องพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์
- เรื่องไทรโยคเป็นอย่างไร (ร้อยแก้วสารคดีท่องเที่ยวยุคบุกเบิก) พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (เรื่องเที่ยวน้ำตกเจ้าอนัมก๊กที่เกาะกูด)
- เรื่องเสด็จไปเมืองนครศรีธรรมราช (พ.ศ ๒๔๐๗) พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์
- ลักษณะช้าง พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ
- เลี้ยงโต๊ะปีใหม่ , โคลง พระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์เจ้านาย 
- สักกบรรพคำฉันท์ นิรนาม
- วัดเจ้าฟ้า , นิราศ
- สังข์ศิลป์ชัยกลอนสวด
- สามชาย , เพลงยาว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า (กรมขุนอิศเราซรังสรรค์) ชาย ๑ , กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ชาย ๒ , พระสุริยภักดี(สนิท บุนนาค) ชาย ๓
- สุขุมาลนิพนธ์
- สุภาษิตเจ้านาย , โคลง พระนิพนธ์ และระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๕
- เสด็จไปขัดตาทัพเมืองกาญจน์ ๒๓๖๓ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ
- เศรษฐีสอนบุตร นิรนาม
- หนังสือสาวกนิพพาน เล่ม ๑ เล่ม ๒ (อสีตมหาสาวกประวัติ) ของโบราณ
- หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ เสด็จธุดงค์
- หม่อมภิมเสน , เพลงยาว (นิราศเพชรบุรี)
- อักษรสุภาษิต นิรนาม
ฯลฯ ยังมีอีกเยอะครับ
 
แล้วนี่ข้าพเจ้าจะเขียนแนะนำเสร็จเมื่อไหร่กันเนาะ.................
คงไม่นานเกินรอ เพราะบางเรื่องเขียนลงในคอลัมน์ “บรรณาลัย” และ “ช้างเฒ่า” ในสยามรัฐแล้ว



บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ