
โชติช่วง นาดอน (ทองแถม นาถจำนง)
“เสือโคคำฉันท์” ของพระมหาราชครูอ่านง่าย อ่านสนุก เพราะผู้ประพันธ์เลือกใช้ ฉันทลักษณ์ฉบัง 16 , สุรางคนางค์ 28 , อินทรวิเชียร 11 เสียมาก แต่งเป็นคำฉันท์ที่ยากๆ น้อยฉาก และในฉากนั้นๆ ก็เขียนสั้นๆ
เมื่อหลวิชัยและคาวีกราบลาจากพระฤาษีแล้ว ก็เดินไพร ประพันธ์ใช้อินทรวิเชียรฉันท์บรรยายพืชพรรณไม้และหมู่นก ความยาว 30 บท คนอ่าน-ฟังก็ลื่นไหล เพราะคุ้นเคยฉันทลักษณ์ดี แต่พอถึงฉากบรรยายสัตว์ป่า พระมหาราชครูเลือกใช้วสันตดิลกฉันท์ 14 ซึ่งอ่าน-ฟังยากขึ้น ซึ่งท่านก็แต่งไว้เพียง 8 บทเท่านั้น ดังนี้
เดินป่ากันมาถึงบึงน้ำใหญ่ คาวีไปตักน้ำในบึงที่มียักษ์อาศัยอยู่ ยักษ์ตนนั้นจับคนที่ลงไปในบึงกินเป็นอาหาร เมื่อคาวีลงไปตักน้ำ ยักษ์ก็ขึ้นมาจะจับคาวี จึงเกิดต่อสู้กันใหญ่ แน่นอนครับว่า ฉากนี้เหมาะสำหรับฉันทลักษณ์ ฉบัง 16
จะจมบ่จม , คลื่นคลุ้มคลุ้ม..ระลอกกระฉอกชลธี , ฟอนฟันฟาดขาดคอยักษ์ ฯ รสอักษรและเสียงถึงใจจริงๆ
ฉบัง 16 ทั้งหมดในเรื่องนี้แต่งดีไพเราะมาก ใช้เป็นตัวอย่างสอนฝึกเขียนได้เกือบจะทุกบท
เรื่อง “เสือโคคำฉันท์” ยังมีฉันท์ อีกสองฉันทลักษณ์ คือ “สัทธราฉันท์ 21” และ “มาลินีฉันท์ 15”
หลังจากคาวีฆ่ายักษ์ตาย ชาวบ้านต่างดีใจ ส่งข่าวให้พระราชา (ท้าวมคธ) ทรงทราบ
มีสัทธาฉันท์อยู่สั้นๆ เท่านี้ในเรื่อง
เมื่อท้าวมคธ จะปูนรางวัลยกราชธิดาให้คาวี ใช้ฉันทลักษณ์ “มาลินีฉันท์ 15” สั้นๆ เพียงแปดบทเท่านั้น ดังนี้
เรื่องนี้พระมหาราชครูใช้ฉันทลักษณ์ ฉบัง 16 , สุรางคนางค์ 28 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 มาก คงมิใช่เพราะว่าท่านแต่งฉันท์ไม่เก่ง (สมุทรโฆษคำฉันท์คือวิจตรบรรจงของท่าน) แต่เนื้อเรื่องเสือโค หรือหลวิชัย-คาวี มันเป็นเรื่องนิทานผจญภัยโลดโผน มิใช่เรื่องเทพไท้ศักดิ์สิทธิ์ ฉันทลักษณ์เหมาะสมจึงต้องมีลักษณะกระชับ บรรยายฉากที่มีการเคลื่อนไหวได้ชัดเจน และฟังสนุกสนาน