ReadyPlanet.com
dot dot
คำฉันท์ (4)
โชติช่วง นาดอน (ทองแถม นาถจำนง)

บทความ “คำฉันท์ 3” ข้าพเจ้าพิมพ์ต้นฉบับตกไป ในกาพย์ฉบัง บทที่ว่า

๐ ฟอนฟันฟาดขากคอยักษ์        ด้วยเดชอนรรฆ
แห่งผู้สิทธิอวยพระพรฯ

วรรณคดีประเภทฉันท์ที่อ่าน “มัน” มาก ตามความชอบส่วนตัวของข้าพเจ้าคือเรื่อง “อนิรุทธคำฉันท์” เพราะมีเรื่อง “เทพ” รบกันเอง....

พระกฤษณะ ซึ่งคือพระนารายณ์อวตารมาอยู่เมืองมนุษย์ รบกับพาณาสูรราชซึ่งเป็นยักษ์

แต่พระอิศวรดันมาช่วยพาณาสูรราช รบกับมนุษย์ (พระกฤษณะ)

มาช่วยยักษ์รบกับมนุษย์ แล้วยังเอาชนะพระกฤษณะ(มนุษย์)ไม่ได้ หมดทางเข้าก็จะใช้ “ตาที่สาม” ผลาญพระกฤษณะและกำลังพล แต่เหล่าเทวดาทั้งหลายพากันขอร้องห้ามไว้ พระอิศวรจึงต้องปล่อยให้พาณาสูรราชรับผิดชอบตัวเอง ออกไปรบกับพระกฤษณะ ซึ่งก็พ่ายแพ้(ตามระเบียบของวรรณคดี) ถูกตัดแขนทั้งพัน

พระอิศวรก็ยังสงสาร ขอชีวิตของพาณาสูรราชไว้ พระกฤษณะจึงเหลือแขนไว้สองแขน และไว้ชีวิตพาณาสูรราช

แล้วทำไม “อ่านมัน”.....

ก็เทวดารบกันเอง แถมแบ่งข้างกัน ฝ่ายหนึ่งไปช่วยพวกมาร !

ทำให้เรารู้ว่า สังคมไทยเป็นเช่นนี้มานมนานแล้ว เทพ – ยักษ์ – มาร – มนุษย์ แตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวกรบราฆ่าฟันกันเองมาตลอด !

เมื่อก่อนนี้ วงวิชาการตั้งประเด็นสงสัยว่า “อนิรุทธคำฉันท์” นี่แปลก เพราะไม่มีประณามพจน์ บทไหว้สรรเสริญปวงเทพและไหว้ครู

ข้าพเจ้าเห็นว่า
 
1.“ประณามพจน์” อาจจะมี แต่สูญหายก็เป็นได้
2.ผู้ประพันธ์อาจไม่อยากให้มี เพราะตอนท้ายเรื่องเหล่าเทพอันสูงสุด ได้แก่พระอิศวร พระนารายณ์ (ในบทกฤษณะ) รบราฆ่าฟันกันเอง แถมพระอิศวรยังกลายไปเป็นพวกสนับสนุน “มาร” ร้าย ผู้ประพันธ์อาจไม่อยากเขียนฟูมฟายไหว้เทพเจ้าเหล่านั้น....
3.ผู้ประพันธ์ท่านเขียนไว้ในตอนจบท้ายเล่ม เป็นการสร้างสรรค์ เลี่ยงจากความเคยชินแบบเก่า

ปัญหาอีกประเด็นหนึ่งคือ เมื่อก่อนเสนอกันว่า “ศรีปราชญ์” เป็นคนแต่งเรื่องอนิรุทธคำฉันท์ เพราะตอนท้ายเรื่อง มีโคลงปิดเล่มว่า

๐ จบอนิรุทเรื่องเรื่อง.....รณรงค
ศรีปราชปัญายง...........แต่งไว้
ใคร จ แต่งปรสง..........เอาหย่าง นี้นา
จักเฟื่องฟูเกียรติให้.......เลื่องล้ำลาญผล ฯ

ข้างต้นสะกดการันต์ตามโบราณครับ ปัญายง = ปัญญายง , ปรสง = ประสงค์ , หย่าง = อย่าง

แต่ อาจารย์สุมาลี วีระวงศ์ อธิบายไว้ในเรื่อง “อนุรุทธคำฉันท์” (หนังสือ “นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1 ชื่อวรรณคดี”) ว่า

“อนิรุทธ์คำฉันท์” เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา แต่งด้วยคำระพันธ์ประเภทฉันท์ กาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง เดิมเชื่อกันว่าศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง เพราะมีผู้เขียนโดยเติมไว้ข้างท้ายว่า “ศรีปราชญ์ปัญญายง แต่งไว้” แต่จากการศึกษาของนักวรรณคดีเชื่อกันว่าศรีปราชญ์ไม่มีตัวตน อาจเป็นไปได้ที่อนิรุทธ์คำฉันท์จะแต่งในสมัยเดียวกับสมุทรโฆษคำฉันท์ เพราะผู้แต่งอาจเป็นคนกลุ่มเดียวกัน เพราะสำนวนโวหารใกล้เคียงกันทั้งแนวนิยมด้านวรรณศิลป์และความเก่าใหม่ของภาษา จุดประสงค์การแต่งอนิรุทธ์คำฉันท์ ปรากฏที่ท้ายเรื่องว่า กวีแต่งเรื่องนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสนองคุณผู้ที่ตนนับถือ และขออานิสงส์ของการแต่งจงดลบันดาลให้ถึงพระนิพพานในที่สุด ตราบใดยังไม่นิพพานก็ขอให้มั่นคงในศีลทาน อายุยืน และทรงคุณความรู้รวมทั้งอาคมตลอดไป”


สำหรับเนื้อเรื่อง “อนิรุทธ์คำฉันท์” ขอเสนอตามบทย่อเรื่องของอาจารย์สุมาลี วีระวงศ์ ในหนังสือที่อ้างไปแล้วดังนี้

“เนื้อเรื่องของอนิรุทธ์คำฉันท์ ดำเนินความตั้งแต่พระอนิรุทธ์ทูลลากระกฤษณะผู้เป็นอัยกา และลาสาวสนม ก่อนออกจากเมืองทวารพดีไปล่าสัตว์ในป่า อาทิ เสือ ควายป่า แรด ช้าง ฯลฯ ด้วยความเก่งกาจ

ครั้นค่ำลงก็ประทับใต้ร่มไทร พระไทรมีความเอ็นดูจึงอุ้มไปสมนางอุษา ธิดาเจ้ากรุงพาณ ที่โสณนคร แล้วพากลับก่อนรุ่งสาง

นางอุษาตื่นบรรทมมีความโศกเศร้า จึงสั่งนางพิจิตรเลขาพี่เลี้ยงให้วาดรูปหาตัวผู้มาสมนาง ครั้นพบว่าเป็นพระอนิรุทธ์ก็ให้นางเหาะไปลอบรับมาหา อยู่ร่วมกันในตำหนัก ต่อมามีผู้รู้และเกิดข่าวลือออกไป

กรุงพาณ หรือ พาณาสูร ราชบิดาทราบเรื่องจากนางกำนัลก็กริ้ว จึงจัดขบวนทัพมาล้อมรบกับพระอนิรุทธ์ แผลงศรนาคได้ชัยชนะจับพระอนิรุทธ์มัดประจานไว้หน้าพระลาน พอดีพระนารทฤาษีดีดพิณพลางเหาะผ่านมาเห็นเข้า ก็รีบไปบอกพระกฤษณะ พระกฤษณะจึงมีโองการประชุมพล หาพระปรัทยุมน์และพลเทพมาพร้อม เสด็จด้วยพาหนะครุฑไปยังโสณนคร นาคที่รัดพระอนิรุทธ์ทนฤทธิ์ครุฑไม่ได้จึงคลายขนดหนีไป ฝ่ายกรุงพาณมีพระเพลิงและพระอังครสเป็นกองหน้า ออกสู้รบก็พ่ายแพ้ พาณาสูรจึงรีบไปฟ้องพระอิศวรให้เสด็จมาช่วยพร้อมทั้งขันทกุมารและพระวิฆเนศวร์ สองฝ่ายต่อสู้กันก้ำกึ่งไม่แพ้ชนะแก่กัน พระอิศวรคิดจะลืมพระเนตรที่สาม แต่เทวดาและฤาษีพากันขอร้องให้ทรงยับยั้ง เพราะเกรงโลกทั้งสามจะพินาศ พาณาสูรจึงเข้าสู้รบด้วยตนเอง ถูกพระกฤษณะจับได้แล้วตัดกร ทั้งพันให้เหลือเพียงสอง พระอิศวรทรงขอชีวิตไว้ ให้เป็นทวารบาล พระกฤษณะจึงอนุโลมตาม แล้วพาพระอนิรุทธ์ นางอุษาขึ้นทรงครุฑร่วมกับพระองค์และพระปรัทยุมน์ กลับคืนสู่เมืองไลยบุรี (น่าจะเป็นเมืองทวารพดี ของพระกฤษณะนั้นเอง)”
 



บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง
ครูแจ้งวัดระฆัง สร้างสำนวนขุนช้างขุนแผน แสนสยอง ...



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ